คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 119

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7888/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีหลังชำระค่าปรับ: อัยการไม่มีหน้าที่บังคับคดีทรัพย์สิน
ในระหว่างฎีกา ปรากฏว่าผู้ประกันจำเลยได้นำตัวจำเลยส่งมอบต่อศาล และได้ยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งลดค่าปรับให้คดีถึงที่สุดและผู้ประกันจำเลยได้ชำระค่าปรับต่อศาลชั้นต้นถูกต้องครบถ้วนแล้วศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งงดการบังคับคดีและคืนหลักประกัน ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาพนักงานอัยการที่ว่า พนักงานอัยการไม่มีหน้าที่ดำเนินการบังคับคดีโดยไปนำยึดหรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปนำยึดทรัพย์สินของผู้ประกันจำเลย จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการดำเนินคดีบังคับตามสัญญาประกัน: หน้าที่ขอออกหมายบังคับคดี ไม่ใช่หน้าที่นำยึดทรัพย์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(8)บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา และตามมาตรา 4 ให้คำจำกัดความของคำว่าดำเนินคดีว่าหมายถึงการดำเนินการไปตามอำนาจและหน้าที่ในทางอรรถคดีของทางพนักงานอัยการ ดังนั้น เมื่อมีการผิดสัญญาประกันจำเลยเกิดขึ้น พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความของแผ่นดินเป็นผู้ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา ซึ่งหมายถึงการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีการนำยึดและจัดการอื่นใดในทางอรรถคดีเพื่อเป็นผลให้ได้เงินค่าปรับตามคำสั่งศาล หาใช่หน้าที่ของศาลเจ้าหน้าที่ศาลหรือนายประกันที่จะเป็นผู้นำยึดทรัพย์ที่วางประกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีค่าปรับจากสัญญาประกันตัว: กำหนดระยะเวลาและการผิดนัดชำระ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันตัวจำเลยในคดีอาญาจำนวน70,000 บาท ในวันที่ 22 ตุลาคม 2525 ผู้ประกันยื่นคำร้องต่อศาลในวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ขอผ่อนชำระค่าปรับต่อศาลเดือนละ 300 บาทจนกว่าจะครบตามจำนวนที่ศาลสั่งปรับ ศาลมีคำสั่งในวันเดียวกันว่าอนุญาตให้ผ่อนเดือนละ 3,000 บาท เมื่อคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแต่ผู้ประกันมิได้ชำระค่าปรับต่อศาลตั้งแต่เดือนแรกและตลอดมาย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลทั้งหมด พนักงานอัยการจึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(8)ที่จะดำเนินการในการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประกัน โดยขอให้ศาลบังคับให้ผู้ประกันชำระหนี้ค่าปรับทั้งหมดได้ทันทีนับแต่วันที่ผู้ประกันผิดนัดคือวันที่ 29 พฤศจิกายน 2525 แต่ทั้งนี้ก็ต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลที่สั่งปรับผู้ประกันภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำสั่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดี ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งเกินกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกัน สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลและการหมดอายุสิทธิบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันและอนุญาตให้ผ่อนชำระค่าปรับเดือนละ 3,000 บาท แต่ผู้ประกันมิได้ชำระค่าปรับต่อศาลตั้งแต่เดือนแรกและตลอดมา การที่ผู้ประกันไม่ชำระค่าปรับตามที่ศาลมีคำสั่งให้ผ่อนชำระแม้แต่เพียงเดือนแรก ผู้ประกันย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลทั้งหมด พนักงานอัยการจึงมีอำนาจที่จะดำเนินการในการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประกัน โดยขอให้ศาลบังคับให้ผู้ประกันชำระค่าปรับทั้งหมดได้ทันทีนับแต่วันที่ผู้ประกันผิดนัด แต่ทั้งนี้ก็จะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลที่สั่งปรับผู้ประกันภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำสั่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลและการสิ้นสิทธิเรียกร้องบังคับคดีเกิน 10 ปี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันและอนุญาตให้ผ่อนชำระค่าปรับเดือนละ 3,000 บาท แต่ผู้ประกันมิได้ชำระค่าปรับต่อศาลตั้งแต่เดือนแรกและตลอดมา การที่ผู้ประกันไม่ชำระค่าปรับตามที่ศาลมีคำสั่งให้ผ่อนชำระแม้แต่เพียงเดือนแรกผู้ประกันย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลทั้งหมดพนักงานอัยการจึงมีอำนาจที่จะดำเนินการในการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประกัน โดยขอให้ศาลบังคับให้ผู้ประกันชำระค่าปรับทั้งหมดได้ทันทีนับแต่วันที่ผู้ประกันผิดนัด แต่ทั้งนี้ก็จะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลที่สั่งปรับผู้ประกันภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำสั่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีเกินกว่า10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: การตีราคาค่าประกัน, การผิดสัญญา, และเบี้ยปรับที่ศาลลดได้
สัญญาประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ตาม ประมวลรัษฎากรจะใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่ศาลชั้นต้น แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่รับวินิจฉัยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่ต้องหาว่ากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯพนักงานสอบสวนตีราคาค่าประกันตัวผู้ต้องหาไม่สูงกว่าจำนวนเงินในเช็ค จึงย่อมกระทำได้โดยชอบ ส่วนจะปฏิบัติตามระเบียบของกรมตำรวจหรือไม่ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้สัญญาประกันเป็นโมฆะ เพราะระเบียบของกรมตำรวจมิใช่กฎหมาย สัญญาประกันได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็ตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องถูกปรับให้ใช้เงินตามจำนวนที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาเนื่องจากเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกันไม่สามารถส่งตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนได้ตามกำหนด ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน และเกิดความเสียหายแก่การยุติธรรมเป็นส่วนรวมจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันที่จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เมื่อผิดสัญญาจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันต่อศาล: คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ห้ามฎีกาอีก
ในกรณีที่ผิดสัญญาประกันต่อศาลและศาลสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้วเมื่อมีคำอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยสั่งเป็นประการใดแล้วคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ผู้ประกันจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับค่าปรับตามสัญญาประกันต่อไปอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดพิจารณาคดีไปยังที่อยู่ของผู้ประกันที่ถูกต้องตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ถือว่าชอบแล้ว
เจ้าหน้าที่ศาลได้ไปส่งหมายให้ผู้ประกันที่บ้านเลขที่ 370ถนนธรรมนูญวิถี ตำบลหาดใหญ่ ตามที่ผู้ประกันอ้างว่าได้ย้ายไปอยู่แล้วมิได้ไปส่งที่บ้านเลขที่ 37 ถนนประชารักษ์ ตำบลหาดใหญ่ ดังที่ผู้ประกันกล่าวอ้าง แต่ถึงแม้จะฟังว่าไปส่งที่บ้านเลขที่ 37 ถนนประชารักษ์ บ้านเลขที่ดังกล่าวก็ตรงกับที่อยู่ของผู้ประกันตามคำร้องขอปล่อยชั่วคราว จำเลยที่ 2 ในระหว่างอุทธรณ์ การส่งหมายนัดให้ผู้ประกันจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัว, การปรับค่าประกัน, และอำนาจศาลในการลดค่าปรับเมื่อจำเลยมาศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ให้ขังจำเลยทั้งสี่ระหว่างฎีกาผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไปจากศาลชั้นต้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ผู้ประกันไม่สามารถส่งตัวจำเลยทั้งสองนี้ได้ ศาลชั้นต้นปรับเต็มจำนวนตามสัญญาประกันคนละ 600,000 บาท ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ยกฟ้องผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลและของด หรือลดค่าปรับ ศาลสอบถามถึงการชำระค่าปรับในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันจำเลยที่ 2แล้ว ผู้ประกันขอชำระเงินค่าปรับ 300,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระเดือนละ 20,000 บาท จนกว่าจะครบ ศาลชั้นต้นให้รับเงินและผ่อนชำระได้ ดังนี้ เมื่อปรากฎว่าผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นฉบับเดียวกันศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งปรับผู้ประกันเพราะผิดสัญญาประกันในคำสั่งเดียวกันได้ และเมื่อภายหลังผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลหลังวันที่ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเป็นเวลา 1 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งลดค่าปรับผู้ประกันเฉพาะจำเลยที่ 3 ภายในเงื่อนไขซึ่งเกี่ยวพันกับการปรับผู้ประกันในส่วนของจำเลยที่ 2 ว่าต้องชำระค่าปรับที่เห็นควรลดให้มาแล้วนั้นภายใน 1 เดือนและต้องไม่ผิดนัดการชำระค่าปรับสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยมิฉะนั้นให้ปรับเต็มตามสัญญาประกันได้ ตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวและอำนาจศาลในการปรับค่าประกันเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ให้ขังจำเลยทั้งสี่ระหว่างฎีกา ผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2ที่ 3 ไปจากศาลชั้นต้น ถึงวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ผู้ประกันไม่สามารถส่งตัวจำเลยทั้งสองนี้ได้ ศาลชั้นต้นปรับเต็มจำนวนตามสัญญาประกันคนละ 600,000 บาทต่อมาศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ยกฟ้องผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลและของดหรือลดค่าปรับ ศาลสอบถามถึงการชำระค่าปรับในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันจำเลยที่ 2 แล้ว ผู้ประกันขอชำระเงินค่าปรับ 300,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระเดือนละ 20,000 บาท จนกว่าจะครบ ศาลชั้นต้นให้รับเงินและผ่อนชำระได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นฉบับเดียวกัน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งปรับผู้ประกันเพราะผิดสัญญาประกันในคำสั่งเดียวกันได้ และเมื่อภายหลังผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3มาส่งศาลหลังวันที่ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเป็นเวลา 1 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งลดค่าปรับผู้ประกันเฉพาะจำเลยที่ 3 ภายในเงื่อนไขซึ่งเกี่ยวพันกับการปรับผู้ประกันในส่วนของจำเลยที่ 2 ว่าต้องชำระค่าปรับที่เห็นควรลดให้แล้วนั้นภายใน 1 เดือน และต้องไม่ผิดนัดการชำระค่าปรับสำหรับจำเลยที่ 2ด้วย มิฉะนั้นให้ปรับเต็มตามสัญญาประกันได้ ตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 119
of 23