พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วม ผู้เสียหายระบุพยานเพิ่มเติมได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) คำว่า'โจทก์หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน' เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าวก็ย่อมเป็น 'คู่ความ' ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2(15) จึงชอบที่จะระบุพยานหรือสืบพยานเพิ่มเติมได้โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และ 228
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในคำฟ้องอาญา: โจทก์ต้องลงชื่อเอง ทนายความลงแทนไม่ได้
คดีอาญานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158บัญญัติว่า'ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี ฯลฯ (7)ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง'. คำว่า'โจทก์'มีบทวิเคราะห์ศัพท์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(14)ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน. เมื่อโจทก์มิได้ลงชื่อในฟ้อง. มีแต่ทนายความของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในฐานะโจทก์. คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา.(อ้างฎีกาที่ 618/2490).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในคำฟ้องคดีอาญา: โจทก์ต้องลงชื่อเอง ทนายความลงแทนไม่ได้
คดีอาญานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี ฯลฯ (7) ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง" ค่าว่า "โจทก์" มีบทวิเคราะห์ศัพท์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหาย ซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้ลงชื่อในฟ้อง มีแต่ทนายความของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในฐานะโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา (อ้างฎีกา 618/2490)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในคำฟ้องอาญา: โจทก์ต้องลงชื่อเอง ทนายความลงแทนไม่ได้
คดีอาญานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี ฯลฯ (7)ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง" คำว่า"โจทก์"มีบทวิเคราะห์ศัพท์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14)ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้ลงชื่อในฟ้อง มีแต่ทนายความของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในฐานะโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา(อ้างฎีกาที่ 618/2490)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วม & การสืบพยาน: แม้พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมยังมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ ศาลอุทธรณ์สั่งสืบพยานเพิ่มเติมได้
แม้พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์. แต่โจทก์ร่วมได้อุทธรณ์และฎีกาต่อมา. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(14) อธิบายคำว่า 'โจทก์' ไว้ว่า. หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน. ดังนั้น โจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต่างจึงมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน. เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งงดไม่สืบต่อไปให้เสร็จ. พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธินำสืบต่อไปได้. ศาลอุทธรณ์จึงฟังพยานที่นำสืบต่อไปนั้นวินิจฉัยคดีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วม & การสืบพยาน: แม้พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ ศาลอุทธรณ์สั่งสืบพยานเพิ่มเติมได้
แม้พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์ร่วมได้อุทธรณ์และฎีกาต่อมา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) อธิบายคำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ดังนั้น โจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต่างจึงมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งงดไม่สืบต่อไปให้เสร็จ พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธินำสืบต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์จึงฟังพยานที่นำสืบต่อไปนั้นวินิจฉัยคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วม, การอุทธรณ์/ฎีกา, การสืบพยานเพิ่มเติม, ความผิดฐานฉุดคร่าและทำร้ายร่างกาย
แม้พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์ร่วมได้อุทธรณ์และฎีกาต่อมา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) อธิบายคำว่า "โจทก์" ไว้ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ดังนั้น โจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต่างจึงมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งงดไม่สืบต่อไปให้เสร็จ พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธินำสืบต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์จึงฟังพยานที่นำสืบต่อไปนั้นวินิจฉัยคดีได้