พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันคดีอาญา: สิทธิบังคับคดีแม้พ้น 10 ปี และผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม
ในคดีอาญา ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันในคดีนี้มีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องในคดีนี้จึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาอุทธรณ์ค่าปรับจากการบังคับตามสัญญาประกัน – คดีไม่ใช่คดียาเสพติด
คดีเกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 มิใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ดังนี้ เมื่อผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ประกันที่ขอให้งดหรือลดค่าปรับ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกันจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7035/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอลดค่าปรับ การอุทธรณ์และฎีกาจึงไม่รับ
ผู้ประกันขอลดค่าปรับและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ประกันอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของผู้ประกัน เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง ผู้ประกันไม่อาจจะฎีกาต่อมาอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาบังคับคดีประกัน: ศาลมีอำนาจพิจารณาเหตุพิเศษได้ แม้มีข้อจำกัดทางกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาบังคับคดีเนื่องจากเจ้าหน้าที่ศาล ได้ทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นขอให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดี เนื่องจากระยะเวลาการบังคับคดีใกล้จะครบกำหนดแล้ว รายงานดังกล่าวถือว่าเป็นเพียงรายงานเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ศาลที่เสนอต่อศาลว่า คดีนี้ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ ภายในสำนวนและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่จะปรากฏให้เห็นว่ามีเหตุผลใดที่จะต้องขยายระยะเวลาการบังคับคดีออกไป หากมีข้อเท็จจริงที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชั้นต้นก็สามารถอนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปได้ ไม่จำเป็นต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามรายงานของเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น
ผู้คัดค้านในฐานะหัวหน้าสำนักงานศาลยุติธรรมตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน ซึ่งมีการแก้ไขให้อำนาจผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในกรณีนี้เมื่อปี 2547 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 แต่ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายปัจจุบันก็ยังให้อำนาจพนักงานอัยการในการบังคับคดีแก่นายประกันที่ผิดสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498มาตรา 11 (8) ในคดีนี้ผู้ร้องทั้งสองผิดสัญญาประกันตั้งแต่ปี 2541 ไม่ปรากฏว่ามีการบังคับคดีแก่ผู้ร้องทั้งสองก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่า เกิดจากการที่ผู้คัดค้านไม่เร่งรีบบังคับคดีหรือปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด แต่เหตุที่ไม่มีการบังคับคดีเนื่องจากผู้คัดค้านเพิ่งมีอำนาจตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ทั้งยังมีคดีทำนองเดียวกันที่ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับอีกจำนวนหลายร้อยคดี หากปล่อยให้เลยกำหนดระยะเวลาการบังคับคดีก็จะเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ราชการส่วนรวมได้ ดังนั้น พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นย่อมถือมีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นสามารถที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้
ผู้คัดค้านในฐานะหัวหน้าสำนักงานศาลยุติธรรมตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน ซึ่งมีการแก้ไขให้อำนาจผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในกรณีนี้เมื่อปี 2547 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 แต่ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายปัจจุบันก็ยังให้อำนาจพนักงานอัยการในการบังคับคดีแก่นายประกันที่ผิดสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498มาตรา 11 (8) ในคดีนี้ผู้ร้องทั้งสองผิดสัญญาประกันตั้งแต่ปี 2541 ไม่ปรากฏว่ามีการบังคับคดีแก่ผู้ร้องทั้งสองก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่า เกิดจากการที่ผู้คัดค้านไม่เร่งรีบบังคับคดีหรือปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด แต่เหตุที่ไม่มีการบังคับคดีเนื่องจากผู้คัดค้านเพิ่งมีอำนาจตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ทั้งยังมีคดีทำนองเดียวกันที่ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับอีกจำนวนหลายร้อยคดี หากปล่อยให้เลยกำหนดระยะเวลาการบังคับคดีก็จะเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ราชการส่วนรวมได้ ดังนั้น พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นย่อมถือมีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นสามารถที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประกันและการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้าม
ผู้ประกันทั้งสองยื่นคำร้องครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2548 ว่า ผู้ประกันทั้งสองไม่ได้ผิดสัญญาประกันเพราะไม่ได้รับหมายนัดให้ส่งตัวจำเลย ขอให้ไต่สวนคำร้องในการส่งหมายนัดและงดปรับผู้ประกันทั้งสองศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ประกันทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน คดีถึงที่สุด การที่ผู้ประกันทั้งสองมายื่นคำร้องครั้งใหม่นี้อ้างว่า คำสั่งปรับผู้ประกันทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะอ้างเหตุใหม่ก็ตามแต่ก็เป็นเหตุที่สามารถอ้างได้ตั้งแต่ยื่นคำร้องครั้งแรกและประเด็นที่ต้องวินิจฉัยก็เป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคำสั่งปรับผู้ประกันทั้งสองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และถึงที่สุดไปแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลให้ถือว่าผู้ประกันเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน จึงเป็นหน้าที่ของหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมที่จะต้องดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญา แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติวิธีการบังคับผู้ประกันไว้ ทั้งไม่มีกฎหมายอื่นใดบัญญัติไว้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติในลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 271 แห่ง ป.วิ.พ. ผู้ที่จะบังคับคดีชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่ง ไม่ใช่ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จำเลยถูกฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ประกันทั้งสองชำระค่าปรับภายใน 30 วัน เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2548 โดยแจ้งคำสั่งทางไปรษณีย์ตอบรับให้ผู้ประกันทั้งสองทราบแล้ว วันที่ 27 พฤษภาคม 2548 ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาลจังหวัดอุบลราชธานีได้ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีผู้ประกันทั้งสอง ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2552 ป. ผู้รับมอบอำนาจจากหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องของผู้ประกันทั้งสอง ถือได้ว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้บังคับคดีผู้ประกันทั้งสองตามคำสั่งศาลภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งแล้ว
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลให้ถือว่าผู้ประกันเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน จึงเป็นหน้าที่ของหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมที่จะต้องดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญา แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติวิธีการบังคับผู้ประกันไว้ ทั้งไม่มีกฎหมายอื่นใดบัญญัติไว้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติในลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 271 แห่ง ป.วิ.พ. ผู้ที่จะบังคับคดีชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่ง ไม่ใช่ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จำเลยถูกฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ประกันทั้งสองชำระค่าปรับภายใน 30 วัน เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2548 โดยแจ้งคำสั่งทางไปรษณีย์ตอบรับให้ผู้ประกันทั้งสองทราบแล้ว วันที่ 27 พฤษภาคม 2548 ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาลจังหวัดอุบลราชธานีได้ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีผู้ประกันทั้งสอง ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2552 ป. ผู้รับมอบอำนาจจากหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องของผู้ประกันทั้งสอง ถือได้ว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้บังคับคดีผู้ประกันทั้งสองตามคำสั่งศาลภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9082/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอุทธรณ์ของผู้รับรองหลักทรัพย์สัญญาประกัน และเหตุลดค่าปรับ
ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่เห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลมีคำสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" จำเลยที่ 1 กับผู้ร้องมีนิติสัมพันธ์ระหว่างกันตามสัญญาประกันภัยในฐานะผู้เอาประกันกับผู้รับประกัน จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้หนังสือรับรองของผู้ร้องเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน หนังสือรับรองดังกล่าวระบุว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกัน และศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกัน ผู้ร้องตกลงชำระค่าปรับตามสัญญาประกันถือได้ว่าผู้ร้องเกี่ยวข้องกับสัญญาประกันในฐานะผู้รับรองหลักทรัพย์ตามสัญญาประกัน ผู้ร้องจึงเป็นฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันตามความหมายของบทกฎหมายข้างต้น และมีอำนาจยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า ผู้ร้องไม่ใช่คู่สัญญาประกันไม่มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องมานั้น เป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้อง ไม่ใช่การใช้ดุลพินิจวินิจฉัยในเนื้อหาของการลดค่าปรับตามสัญญาประกัน คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงไม่เป็นที่สุด
