พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก, สิทธิในทรัพย์มรดก, และการแบ่งเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 5677 ซึ่งผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้แก่โจทก์ไว้ จำเลยที่ 2ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินโฉนดที่ 5677 เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. สามีผู้ตาย โดยส.ให้น.ถือกรรมสิทธิ์แทนส. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าบ้านทรัพย์มรดกตามฟ้องหรือไม่เพียงใดย่อมหมายรวมถึงว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือไม่ด้วย เพราะหากว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมิได้เป็นของผู้ตายก็ย่อมไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ในตัว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมิได้เป็นมรดกของส. ซึ่งตกทอดแก่จำเลยที่ 2 ผู้ตายไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทซึ่งเป็นของ ส. ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าทรัพย์มรดก จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นสินสมรสซึ่งตกได้แก่ ส. ผู้ตายไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทผู้ตายจึงทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินซึ่งมิใช่ของตนให้แก่ผู้ใดหาได้ไม่พินัยกรรมซึ่งผู้ตายทำจึงไม่มีผลใช้บังคับนั้น ส. เบิกความไว้ในคดีอาญา สรุปได้ว่า ก่อนที่ผู้ตายจะไปทำพินัยกรรมได้ปรึกษาหารือกับส. ที่บ้านเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินแก่ทายาท ผู้ตายไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ส. จะไปด้วยหรือไม่จำไม่ได้ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ส. ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบว่า มีพินัยกรรมที่ผู้ตายทำไว้ ต่อมา ส. จำเลยที่ 2 โจทก์ และ ก. ไปฟังพินัยกรรม กรณีเป็นที่เห็นได้ว่า ผู้ตายไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินโฉนดที่ 5677 พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้รับพินัยกรรมทั้งสามคนโดย ส. รู้เห็นยินยอมด้วยเมื่อได้มีการอ่านพินัยกรรม ส. ก็มิได้คัดค้านหรือเรียกร้องที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนจากผู้รับพินัยกรรมทั้งสาม ทั้ง ส. ยังได้สละมรดกของผู้ตายตามหนังสือการสละมรดกอีก จากพยานหลักฐานและพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมาแสดงว่า ส. มีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 5677พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้แก่ผู้ตายตั้งแต่ก่อนที่ผู้ตายจะทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองแล้ว และเนื่องจากโฉนดที่ดินมีชื่อผู้ตายแต่ผู้เดียว เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ กรณีจึงไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันอีก ผู้ตายจึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทและทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนให้แก่โจทก์ได้ โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าบ้านทรัพย์มรดกตามฟ้อง ค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตาย แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเสียค่าใช้จ่ายไป 58,700 บาท แต่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตาย 30,000 บาท นั้น เป็นจำนวนตามสมควรแล้ว สำหรับค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกของผู้ตายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก ซึ่งจำเลยที่ 1 กระทำแทนทายาทอื่นจึงต้องหักค่าจ้างว่าความ 300,000 บาท จากกองมรดกของผู้ตายสำหรับค่าไถ่ถอนจำนองจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินตามพินัยกรรมเป็นเงิน 130,000 บาท โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับพินัยกรรม จึงต้องรับผิดชอบในการไถ่ถอนจำนองที่ดินตามพินัยกรรม สำหรับค่าซ่อมบ้านพิพาทตามสภาพบ้านพิพาทปลูกสร้างมาเป็นเวลานาน เมื่อมีการซ่อมแซมใหญ่ค่าซ่อมแซมจำนวน 20,000 บาท เป็นจำนวนอันสมควร ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ต้องรับผิดค่าซ่อมแซมบ้านพิพาท 20,000 บาท นั้น ชอบแล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายผู้หนึ่งเท่านั้น ทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 แต่อย่างใด โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมที่ปรากฏตัวยังไม่ได้รับส่วนได้ตามพินัยกรรมโจทก์ย่อมเรียกร้องทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาท และส่งมอบค่าเช่าบ้านพิพาทแก่โจทก์ กับขอให้จำเลยที่ 1แบ่งเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวด้วยตนเองแม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทแก่โจทก์ มิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1แบ่งเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทได้ถูกเวนคืนไปแล้ว เป็นกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับคดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงขอให้บังคับโดยขอรับเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทที่ศาลชั้นต้นอายัดไว้จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ เพราะพฤติการณ์ซึ่งทำให้การโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นอันพ้นวิสัยนั้นเป็นผลให้จำเลยที่ 1 ได้มาซึ่งเงินค่าทดแทน การจัดการมรดกนั้นเป็นประโยชน์ร่วมกันของกองมรดก โจทก์จึงต้องรับผิดชอบตามส่วนที่โจทก์ได้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม & สิทธิยึดหน่วงสัญญาค้ำประกัน กรณีพิพาทสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
หลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นเพิ่มเติมจากประเด็นที่กำหนดไว้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าประเด็นที่โจทก์ขอเพิ่มเติมรวมอยู่ในประเด็นที่ศาลชี้ไว้แล้วไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมอีก ให้ยกคำร้อง ดังนี้ คำร้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม ไม่มีข้อความโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องกำหนดหน้าที่นำสืบ ถือว่าโจทก์มิได้โต้แย้งประเด็นเรื่องนี้ไว้ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้โจทก์จะสร้างทางรถไฟเสร็จตามสัญญารับเหมาก่อสร้างและมีสิทธิเบิกเงินค่าก่อสร้างจากจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ชำระเงินค่าวัสดุที่เบิกจากจำเลยและค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามสัญญาด้วย เมื่อโจทก์ไม่ชำระถือว่ายังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจึงมีสิทธิยึดถือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันความเสียหายไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าว และมีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับโจทก์เนื่องจากหนี้ของจำเลยมีข้อโต้แย้งและมีจำนวนไม่แน่นอน แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องนี้ไว้ เนื่องจากจำเลยมิได้ให้การหรือฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระหนี้เงินค่าวัสดุที่ติดค้างโดยการหักกลบลบหนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม & สิทธิหักกลบลบหนี้: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากมิได้โต้แย้งคำสั่งเดิม & สิทธิเรียกร้องตามสัญญา
หลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นเพิ่มเติมจากประเด็นที่กำหนดไว้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าประเด็นที่โจทก์ขอเพิ่มเติมรวมอยู่ในประเด็นที่ศาลชี้ไว้แล้วไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมอีก ให้ยกคำร้อง ดังนี้ คำร้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม ไม่มีข้อความโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องกำหนดหน้าที่นำสืบ ถือว่าโจทก์มิได้โต้แย้งประเด็นเรื่องนี้ไว้ จึงต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้โจทก์จะสร้างทางรถไฟเสร็จตามสัญญารับเหมาก่อสร้างและมีสิทธิเบิกเงินค่าก่อสร้างจากจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ชำระเงินค่าวัสดุที่เบิกจากจำเลยและค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามสัญญาด้วย เมื่อโจทก์ไม่ชำระถือว่ายังมิได้ปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิยึดถือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันความเสียหายไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าว และมีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับโจทก์เนื่องจากหนี้ของจำเลยมีข้อโต้แย้งและมีจำนวนไม่แน่นอน แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อ-พิพาทเรื่องนี้ไว้ เนื่องจากจำเลยมิได้ให้การหรือฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระหนี้เงินค่าวัสดุที่ติดค้างโดยการหักกลบลบหนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
แม้โจทก์จะสร้างทางรถไฟเสร็จตามสัญญารับเหมาก่อสร้างและมีสิทธิเบิกเงินค่าก่อสร้างจากจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ชำระเงินค่าวัสดุที่เบิกจากจำเลยและค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามสัญญาด้วย เมื่อโจทก์ไม่ชำระถือว่ายังมิได้ปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิยึดถือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันความเสียหายไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าว และมีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับโจทก์เนื่องจากหนี้ของจำเลยมีข้อโต้แย้งและมีจำนวนไม่แน่นอน แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อ-พิพาทเรื่องนี้ไว้ เนื่องจากจำเลยมิได้ให้การหรือฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระหนี้เงินค่าวัสดุที่ติดค้างโดยการหักกลบลบหนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทและการยึดหน่วงทรัพย์: การกระทำโดยไม่มีเจตนาทุจริตไม่ถือเป็นความผิดยักยอก
