พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7277/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย-ผลประโยชน์ทับซ้อน-การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ-การฟ้องบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ข้อที่ว่า ศ. ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่อื่นของผู้คัดค้านและเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยอื่น ๆ รับประโยชน์จากผู้ร้องทั้งสาม หากมีอยู่จริงดังคำคัดค้าน การใช้อำนาจตามกฎหมายของ ศ. ในฐานะผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในการทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ ในนามผู้คัดค้านย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย การใช้อำนาจของ ศ. และเจ้าหน้าที่รัฐคนอื่นมิใช่เป็นเรื่องภายในของผู้คัดค้านดังที่ผู้ร้องทั้งสามแก้อุทธรณ์ ถือว่าการอุทธรณ์โดยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวของผู้คัดค้านเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า นิติกรรมหรือสัญญา หากมีการทำขึ้นเพราะกลฉ้อฉลหากมีอยู่จริงก็ไม่ทำให้สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ เป็นโมฆะนั้น ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งผู้คัดค้านย่อมอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (2) ซึ่งบัญญัติไว้อย่างเดียวกับ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 26 (2)
การที่ ศ. ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในขณะเกิดเหตุปิดบังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ในการประชุมคณะกรรมการ กทพ. และลงนามในขณะที่ยังไม่มีการว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการกับผู้คัดค้าน เพื่อมิให้ผู้คัดค้านต้องเสียประโยชน์ ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา นอกจากนั้น การลงนามของ ศ. ยังมีลักษณะเร่งรีบโดยลงนามก่อนวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปเพียง 4 วัน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่า การกระทำของ ศ. เพื่อให้มีการลงนามในสัญญาดังกล่าวให้จงได้ นับเป็นการผิดปกติวิสัยของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประกอบกับข้อที่ ศ. ได้รับประโยชน์จากการซื้อหุ้นจองของบริษัทผู้ร้องที่ 2 และของบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้ว มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่า ศ. ต้องการจะช่วยเหลือผู้ร้องทั้งสามโดยเห็นแก่ประโยชน์ที่ผู้ร้องทั้งสามจัดให้ จึงถือว่าการใช้อำนาจในฐานะผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยของ ศ. ที่ลงนามในสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้ร้องที่ 2 เพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นให้แก่ ศ. และเจ้าหน้าที่ของรัฐคนอื่นได้ซื้อหุ้นในฐานะผู้มีอุปการะคุณ รวมทั้งการจัดสรรหุ้นของบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้ ศ. กับเจ้าหน้าที่ของรัฐคนอื่นมีสิทธิซื้อก่อนทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ ก็ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสามได้ให้ผลประโยชน์แก่ ศ. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อจูงใจให้ ศ. และเจ้าหน้าที่ดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ โดยเอื้อประโยชน์แก่ผู้ร้องทั้งสามนั้นเอง กรณีจึงต้องถือว่าในการทำสัญญาดังกล่าวของผู้ร้องทั้งสาม ผู้ร้องทั้งสามใช้สิทธิโดยไม่สุจริต สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ ซึ่งเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันผู้คัดค้าน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 36/2544 ที่ชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินให้แก่ผู้ร้องทั้งสามตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวนั้น หากศาลบังคับให้ตามคำชี้ขาดนั้นย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่ศาลชั้นต้นจะปฏิเสธไม่รับบังคับให้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 44 ดังนั้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฝ่าฝืนต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่ ศ. ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในขณะเกิดเหตุปิดบังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ในการประชุมคณะกรรมการ กทพ. และลงนามในขณะที่ยังไม่มีการว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการกับผู้คัดค้าน เพื่อมิให้ผู้คัดค้านต้องเสียประโยชน์ ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา นอกจากนั้น การลงนามของ ศ. ยังมีลักษณะเร่งรีบโดยลงนามก่อนวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปเพียง 4 วัน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่า การกระทำของ ศ. เพื่อให้มีการลงนามในสัญญาดังกล่าวให้จงได้ นับเป็นการผิดปกติวิสัยของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประกอบกับข้อที่ ศ. ได้รับประโยชน์จากการซื้อหุ้นจองของบริษัทผู้ร้องที่ 2 และของบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้ว มีเหตุผลให้เชื่อได้ว่า ศ. ต้องการจะช่วยเหลือผู้ร้องทั้งสามโดยเห็นแก่ประโยชน์ที่ผู้ร้องทั้งสามจัดให้ จึงถือว่าการใช้อำนาจในฐานะผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยของ ศ. ที่ลงนามในสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้ร้องที่ 2 เพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นให้แก่ ศ. และเจ้าหน้าที่ของรัฐคนอื่นได้ซื้อหุ้นในฐานะผู้มีอุปการะคุณ รวมทั้งการจัดสรรหุ้นของบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้ ศ. กับเจ้าหน้าที่ของรัฐคนอื่นมีสิทธิซื้อก่อนทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ ก็ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสามได้ให้ผลประโยชน์แก่ ศ. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อจูงใจให้ ศ. และเจ้าหน้าที่ดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ โดยเอื้อประโยชน์แก่ผู้ร้องทั้งสามนั้นเอง กรณีจึงต้องถือว่าในการทำสัญญาดังกล่าวของผู้ร้องทั้งสาม ผู้ร้องทั้งสามใช้สิทธิโดยไม่สุจริต สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ ซึ่งเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันผู้คัดค้าน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 36/2544 ที่ชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินให้แก่ผู้ร้องทั้งสามตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวนั้น หากศาลบังคับให้ตามคำชี้ขาดนั้นย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่ศาลชั้นต้นจะปฏิเสธไม่รับบังคับให้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 44 ดังนั้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฝ่าฝืนต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน