พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8034/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรทั้งโครงการ: สิทธิหน้าที่ผู้ซื้อ และการไม่เป็นภาระผูกพันต่อที่สาธารณูปโภค
ตามฎีกาของจำเลยยืนยันว่า การขายทอดตลาดที่ดินและที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ในคดีนี้และที่ยึดไว้ในคดีหมายเลขแดงที่ ย. 19/2550 เป็นการขายทั้งโครงการจัดสรรของจำเลย และปรากฏในอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ก่อนที่โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินในโครงการจัดสรรของจำเลย ที่ดินในโครงการถูกโอนขายไปยังผู้ซื้อบางส่วนแล้ว โจทก์จึงยึดได้เฉพาะที่ดินในโครงการจัดสรรของจำเลยที่ยังไม่ได้โอนขายไปเท่านั้น และเป็นการยึด 2 คดี คือ คดีนี้ยึดที่ดิน 20 แปลง คดีหมายเลขแดงที่ ย. 19/2550 ยึดที่ดิน 60 แปลง ข้อเท็จจริงจากโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงตรงกันว่า ที่ดินในโครงการจัดสรรของจำเลยที่ยังไม่ได้โอนขายถูกยึดไว้ในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ ย. 19/2550 ของศาลชั้นต้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินในโครงการจัดสรรของจำเลยที่ถูกยึดไว้ในคดีนี้และที่ถูกยึดไว้ในคดีหมายเลขแดงที่ ย. 19/2550 ของศาลชั้นต้นโดยจะขายรวมกันไป จึงเป็นการขายที่ดินที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมดในโครงการจัดสรรของจำเลยในคราวเดียวกัน โดยไม่จำต้องเป็นการขายที่ดินครบถ้วนทุกแปลงเต็มจำนวนที่ดินแปลงย่อยที่ขออนุญาตจัดสรรที่ดินไว้เท่านั้น แต่กรณีเช่นนี้ก็ถือได้ว่าเป็นการขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรทั้งโครงการเช่นกัน อันมีผลให้ผู้ซื้อจะต้องรับโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินและรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้จัดสรรที่ดินมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 41 วรรคสี่ แต่การรับโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินดังกล่าว เป็นกรณีที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทั้งโครงการได้จากการขายทอดตลาดจะต้องดำเนินการภายหลังจากเป็นผู้ประมูลซื้อจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างผู้ซื้อกับคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง
นอกจากนี้ที่ดินโฉนดเลขที่ 8918 และ 8919 ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและสวนสาธารณะของโครงการจัดสรรดังกล่าว ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการขายที่ดินจัดสรรทั้งโครงการด้วย ซึ่งเมื่อผู้ซื้อต้องรับโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้จัดสรรที่ดินมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร กรณีเช่นนี้ จึงไม่ใช่การก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 33 ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวรวมกันไปกับที่ดินแปลงอื่นทั้งหมดอันเป็นการขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรทั้งโครงการต่อไป ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 (เดิม)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 21/2561)
นอกจากนี้ที่ดินโฉนดเลขที่ 8918 และ 8919 ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและสวนสาธารณะของโครงการจัดสรรดังกล่าว ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการขายที่ดินจัดสรรทั้งโครงการด้วย ซึ่งเมื่อผู้ซื้อต้องรับโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้จัดสรรที่ดินมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร กรณีเช่นนี้ จึงไม่ใช่การก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 33 ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวรวมกันไปกับที่ดินแปลงอื่นทั้งหมดอันเป็นการขายทอดตลาดที่ดินจัดสรรทั้งโครงการต่อไป ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 (เดิม)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 21/2561)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708-3709/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการธุรกรรมในการยึด/อายัดทรัพย์สิน: รองเลขาฯ รักษาการเลขาฯ มีอำนาจชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่าการประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมที่ไม่มีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นคณะกรรมการธุรกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 46 บัญญัติไว้ เพื่อแก้ข้อขัดข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในหน่วยงานราชการ คือ กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเข้าไปเป็นผู้รักษาราชการแทน โดยผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทนตามมาตรา 48 การรักษาราชการแทนเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายไม่ต้องมีการแต่งตั้ง และเมื่อมีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมาปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วการรักษาราชการแทนก็จะสิ้นสุดลง เมื่อพันตำรวจเอก ย. ซึ่งเป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในขณะนั้นรักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจึงเป็นคณะกรรมการธุรกรรมได้ การประชุมและมีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมให้ยึดและหรืออายัดทรัพย์สิน จึงชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 46 บัญญัติไว้ เพื่อแก้ข้อขัดข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในหน่วยงานราชการ คือ กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเข้าไปเป็นผู้รักษาราชการแทน โดยผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทนตามมาตรา 48 การรักษาราชการแทนเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายไม่ต้องมีการแต่งตั้ง และเมื่อมีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมาปฏิบัติหน้าที่ได้แล้วการรักษาราชการแทนก็จะสิ้นสุดลง เมื่อพันตำรวจเอก ย. ซึ่งเป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในขณะนั้นรักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจึงเป็นคณะกรรมการธุรกรรมได้ การประชุมและมีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมให้ยึดและหรืออายัดทรัพย์สิน จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งฟ้องฎีกาโดยผู้มิได้มีใบอนุญาตทนายความและมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" ตามบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากทนายความและข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่แล้ว ข้อความตอนท้ายที่ว่า "ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" หมายถึงเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เท่านั้น ที่จะทำการเป็นทนายความรวมถึงแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่นได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. แต่งฟ้อง ฟ้องอุทธรณ์ ฟ้องฎีกา ได้ แต่ ส. มิใช่คู่ความตามความหมายที่ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) บัญญัติไว้ และเมื่อไม่ปรากฏว่า ส. จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ หรือเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น ย่อมไม่อาจแต่งฟ้องฎีกาได้ การที่ ส. ลงชื่อเป็นผู้เรียงในฎีกาของโจทก์ ซึ่งมีความหมายว่าเป็นผู้แต่งฟ้องฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: เหตุขัดข้องและการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (1) - (5)
คดีนี้ผู้ร้องอุทธรณ์อ้างเหตุขัดข้องที่ทำให้ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในทำนองว่า หากผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ออกคำบังคับให้ผู้คัดค้านทั้งสองเข้ารับโอนหุ้นของบริษัท ม. ภายหลังจากบริษัท ม. ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว แม้ยังอยู่ในระยะเวลาที่กฎหมายให้สิทธิผู้ร้องขอให้ศาลออกคำบังคับให้ผู้คัดค้านรับโอนหุ้นบริษัท ม. จากผู้ร้อง ผู้ร้องก็ไม่อาจดำเนินการโอนหุ้นบริษัท ม. ให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสองได้ เพราะอำนาจจัดการทรัพย์สินของบริษัท ม. ตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว อุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าว ไม่เข้าเหตุยกเว้นตาม มาตรา 45 (1) ถึง (5) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้ผู้ร้องอุทธรณ์อ้างเหตุขัดข้องที่ทำให้ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในทำนองว่า หากผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ออกคำบังคับให้ผู้คัดค้านทั้งสองเข้ารับโอนหุ้นของบริษัท ม. ภายหลังจากบริษัท ม. ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว แม้ยังอยู่ในระยะเวลาที่กฎหมายให้สิทธิผู้ร้องขอให้ศาลออกคำบังคับให้ผู้คัดค้านรับโอนหุ้นบริษัท ม. จากผู้ร้อง ผู้ร้องก็ไม่อาจดำเนินการโอนหุ้นบริษัท ม. ให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสองได้ เพราะอำนาจจัดการทรัพย์สินของบริษัท ม. ตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว อุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าว ไม่เข้าเหตุยกเว้นตาม มาตรา 45 (1) ถึง (5) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอคืนของกลางแล้วยื่นใหม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คืนรถยนต์ของกลาง และยื่นบัญชีระบุพยานเป็นพยานบุคคลสามปาก โดยเป็นพยานนำสองปาก และเป็นพยานนำหรือหมายอีกหนึ่งปาก เมื่อถึงวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเพียงว่า ส. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้ร้องไม่สามารถมาศาลได้ เนื่องจากติดธุระ โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอคืนของกลางทันทีว่า เนื่องจากผู้ร้องไม่มีพยานมาศาล ผู้ร้องมีความประสงค์จะขอถอนคำร้องขอคืนของกลาง และจะนำคำร้องขอคืนของกลางมายื่นต่อศาลใหม่ภายในอายุความ พฤติการณ์ของผู้ร้อง จึงทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีไม่เป็นผล และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดี อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกคำร้องเสีย และเมื่อผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกริบ มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงไม่อาจสั่งคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9813-9817/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานทรัพย์สินจากความผิดฟอกเงิน และภาระการพิสูจน์ของจำเลย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการฉ้อโกงประชาชนอันเป็นความผิดมูลฐานมาตั้งแต่ปี 2525 จนกระทั่งถูกจับกุมในปี 2548 ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 เป็นมารดา ผู้คัดค้านที่ 6 เป็นภริยา และผู้คัดค้านอื่นเป็นญาติพี่น้องจึงเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้กระทำกระทำความผิดมูลฐาน กรณีต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 51 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ฝ่ายผู้คัดค้านที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยสุจริต
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐาน โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีผลใช้บังคับหรือไม่ก็ตาม เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐาน โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีผลใช้บังคับหรือไม่ก็ตาม เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7765/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลรับฟังพยานตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ ไม่ถือเป็นการนอกประเด็น
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดว่า จำเลยเข้าไปครอบครองที่ดินบางส่วนของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ( น.ส. 3 ) เลขที่ 313 จำนวน 20 ไร่ ของโจทก์กับพวกโดยไม่มีสิทธิ ต่อมาเมื่อโจทก์ทราบว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลย โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ และตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ในข้อ 1 นอกจากจะขอให้จำเลยมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 313 ให้โจทก์แล้วยังขอให้จำเลยส่งคืนทรัพย์สินแก่โจทก์ด้วย การที่จำเลยยกข้อต่อสู้ในเรื่องการได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างใด และศาลชั้นต้นได้สืบพยานโจทก์จำเลยตามประเด็นดังกล่าว จึงเป็นการสืบพยานตามข้อต่อสู้ของรูปคดี หาใช่เป็นการสืบพยานหรือรับฟังพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6282/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากละเมิดและการผิดนัดชำระหนี้: กรณีนายจ้าง ผู้รับประกันภัย และระยะเวลาการคิดดอกเบี้ย
การวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันใด ศาลจำต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งกำหนดให้ลูกหนี้ผิดนัดนับตั้งแต่เวลาใดและต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่เวลานั้น กรณีจึงเป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 บัญญัติว่า ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนี้ จำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์นับแต่วันทำละเมิด ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดเช่นกัน สำหรับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนหรือเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ไม่ใช่ผู้กระทำละเมิดหรือผู้ต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์กำหนดแต่เพียงวงเงินความรับผิดที่จำเลยที่ 3 ต้องชดใช้ โดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้กระทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด โดยต้องรับผิดนับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ผิดนัดเท่านั้น และเมื่อหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัย อันเกิดขึ้นตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แล้วและจำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2545 แต่หนังสือทวงถามโจทก์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 3 ปฏิบัติการชำระหนี้ ดังนี้ เมื่อเป็นหนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ไว้ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และจำเลยที่ 3 ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 เมื่อจำเลยที่ 3 รับหนังสือทวงถามในวันที่ 2 สิงหาคม 2545 แล้ว ไม่ชำระค่าสินไหมทดแทน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2545 และต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 บัญญัติว่า ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนี้ จำเลยที่ 1 ผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์นับแต่วันทำละเมิด ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดเช่นกัน สำหรับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนหรือเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ไม่ใช่ผู้กระทำละเมิดหรือผู้ต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์กำหนดแต่เพียงวงเงินความรับผิดที่จำเลยที่ 3 ต้องชดใช้ โดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้กระทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด โดยต้องรับผิดนับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ผิดนัดเท่านั้น และเมื่อหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัย อันเกิดขึ้นตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แล้วและจำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2545 แต่หนังสือทวงถามโจทก์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 3 ปฏิบัติการชำระหนี้ ดังนี้ เมื่อเป็นหนี้ที่ไม่ได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้ไว้ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และจำเลยที่ 3 ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 เมื่อจำเลยที่ 3 รับหนังสือทวงถามในวันที่ 2 สิงหาคม 2545 แล้ว ไม่ชำระค่าสินไหมทดแทน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ผิดนัดนับตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2545 และต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ: ผู้รับตราส่งปฏิเสธ/หาไม่พบ ผู้ขนส่งมีสิทธิขายของได้และไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
แม้ตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คู่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบอาจตกลงกันเป็นหนังสือกำหนดให้เสนอข้อพิพาทใดๆ ที่มีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือละเมิดให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดก็ได้ เมื่อตามใบตราส่งทั้งสามฉบับซึ่งเป็นหลักฐานแห่งการขนส่งสินค้าในคดีนี้ไม่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่คู่สัญญาตกลงให้ระงับข้อพิพาททั้งหมดหรือบางส่วนที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ ทั้งจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้นำสืบว่า มีสัญญาอนุญาโตตุลาการอื่นแยกต่างหากจากใบตราส่งทั้งสามฉบับดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 คู่สัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมิได้ตกลงกันเป็นหนังสือกำหนดให้เสนอข้อพิพาทใดที่มีมูลกรณีจากสัญญาขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ
เมื่อบริษัท ซ. ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องในประเทศเดนมาร์กส่งมอบสินค้าให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2552 จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ส่งฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนส่งในต่างประเทศ และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในประเทศไทย เพื่อใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาขนส่งภายในเก้าเดือนนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องของตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง
ตามใบตราส่ง ในช่องผู้รับตราส่ง หรือคำสั่ง ระบุว่า "ตามคำสั่ง" จึงเป็นใบตราส่งต่อเนื่องชนิดโอนให้กันได้ประเภทออกให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง ซึ่งตามมาตรา 22 (2) แห่ง พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 บัญญัติให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีหน้าที่ส่งมอบของแก่บุคคลซึ่งได้เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งต่อเนื่องฉบับใดฉบับหนึ่งซึ่งได้สลักหลังโดยชอบ