จำเลยที่ 1 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 8 มิถุนายน 2549 ศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับจำเลยที่ 1 และวันที่ 21 ตุลาคม 2549 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ส่งศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนเกี่ยวข้องหรือช่วยเหลือในการจับกุมจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด แสดงว่าผู้ร้องไม่ได้ขวนขวายติดตามจับตัวจำเลยที่ 1 มาส่งศาล การที่ศาลชั้นต้นไม่ลดค่าปรับให้แก่ผู้ร้องจึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว ปัญหานี้ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปให้เสร็จในคราวเดียวกันโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
จำเลยที่ 1 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 8 มิถุนายน 2549 ศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับจำเลยที่ 1 และวันที่ 21 ตุลาคม 2549 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ส่งศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนเกี่ยวข้องหรือช่วยเหลือในการจับกุมจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด แสดงว่าผู้ร้องไม่ได้ขวนขวายติดตามจับตัวจำเลยที่ 1 มาส่งศาล การที่ศาลชั้นต้นไม่ลดค่าปรับให้แก่ผู้ร้องจึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว ปัญหานี้ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปให้เสร็จในคราวเดียวกันโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13788/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์คำสั่งปรับค่าประกัน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาค่าปรับจากผิดสัญญาประกัน
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอลดหรืองดค่าปรับแก่ผู้ประกันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แล้ว ผู้ประกันได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งแก่ผู้ประกันและผู้ประกันยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จึงเป็นการยื่นไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย
ส่วนที่ผู้ประกันขอให้ศาลฎีกาพิจารณาและมีคำสั่งกรณีของดหรือลดค่าปรับไปในคราวเดียวกันนี้ด้วยนั้น เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ฉะนั้น จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะพิจารณาและมีคำสั่งอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไป ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ของผู้ประกันได้
ส่วนที่ผู้ประกันขอให้ศาลฎีกาพิจารณาและมีคำสั่งกรณีของดหรือลดค่าปรับไปในคราวเดียวกันนี้ด้วยนั้น เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ฉะนั้น จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะพิจารณาและมีคำสั่งอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไป ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ของผู้ประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผิดสัญญา ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยเป็นที่สุด ไม่สามารถฎีกาได้
คดีนี้สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับผู้ประกันทั้งสามซึ่งเป็นผู้ประกัน จำเลยที่ 2 ตามสัญญาประกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ผู้ประกันทั้งสามยื่นคำร้องขอเพิกถอนสัญญาประกัน ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน เห็นว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ดังนั้น ไม่ว่าผู้ประกันทั้งสามจะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวในประเด็นใดก็ตาม ก็ถือเป็นกรณีที่ผู้ประกันทั้งสามผิดสัญญาประกันต่อศาล ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประการใดแล้วและมีการอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของผู้ประกันทั้งสามมานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษาให้ยกฎีกาของผู้ประกันทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาประกันตัวและการบังคับตามสัญญา ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์และไม่รับวินิจฉัย
ผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามนัด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันเป็นเงิน 300,000 บาท ผู้ประกันขอลดค่าปรับและขอผ่อนชำระค่าปรับ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันตัว จำเลยไม่มาศาล ศาลปรับนายประกัน และการผ่อนชำระค่าปรับ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ประกันตัวโดยตีราคาประกัน 100,000 บาท เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยที่ 1 ไม่มาศาล โดยผู้ประกันอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถูกกลุ่มบุคคลจับตัวไปจากบ้านพัก ศาลชั้นต้นไม่เชื่อข้ออ้างของผู้ประกัน ได้ออกหมายจับและปรับนายประกัน ผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ประกันยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า อนุญาตให้ผู้ประกันผ่อนชำระค่าปรับเดือนละไม่น้อยกว่า 2,500 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ดังนี้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119