คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ฉัตรไชย จันทร์พรายศรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4303/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายทราบวันนัดแต่ไม่แจ้งจำเลย การอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนด
เมื่อทนายจำเลยทราบนัดและคำสั่งศาลชั้นต้นโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดและคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองมาชำระเพิ่มเติมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้ว่าจำเลยซึ่งเป็นตัวความจะไม่ทราบวันนัดก็ตาม เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 บัญญัติว่า ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร การที่ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 และคำสั่งให้นำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองมาชำระให้ครบถ้วนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่แจ้งให้จำเลยทราบ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างต่อศาลหาได้ไม่ เพราะจำเลยมีทนายความกระทำการแทนตนอยู่แล้ว การที่จำเลยไม่นำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองมาชำระต่อศาลชั้นต้นให้ครบถ้วนก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตในคำร้องของจำเลยนั้น ก็มิใช่เป็นการสั่งอนุญาตก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 และไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งขยายระยะเวลาดังกล่าวอีกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เมื่อจำเลยเพิ่งวางเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลาการวางเงินตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในครั้งแรกดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์โดยได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หรือภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้โดยชอบ การยื่นอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาเท่านั้น มิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีโดยให้ยกฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 21,830 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันชีวิตหลังสมรสสิ้นสุด: ไม่เป็นสินสมรส แต่เป็นส่วนหนึ่งของกองมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้น หมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายย่อมทำให้การสมรสระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 2 สิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 สิทธิที่จะได้รับเงินประกันชีวิต นั้น เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากความมรณะของผู้ตายอันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต และเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกซึ่งได้รับมาหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว จึงไม่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 2 ประกอบกับตามตารางกรมธรรม์ มิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ว่าให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนหรือแก่ผู้ใด จึงไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้โดยตรงและต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง มาใช้บังคับ คืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา 897 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "ถ้าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนดว่า เมื่อตนถึงซึ่งความมรณะให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนโดยมิได้เจาะจงระบุชื่อผู้หนึ่งผู้ใดไว้ไซร้ จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นท่านให้ฟังเอาเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้" ดังนั้น เงินประกันชีวิตดังกล่าวจึงต้องแบ่งให้แก่ทายาทของผู้ตายในฐานะสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (1), 1630 วรรคสอง และ 1635 (1) โดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้ตาย กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาผู้ตายต่างได้รับส่วนแบ่งคนละส่วนเท่า ๆ กันและเท่ากับโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 และเด็กชาย ศ. ซึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาอนุญาตใช้สิทธิเครื่องหมายการค้า ผลของคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการและอำนาจหน้าที่นายทะเบียน
เดิมจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายในกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 74 วรรคสอง แล้ว แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะยื่นอุทธรณ์ฉบับใหม่ แต่เนื้อหาของคำอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวเป็นเพียงการเพิ่มเติมรายละเอียดของข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ และข้อเท็จจริงอื่นซึ่งได้มีการกล่าวอ้างมาแต่ในชั้นพิจารณาของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเท่านั้น ซึ่งอุทธรณ์ฉบับเดิมก็ได้มีการกล่าวไว้แล้วเพียงแต่ไม่มีการยกข้อความซึ่งอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยไว้หรือข้อความในสัญญาขึ้นกล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์ เพียงแต่อ้างว่ามีรายละเอียดปรากฏอยู่ในหน้าใดของคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรืออยู่ในสัญญาข้อใดตามเอกสารที่แนบท้ายมาเท่านั้น อุทธรณ์ฉบับใหม่จึงไม่ใช่การเพิ่มเติมเนื้อหาสาระสำคัญหรือข้อเท็จจริงเข้ามาใหม่ต่างจากอุทธรณ์ฉบับเดิม แต่เป็นการเพิ่มรายละเอียดในอุทธรณ์ฉบับเดิมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงชอบที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะรับอุทธรณ์ฉบับใหม่ของจำเลยที่ 1 ไว้ประกอบการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเดิมของจำเลยที่ 1 ได้
ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดว่า เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้รับอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วต้องแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิยื่นคำชี้แจงหรือคำคัดค้าน คงมีแต่ในชั้นพิจารณาของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่กฎหมายบัญญัติว่า เมื่อได้รับคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ได้รับอนุญาต ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีหนังสือแจ้งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ได้รับอนุญาตแล้วแต่กรณีทราบเพื่อยื่นคำชี้แจงภายในกำหนดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 73 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 74 วรรคสอง ที่ไม่ได้บัญญัติให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตทราบเพื่อยื่นคำคัดค้าน จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 โดยผิดระเบียบหรือผิดกฎหมาย
เมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้านโต้แย้งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แล้ว คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้นำข้อเท็จจริงในคำโต้แย้งคัดค้านของโจทก์มาพิจารณาด้วย ทั้งไม่มีบทบัญญัติตามระเบียบข้อบังคับหรือตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ที่กำหนดให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องวินิจฉัยตามคำโต้แย้งคัดค้านอุทธรณ์ทุกประเด็น การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และคำโต้แย้งคัดค้านของโจทก์เฉพาะประเด็นสำคัญ ถือว่าการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแสดงให้เห็นว่า สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า/บริการฉบับที่ 1 สิ้นสุดลงโดยการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้อนุญาตแล้ว ส่วนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า/บริการ ฉบับที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิโดยชอบในการบอกเลิกสัญญาแล้ว แต่เนื่องจากมีการนำไปจดทะเบียนและยังไม่ได้รับการเพิกถอนจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า อนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบที่จะวินิจฉัยว่า สัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้ว เนื่องจากจะกระทบกระเทือนถึงอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จากคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าแสดงได้ว่า สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า/บริการ ฉบับที่ 2 ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค้ามนุษย์-ค้าประเวณี-คนต่างด้าว: จำเลยร่วมกันแสวงหาประโยชน์จากบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี และกระทำผิด พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นธุระจัดหา จัดให้อยู่ในอาศัยหรือรับไว้ซึ่งบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี แม้ผู้นั้นจะยินยอม อันเป็นการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1), 52 วรรคสอง และความผิดต่อเสรีภาพตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี วรรคแรก ข้อหาร่วมกันเป็นเจ้าของกิจการค้าประเวณีซึ่งมีบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีทำการค้าประเวณีอยู่ด้วย อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 11 วรรคสอง ข้อหาร่วมกันเป็นธุระจัดหาบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีอันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคสอง และข้อหาร่วมกันเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟัง เป็นยุติว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมกันแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นธุระจัดหา จัดให้อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี แม้ผู้นั้นจะยินยอม ร่วมกันเป็นธุระจัดหาบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีและร่วมกันเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี แม้ผู้นั้นจะยินยอมก็ตาม จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ส่วนความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณีซึ่งมีบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีทำการค้าประเวณีกฎหมายมุ่งที่จะบังคับแก่ผู้จัดการกิจการหรือสถานที่ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าประเวณีหรือเพื่อใช้ในการติดต่อหรือจัดหาบุคคลเพื่อกระทำการค้าประเวณีเป็นการเฉพาะ จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง มิใช่กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีอาญา และผลกระทบต่อคำพิพากษาในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันบุกรุก ตาม ป.อ. มาตรา 365 และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 359 ซึ่งต่างมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่การที่จะเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 359 (4) นั้น ต้องได้ความว่าเจ้าของทรัพย์นั้นเป็นกสิกร เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ข้าวนาปรังที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำให้เสียหายเป็นพืชหรือพืชผลของกสิกร จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 359 ได้ เท่ากับความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามแต่เพียงมาตรา 358 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงใหม่ จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้นั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คดีในส่วนแพ่งนั้น แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์จะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ในการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งที่เป็นการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวเนื่องกันมานี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญาฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดตามฟ้องคดีในส่วนแพ่ง ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีอาญาและผลกระทบต่อคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวข้อง
การที่จะเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 359 (4) นั้น ต้องได้ความว่าเจ้าของทรัพย์นั้นเป็นกสิกร เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ข้าวนาปรังที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำให้เสียหายเป็นพืชหรือพืชผลของกสิกร จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 359 ได้ เท่ากับความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามแต่เพียงมาตรา 358 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงใหม่ จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้นั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 สำหรับคดีในส่วนแพ่งนั้น แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์จะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ในการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งที่เป็นการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวเนื่องกัน ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ vs. ขู่เข็ญทำให้ตกใจกลัว ศาลพิจารณาพฤติการณ์และเจตนาของผู้กระทำ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 โดยมิได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 392 แม้การที่จำเลยใช้มีดขู่เข็ญให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือตกใจเป็นความผิดตาม มาตรา 392 ก็ตาม แต่ความผิดฐานนี้ไม่ใช่การกระทำอันรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 392 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันวินาศภัย: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความสูญหายจากฉ้อโกง และสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทน
สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังที่ระบุในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 869 ได้ให้คำนิยาม วินาศภัย ว่า ให้หมายความรวมเอาความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนี้ การที่โจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยตามสัญญา จำเลยตกลงรับชำระเบี้ยประกันภัย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมเป็นอันสัญญาว่าตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งกรณีวินาศภัยหากเกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัย เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 ในเรื่องการชดใช้ความเสียหายหรือสูญหายต่อรถยนต์ในข้อ 2.1 ในกรณีรถยนต์สูญหายจะมิได้กำหนดว่าในเรื่องรถยนต์สูญหายอันเกิดจากความผิดฐานฉ้อโกง ให้จำเลยต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนไว้ก็ตาม ก็เห็นว่าการรับประกันภัยเป็นความรับผิดชอบต่อความสูญหายหรือเสียหายจากวินาศภัยในกรณีต่างๆ อยู่แล้วซึ่งยากที่จะกำหนดให้ครบถ้วนทุกกรณีได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งเงื่อนไขและความคุ้มครองตามกรมธรรม์ข้อ 5 ระบุว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์ โดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่ทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น ที่จำเลยฎีกาว่ารถสูญหายเป็นผลมาจากการฉ้อโกง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว เมื่อไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิด วินาศภัยอื่นที่เกิดขึ้นแม้มิได้กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย อย่างเช่นความสูญหายของรถยนต์อันเกิดจากการฉ้อโกงดังที่จำเลยฎีกา จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยก็หาพ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ตามเงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หมวดเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 4 ความรับผิดของบริษัทเมื่อมีการปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทน กำหนดว่า เมื่อมีการเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อบริษัทและหากบริษัทปฏิเสธความรับผิดไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามจนเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้เสียหายนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล หากศาลพิพากษาให้บริษัทแพ้คดี บริษัทจะต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้เสียหายนั้น โดยชดใช้ค่าเสียหายตามคำพิพากษาพร้อมดอกเบี้ยในฐานะลูกหนี้ผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด เห็นว่า ความรับผิดของผู้รับประกันภัยในกรณีที่ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกและผู้เอาประกันภัยได้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วจึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามข้อสัญญานี้ดังที่จำเลยฎีกามา เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีผิดสัญญาอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงได้ตามที่เห็นสมควร โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยของค่าเสียหายได้นับแต่วันผิดนัด มิใช่บังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความรับผิดของจำเลยดังที่จำเลยฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าค่าเสียหายดังกล่าวเป็นหนี้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอพิสูจน์ความผิดจำเลย ฐานลักทรัพย์ ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัย
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้กลอุบายทำทีเป็นขอเช่ารถยนต์จากผู้เสียหายที่ 3 เพื่อลักรถยนต์ โดยโจทก์อ้างว่าได้รับทราบข้อมูลจาก น. ดังนั้นโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความจริงตามข้อกล่าวหา แต่โจทก์กลับมีเพียงคำให้การของ น. ที่ให้การไว้ต่อพันตำรวจโท ช. ในชั้นสอบสวนเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงพยานบอกเล่า ทั้งจำเลยทั้งสองก็นำสืบต่อสู้ว่า น. แต่เพียงผู้เดียวเป็นตัวการ ดำเนินการเกี่ยวกับการเช่ารถยนต์คันดังกล่าวทั้งหมด จำเลยทั้งสองมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นด้วย คำให้การในชั้นสอบสวนของ น. เท่ากับเป็นพยานซัดทอด ซึ่งในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานนี้ ศาลจำต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์อ้างว่า ก่อนเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 กับพวกเคยไปเช่ารถยนต์ที่ร้าน บ. แล้วนำรถยนต์ที่เช่าไป ก็ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวกแต่อย่างใด ทั้งพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลยที่ 1 ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/2 วรรคหนึ่ง พยานหลักฐานของโจทก์จึงตกเป็นที่สงสัยว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยทั้งสอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหลังจำเลยถึงแก่ความตาย และเหตุรอการลงโทษ
โจทก์เบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องต่อหน้าศาลผ่านล่ามโดยมีทนายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ร่วมฟังการเบิกความและถามค้านโจทก์ ต่อมาเมื่อโจทก์ไม่สามารถเบิกความในชั้นพิจารณาได้ เนื่องจากถึงแก่ความตาย จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุผลสมควร ดังนั้น บันทึกคำเบิกความโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องจึงนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5 กรณีหาจำต้องให้คู่ความตกลงกัน จึงจะนำคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมารับฟังได้ตามมาตรา 237 ไม่
of 19