คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรุฬห์ แสงเทียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 895 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7791/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากพฤติกรรมไม่เหมาะสมและสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของนายจ้าง
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง ผู้ร้องประกอบกิจการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์จำหน่ายภายในประเทศและต่างประเทศ รถยนต์ที่จำหน่ายใช้ชื่อทางการค้าว่า "เชฟโรเลต" ผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน วันที่ 13 มีนาคม 2552 คณะกรรมการสหภาพแรงงานมีมติให้นัดหยุดงาน เวลา 22 นาฬิกา ของวันนั้นผู้คัดค้านเปลือยกายถ่ายรูปทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่หน้าป้ายชื่อบริษัทผู้ร้องและป้ายชื่อ "เชฟโรเลต" เป็นการกระทำไม่ให้เกียรติแก่สถานที่ทำงานของผู้คัดค้าน ลบหลู่ไม่ให้เกียรติแก่ผู้ร้อง ต่อมามีการนำภาพถ่ายดังกล่าวไปเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ทั่วประเทศ ย่อมมีผลทำให้ผู้ร้องเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณในทางการค้าของผู้ร้องอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จึงมีเหตุสมควรและเพียงพอให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7786/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการมีฐานะเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน เมื่อมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้
โจทก์เป็นลูกจ้าง บ. จำเลยเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของ บ. ตามคำสั่งศาลแรงงานกลาง จำเลยเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของ บ. ลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/59 ประกอบมาตรา 90/25 เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทน บ. นายจ้างโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ในความหมายของคำว่า "นายจ้าง" ตาม (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7760/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และการปรับบทกฎหมายอาญาตามประกาศคณะปฏิวัติ
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายองค์ประกอบความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 ไว้ชัดเจนว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ทั้งนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต ต่อมากิ่งอำเภอเกาะจันทร์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินดังกล่าวภายใน 30 วัน แต่จำเลยเพิกเฉย ต่อมากิ่งอำเภอเกาะจันทร์ได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่พักอาศัยภายใน 7 วัน จำเลยได้รับคำสั่งแล้วไม่ดำเนินการรื้อถอน ถือได้ว่าโจทก์บรรยายถึงการกระทำผิดของจำเลยครบถ้วนแล้วตามมาตรา 9 และมาตรา 108 แล้ว แม้คำฟ้องโจทก์ระบุวันกระทำผิดของจำเลยคือ ต้นปี 2514 อันเป็นวันก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 มีผลบังคับ ซึ่งต้องปรับบทตามมาตรา 108 ก็ตามและคำฟ้องของโจทก์ได้อ้างมาตรา 108 ทวิ มิได้อ้างมาตรา 108 มาก็ตาม กรณีถือได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
ธ. ช่างรังวัดที่ดินก่อนทำการรังวัดไปตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องและคำนวณตามหลักวิชาช่างแล้วก็ยืนยันว่าที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองอยู่ในเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ และได้ความจาก ด. ปลัดกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ว่า ในปี 2540 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต้องการสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ตรงบริเวณที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองได้ให้เงินจำนวน 20,000 บาท แก่จำเลยเป็นค่าวัชพืชที่จำเลยทำการเกษตรไว้และให้จำเลยออกจากที่ดิน ซึ่งจำเลยเบิกความรับว่าทางราชการได้ให้เงินไว้ตามจำนวนดังกล่าวจริง ได้มีการทำบันทึกในการรับเงินไว้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวระบุว่า ที่ดินที่ทางราชการจะทำการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ซึ่งจำเลยครอบครองอยู่เป็นที่สาธารณประโยชน์ การที่จำเลยนำสืบบ่ายเบี่ยงว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่นอกเขตที่ดินสาธารณประโยชน์หนองหูช้างเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่ผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 108 ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทเพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7267/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในสัญญากู้ยืมเงิน ศาลกำหนดค่าธรรมเนียมที่สมเหตุสมผล