การที่ ต. ผู้รับตราส่งตามคำสั่งเดิมของโจทก์ไม่มารับสินค้า และพฤติการณ์ของโจทก์ที่ได้ปล่อยให้สินค้าอยู่ที่ท่าเรือปลายทางเป็นระยะเวลาเนิ่นนานถึง 9 เดือนเศษ ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องและบริษัท ซ. ตัวแทนจำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยไม่ได้รับค่าระวางและมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเก็บรักษาสินค้าตามฟ้อง ทั้งสินค้าดังกล่าวเป็นอาหารซึ่งบางส่วนเป็นกะทิซึ่งมีอายุการใช้งาน 12 เดือน แม้โจทก์จะอ้างว่า โจทก์พยายามติดต่อให้ลูกค้ามาชำระเงินโดยตลอดและยืนยันว่าผู้รับตราส่งใหม่จะมาเป็นผู้รับตู้สินค้าและชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เมื่อต่อมาโจทก์ได้แจ้งจำเลยที่ 1 ว่า ผู้รับตราส่งใหม่คือ ท. แต่ ท. ไม่ยอมมารับสินค้าดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ผู้รับตราส่งปฏิเสธไม่มารับสินค้า เมื่อต่อมาพนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้ตราส่งทันที และถามเอาคำสั่ง การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และตัวแทนจำเลยที่ 2 เก็บสินค้าตามฟ้องต่อไปหลังจากที่เก็บไว้นานถึง 9 เดือนเศษแล้ว เพื่อที่โจทก์จะหาผู้ซื้อรายต่อไปนั้น จึงเป็นคำสั่งที่สร้างภาระและความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องเกินสมควร โดยโจทก์ไม่ได้เยียวยาความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่อาจปฏิบัติได้ตามมาตรา 23 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548
เมื่อต่อมา ต. ผู้รับตราส่งเดิมที่โจทก์แจ้งตามคำสั่งได้ติดต่อไปยังบริษัท ซ. ตัวแทนของจำเลยที่ 2 แล้วว่าต้องการรับมอบสินค้าโดยยินดีจ่ายค่าระวางสินค้าและค่าใช้จ่ายให้แก่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 แล้วบริษัท ซ. จึงมอบสินค้าให้แก่ ต. โดยไม่เวนคืนใบตราส่งนั้น จึงเป็นการจัดการตามความเหมาะสมและความจำเป็นตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 23 วรรคสอง และจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องและตัวแทนจำเลยที่ 2 มีสิทธิรับค่าระวางและค่าใช้จ่ายจาก ต. ได้ตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 23 วรรคสี่
เมื่อต่อมาบริษัท ซ. ตัวแทนจำเลยที่ 2 ได้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์มาถึงโจทก์โดยระบุว่า บริษัท ซ. ได้ปล่อยตู้สินค้าให้แก่ลูกค้าไปเนื่องจากว่าหากยังเก็บตู้สินค้าต่อไปจะทำให้ขาดทุนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นการที่จำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องบอกกล่าวแก่โจทก์ผู้ตราส่งโดยไม่ชักช้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามมาตรา 23 วรรคสาม
เมื่อบริษัท ซ. ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องในประเทศเดนมาร์กส่งมอบสินค้าให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2552 จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ส่งฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนส่งในต่างประเทศ และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในประเทศไทย เพื่อใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาขนส่งภายในเก้าเดือนนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องของตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง
ตามใบตราส่ง ในช่องผู้รับตราส่ง หรือคำสั่ง ระบุว่า "ตามคำสั่ง" จึงเป็นใบตราส่งต่อเนื่องชนิดโอนให้กันได้ประเภทออกให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง ซึ่งตามมาตรา 22 (2) แห่ง พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 บัญญัติให้ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องมีหน้าที่ส่งมอบของแก่บุคคลซึ่งได้เวนคืนต้นฉบับใบตราส่งต่อเนื่องฉบับใดฉบับหนึ่งซึ่งได้สลักหลังโดยชอบ
การที่ ต. ผู้รับตราส่งตามคำสั่งเดิมของโจทก์ไม่มารับสินค้า และพฤติการณ์ของโจทก์ที่ได้ปล่อยให้สินค้าอยู่ที่ท่าเรือปลายทางเป็นระยะเวลาเนิ่นนานถึง 9 เดือนเศษ ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องและบริษัท ซ. ตัวแทนจำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยไม่ได้รับค่าระวางและมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเก็บรักษาสินค้าตามฟ้อง ทั้งสินค้าดังกล่าวเป็นอาหารซึ่งบางส่วนเป็นกะทิซึ่งมีอายุการใช้งาน 12 เดือน แม้โจทก์จะอ้างว่า โจทก์พยายามติดต่อให้ลูกค้ามาชำระเงินโดยตลอดและยืนยันว่าผู้รับตราส่งใหม่จะมาเป็นผู้รับตู้สินค้าและชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เมื่อต่อมาโจทก์ได้แจ้งจำเลยที่ 1 ว่า ผู้รับตราส่งใหม่คือ ท. แต่ ท. ไม่ยอมมารับสินค้าดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ผู้รับตราส่งปฏิเสธไม่มารับสินค้า เมื่อต่อมาพนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้ตราส่งทันที และถามเอาคำสั่ง การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และตัวแทนจำเลยที่ 2 เก็บสินค้าตามฟ้องต่อไปหลังจากที่เก็บไว้นานถึง 9 เดือนเศษแล้ว เพื่อที่โจทก์จะหาผู้ซื้อรายต่อไปนั้น จึงเป็นคำสั่งที่สร้างภาระและความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องเกินสมควร โดยโจทก์ไม่ได้เยียวยาความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่อาจปฏิบัติได้ตามมาตรา 23 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548
เมื่อต่อมา ต. ผู้รับตราส่งเดิมที่โจทก์แจ้งตามคำสั่งได้ติดต่อไปยังบริษัท ซ. ตัวแทนของจำเลยที่ 2 แล้วว่าต้องการรับมอบสินค้าโดยยินดีจ่ายค่าระวางสินค้าและค่าใช้จ่ายให้แก่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 แล้วบริษัท ซ. จึงมอบสินค้าให้แก่ ต. โดยไม่เวนคืนใบตราส่งนั้น จึงเป็นการจัดการตามความเหมาะสมและความจำเป็นตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 23 วรรคสอง และจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องและตัวแทนจำเลยที่ 2 มีสิทธิรับค่าระวางและค่าใช้จ่ายจาก ต. ได้ตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 23 วรรคสี่
เมื่อต่อมาบริษัท ซ. ตัวแทนจำเลยที่ 2 ได้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์มาถึงโจทก์โดยระบุว่า บริษัท ซ. ได้ปล่อยตู้สินค้าให้แก่ลูกค้าไปเนื่องจากว่าหากยังเก็บตู้สินค้าต่อไปจะทำให้ขาดทุนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นการที่จำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องบอกกล่าวแก่โจทก์ผู้ตราส่งโดยไม่ชักช้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามมาตรา 23 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14166/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องมูลนิธิ, อายุความสิทธิเรียกร้อง, การซื้อขายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ของโจทก์ตามสำเนาข้อบังคับอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิซึ่งในหมวดที่ 2 เรื่องวัตถุประสงค์ ข้อ 4 ระบุว่า วัตถุประสงค์ของมูลนิธิคือ 4.1 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันหรือหน่วยงานอิสระที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดตั้งขึ้น... 4.4 ประกอบกิจการให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรม วิจัยและพัฒนา วิเคราะห์และทดสอบ และประกอบกิจการอื่นที่เกี่ยวกับและต่อเนื่องกับภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ... และสถาบันอาหารเป็นสถาบันที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยโดยให้โจทก์เป็นมูลนิธิรองรับการดำเนินงานของสถาบันอาหาร เมื่อสถาบันอาหารได้ดำเนินโครงการพัฒนาปลาเผาะมีเป้าหมายเป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์และแปรรูปเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยให้ยังคงเจริญเติบโตต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก การที่โจทก์ซึ่งเป็นมูลนิธิที่มีหน้าที่รองรับการดำเนินงานของสถาบันอาหารขายเนื้อปลาเผาะแก่จำเลยจึงเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอาหารเพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่กระทำเพื่อมุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันแต่อย่างใด จึงเป็นการกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ แม้วัตถุประสงค์ของโจทก์มิได้ระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อขายก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยฎีกาว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 84 นั้น จำเลยมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับกฎหมายดังกล่าวอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
การที่โจทก์ขายเนื้อปลาเผาะแก่จำเลยเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอาหารเพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่กระทำเพื่อมุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบ การค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้ซื้อปลาจากโจทก์ แต่โจทก์นำปลามาให้จำเลยช่วยขาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ประเด็นนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซื้อปลาจากโจทก์ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 84 นั้น จำเลยมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับกฎหมายดังกล่าวอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
การที่โจทก์ขายเนื้อปลาเผาะแก่จำเลยเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอาหารเพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่กระทำเพื่อมุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบ การค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้ซื้อปลาจากโจทก์ แต่โจทก์นำปลามาให้จำเลยช่วยขาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ประเด็นนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซื้อปลาจากโจทก์ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง