คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 87

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยตัวผู้ต้องขังโดยเจ้าพนักงานตำรวจสิบเวร แม้ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมาย ยังคงเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
แม้การที่พนักงานสอบสวนจะรับตัวผู้ต้องหาควบคุมไว้โดยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ก็ตาม แต่การควบคุมนั้นก็ยังคงเป็นการควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวนอยู่ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องขังตามอำนาจของพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ต้องขังไป จึงเป็นการกระทำให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขัง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวและการรับผิดเมื่อจำเลยไม่นำตัวผู้ต้องหามอบตามสัญญา
จำเลยได้ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาในช่วงเวลาที่เจ้าพนักงานมีอำนาจควบคุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 เมื่อจำเลยไม่นำตัวผู้ต้องหามามอบให้เจ้าพนักงานตามข้อสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหา เริ่มนับเมื่อถึงสถานีตำรวจ ไม่ใช่นับแต่เวลาจับกุม
ผู้ต้องหาถูกจับกุมเวลา 23.50 นาฬิกา ของวันที่ 12 กันยายน 2527และถูกนำตัวมาถึงสถานีตำรวจหลังเวลา 00.00 นาฬิกาของวันที่13 กันยายน 2527 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ให้เริ่มนับเวลาควบคุมตั้งแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังต่อศาลในวันที่ 19 กันยายน 2527 จึงยังไม่เกินเจ็ดวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหา: เริ่มเมื่อถึงสถานีตำรวจ ไม่ใช่เวลาจับกุม
ผู้ต้องหาถูกจับกุมเวลา23.50นาฬิกาของวันที่12กันยายน2527และถูกนำตัวมาถึงสถานีตำรวจหลังเวลา00.00นาฬิกาของวันที่13กันยายน2527ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา87ให้เริ่มนับเวลาควบคุมตั้งแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหามาฝากขังต่อศาลในวันที่19กันยายน2527จึงยังไม่เกินเจ็ดวัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาเด็กและเยาวชน: การควบคุมตัวและอายุผู้ต้องหา
พนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวจำเลยเป็นผู้ต้องหาตั้งแต่วันที่11 กันยายน 2525 ขณะนั้นจำเลยอายุ 17 ปีเศษพนักงานสอบสวนจึงส่งตัวไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม 2525 สถานพินิจและคุ้มครองเด็กได้ส่งตัว จำเลยคืนพนักงานสอบสวนเพราะจำเลยมีอายุเกิน 18 ปีพนักงานสอบสวนจึงขออนุญาตฝากขัง จำเลยต่อศาลอาญา และก่อน ครบกำหนดฝากขังโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาเมื่อวันที่10 มกราคม 2526 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการควบคุมตัว จำเลยในระหว่างสอบสวนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์ย่อมมี อำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตาม พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาเด็กและเยาวชน: การส่งตัวจำเลยระหว่างอายุ และการฟ้องคดีเมื่อพ้นวัย
พนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวจำเลยเป็นผู้ต้องหาตั้งแต่วันที่11 กันยายน 2525 ขณะนั้นจำเลยอายุ 17 ปีเศษพนักงานสอบสวนจึงส่งตัวไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก ต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม 2525 สถานพินิจและคุ้มครองเด็กได้ส่งตัวจำเลยคืนพนักงานสอบสวนเพราะจำเลยมีอายุเกิน 18 ปีพนักงานสอบสวนจึงขออนุญาตฝากขังจำเลยต่อศาลอาญา และก่อน ครบกำหนดฝากขังโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาเมื่อวันที่10 มกราคม 2526 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการควบคุมตัวจำเลยในระหว่างสอบสวนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานศุลกากรจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยลักลอบนำเข้าทองคำ โดยชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานศุลกากรซึ่งมีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) ดังนั้น เมื่อจับกุมผู้กระทำผิดแล้ว จึงมีอำนาจควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87
จำเลยกับพวกจับโจทก์ได้พร้อมด้วยทองคำแท่งเมื่อเวลาประมาณ 18 นาฬิกา ต้องทำบันทึกการตรวจค้นและจับกุม ต้องตรวจชั่งทองคำแท่งของกลางและประเมินราคาและทำบันทึกรายงานต่ออธิบดีกรมศุลกากรเพื่อให้เปรียบเทียบปรับและงดฟ้องโจทก์ตามคำร้องของโจทก์ ทองคำแท่งของกลางก็มีจำนวนมาก การที่จำเลยควบคุมตัวโจทก์ไว้เป็นเวลาประมาณ 21 ชั่วโมงนับแต่เวลาจับกุม จึงไม่เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีจำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานศุลกากรในการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย พร้อมเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการ
เจ้าพนักงานศุลกากรซึ่งมีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) ดังนั้น เมื่อจับกุมผู้กระทำผิดแล้ว จึงมีอำนาจควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87
จำเลยกับพวกจับโจทก์ได้พร้อมด้วยทองคำแท่งเมื่อเวลาประมาณ 18 นาฬิกา ต้องทำบันทึกการตรวจค้นและจับกุม ต้องตรวจชั่งทองคำแท่งของกลางและประเมินราคาและทำบันทึกรายงานต่ออธิบดีกรมศุลกากรเพื่อให้เปรียบเทียบปรับและงดฟ้องโจทก์ตามคำร้องของโจทก์ ทองคำแท่งของกลางก็มีจำนวนมาก การที่จำเลยควบคุมตัวโจทก์ไว้เป็นเวลาประมาณ 21 ชั่วโมงนับแต่เวลาจับกุม จึงไม่เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีจำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้เสียหายในคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คโดยชอบย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย แม้มีเอกสารอื่นอ้างถึงบุคคลอื่น
จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ ขณะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ห้างหุ้นส่วนจำกัดส. เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบอยู่ จึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายแล้ว
คำร้องขอฝากขังหาใช่เอกสารมหาชนซึ่งกฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องไม่
ฎีกาของจำเลยว่า พยานหลักฐานของจำเลยรับฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ว่า ส.เป็นผู้เสียหาย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวบุคคลอันธพาลและการปฏิบัติตามระเบียบราชการของพนักงานสอบสวน
คำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้น ถือเป็นกฎหมายให้อำนาจจำเลย(พนักงานสอบสวน)จะควบคุมโจทก์ไว้ทำการสอบสวนได้ 30 วัน การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย (ให้พิจารณามาร่วมกับนายอำเภอ) เสียก่อนควบคุมนั้นเป็นเรื่องภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใดไม่ ความประพฤติของโจทก์ที่จำเลยนำสืบก็เป็นพฤติการณ์ที่มีอยู่ก่อนโจทก์ถูกจับในข้อหาฐานพยายามฆ่าคนแล้วไม่ใช่จำเลยมาสร้างหลักฐานขึ้นภายหลัง การกระทำของจำเลยที่ควบคุมโจทก์ในฐานเป็นบุคคลอันธพาล จึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
of 5