การพิจารณาว่าข้อตกลงในสัญญาหรือสัญญาสำเร็จรูปเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จำต้องพิจารณาว่าเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากนั้นได้เปรียบผู้บริโภคหรือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรหรือไม่ เมื่อข้อตกลงตามข้อ 1.6 นั้นไม่มีกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำที่โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมหากจะชำระหนี้คืนก่อนกำหนดไว้ ทำให้ในกรณีที่โจทก์จะชำระหนี้คืนก่อนกำหนดตามสัญญาซึ่งมีระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้ โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนเงินต้นที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้ด้วยอันจะเป็นคุณแก่จำเลยผู้ให้กู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าและเป็นผู้กำหนดสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นสัญญาสำเร็จรูป โดยทำให้โจทก์ผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งและเป็นผู้บริโภคต้องปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ อันเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปรียบโจทก์เกินสมควร จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คงมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง ส่วนปัญหาว่าค่าธรรมเนียมเพียงใดจึงจะเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีนั้น เห็นว่าค่าธรรมเนียมนี้มีลักษณะทำนองเดียวกับเบี้ยปรับ ซึ่งพิเคราะห์ทางได้เสียทุกอย่างของโจทก์และจำเลยประกอบกับระยะเวลาที่โจทก์นำเงินกู้มาชำระคืนจำเลยเป็นเวลา 3 ปี 10 เดือน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินกู้ไป จึงเห็นสมควรกำหนดค่าธรรมเนียมที่โจทก์จะต้องเสียให้แก่จำเลยตามข้อ 1.6 ของสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีแล้วเป็นเงิน 10,000 บาท เมื่อโจทก์เสียค่าธรรมเนียมส่วนนี้ให้แก่จำเลยแล้วเป็นเงิน 76,422.85 บาท จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวน 66,422.85 บาท ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6976/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการโต้แย้งคำสั่งอายัดเงินและการใช้สิทธิโดยสุจริต ไม่ถือเป็นการทำละเมิด
แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัท พ. และโจทก์บังคับคดีโดยขออายัดเงินฝากที่บริษัท พ. ฝากไว้กับจำเลย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โดยอ้างว่าบริษัท พ. เป็นลูกหนี้จำเลยกับโอนสิทธิในเงินฝากให้แก่จำเลยและจำนำเงินฝากไว้แก่จำเลยด้วย แต่การที่จำเลยปฏิเสธไม่ส่งเงินที่ศาลมีคำสั่งอายัดโดยให้เหตุผลว่า บริษัท พ. เป็นลูกหนี้จำเลยกับโอนสิทธิในเงินฝากให้แก่จำเลย ทั้งยังจำนำเงินฝากไว้แก่จำเลยด้วย เป็นการใช้สิทธิปฏิเสธหรือโต้แย้งคำสั่งอายัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคหนึ่ง การปฏิเสธของจำเลยจะฟังได้หรือไม่ ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นในคดีที่ได้มีคำสั่งอายัดเป็นผู้ไต่สวนและวินิจฉัย หากการปฏิเสธของจำเลยฟังไม่ได้ ศาลในคดีดังกล่าวก็ต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัด หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่จำเลย และดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นขั้นตอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง แต่มิได้หมายความว่าหากศาลชั้นต้นไต่สวนและวินิจฉัยเป็นประการใดแล้วให้เป็นที่สุด ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัด จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในคดีที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงิน จำเลยวางหลักประกันจนเป็นที่พอใจแก่ศาลและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่า การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัดเป็นการอุทธรณ์เพื่อประวิงคดีไม่ให้โจทก์ได้รับเงินตามคำพิพากษา การที่จำเลยใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งอายัดของศาลโดยการปฏิเสธไม่ยอมส่งเงินที่ศาลมีคำสั่งอายัดให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่โจทก์ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6416/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายบัตรประชาชนกระทบต่อองค์ประกอบความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด และการปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 มาตรา 11 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 และให้ใช้ความใหม่แทน ตามมาตรา 14 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดคดีนี้ได้จำกัดองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้สนับสนุนการกระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานไม่ว่าจะมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ก็ตาม เป็นว่าผู้สนับสนุนการกระทำความผิดต้องเป็นเจ้าพนักงานออกบัตร เจ้าพนักงานตรวจบัตร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานออกบัตร เจ้าพนักงานตรวจบัตร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน กรณีไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 14 วรรคสาม ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้
องค์ประกอบความผิดในฐานผู้สนับสนุนตามมาตรา 14 วรรคสาม ตามกฎหมายเดิมยังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดอยู่ตามมาตรา 14 (2) วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 และเมื่อโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบาดเจ็บกระดูกหักหลายแห่ง เงินทดแทนต้องจ่ายตามจริง แม้กฎหมายไม่ได้นิยามชัดเจน คุ้มครองลูกจ้างตามหลัก
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองลูกจ้าง การตีความข้อกฎหมายที่เป็นปัญหาหรือมีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางหรือนัยให้ความคุ้มครองหรือให้ประโยชน์แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
กระดูกปลายแขนช่วงล่างนับแต่ข้อศอกประกอบด้วยกระดูก 2 ชิ้น คือกระดูกเรเดียส (กระดูกชิ้นใหญ่) และกระดูกอัลนา (กระดูกชิ้นเล็ก) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ขนาด และชื่อเรียกทางการแพทย์ต่างกัน น.ลูกจ้างของโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานกระดูกแขนขวาหัก โดยกระดูกเรเดียสหักเป็น 3 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะยาวดามกระดูกที่หักเป็น 3 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน กระดูกอัลนาหักเป็น 2 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะ ที่สั้นกว่าดามกระดูกที่หักเป็น 2 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน จึงเป็นการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ข้อ 2 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมเกิดจากสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพันได้
ขณะรังวัดแบ่งแยกที่ดินและทำพินัยกรรม ท. มีเจตนาให้ที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะสำหรับที่ดินอีก 3 แปลง และตามพฤติการณ์ที่ ท. พักรักษาตัวอยู่กับจำเลยก่อนถึงแก่ความตายและจำเลยอยู่ด้วยในขณะรังวัดแบ่งแยกที่ดินตลอดจนในขณะทำพินัยกรรมทั้งได้รับทราบเจตนาดังกล่าวของ ท. แล้ว ซึ่งต่อมาจำเลยก็ไม่เคยโต้แย้งการใช้ที่ดินพิพาทของโจทก์และบุคคลที่อาศัยอยู่ในห้องแถวมาโดยตลอด ย่อมเป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายว่า ท. กับจำเลยได้มีข้อตกลงกันก่อนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตามพินัยกรรมว่าให้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอีก 3 แปลง อันเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 60977 ตามพินัยกรรมและเข้าใช้ทางพิพาทอันเป็นการแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวแล้ว สิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ย่อมเกิดมีขึ้นนับแต่นั้น อันเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทต้องยอมรับกรรมบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการก่อตั้งภาระจำยอม แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นเพียงทำให้การได้มาซึ่งภาระจำยอมนั้นไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะหรือเสียเปล่าแต่อย่างใด ยังคงบังคับกันได้เป็นบุคคลสิทธิในระหว่างจำเลยซึ่งต้องผูกพันชำระหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกกับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้ กรณีหาใช่เป็นการได้ภาระจำยอมโดยอายุความอันเป็นการได้ทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 แม้โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทไม่ถึงสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ก็ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553-5554/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมกลุ่มคัดค้านการสร้างเขื่อนเพื่อปกป้องระบบนิเวศและวิถีชีวิต ประชาชนมีสิทธิคัดค้านและใช้สิทธิโดยชอบธรรม
จำเลยที่ 2 กับพวกได้รวมกลุ่มคัดค้านด้วยความสงบโดยปราศจากอาวุธและมิได้ใช้กำลังประทุศร้ายใด ๆ ได้พยายามที่จะขจัดความเดือนร้อนด้วยการยื่นข้อเรียกร้องในทางรัฐบาลและผู้เสียหายลงไปแก้ปัญหาแล้ว โดยข้อเรียกร้องดังกล่าวก็สมเหตุสมผลและเป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามีอยู่จริง แต่ไม่เป็นผลและไม่เคยได้รับคำตอบจากรัฐบาลจำเลยและผู้เสียหาย ทั้งตามพฤติการณ์ในขณะนั้นก็ไม่มีวิธีการอื่นใดเลยที่จำเลยทั้งสองกับพวกจะพึงกระทำได้โดยชอบเพราะการสร้างเขื่อนขวางกั้นแม่น้ำและระเบิดหินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยตรงกำลังดำเนินอยู่อย่างชัดแจ้ง หากกระทำไปแล้วย่อมยากแก่การแก้ไขให้กลับสู่สภาพเดิมได้ จึงถือเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การกระทำของจำเลยที่ 2 และพวกแม้เป็นการมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานบอกให้เลิกไม่ยอมเลิกตาม ป.อ. มาตรา 215, 216 และร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ก็เป็นการกระทำด้วยความจำเป็นที่ต้องรวมกลุ่มกันและเข้ายึดพื้นที่ที่มีการสร้างเขื่อน จึงจะสามารถระงับยับยั้งภยันตรายดังกล่าวได้ และการกระทำของจำเลยที่ 2 กับพวกปราศจากอาวุธและมิได้ใช้ความรุนแรงใด ๆ ก็เป็นการพอสมควรแก่เหตุ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 67

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4267/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจ้างแรงงาน เงินยืมทดรองจ่าย และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยเบิกเงินยืมทดรองจ่ายเพื่อดำเนินคดีในฐานะทนายความให้แก่โจทก์ เมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จต้องนำใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญการจ่ายเงินมาหักล้างบัญชีเงินทดรองจ่าย หากไม่ได้ดำเนินคดีหรือมีเงินเหลือต้องส่งคืนแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินที่จำเลยยืมไปคืนตามความผูกพันที่เกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ไม่ใช่กรณีนายจ้างเรียกเอาคืนเงินที่ได้จ่ายทดรองที่นายจ้างจ่ายล่วงหน้าไปคืนตามมาตรา 193/34 (9)
of 90