พบผลลัพธ์ทั้งหมด 895 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12953/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีเช่าซื้อรถยนต์ ประเด็นต่างกัน แม้มีข้อเท็จจริงบางส่วนเชื่อมโยง
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์เช่าซื้อเป็นจำเลยที่ 1 โจทก์ให้การว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ครบถ้วนแล้วหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า หลังทำสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อบางส่วน แล้วเสนอขอทำสัญญาเช่าซื้อฉบับใหม่ โดยโจทก์นำค่าเช่าซื้อบางส่วนไปชำระปิดบัญชีค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ยังค้างอยู่ ส่วนที่เหลือโจทก์สั่งจ่ายแคชเชียร์เช็คระบุชื่อจำเลยที่ 1 และมีการนำฝากเข้าบัญชีของโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ปฏิเสธว่าไม่เคยทำสัญญาเช่าซื้อฉบับหลังกับโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การว่าไม่เคยทำสัญญาเช่าซื้อฉบับหลังกับโจทก์ จำเลยทั้งสองไม่ต้องคืนเงินโจทก์ ประเด็นแห่งคดีนี้จึงมีว่า จำเลยที่ 1 รับเงินตามฟ้องไปจากโจทก์จริงหรือไม่และเป็นการรับไว้โดยมูลอันจะอ้างตามกฎหมายหรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12898/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ศาลแก้ไขค่าเสียหายและดอกเบี้ยตามคำขอ
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมรถ 1,190,000 บาท เมื่อรวมกับค่าบริการยกรถ 18,000 บาท และค่ารักษาพยาบาล 39,944 บาท แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดต่อโจทก์ 1,208,000 บาท ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะผลรวมของค่าเสียหายทั้งสามจำนวนที่ถูกต้องคือ 1,247,944 บาท เป็นการรวมจำนวนค่าเสียหายและพิพากษาไม่ตรงกับข้อวินิจฉัย กรณีดังกล่าวเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้จำเลยทั้งสามฎีกาเพียงฝ่ายเดียว ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ประกอบมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12896/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: การแบ่งความคุ้มครองระหว่างประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจ
กรมธรรม์ประกันภัยของจำเลยระบุความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยไว้ว่า เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 250,000 บาท ต่อคน ซึ่งเท่ากับจำเลยจะต้องรับผิดก็เมื่อความเสียหายนั้นเกินกว่าวงเงินสูงสุดของความคุ้มครองในการประกันภัยภาคบังคับ โดยรับผิดในส่วนเกินนั้นไม่เกิน 250,000 บาท ต่อคน แต่หากความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่เกินวงเงินสูงสุดของความคุ้มครองในการประกันภัยภาคบังคับ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่จะต้องเรียกร้องเอาจากผู้รับประกันภัยภาคบังคับ หรือเจ้าของรถ หรือผู้ทำละเมิด แล้วแต่กรณี เมื่อความเสียหายคดีนี้มีจำนวนเพียง 5,297 บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินของความคุ้มครองในการประกันภัยภาคบังคับ จึงไม่อยู่ในความรับผิดของจำเลย ข้อตกลงของผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเช่นว่านี้เป็นการกำหนดความคุ้มครองมิให้เกิดความซ้ำซ้อนกับการประกันภัยภาคบังคับ และเป็นการแบ่งความคุ้มครองออกเป็นคนละส่วน โดยมิได้ทำให้บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากการใช้รถต้องเสียสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายแต่ประการใด ทั้งแบบกรมธรรม์ประกันภัยก็เป็นไปตามที่กรมการประกันภัยกำหนดให้ใช้บังคับ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ประการใด ส่วนโจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาเงินที่ได้จ่ายไปจากผู้ใดได้หรือไม่ เพียงใด ย่อมต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12894/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาโดยไม่ได้มีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตโดยตรงต่อศาลฎีกาให้แก่โจทก์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ทั้งหากโจทก์ได้รับคำร้องและใช้สิทธิคัดค้านคำร้องของจำเลยที่ 2 แล้ว ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12442/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหุ้น, การรับฟังพยานสำเนาต่างประเทศ, การเพิกถอนการแก้ไขรายชื่อผู้ถือหุ้น
จำเลยให้การรับว่าจำเลยดำเนินการเพิกถอนชื่อโจทก์กับพวกออกจากรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้วใส่ชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทชุดเดิมกลับเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหม่อีกครั้งโดยไม่ปรากฏว่าเป็นการทำแทนบริษัท จึงเป็นการทำโดยพลการ โจทก์ไม่จำต้องฟ้องบริษัทเข้าเป็นจำเลยด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์จะมิได้ระบุหนังสือแจ้งการแก้ไขการลงทุนเอกสารหมาย จ.15 ไว้ในบัญชีระบุพยาน แต่โจทก์ก็ได้นำเอกสารดังกล่าวมาประกอบการถามติงในการสืบตัวโจทก์อันเป็นการสืบพยานโจทก์ปากแรกซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 มีโอกาสอย่างเต็มที่ในการที่จะนำพยานมาสืบหักล้าง ประกอบกับจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 ก็อ้างมาตลอดว่าหุ้นเป็นของจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 มิใช่ของโจทก์และจำเลยไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัท ด. แต่อย่างใด เช่นนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ส่วนที่ว่าเอกสารหมาย จ.15 เป็นเพียงสำเนานั้น เห็นว่า เอกสารดังกล่าวได้มีการจัดทำในต่างประเทศทั้งต้นฉบับก็มิได้อยู่ในความครอบครองของโจทก์ พยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานสำคัญที่จะพิสูจน์ถึงผู้มีสิทธิในหุ้นของบริษัท ซ. กรณีจึงจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) นอกจากนี้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โจทก์ก็ดำเนินการขอให้บริษัท ด. จัดทำหนังสือรับรองความมีอยู่จริงของสำเนาเอกสารหมาย จ.15 มาประกอบการพิจารณาของศาลด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังเอกสารหมาย จ.15 มานั้น ชอบแล้ว
แม้โจทก์จะมิได้ระบุหนังสือแจ้งการแก้ไขการลงทุนเอกสารหมาย จ.15 ไว้ในบัญชีระบุพยาน แต่โจทก์ก็ได้นำเอกสารดังกล่าวมาประกอบการถามติงในการสืบตัวโจทก์อันเป็นการสืบพยานโจทก์ปากแรกซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 มีโอกาสอย่างเต็มที่ในการที่จะนำพยานมาสืบหักล้าง ประกอบกับจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 ก็อ้างมาตลอดว่าหุ้นเป็นของจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 มิใช่ของโจทก์และจำเลยไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัท ด. แต่อย่างใด เช่นนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ส่วนที่ว่าเอกสารหมาย จ.15 เป็นเพียงสำเนานั้น เห็นว่า เอกสารดังกล่าวได้มีการจัดทำในต่างประเทศทั้งต้นฉบับก็มิได้อยู่ในความครอบครองของโจทก์ พยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานสำคัญที่จะพิสูจน์ถึงผู้มีสิทธิในหุ้นของบริษัท ซ. กรณีจึงจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) นอกจากนี้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โจทก์ก็ดำเนินการขอให้บริษัท ด. จัดทำหนังสือรับรองความมีอยู่จริงของสำเนาเอกสารหมาย จ.15 มาประกอบการพิจารณาของศาลด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังเอกสารหมาย จ.15 มานั้น ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12017/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากรถหายในโครงการ เพราะไม่มีหน้าที่ตามสัญญาหรือกฎหมายดูแลทรัพย์สินผู้เช่า
จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการที่เกิดเหตุที่รถซึ่งโจทก์รับประกันภัยสูญหายจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 4 ประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่ทรัพย์สิน อันเป็นการทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ที่ว่าทำต่อบุคคลอื่น หมายถึง ทำหรือการกระทำต่อสิทธิของบุคคลอื่น ซึ่งรวมถึงการงดเว้นไม่กระทำกรณีมีหน้าที่ต้องกระทำด้วย โดยหน้าที่ดังกล่าวรวมถึงหน้าที่ตามสัญญา หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์และหน้าที่ตามกฎหมาย สำหรับหน้าที่ตามสัญญาไม่ปรากฏว่ามีสัญญาระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย สำหรับตามสัญญาจ้างเหมาดูแลรักษาความปลอดภัยเป็นสัญญาระหว่างจำเลยที่ 4 กับฝ่ายจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยเป็นการจ้างให้ดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 เท่านั้น ไม่ได้จ้างให้ดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้พักอาศัยหรือผู้เช่าห้องพักในโครงการด้วยแต่อย่างใด จำเลยที่ 4 จึงไม่มีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้เช่าห้องในโครงการ ส่วนหน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ก็ได้ความว่าทางปฏิบัติจำเลยที่ 4 ไม่ได้จัดให้มีการตรวจรถที่แล่นเข้าออกโครงการ ไม่ได้จัดให้มีการแลกบัตรหรือแจกบัตรแก่ผู้ขับรถเข้าออกโครงการ อันอาจทำให้เห็นเป็นปริยายถึงพฤติกรรมของจำเลยที่ 4 ว่าจำเลยที่ 4 มีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้เช่าห้องในโครงการ สำหรับหน้าที่ตามกฎหมายคือ ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ มาตรา 546 ถึงมาตรา 551 ก็ไม่ได้บัญญัติให้จำเลยที่ 4 ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินของผู้เช่า ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่ดังกล่าว ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ผู้ให้เช่า ประมาทเลินเล่อทำต่อผู้เช่าห้องในโครงการโดยผิดกฎหมายให้ผู้เช่าเสียหายแก่รถที่โจทก์รับประกันภัยอันจะเป็นการทำละเมิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เช่ารวมทั้งโจทก์ผู้รับประกันภัย โจทก์ไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11556/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการตรวจสอบบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด: เงื่อนไขความสุจริตและเหตุสมควร
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญมีความรับผิดอย่างไม่จำกัดและ ป.พ.พ. มาตรา 1038 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งมีสภาพดุจเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างโดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ แตกต่างจากผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้าง และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1090 ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะประกอบกิจการค้าขายอย่างใด ๆ เพื่อประโยชน์ของตนหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกก็ได้ แม้ว่าการงานเช่นนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกับการค้าขายของห้างก็ไม่ห้าม ดังนั้น แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดอาจไต่ถามการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ตรวจดูและคัดสมุดบัญชี เอกสารของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ทุกเมื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 1037 ประกอบมาตรา 1080 แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่ามีเหตุสมควรหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป เมื่อจำเลยให้การว่า โจทก์มีตำแหน่งในการบริหารห้างหุ้นส่วนจำกัดอยู่ด้วย ย่อมทราบกิจการงานของห้างอยู่แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยจำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่เคยขอจำเลยตรวจสอบเอกสารตามฟ้องมาก่อนโจทก์มีจุดประสงค์เพื่อให้จำเลยเสียหาย เสียชื่อเสียงทางการค้า เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายให้ทราบข้อเท็จจริงเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11555/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการตรวจสอบบัญชีหุ้นส่วนจำกัด: เหตุผลสมควร & เจตนาสุจริต
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญมีความรับผิดอย่างไม่จำกัด และ ป.พ.พ. มาตรา 1038 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งมีสภาพดุจเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างโดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ แตกต่างจากผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้าง และตามมาตรา 1090 ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะประกอบกิจการค้าขายอย่างใด ๆ เพื่อประโยชน์ของตนหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกก็ได้ แม้ว่าการงานเช่นนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกับการค้าขายของห้างก็ไม่ห้าม ดังนั้น แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดอาจไต่ถามการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ตรวจดูและคัดสมุดบัญชี เอกสารของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ทุกเมื่อตามมาตรา 1037 ประกอบมาตรา 1080 แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่ามีเหตุสมควรหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป เมื่อจำเลยให้การว่า โจทก์มีตำแหน่งในการบริหารห้างหุ้นส่วนจำกัดอยู่ด้วย ย่อมทราบกิจการงานของห้างอยู่แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยจำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่เคยขอจำเลยตรวจสอบเอกสารตามฟ้องมาก่อนโจทก์มีจุดประสงค์เพื่อให้จำเลยเสียหาย เสียชื่อเสียงทางการค้า เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายให้ทราบข้อเท็จจริงเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11473/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายยาเสพติด: ความรับผิดของผู้เกี่ยวข้องเมื่อไม่มีส่วนร่วมในการจำหน่ายโดยตรง
แม้ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจึงนำไปจำหน่ายให้แก่สายลับ โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีส่วนร่วมรู้เห็นด้วย ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 192 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215, 225
ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายและเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 89, 106 ทวิ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม ป.อ. มาตรา 90
ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายและเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 89, 106 ทวิ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11331/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบอกเล่าประกอบหลักฐานอื่นได้ หากมีเหตุผล และการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับการชำระหนี้
ป.วิ.พ. มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่า หากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ ว. แม้มิได้เกี่ยวข้องรู้เห็นในการจัดทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แต่เป็นพนักงานของโจทก์ย่อมสามารถตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมรายนี้ได้ อันทำให้สามารถทราบที่มาที่ไปของหนี้สินรายนี้จนสามารถเบิกความให้ความกระจ่างในกรณีที่มีความคลุมเครือน่าสงสัยเกี่ยวกับหนี้สินรายนี้ได้ จึงสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบพยานหลักฐานอื่นได้