คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 87

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวบุคคลอันธพาลและการปฏิบัติตามระเบียบการสอบสวนของเจ้าพนักงาน
คำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้น ถือเป็นกฎหมายให้อำนาจจำเลย(พนักงานสอบสวน) จะควบคุมโจทก์ไว้ทำการสอบสวนได้ 30 วัน การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย(ให้พิจารณาร่วมกับนายอำเภอ) เสียก่อนควบคุมนั้นเป็นเรื่องภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใดไม่ความประพฤติของโจทก์ที่จำเลยนำสืบก็เป็นพฤติการณ์ที่มีอยู่ก่อนโจทก์ถูกจับในข้อหาฐานพยายามฆ่าคนแล้ว ไม่ใช่จำเลยมาสร้างหลักฐานขึ้นภายหลังการกระทำของจำเลยที่ควบคุมโจทก์ในฐานเป็นบุคคลอันธพาลจึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายชัดเจน และหักวันควบคุมออกจากโทษได้
(1) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้น โดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วัน กล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั่นเอง แต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉย ๆ โดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาล แต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2) ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้ เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วัน ฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้น ก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมาย เช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจร เป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในฐานะบุคคลอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายและต้องมีการสอบสวน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
(1)ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้นโดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วันกล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั้นเองแต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉยๆโดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาลแต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้กระทำผิดอาญาในสถานอบรมฯ ต้องมีคำสั่งคณะกรรมการทุก 3 เดือน หากไม่มีคำสั่งควบคุมต่อไป การควบคุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ว่าราชการจังหวัดอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 1 ส่งตัวจำเลยซึ่งประพฤติตนเป็นอันธพาลไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว ต่อไปก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศดัรงกล่าวข้อ 2 ที่จะต้องมีคำสั่งทุก ๆ สามเดือนว่า จะคงให้ควบคุมจำเลยไว้หรือปล่อยตัวไป การที่ควบคุมตัวจำเลยไว้เมื่อพ้นสามเดือนแล้ว โดยที่คณะกรรมการไม่ได้มีคำสั่ง จึงเป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศดังกล่าว จำเลยหลบหนีจึงไม่มีผิด หาใช่ว่าเมื่อไม่มีคำสั่งก็ให้ถือว่าควบคุมได้ตลอดไปไม่ เพราะหากตีความเช่นนั้นแล้ว ระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้คณะกรรมการมีคำสั่งทุก ๆ สามเดือนก็จะไร้ความหมาย
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16-17/2505

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้กระทำผิดในสถานอบรมฯ ต้องมีคำสั่งคณะกรรมการทุก 3 เดือน หากไม่มีคำสั่ง การควบคุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ว่าราชการจังหวัดอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 1 ส่งตัวจำเลยซึ่งประพฤติตนเป็นอันธพาลไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว ต่อไปก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศดังกล่าวข้อ2 ที่จะต้องมีคำสั่งทุกๆ สามเดือนว่าจะคงให้ควบคุมจำเลยไว้หรือปล่อยตัวไป การที่ควบคุมตัวจำเลยไว้เมื่อพ้นสามเดือนแล้ว โดยที่คณะกรรมการไม่ได้มีคำสั่งจึงเป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศดังกล่าว. จำเลยหลบหนีจึงไม่มีความผิด หาใช่ว่าเมื่อไม่มีคำสั่งก็ให้ถือว่าควบคุมได้ตลอดไปไม่ เพราะหากตีความเช่นนั้นแล้ว ระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้คณะกรรมการมีคำสั่งทุกๆสามเดือนก็จะไร้ความหมาย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16-17/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-327/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมผู้ต้องหาในคดีคอมมิวนิสต์: ประกาศ คปค.ฉบับที่ 12 ต้องเป็นไปตามหลัก 'จำเป็น' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 ให้อำนาจควบคุมผู้ต้องหาในกรณีกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ฯ ได้เท่าที่จำเป็นแก่การสอบสวนเท่านั้น ไม่ใช่ให้ควบคุมโดยไม่มีกำหนด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วางหลักเป็นประกันเสรีภาพของประชาชนไว้ 2 ตอน ตอนต้นว่า จะควบคุมตัวผู้ต้องหาเกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่ได้ ตอนที่สองว่า ความจำเป็นดังกล่าวจะจำเป็นเพียงใดก็ตาม ก็จะควบคุมเกินกว่ากำหนดเวลาดังบัญญัติไว้ไม่ได้
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 เป็นการแก้ไขและขยายระยะเวลาคั่นสูงดังกำหนดไว้ในมาตรา 87 ไม่ได้ยกเลิกหลักใหญ่ของมาตรานี้ที่ให้ ควบคุมผู้ต้องหาได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-327/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมผู้ต้องหาในคดีคอมมิวนิสต์: ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 ต้องไม่เกินความจำเป็นและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 ให้อำนาจควบคุมผู้ต้องหาในกรณีกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ฯ ได้เท่าที่จำเป็นแก่การสอบสวนเท่านั้น ไม่ใช่ให้ควบคุมโดยไม่มีกำหนด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วางหลักเป็นประกันเสรีภาพของประชาชนไว้ 2 ตอน ตอนต้นว่า จะควบคุมตัวผู้ต้องหาเกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่ได้ตอนที่สองว่า ความจำเป็นดังกล่าว จะจำเป็นเพียงใดก็ตามก็จะควบคุมเกินกว่ากำหนดเวลาดังบัญญัติไว้ไม่ได้
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 เป็นการแก้ไขและขยายระยะเวลาขั้นสูงดังกำหนดไว้ในมาตรา 87 ไม่ได้ยกเลิกหลักใหญ่ของมาตรานี้ที่ให้ควบคุมผู้ต้องหาได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องหาและการขังขังเกินสมควรแก่เหตุ ศาลมีอำนาจพิจารณาความจำเป็นในการขัง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองผู้ต้องหามิให้ต้องถูกควบคุมหรือกักขังนานเกินสมควรแก่เหตุ และความจำเป็น ฉะนั้น เมื่อศาลสั่งไม่ยอมออกหมายขังผู้ต้องหาต่อไปเพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะขังแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุที่จะอุทธรณ์ฎีกา เพื่อให้ขังผู้ต้องหาต่อไปอีกได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/96)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยโมฆะของกฎหมายหลังถูกฟ้องคดี: ศาลฎีกายกคำร้องหากการวินิจฉัยนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อคดี
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.กำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในกรณีที่ต้องหาว่าปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล 2491 เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ ต่อมาพนักงานอัยการ ได้ฟ้องผู้ต้องหาเป็นจำเลยในความผิดที่ถูกศาลสั่งขังในระหว่างสอบสวนนั้น และศาลสั่งรับประทับฟ้องไว้แล้ว ดังนี้ ย่อมไม่เป็นประโยชน์หรือผลแก่คดีของผู้ต้องหาอย่างใดที่จะวินิจฉัยว่ากฎหมายที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างเป็นโมฆะหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมให้ยกฎีกาเสีย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/91)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 27/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและการกักขัง: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากเจ้าพนักงานตำรวจใช้ดุลพินิจกักขัง
จำเลยแกล้งกล่าวหาว่าทำผิดทางอาญาด้วยความเท็ดเปนเหตุไห้โจทถูกเจ้าพนักงานกักขังไว้นั้น จำเลยไม่มีความผิดตาม ม.270
of 5