พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันตัวหลายคน: ลูกหนี้ร่วมหรือรับผิดตามส่วน
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยผู้ประกันทุกคนรวมกันมายื่น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกันหลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนเพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้น เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลยชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกันในวงเงินที่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งในสัญญาประกันก็มีข้อความระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดตามจำนวนในสัญญาประกันอย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันหลายคนในสัญญาประกันตัว: ลูกหนี้ร่วมหรือไม่
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยผู้ประกันทุกคนรวมกันมายื่น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกันหลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนเพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้น เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลยชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกันในวงเงินที่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งในสัญญาประกันก็มีข้อความระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดตามจำนวนในสัญญาประกันอย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจ: การอุทธรณ์คำสั่งปรับของผู้ประกัน
ข.เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ก.ให้นำที่ดินตาม น.ส.3ไปประกันตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า ก.ได้มอบให้ ข.นำที่ดินตาม น.ส.3 ดังกล่าวข้างต้นไปประกันตัวจำเลยต่อศาล และให้มีอำนาจประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกาหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และให้ ข.ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในฐานะผู้ประกันอันพึงปฏิบัติ ทั้งให้ถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลคืนจากศาลได้เท่านั้นก.หาได้มอบอำนาจให้ ข.อุทธรณ์คำสั่งศาลที่สั่งปรับ ก.ผู้ประกันแทน ก.แต่อย่างใดไม่ข.จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจในการอุทธรณ์คำสั่งศาลจำกัดเฉพาะการถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลเท่านั้น
ข. เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ก. ให้นำที่ดินตาม น.ส.3ไปประกันตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า ก. ได้มอบให้ ข. นำที่ดินตาม น.ส.3ดังกล่าวข้างต้นไปประกันตัวจำเลยต่อศาล และให้มีอำนาจประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกาหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุดและให้ ข. ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในฐานะผู้ประกันอันพึงปฏิบัติทั้งให้ถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลคืนจากศาลได้เท่านั้นก. หาได้มอบอำนาจให้ ข. อุทธรณ์คำสั่งศาลที่สั่งปรับก. ผู้ประกันแทน ก. แต่อย่างใดไม่ ข. จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ต้องมีหลักฐานยืนยันการตายที่แน่นอน
ตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ได้ระบุห้ามเจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกนั้นต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน แม้จะได้ความจากพันตำรวจโทพ.พยานโจทก์ตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า เมื่อกลางปี 2532 ผู้ใต้บังคับบัญชารายงาน ให้ทราบว่า ส.ถึงแก่ความตายแล้ว ไม่ได้ทำหนังสือถึงทายาทให้จัดการเกี่ยวกับเรื่องสัญญาประกัน และ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2533 กรมตำรวจได้ ขอความร่วมมือจากอธิบดีกรมอัยการให้จัดพนักงานอัยการ เป็นทนายว่าต่างดำเนินการฟ้อง ส. ให้รับผิดชดใช้เงินค่าปรับกองคดีแพ่งกรมอัยการ รับดำเนินการให้เมื่อ วันที่ 29 มกราคม 2533 ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเพียง ข้อมูลเบื้องต้นที่ทราบถึงการตายของ ส. ยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้ว่า ส.ถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทำบันทึกลงวันที่ 22 มิถุนายน 2535 รายงานพันตำรวจโทพ.ว่าส.ได้ถึงแก่ความตายแล้ว พร้อมทั้งแสดงมรณบัตร พันตำรวจโทพ. รับทราบในวันเดียวกันย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการตายของส.แล้วนับแต่นั้นโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของส.เจ้ามรดกฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส.เป็นผู้ประกันตัวว. ผู้ต้องหาแล้วผิดสัญญาประกันต้องใช้เงินจำนวน 500,000 บาท จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกและจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทผู้รับ ทรัพย์ตามพินัยกรรมของส.จึงต้องรับผิดต่อโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกันเมื่อจำเลยเสียชีวิตก่อนวันนัด ศาลไม่สามารถปรับผู้ประกันได้
เมื่อ จำเลย ตาย ตั้งแต่ ก่อน วันนัด พิจารณา คดี ของ ศาล ผู้ประกัน จำเลย จะ รู้ หรือไม่ รู้ ว่า จำเลย ตาย จริง หรือไม่ หรือ ผู้ประกัน จำเลย จะ ตั้งใจ หรือไม่ ตั้งใจ ที่ จะ นำ จำเลย มา ศาล ตาม นัด หรือไม่ ก็ ไม่มี ทาง ที่ ผู้ประกัน จำเลย จะ นำตัว จำเลย มา ส่ง ศาล ได้ การ ที่ ผู้ประกัน จำเลย มา ศาล ตาม นัด ใน เวลา ต่อมา จึง ไม่ใช่ ความผิด ของ ผู้ประกัน จำเลย ผู้ประกัน จำเลย จึง ไม่ผิด สัญญาประกัน ศาล ปรับ ผู้ประกัน จำเลย ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันตัวจำเลยถึงแก่ความตายก่อนนัด - ผู้ประกันไม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยตายตั้งแต่ก่อนถึงวันนัดพิจารณาคดีของศาล ผู้ประกันจำเลยจะรู้หรือไม่รู้ว่าจำเลยตายจริงหรือไม่ หรือผู้ประกันจำเลยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่จะนำจำเลยมาศาลตามนัดหรือไม่ ก็ไม่มีทางที่ผู้ประกันจำเลยจะนำตัวจำเลยมาส่งศาลได้ การที่ผู้ประกันจำเลยไม่นำตัวจำเลยมาศาลตามนัดในเวลาต่อมาจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ประกันจำเลย ผู้ประกันจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาประกันศาลปรับผู้ประกันจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7326/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาประกันตัว: ศาลมีอำนาจลดจำนวนลงได้หากผู้ถูกประกันได้รับโทษทางอาญาครบถ้วน
จำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องชำระเมื่อมีการผิดสัญญาโดยส่งตัวผู้ที่ขอประกันให้ตามกำหนดมิได้นั้นเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เมื่อพิเคราะห์ถึงปัญหาแห่งความผิดที่อ้างว่า พ. ผู้ต้องหากระทำความผิดฐานลักลอบนำของหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติศุลกากรประกอบกับโจทก์ได้ตัว พ. ไปดำเนินคดีจนได้ค่าปรับตามบทบัญญัติกฎหมายครบถ้วนแล้ว โจทก์ไม่ได้เสียหายอะไรอีกจึงเห็นควรลดจำนวนเงินค่าปรับลงให้เหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประกัน – คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงที่สุด – ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาไม่ชอบ
ผู้ประกันขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ประกันอุทธรณ์ขอให้ไม่ปรับหรือปรับน้อยลง ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่าให้ลดค่าปรับผู้ประกันลงเหลือ 250,000บาท คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ประกันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันตัวผู้ต้องหาเสียชีวิตก่อนนัดพิจารณาคดี ผู้ประกันไม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยตายตั้งแต่ก่อนวันนัดพิจารณาคดีของศาลผู้ประกันจำเลยจะรู้หรือไม่รู้ว่าจำเลยตายจริงหรือไม่หรือผู้ประกันจำเลยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่จะนำจำเลยมาศาลตามนัดหรือไม่ ก็ไม่มีทางที่ผู้ประกันจำเลยจะนำตัวจำเลยมาส่งศาลได้ การที่ผู้ประกันจำเลยมาศาลตามนัดในเวลา ต่อมาจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ประกันจำเลย ผู้ประกันจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาประกันศาลปรับผู้ประกันจำเลยไม่ได้