คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 87

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากขังและการโต้แย้งสิทธิพื้นฐาน: ศาลยืนคำสั่งอนุญาตฝากขัง แม้มีการอ้างการถูกทำร้าย
ในการขอฝากขังครั้งแรก พนักงานสอบสวนผู้ร้องอ้างเหตุว่าต้องสอบสวนพยานที่เกี่ยวข้อง 10 ปาก ส่วนในการขอฝากขังครั้งที่ 2 ผู้ร้องอ้างเหตุว่าต้องสอบสวนพยานที่เกี่ยวข้องอีก 6 ปาก และในการขอฝากขังทั้งสองครั้งผู้ร้องยังอ้างว่าต้องรอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ต้องหาอีกด้วย ซึ่งจำเลยไม่คัดค้าน จึงมีเหตุอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อไปได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังได้ตามขอจึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 87 วรรคสี่ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฏว่าผู้ต้องหากล่าวอ้างว่า ผู้ต้องหาถูกทำร้ายขู่เข็ญให้รับสารภาพมาก่อนหน้านั้นก็ไม่มีผลทำให้คำสั่งอนุญาตให้ฝากขังที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต้องกลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่ ในกรณีดังกล่าวผู้ต้องหาชอบที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ที่ทำร้ายตนตามสิทธิที่มีอยู่ ส่วนคำรับสารภาพของผู้ต้องหาจะรับฟังได้หรือไม่ เพียงใด และการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังทั้งสองครั้ง
เนื้อหาตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งข้อโต้แย้งของผู้ต้องหาไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เมื่อเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างว่าการกระทำของพนักงานสอบสวนขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540มาตรา 233, 237 วรรคหนึ่ง, 241 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 243 วรรคหนึ่งและมาตรา 245 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้ผู้ต้องหากล่าวในคำร้องว่า การกระทำของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเห็นได้ว่าบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลอนุญาตให้ผู้ร้องฝากขังผู้ต้องหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ตามคำร้องมิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด กรณีตามคำร้องย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งคำร้องของผู้ต้องหานี้ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากขังชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ต้องหาอ้างถูกทำร้าย-ขู่เข็ญก่อนถูกสอบสวน และเหตุโต้แย้งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญไม่ชัดเจน
การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาที่ 1 ตามคำขอฝากขังของเจ้าพนักงานสอบสวนทั้งสองครั้ง โดยที่ ผู้ต้องหาที่ 1 มิได้คัดค้านประการใดนั้น เป็นคำสั่งที่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วรรคสี่ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฏตามที่ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวอ้างว่า ผู้ต้องหาที่ 1 ถูกทำร้ายขู่เข็ญให้รับสารภาพมาก่อนหน้านั้น ก็ไม่มีผลทำให้คำสั่งอนุญาตให้ฝากขังที่ชอบด้วยกฎหมายต้อง กลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่ ผู้ต้องหาที่ 1 ชอบที่จะ ดำเนินคดีแก่ผู้ที่ทำร้ายตนตามสิทธิที่มีอยู่ ส่วนคำรับสารภาพ ของผู้ต้องหาที่ 1 จะรับฟังได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นเรื่อง ที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาลไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่ง อนุญาตให้ฝากขังทั้งสองครั้ง ตามคำร้องของ ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวอ้างว่า การกระทำของพนักงานสอบสวนขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 233,237, วรรคหนึ่ง,241 วรรคหนึ่งและ วรรคสอง,243 วรรคหนึ่ง และมาตรา 245 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็น การโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญแม้ผู้ต้องหาที่ 1 กล่าวในตอนท้ายคำร้องด้วยว่า บทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลอนุญาตให้ผู้ร้องฝากขังผู้ต้องหาที่ 1 ขัดแย้ง หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่มิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่าขัดหรือ แย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด จึงเป็นข้อกล่าวอ้าง ที่เลื่อนลอย ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 ต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและความชอบด้วยกฎหมายของพยานหลักฐานในคดีอาญา
ความผิดที่จำเลยกระทำเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้จำเลยจะได้กระทำในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีอำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมาย ย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78
การที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดหาธนบัตรให้แก่สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ถือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ
การที่พนักงานสอบสวนปกปิดชื่อและตัวสายลับไม่ได้สอบปากคำของสายลับไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบดำเนินคดี และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนบุคคลใดเป็นพยานก็ได้ การที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบปากคำสายลับไว้เป็นหลักฐานไม่ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ
คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นไปโดยสมัครใจตามความสัตย์จริง จึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4668/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานตรวจค้นจับกุมยาเสพติด แม้บัตรหมดอายุ และการรับฟังพยานหลักฐานคดียาเสพติด
ร้อยตำรวจเอกณ.ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ทำ หน้าที่ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดให้โทษ ย่อมมีอำนาจตรวจค้นจับกุมและควบคุม ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดได้ทั่วราชอาณาจักร โดยไม่ต้องมีหมายค้นหรือหมายจับ ตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 แม้บัตรของสำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่ออกให้แก่ร้อยตำรวจเอกณ. จะหมดอายุการใช้บัตรแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้ร้อยตำรวจเอกณ.ในฐานะ เจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีอำนาจตรวจค้น จับกุม และควบคุมจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้นการตรวจค้น จับกุม และควบคุมจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วย กฎหมายแล้ว การที่พยานโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเบิกความตามที่ตนรู้เห็นจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่และไม่เคยมี สาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยทั้งสองมาก่อนคำเบิกความของพยานโจทก์ ทั้งสองปากนี้ย่อมมีน้ำหนักให้รับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกจับกุมตามรัฐธรรมนูญ
การปฏิบัติตามมาตรา 240 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 และ ป.วิ.อ.มาตรา 90 อันเป็นบทบัญญัติให้ศาลตรวจสอบว่ามีการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 31 และ 26 นั้น ศาลจะต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกคุมขังเป็นสำคัญฉะนั้นเมื่อมีเหตุอันสมควรเชื่อว่าอาจมีการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ถือว่ามีมูลที่ศาลจะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 240 ได้
ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า ระหว่างวันที่ 2ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2540 ว.กับพวก คือ พ. ส. และ น.ได้ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม อ.เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 จากนั้นพนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัว อ.ตลอดมาจนถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540 จึงขอฝากขังครั้งที่ 1 ศาลชั้นต้นอนุญาตต่อมาวันที่ 28 พฤศจิกายน 2540 ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความของ อ.ยื่นคำร้องอ้างว่าการจับและคุมขังระหว่างสอบสวนดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ปรากฏว่ามีการออกหมายจับ อ. และตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ก็ปรากฏข้อมูลเบื้องต้นเพียงว่าผู้ถูกร้องทุกข์กล่าวหาว่ากระทำความผิดมีเพียง 4 คน ไม่ปรากฏชัดว่ามีเหตุตามสมควรว่าควรนำตัว อ.มาสอบสวนดำเนินคดีด้วยอย่างใดหรือไม่ ไม่ปรากฏว่าอ.ตกเป็นผู้ต้องหาซึ่งถูกสงสัยโดยมีเหตุอันสมควรที่จะออกหมายจับได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 66 (2) ไม่ปรากฏว่าการจับ อ.เป็นการจับเพราะกระทำความผิดซึ่งหน้าหรือพบ อ.กำลังพยายามกระทำความผิด หรือพบ อ.โดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าอ.จะกระทำความผิดโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถใช้ในการกระทำความผิด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า อ.ได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี จึงไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจะจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78 (1) (2) และ (3) ส่วนที่ระบุในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่าผู้เสียหายแจ้งให้จับโดยได้มีการร้องทุกข์ไว้แล้ว ก็ปรากฏว่าผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ว่า อ.ร่วมกับ ว.กระทำความผิดดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวมามีข้อน่าสงสัยตามสมควรว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ปฏิบัติในการจับและควบคุม อ.ผู้ถูกจับโดยถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือไม่ ทั้งหากการจับ อ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วพนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจที่จะควบคุมตัว อ.ต่อเนื่องจากการจับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังในระหว่างสอบสวนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 87 ได้ ซึ่งหากศาลสั่งให้ผู้คุมขังหรือผู้ก่อให้เกิดการคุมขังนำตัว อ.มาเพื่อให้บุคคลดังกล่าวแสดงข้อมูลหรือพยานหลักฐานจะทำให้ปรากฏแน่ชัดว่ามีการจับหรือคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และศาลก็สามารถพิจารณาถึงเหตุในการจับและคุมขังตลอดจนพฤติการณ์และขั้นตอนในการคุมขังให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้อย่างสมบูรณ์สมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลดังกล่าวแล้ว ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลที่ศาลจะดำเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 240
เมื่อคำร้องของผู้ร้องมีมูลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 240 จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการต่อไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หากได้ความว่ายังมีการคุมขังผู้ใดอยู่ และผู้คุมขังแสดงให้เป็นที่พอใจศาลชั้นต้นไม่ได้ว่าการคุมขังนั้นเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ศาลชั้นต้นสั่งปล่อยผู้ถูกคุมขังไปทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิในชีวิตและร่างกายที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง
สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายบุคคลนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้อย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะในมาตรา 31 วรรคหนึ่งที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายและวรรคสามว่า การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือกระทำการใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และมาตรา 26ที่บัญญัติว่า การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ดังนั้น การปฏิบัติตามมาตรา 240 ตลอดจนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 อันเป็นบทบัญญัติให้ศาลตรวจสอบว่ามีการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลดังกล่าว จึงต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกคุมขังเป็นสำคัญเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าอาจมีการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ถือว่ามีมูลที่ศาลจะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 240 ผู้เสียหายมอบอำนาจให้ บ. ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2540ส.กับพวกคือพ.ร. และ น. ได้ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ แต่เจ้าพนักงานตำรวจทำการจับ อ. ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2540และควบคุมตัว อ. ตลอดมาจนถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540จึงขอฝากขังครั้งที่ 1 ศาลชั้นต้นอนุญาต ต่อมาวันที่28 พฤศจิกายน 2540 ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความของ อ.ยื่นคำร้องอ้างว่าการจับและคุมขังระหว่างสอบสวนดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการออกหมายจับอ. และปรากฏตามข้อมูลเบื้องต้นเพียงว่าผู้ถูกร้องทุกข์กล่าวหาว่ากระทำความผิดมีเพียง 4 คน ไม่ปรากฏชัดว่ามีเหตุตามสมควรว่าควรนำตัว อ. มาสอบสวนดำเนินคดีด้วยแต่อย่างใดหรือไม่ ไม่ปรากฏว่า อ. ตกเป็นผู้ต้องหาซึ่งถูกสงสัยโดยมีเหตุอันสมควรที่จะออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(2) ไม่ปรากฏว่าการจับ อ. เป็นการจับเพราะกระทำความผิดซึ่งหน้าหรือพบอ.กำลังพยายามกระทำความผิดหรือพบอ. โดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า อ. จะกระทำความผิดโดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถใช้ในการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า อ. ได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี จึงไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจจะจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78(1)(2) และ (3) ทั้งผู้เสียหายก็ไม่ได้ร้องทุกข์ว่าอ.ร่วมกับส. กระทำความผิด พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับและควบคุม อ.โดยถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือไม่ ทั้งหากการจับ อ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจที่จะควบคุมอ. ต่อเนื่องจากการจับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังในระหว่างสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ได้ ซึ่งหากศาลสั่งให้ผู้คุมขังหรือผู้ก่อให้เกิดการคุมขังนำตัว อ.มาเพื่อให้บุคคลดังกล่าวแสดงข้อมูลหรือพยานหลักฐานจะทำให้ปรากฏแน่ชัดว่ามีการจับหรือคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และศาลก็สามารถพิจารณาถึงเหตุในการจับและคุมขังตลอดจนพฤติการณ์และขั้นตอนในการคุมขังให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้อย่างสมบูรณ์สมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลดังกล่าวแล้ว ดังนี้ ถือได้ว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลที่ศาลจะดำเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปล่อยชั่วคราวและการควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราวเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จก็คงดำเนินการต่อไปได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113 วรรคสองนั้น แม้ทำให้ผู้ต้องหาพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาเสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใด นอกจากนี้การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 วรรคสองดังกล่าว ก็หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือน และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา: อำนาจควบคุมและฟ้องคดี
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราวเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จก็คงดำเนินการต่อไปได้เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113 วรรคสอง นั้นแม้ทำให้ผู้ต้องหาพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาเสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใด นอกจากนี้การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 วรรคสองดังกล่าวก็หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของบันทึกคำให้การและการยื่นคำร้องฝากขังที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ไม่กระทบความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวน
แม้บันทึกคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนจะลง วัน เดือน ปีไม่ตรงกับวันที่ทำการสอบสวนตามความเป็นจริง หรือมีการเติมข้อความว่าพยานที่ถูกสอบปากคำเป็นพยานคนที่เท่าไร หรือไม่มีคำว่าสอบปากคำพยานต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไร หรือเติมข้อความว่าสอบปากคำต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไรก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดในการสอบสวนเท่านั้น หากไม่มีข้อความดังกล่าวก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไปเนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติให้พนักงานสอบสวนบันทึกรายละเอียดดังกล่าวลงไปในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของพยานเมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีลงโทษต่อไปแล้ว ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอฝากขังจำเลยต่อ โดยอ้างว่ายังเหลือพยานที่จะสอบอีกหลายปาก แต่ความจริงพนักงานสอบสวนสอบปากคำไปหมดแล้วก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น การยื่นคำร้องที่ไม่ตรงต่อความจริงเช่นนี้ หาทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยตัวผู้ต้องขังโดยมิชอบ เจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๔
การที่พนักงานสอบสวนรับตัวผู้ต้องหาควบคุมไว้โดยมิให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ย่อมมีผลให้การควบคุมนั้นเป็นการผิดกฎหมายซึ่งบุคคลดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยได้แต่การควบคุมนั้นก็ยังคงเป็นการควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน อยู่ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องคุมขังตามอำนาจของพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ต้องคุมขังไป จึงเป็นการกระทำให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขัง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204
( วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2531)
of 5