กรณียังมีการโต้แย้งกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทการที่จำเลยทั้งสองไม่คืนอุปกรณ์ให้โจทก์ร่วม เพราะมีหลักฐานเชื่อได้ว่าอุปกรณ์บางส่วนเป็นของ ม. และ ม. เป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสองจะคืนให้ เมื่อโจทก์ร่วมใช้ค่าติดตั้งในการดำเนินกิจการเคเบิ้ลทีวีร่วมกันในนามของ ว. จึงเป็นการใช้สิทธิยึดหน่วงอย่างหนึ่ง การกระทำของจำเลยทั้งสองขาดเจตนาทุจริตไม่มีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยึดหน่วงเงินค่าจ้างและการหักกลบลบหนี้ กรณีงานติดตั้งมีข้อบกพร่อง จำเลยต้องพิสูจน์การตกลงรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
เมื่อโจทก์มิได้เพิกเฉยไม่ซ่อมหลังคาดังที่จำเลยกล่าวอ้างจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะยึดหน่วงเงินค่าจ้างที่ค้างชำระ เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงรับจะเป็นผู้ออกเงินค่าใช้จ่ายในการแก้ไขโครงเหล็กหลังคา จำเลยจึงไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการแก้ไขโครงเหล็กหลังคามาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ค้างชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมมอบหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้ของผู้อื่น ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดถือได้จนกว่าหนี้จะหมด
โจทก์มอบอำนาจให้ พ. จำนองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นประกันหนี้เงินกู้ของ ค. กับจำเลยและได้มอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยยึดถือไว้ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนจำนองถือได้ว่าโจทก์ได้ยินยอมมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของ ค. ที่มีต่อจำเลยเมื่อ ค. ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกหนังสือรับรองการทำประโยชน์คืนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงที่ดินตามคำพิพากษา: การกระทำโดยชอบที่ไม่ก่อให้เกิดความรับผิด
เมื่อโจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่พิพาทแปลงเดียวกันกับที่พิพาทในคดีนี้ แต่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวพิพากษาว่า จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะได้รับชำระราคา และยังไม่ปรากฏว่าคำพิพากษาดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไขกลับ หรืองดเสียแต่ประการใด โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่จำเลยทั้งสองยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่จึงเป็นการกระทำโดยชอบตามคำพิพากษาของศาล ไม่เป็นการละเมิดหรือผิดสัญญาต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายอย่างไร แม้จะเป็นผลให้ผู้ที่จะซื้อที่พิพาทต่อจากโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ก็ตาม จำเลยทั้งสองก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้บางส่วน, เช็ค, สัญญาค้ำประกัน, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายว่าจำเลยนำเช็คไปขายลดเท่าใด ชำระแล้วเท่าใด ค้างอีกเท่าใด แต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ทราบยอดหนี้ที่แน่นอน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจสภาพแห่งข้อหา ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงแตกต่างไปจากที่ให้การต่อสู้คดีไว้ และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มี น. ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรับรอง และยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้ตนฟ้องคดีจริง แม้จะไม่ได้นำผู้มอบอำนาจมาเบิกความเป็นพยาน เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างย่อมฟังได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ น. ฟ้องคดีจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เมื่อเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดเช็คดังกล่าวไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คได้ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยที่ 1 จึงสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้แทนเพื่อเป็นประกันเช็คที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องคืนเช็คที่ขายลดดังนี้ การสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้โจทก์ไป จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้และตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์ยึดถือเช็คที่ขายลดไว้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่คืนเช็คที่ทำสัญญาขายลดไว้ เพื่อปัดความรับผิดไม่ต้องชำระหนี้หาได้ไม่ การที่ น. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง แต่หลังจากฟ้องแล้ว ทราบว่าจำเลยนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์แต่จะเป็นจำนวนเท่าใดจำไม่ได้นั้น เป็นการเบิกความยืนยันว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหนี้อยู่ตามฟ้อง เมื่อฟ้องแล้วหนี้ได้ลดลงเพราะได้มีการชำระหนี้กันบางส่วน เพียงแต่จำนวนเท่าใดจำไม่ได้เท่านั้น ทางพิจารณาจึงไม่ต่างกับฟ้อง แม้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องจำนวนเงินที่ตนจะต้องรับผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกันร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงิน 2,000,000บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายลดเช็ค: สิทธิเรียกร้องหนี้, การยึดเช็คเป็นหลักฐาน, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายว่าจำเลยนำเช็คไปขายลดเท่าใด ชำระแล้วเท่าใด ค้างอีกเท่าใด แต่จำเลยที่ 1ที่ 2 อุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ทราบยอดหนี้ที่แน่นอน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจสภาพแห่งข้อหา ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง อุทธรณ์ของจำเลย-ที่ 1 ที่ 2 จึงแตกต่างไปจากที่ให้การต่อสู้คดีไว้ และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มี น.ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรับรอง และยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้ตนฟ้องคดีจริง แม้จะไม่ได้นำผู้มอบอำนาจมาเบิกความเป็นพยาน เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ย่อมฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เมื่อเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดเช็คดังกล่าวไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้แทนเพื่อเป็นประกันเช็คที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องคืนเช็คที่ขายลด ดังนี้ การสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้โจทก์ไป จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้และตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ 1ยินยอมให้โจทก์ยึดถือเช็คที่ขายลดไว้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่คืนเช็คที่ทำสัญญาขายลดไว้ เพื่อปัดความรับผิดไม่ต้องชำระหนี้หาได้ไม่
การที่ น. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง แต่หลังจากฟ้องแล้ว ทราบว่าจำเลยนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์แต่จะเป็นจำนวนเท่าใดจำไม่ได้นั้น เป็นการเบิกความยืนยันว่า ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหนี้อยู่ตามฟ้อง เมื่อฟ้องแล้วหนี้ได้ลดลงเพราะได้มีการชำระหนี้กันบางส่วน เพียงแต่จำนวนเท่าใดจำไม่ได้เท่านั้น ทางพิจารณาจึงไม่ต่างกับฟ้อง
แม้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องจำนวนเงินที่ตนจะต้องรับผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงิน 2,000,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ 247
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มี น.ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรับรอง และยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้ตนฟ้องคดีจริง แม้จะไม่ได้นำผู้มอบอำนาจมาเบิกความเป็นพยาน เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ย่อมฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เมื่อเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดเช็คดังกล่าวไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้แทนเพื่อเป็นประกันเช็คที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องคืนเช็คที่ขายลด ดังนี้ การสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้โจทก์ไป จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้และตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ 1ยินยอมให้โจทก์ยึดถือเช็คที่ขายลดไว้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่คืนเช็คที่ทำสัญญาขายลดไว้ เพื่อปัดความรับผิดไม่ต้องชำระหนี้หาได้ไม่
การที่ น. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง แต่หลังจากฟ้องแล้ว ทราบว่าจำเลยนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์แต่จะเป็นจำนวนเท่าใดจำไม่ได้นั้น เป็นการเบิกความยืนยันว่า ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหนี้อยู่ตามฟ้อง เมื่อฟ้องแล้วหนี้ได้ลดลงเพราะได้มีการชำระหนี้กันบางส่วน เพียงแต่จำนวนเท่าใดจำไม่ได้เท่านั้น ทางพิจารณาจึงไม่ต่างกับฟ้อง
แม้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องจำนวนเงินที่ตนจะต้องรับผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงิน 2,000,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่า, การคืนทรัพย์สิน, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ย: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นความรับผิดตามสัญญา
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้จำเลยชำระเงินเพื่อประกันความเสียหายของทรัพย์สินที่ระบุไว้ท้ายสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะผิดสัญญาเพราะไม่สามารถเอาที่ดินที่ให้เช่าให้จำเลยดำเนินการร้านอาหารได้ต่อไป แต่เมื่อทรัพย์สินที่ระบุไว้ท้ายสัญญาเช่าเป็นของโจทก์ จำเลยก็ต้องคืนให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่คืนให้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่คืนเงินประกันความเสียหายจนกว่าจำเลยจะคืนทรัพย์สินที่เช่าให้โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์ในการใช้ทรัพย์สินแก่โจทก์โดยมิได้ให้จำเลยต้องรับผิดดอกเบี้ยด้วยโจทก์มิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับดอกเบี้ยข้อพิพาทเรื่องดอกเบี้ยจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยอีก.