พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการฝากขังก่อนฟ้องและการจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งฝากขังของผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาไว้ตามคำร้องของผู้ร้องมีกำหนด 12 วัน เพื่อสอบสวนดำเนินคดีผู้ต้องหาในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 116 ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ต้องหา ผู้ต้องหาฎีกา เห็นว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคห้า บัญญัติว่า "เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามมาตรา 71 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อออกหมายขังโดยทันที... กรณีเช่นว่านี้ให้นำมาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดยอนุโลม..." มาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา 88 ก็ได้ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" มาตรา 66 บัญญัติว่า "เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี" ตามบทบัญญัติข้างต้นให้อำนาจศาลที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนหากมีเหตุตามมาตรา 66 คดีนี้ ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 116 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี จึงเป็นกรณีที่ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกระบวนการก่อนฟ้องซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจของศาล เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดีของศาล ทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 106 บัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวได้อยู่แล้ว แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดเจนว่า มีวัตถุประสงค์จะให้กระบวนการยุติธรรมในชั้นฝากขังระหว่างสอบสวนเป็นอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และยุติไปในระดับศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ผู้ต้องหาจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเสพยาและครอบครองยาเสพติด: ความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณา
จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลแขวง เป็นความผิดคนละกรรมกับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ตาม แต่ความผิดทั้งสองฐานได้กระทำลงโดยผู้กระทำผิดคนเดียวกันและเกี่ยวพันกัน จึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายพร้อมกับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตต่อศาลจังหวัดได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 กรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 3 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายพร้อมกับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องขอผัดฟ้อง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยถูกฟ้องในคดีของศาลชั้นต้นและถูกคุมขังอยู่ ต้องถือว่าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้ว แม้พนักงานสอบสวนไม่ได้ขออำนาจศาลฝากขังจำเลยในคดีนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 87 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ระหว่างสอบสวนเนื่องจากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องทำการสอบสวนหรือเพื่อการฟ้องคดีก็ตาม ก็หาเป็นเหตุทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9302/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานขับรถขณะเสพยาเสพติด: พยานหลักฐานจากการจับกุม vs. คำรับสารภาพ
ในการยื่นคำร้องขอฝากขังนั้นพนักงานสอบสวนเพียงแต่แสดงข้อเท็จจริงให้ศาลเห็นว่า การสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จและมีเหตุจำเป็นที่จะต้องรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อทำการสอบสวนคดีต่อไปอีกจึงขออนุญาตต่อศาลเพื่อขอฝากขังผู้ต้องหาตามกำหนดเวลาเท่านั้น ดังนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำร้องขอฝากขังรวมถึงเอกสารท้ายคำร้องจึงหาได้เป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำร้องขอฝากขังไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เสพเมทแอมเฟตามีนแล้วขับรถจักรยานยนต์ในขณะที่มีสารเมทแอมเฟตามีนอยู่ในร่างกาย จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ เมื่อข้อหาดังกล่าวกฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตลอดชีวิตหรือโทษสถานหนักกว่านั้น ศาลจึงพิพากษาคดีโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 13 ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังเป็นยุติตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสำเนาบันทึกการจับกุมเอกสารแนบท้ายคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ในสำนวนว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์มาประกอบการพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องในข้อหานี้จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เสพเมทแอมเฟตามีนแล้วขับรถจักรยานยนต์ในขณะที่มีสารเมทแอมเฟตามีนอยู่ในร่างกาย จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ เมื่อข้อหาดังกล่าวกฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตลอดชีวิตหรือโทษสถานหนักกว่านั้น ศาลจึงพิพากษาคดีโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 13 ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังเป็นยุติตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสำเนาบันทึกการจับกุมเอกสารแนบท้ายคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ในสำนวนว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์มาประกอบการพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องในข้อหานี้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4294/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การควบคุมตัวผู้ต้องหาและการหมดระยะฝากขังไม่ทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้อง หากฟ้องภายในอายุความ
การควบคุมตัวจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนจะต้องขออำนาจศาลฝากขังจำเลยที่ 1 หากพนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด เมื่อพ้นอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป หาใช่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8484/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวและการฝากขัง: การพิจารณาหลักฐาน พฤติการณ์ และอำนาจศาล
ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ป.วิ.อ. มาตรา 108 (ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ) บัญญัติให้พิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบด้วย (1) ความหนักเบาแห่งข้อหา (2) พยานหลักฐานที่นำมาสืบแล้วมีเพียงใด (3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร (4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด (5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนีหรือไม่ (6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใด หรือไม่ (7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือโจทก์แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับฟังประกอบการวินิจฉัยได้ ดังนั้น การที่จำเลยสั่งในคำร้องลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ที่ ต. ซึ่งเป็นผู้ขอประกันยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวโจทก์ในระหว่างสอบสวนว่า โจทก์มีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง ผู้ขอประกันไม่ใช่ญาติของโจทก์ ประกอบกับพนักงานสอบสวนกำลังขยายผลรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและฉ้อโกงประชาชน และคัดค้านการประกัน จึงไม่อนุญาตให้ประกัน ยกคำร้อง จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงจากคำคัดค้านของพนักงานสอบสวนมาพิจารณาประกอบความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ววินิจฉัยคำร้องขอปล่อยชั่วคราวตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 108 อันเป็นการใช้ดุลพินิจสั่งคำร้องตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนหาใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์แต่อย่างใดไม่ และถึงแม้ว่าหลักทรัพย์ที่ใช้ขอปล่อยชั่วคราวมีจำนวนสูงถึง 542,640 บาท ก็ตาม แต่การพิจารณาหลักทรัพย์ที่ผู้ขอประกันเสมอมา เป็นเพียงเหตุหนึ่งในหลายเหตุที่ศาลจะนำมาพิจารณาประกอบการวินิจฉัยคำร้องขอปล่อยชั่วคราว มิใช่ว่าหลักทรัพย์มีจำนวนสูงแล้ว ศาลต้องอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเสมอไป
ป.วิ.อ. มาตรา 87 วรรคสี่ (ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ) บัญญัติว่า ถ้าเกิดความจำเป็นที่จะควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่ากำหนดเวลาในวรรคก่อน เพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นให้ส่งผู้ต้องหามาศาล ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้...ฯลฯ... และมาตรา 87 วรรคหก บัญญัติว่า ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือนแต่ไม่ถึงสิบปี หรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวันและรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบแปดวัน ซึ่งเป็นการให้อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนวันมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ฝากขังหรือไม่ และผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยได้ไต่สวนแล้ว เห็นว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้พนักงานสอบสวนฝากขังโจทก์ไว้ตามคำร้อง จึงมีคำสั่งอนุญาตตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนดังกล่าวระบุว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาตามที่โจทก์อ้างก็ตาม แต่ก็ไม่มีมาตราใดใน ป.วิ.อ. ที่บังคับว่า ถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแล้ว ศาลต้องไม่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาไว้ ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยอนุญาตให้ฝากขังโจทก์จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไม่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจสั่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของผู้พิพากษาในศาล
ป.วิ.อ. มาตรา 87 วรรคสี่ (ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ) บัญญัติว่า ถ้าเกิดความจำเป็นที่จะควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่ากำหนดเวลาในวรรคก่อน เพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นให้ส่งผู้ต้องหามาศาล ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้...ฯลฯ... และมาตรา 87 วรรคหก บัญญัติว่า ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือนแต่ไม่ถึงสิบปี หรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวันและรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบแปดวัน ซึ่งเป็นการให้อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนวันมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ฝากขังหรือไม่ และผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยได้ไต่สวนแล้ว เห็นว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้พนักงานสอบสวนฝากขังโจทก์ไว้ตามคำร้อง จึงมีคำสั่งอนุญาตตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนดังกล่าวระบุว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาตามที่โจทก์อ้างก็ตาม แต่ก็ไม่มีมาตราใดใน ป.วิ.อ. ที่บังคับว่า ถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแล้ว ศาลต้องไม่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาไว้ ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยอนุญาตให้ฝากขังโจทก์จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไม่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจสั่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของผู้พิพากษาในศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาและอำนาจฟ้องในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้คำร้องขอฝากขังไม่ได้ระบุข้อหา แต่หากมีหลักฐานภายหลังก็มีอำนาจฟ้องได้
การร้องขอฝากขังเป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนยื่นขอต่อศาลโดยอ้างเหตุเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาเพื่อขอให้ควบคุมผู้ต้องหาไว้ทำการสอบสวน ดังนั้น แม้ตามคำร้องขอฝากขังจะมิได้ระบุข้อหาความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีน แต่เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ของกลางที่เจ้าพนักงานตรวจยึดได้เป็นเฮโรอีนพนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเต็มต่อจำเลยทั้งสามว่า ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เฮโรอีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายโดยผิดกฎหมายจึงฟังได้ว่ามีการแจ้งขอหาและสอบสวนในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนแล้วโดยชอบโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนได้ และเมื่อจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยานเพราะความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษขั้นต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่าจำคุก 5 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนนอกพื้นที่ & การชันสูตรพลิกศพ: พนักงานสอบสวนมีอำนาจกว้างขวางในการสอบสวนคดีอาญา
แม้การที่พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นจะเป็นการนอกเหนือจากคำร้องขอฝากขังที่ระบุว่าขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัว แต่ก็ยังได้อ้างเหตุที่ต้องขออนุญาตฝากขังด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก ดังนั้น พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนพยานหรือกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ผู้ต้องหาจะร้องขอให้แพทย์ในหน่วยนิติเวชของโรงพยาบาลรามาธิบดีตรวจพิสูจน์ศพ เพื่อใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 อีกได้เพราะการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 ได้ระบุผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพไว้แล้วคือ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่กับสาธารณสุขจังหวัด หรือแพทย์ประจำสถานีอนามัยหรือแพทย์ประจำโรงพยาบาลถ้าบุคคลดังกล่าวไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ใช้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขประจำท้องที่หรือแพทย์ประจำตำบลนอกจากนี้มาตรา 151 ได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพหรือบางส่วนไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และมาตรา 153 ยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติไว้โดยเฉพาะในภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วจึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนนอกสถานที่และการชันสูตรพลิกศพ: ขอบเขตและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนนอกจากจะขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมไว้ยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัวแล้ว พนักงานสอบสวนได้อ้างเหตุที่ต้องขออนุญาตฝากขังด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้นพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นได้
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้นก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเองซึ่งตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ โดยเฉพาะในภาค 2ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้นก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเองซึ่งตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ โดยเฉพาะในภาค 2ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนนอกสถานที่และการชันสูตรพลิกศพ: ผู้ต้องหามีสิทธิขอชันสูตรซ้ำหรือไม่
ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน นอกจากจะขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมไว้ยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัวแล้วพนักงานสอบสวนได้อ้างเหตุด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นได้
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้น ก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเอง ซึ่งตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้โดยเฉพาะในภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับไม่ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้น ก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเอง ซึ่งตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้โดยเฉพาะในภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับไม่ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝากขังที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการกล่าวอ้างถึงการละเมิดสิทธิ และการไม่ส่งข้อโต้แย้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
ในการขอฝากขังครั้งแรก พนักงานสอบสวนผู้ร้องอ้างเหตุว่า ต้องสอบสวนพยานที่เกี่ยวข้อง 10 ปาก ส่วนในการขอฝากขัง ครั้งที่ 2 ผู้ร้องอ้างเหตุว่าต้องสอบสวนพยานที่เกี่ยวข้อง อีก 6 ปาก และในการขอฝากขังทั้งสองครั้งผู้ร้องยังอ้างว่าต้องรอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ต้องหาอีกด้วย ซึ่ง จำเลยไม่คัดค้าน จึงมีเหตุอันควรที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อไปได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังได้ตามขอจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 87 วรรคสี่ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฎว่า ผู้ต้องหากล่าวอ้างว่า ผู้ต้องหาถูกทำร้ายขู่เข็ญให้ รับสารภาพมาก่อนหน้านั้นก็ไม่มีผลทำให้คำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต้องกลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่ ในกรณีดังกล่าวผู้ต้องหาชอบที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ที่ทำร้ายตน ตามสิทธิที่มีอยู่ ส่วนคำรับสารภาพของผู้ต้องหาจะ รับฟังได้หรือไม่ เพียงใด และการสอบสวนจะชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาลจึงไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังทั้งสองครั้ง เนื้อหาตามคำร้อง ของ ผู้ต้องหาที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งข้อโต้แย้งของผู้ต้องหาไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเมื่อเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างว่าการกระทำของพนักงานสอบสวนขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 233,237 วรรคหนึ่ง,241 วรรคหนึ่งและวรรคสอง,243 วรรคหนึ่ง และมาตรา 245 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้ผู้ต้องหากล่าวในคำร้องว่า การกระทำของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเห็นได้ว่าบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลอนุญาตให้ผู้ร้องฝากขังผู้ต้องหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ตามคำร้องมิได้กล่าว โดยแจ้งชัดว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด กรณีตามคำร้องย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งคำร้อง ของ ผู้ต้องหานี้ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย