พบผลลัพธ์ทั้งหมด 895 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17836/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารเด็กโดยปราศจากความยินยอม และการพรากเด็กเพื่ออนาจาร ศาลพิจารณาจากคำเบิกความของผู้เสียหาย
แม้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองจะปรากฏว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยถือไม้ขนาดใหญ่กว่าแขนของโจทก์ร่วมที่ 1 โจทก์ร่วมที่ 1 จึงจำต้องทำตามที่จำเลยบอกเพราะกลัว แต่โจทก์ก็มิได้บรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวมาในคำฟ้อง การกระทำอนาจารของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17795/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน การหักกลบลบหนี้ค่าเช่า และอำนาจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่มิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นอันเพิกถอนไปเป็นการสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์เสียใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15876/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รั้ว-ทางเท้าในที่ดินจัดสรร: การโอนที่ดินสาธารณประโยชน์ไม่ทำให้รั้วเดิมตกเป็นของรัฐ เจ้าของโครงการมีสิทธิฟ้อง
โจทก์ในฐานะผู้จัดสรรทำถนน ทางเท้าและรั้วคอนกรีตพิพาทล้อมรอบที่ดินของโครงการที่จัดสรรมาแต่เดิม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการสัญจรและรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการโดยเฉพาะ มิได้หมายที่จะให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ถนนและทางเท้าร่วมกับผู้ซื้อที่ดินในโครงการของโจทก์อันเป็นสิทธิโดยชอบธรรมในการใช้สอยทรัพย์ซึ่งเจ้าของทรัพย์พึงมีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้โดยสภาพของถนน ทางเท้าและรั้วคอนกรีตจะเป็นทรัพย์ซึ่งติดอยู่กับที่ดินและผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ได้โอนที่ดินให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์แล้วก็ตาม แต่เชื่อว่าได้กระทำไปเพื่อให้การเป็นไปตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 44 (3) อันจะทำให้หน้าที่ในการเป็นผู้บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตกแก่หน่วยงานของรัฐเท่านั้น หากแต่ข้อเท็จจริงคงได้ความว่า โจทก์ยังเป็นผู้ดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในโครงการเช่นเดิม ทั้งขณะโจทก์โอนที่ดินให้แก่ผู้รับโอน รวมทั้งผู้รับโอนโอนที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนรับผิดชอบทุกฝ่ายทราบดีว่าเป็นเพียงการโอนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์เฉพาะที่ดินที่ใช้เป็นทางสัญจรเท่านั้น ส่วนรั้วคอนกรีตพิพาทโจทก์ยังคงสงวนไว้เพื่อประโยชน์แก่การจัดสรรที่ดินเช่นเดิม มิได้มีเจตนาให้โอนติดไปกับที่ดินด้วย เพราะมิได้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอื่นที่อยู่นอกที่ดินที่จัดสรร ดังนี้ ต้องถือว่าขณะที่โอนที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ผู้โอนมีเจตนาแยกรั้วคอนกรีตพิพาทออกมาเป็นคนละส่วนกับที่ดินไม่ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งติดไปกับที่ดินด้วย ส่วนการที่รั้วคอนกรีตพิพาทจะยังคงติดอยู่กับที่ดินซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ มิได้มีการรื้อถอนแยกส่วนออกไป เมื่อปรากฏว่าหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ดูแลทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าว ยังคงตระหนักว่ารั้วคอนกรีตพิพาทเป็นสาธารณูปโภคจำเป็นที่ยังต้องให้มีอยู่ต่อไป ย่อมเท่ากับว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างรั้วพิพาทในที่ดินนั่นเอง รั้วคอนกรีตพิพาทซึ่งโจทก์เป็นผู้ปลูกสร้างจึงเป็นทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 การที่จำเลยทั้งสองรื้อถอน ทุบ ทำลายรั้วคอนกรีตพิพาทของโจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
แม้การที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างร้านค้าในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้ แต่การที่จำเลยรื้อถอน ทุบ ทำลายรั้วคอนกรีตพิพาทของโจทก์ออก จากนั้นก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างซึ่งบางส่วนอยู่บนแนวรั้วพิพาทของโจทก์และทางเท้าในโครงการจัดสรร เมื่อคำนึงถึงสภาพและตำแหน่งของทรัพย์ที่มาจากการจัดสรรที่ดินของโจทก์ซึ่งต้องลงทุนในการพัฒนาที่ดินและสาธารณูปโภคด้วยเงินจำนวนมาก กับต้องถือว่าประชาชนที่เข้าไปซื้อที่ดินและบ้านทุกคนมีส่วนร่วมกันในการลงทุนในด้านสาธารณูปโภคดังกล่าวและด้วยความหวังที่ว่าเมื่อเข้าไปอยู่อาศัยแล้วจะได้รับความสะดวกสบายมากกว่าการอยู่อาศัยในที่ดินที่มิได้มีการพัฒนาใด ๆ การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมคาดหมายได้ว่าจะทำให้โจทก์และประชาชนที่อยู่อาศัยในโครงการจัดสรรของโจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญจนเกินสมควร โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์และผู้จัดสรรซึ่งดูแลสาธารณูปโภค ย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336, 1337 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
อนึ่ง คำขอบังคับของโจทก์ที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่รื้อถอนซุ้มประตู ประตูเหล็กและสิ่งปลูกสร้างออกจากรั้วและทางเท้าพิพาท หรือรื้อแล้วแต่กระทำไม่แล้วเสร็จ ให้โจทก์เข้าดำเนินการเองได้โดยให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจบังคับให้ได้
