คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 119

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5342/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดในคดีผิดสัญญาประกัน
กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลสั่งปรับผู้ประกัน ผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้ประกันจะฎีกาไม่ได้ เพราะคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีจากสัญญาประกัน: พนักงานอัยการต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากคำสั่งศาล
เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไร จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับ คือจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลภายใน 10 ปี เมื่อพนักงานอัยการมาร้องขอให้ศาลบังคับคดีเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไป
ศาลยึดโฉนดที่ผู้ประกันนำมาให้ศาลยึดไว้ประกอบสัญญาประกันก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ไม่อาจกระทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะยึดโฉนดของผู้ประกันไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีตามสัญญาประกัน: พนักงานอัยการต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากคำสั่งศาล
เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไร จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับ คือจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลภายใน 10 ปีเมื่อพนักงานอัยการมาร้องขอให้ศาลบังคับคดีเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไป ศาลยึดโฉนดที่ผู้ประกันนำมาให้ศาลยึดไว้ประกอบสัญญาประกันก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ไม่อาจกระทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะยึดโฉนดของผู้ประกันไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาประกันตัว จำเลยหลบหนี ศาลสั่งปรับตามสัญญา และคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
ผู้ประกันผิดสัญญาประกันและศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันแล้ว การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายเวลาส่งตัวจำเลยที่ 2 ไป หรือลดค่าปรับลงโดยขอผ่อนชำระค่าปรับเป็นรายเดือน แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17)พ.ศ. 2532 มาตรา 4 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ประกันจึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผิดเงื่อนไข ศาลมีอำนาจปรับตามสัญญา คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
ผู้ประกันผิดสัญญาประกัน และศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาแล้ว การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายเวลาส่งตัวจำเลยไป หรือลดค่าปรับลงโดยขอผ่อนชำระค่าปรับเป็นรายเดือน แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งบังคับตามสัญญาประกัน ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 114 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4 บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด ผู้ประกันจึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันตามสัญญาประกัน กรณีจำเลยหลบหนี และการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีที่ไม่ถูกต้อง
กรณีมีอุบัติเหตุรถยนต์ติดหล่มเดินทางไปยังศาลที่พิจารณาคดีไม่ทัน ผู้ประกันมีสิทธิยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและผัดการส่งตัวจำเลยต่อศาลที่ผู้ประกันอยู่ในเขตในขณะนั้นโดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 10 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้ แต่การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องต่อศาลที่ผู้ประกันอยู่ในเขตขณะเกิดเหตุ เมื่อเวลา 13.40นาฬิกา ซึ่งล่วงเลยเวลานัดไปแล้ว โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าการเดินทางต่อไปยังศาลชั้นต้นคดีนี้ต้องใช้เวลามากกว่าหรือยากลำบากกว่าเพียงใด ผู้ประกันจึงไม่อาจนำจำเลยไปแสดงตัวต่อศาลชั้นต้นคดีนี้ได้ ทั้งยังปรากฏต่อมาว่าเมื่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีเลื่อนการพิจารณาไปเป็นวันอื่น ผู้ประกันก็ส่งตัวจำเลยตามสัญญาประกันไม่ได้ แม้ภายหลังจากที่ศาลสั่งปรับผู้ประกันฐานผิดสัญญาประกันแล้ว ผู้ประกันก็มิได้นำส่งตัวจำเลยต่อศาลเพื่อขอลดค่าปรับหรือบรรเทาผลร้ายอีก เช่นนี้เชื่อได้ว่าจำเลยหลบหนีไม่มาศาลชั้นต้นตามกำหนดนัดตั้งแต่วันที่อ้างว่ามีอุบัติเหตุแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล เนื่องจากคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามกฎหมาย
กรณีผิดสัญญาประกันต่อ ศาล เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอย่างใดแล้ว คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 119 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4 ผู้ประกันยื่นฎีกาเมื่อเวลาที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้ บังคับแล้ว ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในคดีสัญญาประกัน: ผลของกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันยื่นฎีกา
ผู้ประกันยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 อันเป็นเวลาหลังจากที่ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532มีผลใช้ บังคับแล้ว สิทธิในการฎีกาของผู้ประกันจึงต้อง พิจารณาตาม บทกฎหมายที่ใช้ ขณะยื่น ฎีกาซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 119 ที่แก้ไขแล้ว และใช้ บังคับในขณะที่ผู้ขอประกันยื่นฎีกาบัญญัติให้ฝ่ายผู้ถูกบังคับตาม สัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ แต่ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด กรณีของผู้ประกันจึงเป็นที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังพ.ร.บ.แก้ไขป.วิ.อาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 บัญญัติให้คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ในคดีผิดสัญญาประกันเป็นที่สุด
ผู้ประกันประกันตัวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาผู้ประกันผิดสัญญาประกันถูกศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันเป็นเงิน 300,000 บาท ผู้ประกันอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้ประกันยื่นฎีกาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 อันเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มีผลใช้บังคับแล้ว สิทธิในการฎีกาจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะยื่นฎีกา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ที่แก้ไขแล้ว และ ใช้บังคับในขณะที่ผู้ประกันยื่นฎีกาบัญญัติไว้ว่า "กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องเมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ดังนั้น กรณีของผู้ประกันจึงเป็นที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาประกันตัวและการสิ้นสุดสิทธิฎีกาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่แก้ไขใหม่
ผู้ประกันประกันตัวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาผู้ประกันผิดสัญญาประกันถูกศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันเป็นเงิน 300,000 บาท ผู้ประกันอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้ประกันยื่นฎีกาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 อันเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มีผลใช้บังคับแล้ว สิทธิในการฎีกาจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะยื่นฎีกา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ที่แก้ไขแล้ว และใช้บังคับในขณะที่ผู้ประกันยื่นฎีกาบัญญัติไว้ว่า "กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องเมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ดังนั้น กรณีของผู้ประกันจึงเป็นที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
of 23