พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ข้อโต้แย้งการปฏิบัติตามคำพิพากษา ไม่ต้องยื่นคำร้องภายใน 15 วัน
คดีนี้ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า การออกหมายบังคับคดีของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมถูกต้องครบถ้วนแล้ว อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวด้วยสิทธิในการร้องขอ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิใช่เรื่องที่จำเลยอ้างว่าหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นออกให้ตามคำขอของโจทก์ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่บัญญัติให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนการยึดทรัพย์เมื่อหนี้ระงับ แม้ทรัพย์สินเป็นสินสมรส ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอได้
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินของผู้ร้องเนื่องจากหนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์มีต่อจำเลยระงับไปแล้ว เป็นการกล่าวอ้างว่า จำเลยไม่มีสิทธิบังคับคดีต่อโจทก์อีกต่อไปและการบังคับคดีโดยการยึดที่ดินของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะอุทธรณ์ว่าทรัพย์สินที่ยึดเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องและโจทก์ก็ตาม แต่หากหนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยเป็นหนี้ที่ระงับไปแล้ว การยึดที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายจากเหตุดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง กรณีไม่ใช่การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดโดยอ้างว่าทรัพย์สินที่ยึดไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14890/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีไม่ชอบจากข้อมูลทรัพย์ไม่ตรงจริง ผู้ซื้อมีสิทธิขอเพิกถอนได้ภายใน 15 วัน
เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 245 มีชื่อจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ เนื้อที่ 54.6 ตารางวา มีสิ่งปลูกสร้างที่จะทำการขายด้วย คือ บ้านเดี่ยวตึกชั้นเดียว ขนาด 6x12 เมตร จำนวน 1 หลัง ไม่ปรากฏเลขทะเบียน ผู้ร้องซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ หลังจากนั้นผู้ร้องให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัด ปรากฏว่าบ้านหลังดังกล่าวมีส่วนที่ปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 245 เพียง 6x2 เมตร เท่านั้น จึงถือว่าบ้านเดี่ยวตึกชั้นเดียวขนาด 6x12 เมตร ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดไม่มีอยู่จริง ดังนั้น การยึดบ้านทั้งหลังออกขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นการบังคับคดีไม่ชอบและฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลมีอำนาจเพิกถอนการยึดทรัพย์และการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมบ้านหลังดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง
เมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดและทราบว่ามีส่วนของบ้านอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 245 เพียงบางส่วนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 จึงยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้าง โดยมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่ ทั้งมิได้ให้สัตยาบันหลังจากได้ทราบเรื่องการบังคับคดีไม่ชอบ ผู้ร้อง (ผู้ซื้อทรัพย์) จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม
เมื่อปรากฏว่าผู้ซื้อทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดและทราบว่ามีส่วนของบ้านอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 245 เพียงบางส่วนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 จึงยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้าง โดยมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่ ทั้งมิได้ให้สัตยาบันหลังจากได้ทราบเรื่องการบังคับคดีไม่ชอบ ผู้ร้อง (ผู้ซื้อทรัพย์) จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14634/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้วางเงินประกันเพื่อคัดค้านการขายทอดตลาด: ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน, คำสั่งยกคำร้องเป็นที่สุด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ในราคาต่ำเกินสมควรอันเนื่องมาจากความไม่สุจริตหรือการฉ้อฉลหรือความประมาทอย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง นั้น ในวรรคสามของมาตราดังกล่าวให้นำวรรคห้าของมาตรา 296 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งมาตรา 296 วรรคห้า บัญญัติว่า "ในการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรานี้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่อาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวร้องขอ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวน และภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด" บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลเพื่อประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลที่อาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวร้องขอศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนก่อน แต่กำหนดให้ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจโดยพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานเบื้องต้นที่แสดงว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าหรือไม่ เมื่อทนายโจทก์แถลงว่า คำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลและผู้ร้องยื่นคำร้องเพื่อประวิงคดีให้ชักช้า ขอให้ผู้ร้องนำเงินมาวางเพื่อเป็นประกันค่าเสียหายจำนวน 300,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินประกันค่าเสียหายจำนวน 300,000 บาท ภายใน 15 วัน โดยไม่ไต่สวนก่อนไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นแล้ว คำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10738/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะนิติกรรมจำนองจากผู้จัดการมรดกปลอม และการเพิกถอนหมายบังคับคดี
ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ซึ่งเป็นมารดาของผู้ร้องและจำเลยเนื่องจากจำเลยอ้างว่า บ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้จำเลย แล้วจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและนำไปจำนองเป็นประกันหนี้ต่อโจทก์ต่อมาศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และให้ยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดซึ่งโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีแล้ว แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ศาลไต่สวนและมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากพินัยกรรมที่จำเลยอ้างเป็นโมฆะ และตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงต้องถือว่าขณะจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัวทั้งที่ตนไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมที่อ้าง เป็นการทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ บ. อันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 นิติกรรมการโอนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โดยถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของกองมรดกของ บ. อยู่ตามเดิม สัญญาจำนองที่จำเลยในฐานะส่วนตัวทำกับโจทก์ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาท เพราะผู้จำนองไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 แม้โจทก์จะอ้างว่ารับจำนองโดยสุจริตก็ตาม
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีโดยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าว และขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี จึงเป็นคำร้องที่มีความหมายว่า โจทก์ขอหมายบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยที่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับจำนองไว้โดยชอบ เพราะไม่ได้รับจำนองไว้จากผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่เป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 282 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าผู้ร้องกล่าวอ้างว่าหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ยื่นคำขอเจาะจงว่าให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาท และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามขอ ถือได้ว่าเป็นการออกหมายบังคับคดีโดยไม่ชอบตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชอบที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีดังกล่าวได้
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีโดยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าว และขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี จึงเป็นคำร้องที่มีความหมายว่า โจทก์ขอหมายบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยที่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับจำนองไว้โดยชอบ เพราะไม่ได้รับจำนองไว้จากผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่เป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 282 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าผู้ร้องกล่าวอ้างว่าหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ยื่นคำขอเจาะจงว่าให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาท และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามขอ ถือได้ว่าเป็นการออกหมายบังคับคดีโดยไม่ชอบตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชอบที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลให้วางเงินประกันเพื่อคัดค้านการขายทอดตลาด หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง คำสั่งยกคำร้องถือเป็นที่สุด
การที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด โดยอ้างว่าราคาที่ได้มีจำนวนต่ำเกินสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสองนั้น ในวรรคสามของมาตราดังกล่าวให้นำวรรคห้าของมาตรา 296 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยวางเงินจำนวน 50,000 บาท ภายใน 15 วัน เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่จำเลยโต้แย้งและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นแล้ว คำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการอายัดทรัพย์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องมีสิทธิเพิกถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยจะได้รับจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ท. จำกัด เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2542 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ท. จำกัด โอนสินทรัพย์และหนี้สินรวมทั้งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. จำกัด (มหาชน) และวันเดียวกันบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. จำกัด (มหาชน) โอนสินทรัพย์และหนี้สินรวมทั้งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง โดยการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างดังกล่าวนับแต่วันที่ 24 เมษายน 2540 และผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างดังกล่าวนับแต่วันที่ 29 เมษายน 2542 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องนั้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2542 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่ผู้ร้องได้ไปซึ่งสิทธิเรียกร้องนั้น และจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว การอายัดดังกล่าวจึงเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ ประกอบมาตรา 311 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นอายัดเงินตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ ผู้ร้องมิใช่บุคคลภายนอกที่เป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องจึงไม่จำต้องคัดค้านคำสั่งอายัดก่อนการกีฬาแห่งประเทศไทยส่งเงินไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง บทบัญญัติดังกล่าวจึงมิได้ใช้บังคับแก่ผู้ร้อง
การอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้ ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 ประกอบมาตรา 296 วรรคหนึ่ง
การอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้ ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 ประกอบมาตรา 296 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9660/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อผิดนัดโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีโดยอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหมายบังคับคดีศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องได้ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับว่าศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องก่อนมีคำสั่ง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้กำหนดวันเวลาที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ไว้ก่อนวันเวลาที่โจทก์จะต้องมีหน้าที่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน จำเลยจะเข้าใจเอาเองว่าโจทก์จะไม่ดำเนินการอย่างใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แล้วจำเลยระงับการชำระค่าจ้างที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามวันที่กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยได้ทันที
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้กำหนดวันเวลาที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ไว้ก่อนวันเวลาที่โจทก์จะต้องมีหน้าที่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน จำเลยจะเข้าใจเอาเองว่าโจทก์จะไม่ดำเนินการอย่างใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แล้วจำเลยระงับการชำระค่าจ้างที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามวันที่กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา ศาลอนุญาตให้บังคับคดีได้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโฉนดเลขที่พิพาทกับโจทก์เป็นเวลา 30 ปี โดยให้โจทก์ชำระเงินจำนวน 750,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ไปก็ให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 4,950,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงินเดือนละ 30,000 บาท แก่โจทก์จนกว่าจำเลยที่ 1 จะไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์และหรือจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยทั้งสองทราบคำบังคับแล้วจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ไปรับการจดทะเบียนการเช่าที่ดินที่พิพาท ณ สำนักงานที่ดิน แต่โจทก์ไม่ไปตามนัด เพราะโจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ไม่ก่อสร้างอาคารพิพาทตามที่ระบุไว้ในสัญญา การก่อสร้างยังไม่เรียบร้อยและไม่อาจทำการค้าได้ อาคารพิพาทมีสภาพรกร้างไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยหากโจทก์รับจดทะเบียนการเช่าแล้วไม่ทำการค้าภายใน 4 ปี โจทก์จะต้องถูกขับไล่และหากไม่ออกจากอาคารพิพาทก็จะต้องเสียค่าปรับวันละ 100,000 บาท การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปรับปรุงอาคารให้อยู่ในสภาพที่ทำการค้าได้ แม้จำเลยที่ 1 จะยอมจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์อันเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้วก็ตามแต่หนังสือสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 1 เสนอให้โจทก์จดทะเบียนมีข้อความจำกัดสิทธิผู้เช่าเกินกว่า ที่ผู้เช่าโดยทั่วไปจะปฏิบัติได้ เช่น บุคคลที่จะอยู่อาศัยในอาคารที่เช่าต้องเป็นญาติของผู้เช่าห้ามชาวต่างประเทศอยู่อาศัยหรือทำงานในอาคารที่เช่า ห้ามทุกคนอยู่บริเวณเฉลียงของอาคารในเวลากลางวัน ผู้เช่าต้องทำการค้าภายใน 4 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่ามิฉะนั้นต้องเสียค่าปรับเป็นรายวัน อันเป็นการจะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ผิดไปจากที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามคำพิพากษา ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิไม่ยอมรับจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 และมาตรา 320 กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา ในลำดับแรกได้ โจทก์ย่อมขอออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 เพื่อบังคับชำระเงินตามคำพิพากษาในลำดับหลังได้ การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นไม่ได้ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิบังคับคดีเอากับลูกหนี้ได้ แม้มีภาระจำนองในทรัพย์สิน
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาด้วยกันทั้งสองฝ่าย โจทก์และจำเลยจึงต่างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโจทก์และจำเลยต่างฝ่ายจึงมีสิทธิบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา ซึ่งการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดินตามคำพิพากษาโจทก์สามารถใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินได้เพียงฝ่ายเดียวอยู่แล้ว รวมทั้งการปลดภาระจำนองของที่ดินด้วย แต่โจทก์มีภาระต้องชำระค่าที่ดินที่ค้างก่อนจึงจะมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดินตามสัญญาเดิมฉะนั้นจำเลยจึงมีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้ศาลมีหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการให้เป็นไปตามคำบังคับได้โดยชอบ ศาลชั้นต้นออกคำบังคับและหมายบังคับคดีชอบแล้ว ไม่มีเหตุจะต้องเพิกถอนหมายบังคับคดี