แม้การที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างร้านค้าในที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้ แต่การที่จำเลยรื้อถอน ทุบ ทำลายรั้วคอนกรีตพิพาทของโจทก์ออก จากนั้นก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างซึ่งบางส่วนอยู่บนแนวรั้วพิพาทของโจทก์และทางเท้าในโครงการจัดสรร เมื่อคำนึงถึงสภาพและตำแหน่งของทรัพย์ที่มาจากการจัดสรรที่ดินของโจทก์ซึ่งต้องลงทุนในการพัฒนาที่ดินและสาธารณูปโภคด้วยเงินจำนวนมาก กับต้องถือว่าประชาชนที่เข้าไปซื้อที่ดินและบ้านทุกคนมีส่วนร่วมกันในการลงทุนในด้านสาธารณูปโภคดังกล่าวและด้วยความหวังที่ว่าเมื่อเข้าไปอยู่อาศัยแล้วจะได้รับความสะดวกสบายมากกว่าการอยู่อาศัยในที่ดินที่มิได้มีการพัฒนาใด ๆ การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมคาดหมายได้ว่าจะทำให้โจทก์และประชาชนที่อยู่อาศัยในโครงการจัดสรรของโจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญจนเกินสมควร โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์และผู้จัดสรรซึ่งดูแลสาธารณูปโภค ย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336, 1337 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
อนึ่ง คำขอบังคับของโจทก์ที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่รื้อถอนซุ้มประตู ประตูเหล็กและสิ่งปลูกสร้างออกจากรั้วและทางเท้าพิพาท หรือรื้อแล้วแต่กระทำไม่แล้วเสร็จ ให้โจทก์เข้าดำเนินการเองได้โดยให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14640/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับอาคารชุด, การชำระหนี้แทนกัน, ละเมิดจากการไม่ดูแลรักษา, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ออกตามความในมาตรา 32 (เดิม) แห่งพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ที่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในขณะจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 อันมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว และในมาตรา 18 วรรคหนึ่ง (เดิม) เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวม เครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันและที่เกิดจากเครื่องมือ ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของร่วมที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางแก่จำเลยที่ 1 เพื่อนำไปใช้จัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของร่วมทุกคน เมื่อตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ในข้อ 17 กำหนดให้เจ้าของร่วมต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับรายการแจ้งจากผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดฯ ณ สำนักงานนิติบุคคลฯ ในกรณีชำระหลังจากที่กำหนดหรือนิติบุคคลอาคารชุดฯ ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ตามเช็ค เจ้าของห้องชุดจะต้องชำระค่าปรับในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ของจำนวนที่ค้างชำระ และหากค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน นิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจงดการให้บริการสาธารณูปโภคในห้องชุดได้นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 (เดิม) ได้กำหนดอัตราของค่าปรับไว้แต่อย่างใด จึงยังถือไม่ได้ว่าข้อบังคับข้อ 17 ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น ข้อบังคับข้อ 17 ที่กำหนดอัตราค่าปรับไว้ด้วย จึงมิได้เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ค่าปรับอันเกิดจากค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นหนี้เงินที่จำเลยที่ 1 จะเรียกเก็บได้ต่อเมื่อเจ้าของร่วมมิได้ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าและเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
ที่โจทก์ชำระค่าปรับเพราะต้องการใบปลอดหนี้ไปใช้ในการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแม้ค่าปรับดังกล่าวจะเป็นหนี้ที่เจ้าของห้องชุดเดิมต้องรับผิดก็ตาม แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซื้อห้องชุดได้จากการขายทอดตลาดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับห้องชุดดังกล่าวโดยตรงยินยอมเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุดเดิมลูกหนี้นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้จึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 314 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าปรับที่ชำระไปคืนจากจำเลยทั้งสอง
ค่าปรับอันเกิดจากค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นหนี้เงินที่จำเลยที่ 1 จะเรียกเก็บได้ต่อเมื่อเจ้าของร่วมมิได้ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าและเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
ที่โจทก์ชำระค่าปรับเพราะต้องการใบปลอดหนี้ไปใช้ในการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแม้ค่าปรับดังกล่าวจะเป็นหนี้ที่เจ้าของห้องชุดเดิมต้องรับผิดก็ตาม แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซื้อห้องชุดได้จากการขายทอดตลาดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับห้องชุดดังกล่าวโดยตรงยินยอมเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุดเดิมลูกหนี้นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้จึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 314 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าปรับที่ชำระไปคืนจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13933/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการวินิจฉัยอุทธรณ์ในคดีโทษหนัก
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 ต่อมาวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2554 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ทั้งอุทธรณ์ของจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้ง เป็นอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่รับอุทธรณ์จำเลย และส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง เพราะเป็นคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยและพิพากษาให้ ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ข้อที่ว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13756/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบัตรเครดิต: ข้อเท็จจริงต้องปรากฏในสำนวน - ศาลฎีกา
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองนั้น ต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ได้สืบพยาน การที่ศาลหยิบยกเอาประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตสำหรับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต มาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้มีหนังสือเตือนจำเลยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วัน ก่อนดำเนินการบังคับชำระหนี้ตามกฎหมาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงเมื่อไม่ปรากฏในสำนวนคดี ศาลไม่อาจรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13587/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่จงใจทำให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินงานของนายจ้าง
จำเลยผู้เป็นนายจ้างมอบหมายให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไปทำความเข้าใจกับพนักงานของจำเลยเรื่องจำเลยย้ายสถานประกอบกิจการไปจังหวัดสมุทรสาครและให้พนักงานแสดงความประสงค์ว่าจะย้ายไปยังที่ทำงานใหม่หรือไม่ แต่โจทก์แจ้ง ส. ผู้จัดการโรงงานว่าจำเลยจะเล่นงานและบีบให้ ส. ออกจากงาน กับบอก ท. พนักงานแผนกบัญชีว่าหากลงชื่อในใบแสดงความประสงค์ย้ายไปทำงานที่สำนักงานใหม่แล้วไม่ยอมไป เมื่อถึงเวลาย้ายจะถูกจำเลยฟ้องคดี พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการเล็งเห็นผลได้ว่าอาจก่อให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างพนักงานกับจำเลย ทำให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่พนักงานอันจะส่งผลกระทบต่อการย้ายสถานประกอบกิจการของจำเลยโดยตรงที่อาจเกิดความยุ่งยากมากขึ้น โจทก์ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายให้ทำความเข้าใจกับพนักงานไม่สมควรกระทำเช่นนี้ โจทก์กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13582/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2548 จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม สัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 12 พฤศจิกายน 2548
โจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่าสินค้าของโจทก์สูญหายตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2548 (วันทำสัญญาค้ำประกัน) ถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2548 เป็นจำนวนเงินเท่าใด จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
โจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ว่าสินค้าของโจทก์สูญหายตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2548 (วันทำสัญญาค้ำประกัน) ถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2548 เป็นจำนวนเงินเท่าใด จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13214/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบเช็คและการตัดบทข้อต่อสู้ลายมือชื่อปลอม
ตามพฤติการณ์แห่งความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และ ธ. น่าเชื่อว่าโจทก์เป็นคนมอบเช็คให้แก่ ธ. เพื่อใช้ในการถอนเงินจากบัญชีในกิจการที่ทำร่วมกันด้วยความไว้ใจ ดังนั้น ไม่ว่า ธ. จะได้นำเช็คไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อโจทก์เพื่อถอนเงินจากบัญชีโดยโจทก์ไม่รู้เห็นยินยอมหรือไม่ก็ตาม ย่อมต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องและประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ที่ต้องถูกตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมนั้นขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12874/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และชดใช้ค่าเสียหายจากที่ดินมือเปล่า: ศาลฎีกายกปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจศาลและสิทธิฎีกา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายจันทร์ มีทรัพย์สินมรดกเป็นที่ดินพิพาท บ. บิดาจำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทบางส่วนเพื่อทำนา ทำไร่ และขออาศัยที่ดินอีกประมาณ 4 ไร่ เพื่อปลูกบ้าน โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองเช่าและอาศัยอยู่ต่อไป ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารรื้อถอนบ้านและออกไปจากที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า บ. เข้าจับจองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ ปี 2504 ต่อมา บ. ถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสองร่วมกันครอบครองทำประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน ที่พิพาทเป็นที่รกร้างว่างเปล่าอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามคำฟ้องและคำให้การเป็นการโต้เถียงกันว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายปีละ 20,000 บาท จึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองและศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษามา จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และกรณีเช่นนี้จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาด้วย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสอง
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์ และที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ 15,000 บาท นั้น เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) ศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์ และที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ 15,000 บาท นั้น เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) ศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง