คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 119

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาจำกัดในคดีผิดสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532
ผู้ประกันยื่นฎีกาหลังจาก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้ บังคับแล้ว สิทธิในการฎีกาของผู้ประกันต้อง พิจารณาตาม กฎหมายที่ใช้ บังคับในขณะยื่น ฎีกา ซึ่ง ป.วิ.อ.มาตรา 119 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ดังกล่าว บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อ ศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตาม สัญญาประกัน หรือตาม ที่ศาลเห็น สมควรโดย มิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้วฝ่ายผู้ถูก บังคับตาม สัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ฎีกาของผู้ประกันเป็นฎีกาเกี่ยวกับการสั่งบังคับตาม สัญญาประกัน ซึ่ง คำสั่งบังคับตาม สัญญาดังกล่าวเป็นที่สุดแล้วตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้ประกันไม่มีสิทธิฎีกาตาม บทบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา
ผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของผู้ประกันโดยไม่ถูกต้อง ผู้ประกันจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันดังกล่าวการที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้ว ผู้ประกันไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 (คดีนี้มิใช่เป็นเรื่องการบังคับตามสัญญาประกันโดยตรง แต่พิพาทกันในเรื่องค่าธรรมเนียมถอนการยึด คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ผู้ประกันฎีกาได้).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา
ผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของผู้ประกันโดยไม่ถูกต้อง ผู้ประกันจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันดังกล่าวการที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้ว ผู้ประกันไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249(คดีนี้มิใช่เป็นเรื่องการบังคับตามสัญญาประกันโดยตรง แต่พิพาทกันในเรื่องค่าธรรมเนียมถอนการยึด คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ผู้ประกันฎีกาได้).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาผู้ประกันหลัง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 17) ใช้บังคับ: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ประกันยื่นฎีกาภายหลังจาก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 17) ใช้ บังคับแล้ว สิทธิในการฎีกาของผู้ประกันต้อง พิจารณาตาม บทกฎหมายที่ใช้ ในขณะที่ยื่น ฎีกาดังนี้ กรณีของผู้ขอประกันจึงเป็นที่สุด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาผิดสัญญาประกัน: ผลกระทบจากการแก้ไข ป.วิ.อ. มาตรา 119
ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเต็มตามสัญญาประกันฐานผิดสัญญาศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ประกันจะฎีกาไม่ได้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดย ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ซึ่งผู้ประกันจะฎีกาได้หรือไม่เพียงใด ต้องพิเคราะห์ตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ยื่นฎีกานั้นเอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของผู้ขอประกัน พิจารณาจากกฎหมายในวันยื่นฎีกา แม้ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว
การพิจารณาว่าผู้ขอประกันมีสิทธิฎีกาได้หรือไม่เพียงไรต้องพิจารณาตามบทกฎหมายและสิทธิในวันยื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ขอประกัน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน สิทธิของผู้ขอประกันจึงเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ที่แก้ไขและมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ที่ผู้ขอประกันยื่นฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาผู้ขอประกัน: ผลของกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันยื่นฎีกาและการสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์
สิทธิในการฎีกาของผู้ขอประกันต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ยื่นฎีกา ผู้ขอประกันยื่นฎีกาเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งบัญญัติให้ผู้ขอประกันมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งศาลในกรณีผิดสัญญาประกันได้ และคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น กรณีจึงเป็นที่สุดผู้ขอประกันไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกา: พิจารณาจากบทกฎหมายและสิทธิ ณ วันยื่นฎีกา กรณีศาลชั้นต้น/อุทธรณ์สั่งปรับ
การพิจารณาว่าผู้ขอประกันมีสิทธิฎีกาได้หรือไม่เพียงไรต้องพิจารณาตามบทกฎหมายและสิทธิในวันยื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ขอประกัน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน สิทธิของผู้ขอประกันจึงเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ที่แก้ไขและมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ที่ผู้ขอประกันยื่นฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาประกันตัวจำเลย: ศาลฎีกาไม่อนุญาตลดค่าปรับแม้ผู้ประกันมีภาระหนักและพยายามติดตามตัวจำเลย
เหตุที่ผู้ประกันอ้างว่า ผู้ประกันมิได้เพิกเฉยละเลยต่อสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาล ได้พยายามติดตามตัวจำเลยมาส่งศาลตลอดมา การผิดสัญญาประกันจึงมิใช่เจตนาร้ายแรง และการที่ผู้ประกันต้องชำระค่าปรับเต็มตามสัญญาประกัน ผู้ประกันต้องเดือดร้อนมาก เนื่องจากได้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการติดตามจำเลยไปมากผู้ประกันเป็นราษฎรประกอบอาชีพโดยสุจริตและชรามากแล้ว สุขภาพไม่แข็งแรงมีลักษณะคล้ายกับเป็นอัมพาตไปครึ่งซีกต้องให้แพทย์รักษาอยู่ตลอดเวลา สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ไม่เข้าลักษณะที่ศาลจะปรานี ลดค่าปรับให้ผู้ประกันได้ เพราะจนถึงเวลาที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเรื่องปรับผู้ประกัน ผู้ประกันก็ยังไม่สามารถนำตัวจำเลยมาส่งศาลเพื่อรับโทษตามคำพิพากษาของศาลได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัว - การไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาล - การลดค่าปรับ - เหตุผลไม่เพียงพอ
ผู้ประกันขอลดค่าปรับโดยอ้างว่า ผู้ประกันมิได้เพิกเฉยละเลยต่อสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาล ได้พยายามติดตามตัวจำเลยมาส่งศาลตลอดมา การผิดสัญญาประกันจึงมิใช่เจตนาร้ายแรง และการที่ผู้ประกันต้องชำระค่าปรับเต็มตามสัญญาประกัน ผู้ประกันต้องเดือดร้อนมากเนื่องจากได้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการติดตามจำเลยไปมาก ผู้ประกันเป็นราษฎรประกอบอาชีพโดยสุจริตและชรามากแล้ว สุขภาพไม่แข็งแรงมีลักษณะคล้ายกับเป็นอัมพาตไปครึ่งซีก ต้องให้แพทย์รักษาอยู่ตลอดเวลาสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากนั้น ไม่เข้าลักษณะที่ศาลจะปรานีลดค่าปรับให้ผู้ประกันได้ เพราะจนถึงเวลาที่ศาลมีคำพิพากษาเรื่องปรับผู้ประกัน ผู้ประกันก็ยังไม่สามารถนำตัวจำเลยมาส่งศาลเพื่อรับโทษตามคำพิพากษาของศาลได้
of 23