พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม: รายได้จากผู้ร่วมสัมปทานถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี และประเด็นการลดเบี้ยปรับ
การกำหนดรายจ่ายที่คิดเป็นร้อยละของรายจ่ายหลักที่ใช้ในการผลิตบวกด้วยร้อยละของรายจ่ายในการสำรวจทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์และบวกด้วยร้อยละของรายจ่ายตรงตามสัญญาปฏิบัติการ (Operating Agreement) นั้นแสดงให้เห็นว่าเป็นการกำหนดขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง ดังนี้รายจ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายตามปกติและจำเป็นในกิจการปิโตรเลียมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ มาตรา 27, 65 ฉ และ 65 สัตต โจทก์จึงอ้างรายจ่ายในส่วนที่คิดเป็นร้อยละเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในบริษัทโจทก์ และนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสิทธิหาได้ไม่ ดังนี้การที่โจทก์ได้รับเงินดังกล่าวจากบริษัทผู้ร่วมสัมปทานซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันในส่วนที่เกินจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในการดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จ่ายคืนให้บริษัทผู้ร่วมสัมปทานดังกล่าว เงินได้ดังกล่าวจึงเป็นเงินได้อื่นที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 22 (5) แห่ง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ ของโจทก์จากผู้ร่วมสัมปทาน
แม้คดีนี้จะมีประเด็นเดียวกับคดีที่โจทก์ได้เคยนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพิ่มเติม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในประเด็นดังกล่าวด้วยหลักเกณฑ์เดียวกับที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาไว้แล้วนั้น แต่เนื่องจากคดีมีประเด็นเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับการชดเชยจากผู้ร่วมสัมปทานทั้งสองรายถือเป็นรายได้ของโจทก์หรือไม่ อันเป็นปัญหาสืบเนื่องกันมา การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้รวมกับประเด็นที่ศาลฎีกาได้เคยมีคำพิพากษาแล้วก็มีเหตุผลอันชอบอยู่ และมีปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาในข้อกฎหมายที่อาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
แม้คดีนี้จะมีประเด็นเดียวกับคดีที่โจทก์ได้เคยนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพิ่มเติม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในประเด็นดังกล่าวด้วยหลักเกณฑ์เดียวกับที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาไว้แล้วนั้น แต่เนื่องจากคดีมีประเด็นเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับการชดเชยจากผู้ร่วมสัมปทานทั้งสองรายถือเป็นรายได้ของโจทก์หรือไม่ อันเป็นปัญหาสืบเนื่องกันมา การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้รวมกับประเด็นที่ศาลฎีกาได้เคยมีคำพิพากษาแล้วก็มีเหตุผลอันชอบอยู่ และมีปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาในข้อกฎหมายที่อาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายในสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมที่ไม่ใช่รายจ่ายตามปกติและจำเป็น และเงินได้จากผู้ร่วมสัมปทาน ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี
เงินรายจ่ายที่โจทก์จ่ายให้บริษัท ย. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 และปี 2532 โดยคิดเป็นร้อยละของรายจ่ายหลักที่ใช้ในการผลิตบวกด้วยร้อยละของรายจ่ายในการสำรวจทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์และบวกด้วยร้อยละของรายจ่ายทางตรง เป็นการกำหนดขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงรายจ่ายที่เกิดขึ้นของบริษัท ย. จึงมิใช่รายจ่ายตามปกติและจำเป็นในการปิโตรเลียมของโจทก์ที่โจทก์จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ตาม มาตรา 65 ฉ แห่ง พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
แต่เงินรายจ่ายที่บริษัท ซ. และบริษัท ม. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ต้องเฉลี่ยจ่ายให้กับบริษัท ย. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 และปี 2532 โดยจ่ายให้แก่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้จ่ายต่อให้แก่บริษัท ย. เป็นการที่โจทก์ได้รับเงินได้จากบริษัทผู้ร่วมสัมปทานซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันในส่วนที่เกินจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้จ่ายคืนให้บริษัท ซ. และบริษัท ย. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ ถือเป็นเงินได้อื่นที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 22 (5) พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่โจทก์ต้องนำมารวมในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2549)
แต่เงินรายจ่ายที่บริษัท ซ. และบริษัท ม. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ต้องเฉลี่ยจ่ายให้กับบริษัท ย. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 และปี 2532 โดยจ่ายให้แก่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้จ่ายต่อให้แก่บริษัท ย. เป็นการที่โจทก์ได้รับเงินได้จากบริษัทผู้ร่วมสัมปทานซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันในส่วนที่เกินจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้จ่ายคืนให้บริษัท ซ. และบริษัท ย. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ ถือเป็นเงินได้อื่นที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 22 (5) พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่โจทก์ต้องนำมารวมในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2549)