พบผลลัพธ์ทั้งหมด 895 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10525/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่ความตาย และการตั้งผู้ชำระบัญชี
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1055 (5) ประกอบมาตรา 1080 ห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย เมื่อ อ. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ถึงแก่ความตายลงย่อมเป็นเหตุให้ห้างดังกล่าวเลิกกัน อันเป็นไปตามผลของกฎหมาย โดยมิจำต้องพิจารณาว่ามีข้อขัดแย้งกันระหว่างทายาทผู้เป็นหุ้นส่วนที่ถึงแก่ความตายกับหุ้นส่วนที่เหลือหรือไม่ และแม้มาตรา 1060 จะบัญญัติว่าในกรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันเพราะเหตุตามมาตรา 1055 (4) หรือ (5) ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไป สัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังคงอยู่ด้วยกัน แต่ก็ได้ความว่าหุ้นของ อ. ยังไม่มีการดำเนินการโอนไปยังทายาทหรือหุ้นส่วนอื่นแต่อย่างใด เหตุที่ทายาทยังไม่อาจรับโอนหุ้นของ อ. และห้างไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้เพราะค้างชำระค่าภาษีนั้นก็มิใช่เหตุอันจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันย่อมต้องมีการชำระบัญชีเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วน ตลอดจนเจ้าหนี้ รวมทั้งบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างหุ้นส่วนภายหลังจากห้างหุ้นส่วนจำกัดพ้นสภาพนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วน จัดการใช้หนี้ และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนนั้น โดยมาตรา 1249 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และเมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย หุ้นส่วนผู้จัดการห้างย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี เว้นไว้แต่สัญญาของห้างจะมีกำหนดไว้เป็นสถานอื่น แต่ถ้าไม่มีผู้ชำระบัญชีดังว่ามานี้ เมื่อพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนได้เสียในการนี้ร้องขอ ศาลย่อมตั้งผู้ชำระบัญชีให้ได้ ตามมาตรา 1251 ซึ่งในกรณีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นี้ เมื่อเลิกกันเพราะ อ. หุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่ความตายและไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือข้อบังคับของห้างกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ชำระบัญชี ทั้งไม่มีผู้ใดเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของห้าง พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียย่อมร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียตามบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากจะเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนที่เหลือ ทายาท หรือผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ถึงแก่ความตายแล้ว ย่อมหมายรวมถึงบรรดาเจ้าหนี้ของห้างด้วยเพราะการชำระบัญชีย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้ หรือบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างเป็นสำคัญ หากไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อสะสางทรัพย์สินหนี้สินของห้าง ผู้เป็นเจ้าหนี้หรือติดต่อค้าขายกับห้างอาจได้รับความเสียหายได้ เมื่อได้ความจากคำเบิกความผู้ร้องว่า ก่อน อ. ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องได้เป็นโจทก์ฟ้องเรียกให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี อันเป็นการตั้งสิทธิเรียกร้องเพื่อบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของห้าง เช่นนี้ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างได้
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันย่อมต้องมีการชำระบัญชีเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วน ตลอดจนเจ้าหนี้ รวมทั้งบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างหุ้นส่วนภายหลังจากห้างหุ้นส่วนจำกัดพ้นสภาพนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วน จัดการใช้หนี้ และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนนั้น โดยมาตรา 1249 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และเมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย หุ้นส่วนผู้จัดการห้างย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี เว้นไว้แต่สัญญาของห้างจะมีกำหนดไว้เป็นสถานอื่น แต่ถ้าไม่มีผู้ชำระบัญชีดังว่ามานี้ เมื่อพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนได้เสียในการนี้ร้องขอ ศาลย่อมตั้งผู้ชำระบัญชีให้ได้ ตามมาตรา 1251 ซึ่งในกรณีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นี้ เมื่อเลิกกันเพราะ อ. หุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่ความตายและไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือข้อบังคับของห้างกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ชำระบัญชี ทั้งไม่มีผู้ใดเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของห้าง พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียย่อมร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียตามบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากจะเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนที่เหลือ ทายาท หรือผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ถึงแก่ความตายแล้ว ย่อมหมายรวมถึงบรรดาเจ้าหนี้ของห้างด้วยเพราะการชำระบัญชีย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้ หรือบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างเป็นสำคัญ หากไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อสะสางทรัพย์สินหนี้สินของห้าง ผู้เป็นเจ้าหนี้หรือติดต่อค้าขายกับห้างอาจได้รับความเสียหายได้ เมื่อได้ความจากคำเบิกความผู้ร้องว่า ก่อน อ. ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องได้เป็นโจทก์ฟ้องเรียกให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี อันเป็นการตั้งสิทธิเรียกร้องเพื่อบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของห้าง เช่นนี้ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10154/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงแรมมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยทรัพย์สินแขก แม้แขกประมาทเลินเล่อเองก็ยังต้องรับผิด
จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมจึงมีหน้าที่ต้องรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามา โรงแรมของจำเลยมีห้องพัก 48 ห้อง มีทางเข้าออกเพียงทางเดียว มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่ 2 คน อ. ทำหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยและทำหน้าที่เปิดห้องพักให้แขกทางเข้าออกของโรงแรมไม่มีแผงเหล็กล้อเลื่อน ไม่มีไม้กั้นรถเข้าออก มีเพียงป้อมยาม เช่นนี้แสดงว่าขณะ อ. ไปเปิดห้องพักให้แขกจะไม่มีพนักงานรักษาความปลอดภัยคอยตรวจตราหรือดูแลรักษาความปลอดภัย คงมีเพียงพนักงานเก็บเงินคนเดียวประจำอยู่ที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนเข้าพัก ซึ่งย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่าบุคคลดังกล่าวไม่อาจดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าได้ คงทำได้เพียงอำนวยความสะดวกในการเข้าพักเท่านั้น ทั้งการขับรถเข้าออกโรงแรมสามารถกระทำได้โดยง่ายเพราะไม่มีแผงกั้นและจำเลยก็ไม่ได้จัดให้มีวิธีรักษาความปลอดภัยวิธีอื่นใดทำให้คนร้ายเข้ามาภายในห้องพักของแขกที่เข้ามาพักอาศัยได้โดยง่าย แม้ดาบตำรวจ ส. กับ ร. จะล็อกเพียงลูกบิดประตูห้องโดยไม่ได้ล็อกกลอนประตูและอุปกรณ์ล็อกรูปตัวยูทั้งที่มีอุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งอยู่ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติวิสัยของคนเข้าพักอาศัย ไม่อาจถือว่าเป็นความผิดของคนเดินทางหรือแขกอาศัย เพราะหากโรงแรมของจำเลยมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเพียงพอ ก็ย่อมเป็นการยากที่คนร้ายจะสามารถเข้าไปภายในห้องพักของลูกค้าได้ จำเลยจึงต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10082/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความคุ้มครองประกันภัย: การปฏิบัติหน้าที่พนักงานประจำเรือหลังส่งผู้โดยสาร
แม้ว่าขณะ ส. เสียชีวิต ส. ไม่ได้อยู่ในเรือโดยสารหรือขณะกำลังขึ้นหรือลงเรือโดยสารโดยตรงเสียทีเดียว แต่เป็นการเสียชีวิตขณะที่ ส. นำเรือโดยสารไปเก็บหลังจากส่งผู้โดยสารเรียบร้อยจึงอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานประจำเรือ ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยได้ขยายความคุ้มครองพนักงานประจำเรือ กรณีประสบอุบัติเหตุดังกล่าวด้วย ตามตารางกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9976/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิต ต้องนับระยะเวลาจากวันที่ตัวแทนจำเลยทราบมูลเหตุ ไม่ใช่ผู้มีอำนาจ
ช. เป็นพนักงานของจำเลยได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรวบรวมประวัติการรักษาพยาบาลของ ล. ถือได้ว่า ช. เป็นตัวแทนของจำเลยแล้ว ในการตรวจสอบประวัติการเข้ารับการรักษาพยาบาลของ ล. นั้น ช. เป็นผู้ติดตามประวัติ ทำบันทึกข้อความรายงานว่า พบประวัติการรักษาที่โรงพยาบาล อ. และโรงพยาบาล ส. ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่า ล. เป็นโรคถุงลมโป่งพอง และในส่วนของเอกสารประวัติการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ส. มีรายการครั้งสุดท้ายระบุว่า วันที่ 26 มกราคม 2541 ธนาคาร อ. ขอประวัติ เช่นนี้ไม่ว่า ช. จะได้รับประวัติการตรวจรักษาในวันดังกล่าว หรือได้รับในวันที่ 31 มกราคม 2541 กำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนในการใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง ก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ช. ได้รับประวัติการตรวจรักษาของ ล. ซึ่งเป็นการทราบมูลอันจำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้ มิใช่ต้องมีการเสนอเรื่องให้ผู้มีอำนาจของจำเลยพิจารณาหรือรับทราบเสียก่อน เพราะการบอกล้างโมฆียะกรรมเพียงแต่ทราบเค้าเรื่องที่ตกเป็นโมฆียะกรรมก็เป็นการทราบมูลอันจะบอกล้างแล้ว เมื่อจำเลยได้รับประวัติการตรวจรักษาของ ล. จากโรงพยาบาล ข้อเท็จจริงที่ ล. ปกปิดไว้ได้ปรากฏขึ้นจำเลยจึงต้องแสดงเจตนาใช้สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิตไปยังผู้รับประโยชน์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่เวลานั้น อีกทั้งหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมที่ผู้รับประกันภัยมีถึงผู้รับประโยชน์นั้นย่อมมีผลนับแต่เวลาที่ผู้รับประโยชน์ได้รับหนังสือดังกล่าว ซึ่งโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2541 โดยจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ดังนี้ การแสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมของจำเลยจึงไปถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้ ไม่ว่าจะถือว่าจำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้ในวันที่ 26 มกราคม 2541 หรือวันที่ 31 มกราคม 2541 ก็ตาม การใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมของจำเลยจึงไม่ชอบตามมาตรา 865 วรรคสอง
ที่โจทก์ที่ 1 ขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่า โจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้องมาในคำแก้ฎีกานั้น โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะยื่นคำฟ้องฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้อง จะยื่นมาในคำแก้ฎีกามิได้
ที่โจทก์ที่ 1 ขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่า โจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้องมาในคำแก้ฎีกานั้น โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะยื่นคำฟ้องฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้อง จะยื่นมาในคำแก้ฎีกามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9489/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการทำละเมิดต่อรถเช่าซื้อ แม้จะขายซากรถแล้ว ก็ยังฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่อขับรถบรรทุกชนท้ายรถโดยสาร ทำให้รถโดยสารที่โจทก์ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น และเรียกค่าเสียหายตามฟ้อง ข้อ ก. เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ต้องนำรถโดยสารไปซ่อมเป็นจำนวนเงินตามบัญชีใบประเมินราคาการซ่อม ค่าเสียหายส่วนที่โจทก์ฟ้องมาตามฟ้องข้อ ก. โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดเป็นค่าซ่อมรถโดยตรง เพียงแต่โจทก์เรียกค่าเสียหายส่วนนี้โดยอิงกับใบประเมินราคา ซึ่งหากมีการซ่อมรถก็มีรายการและราคาตามใบประเมินราคานี้ ดังนั้น แม้รถโดยสารจะถูกผู้ให้เช่าซื้อขายไปในลักษณะขายซากรถโดยไม่ได้รับการซ่อมหรือไม่ หรือโจทก์ทราบข้อเท็จจริงว่า ผู้ให้เช่าซื้อขายซากรถไปโดยที่ยังไม่ได้รับการซ่อมหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าซ่อมรถโดยตรง แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยกระทำละเมิดทำให้รถโดยสารที่โจทก์ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่ได้รับความเสียหาย โจทก์ผู้เช่าซื้อย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องข้อ ก. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9483/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยชอบตามกฎหมาย และสิทธิของผู้รับโอนในการขอจดทะเบียนแก้ไขสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
การโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์มีการทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้โอนกับผู้รับโอนโดยมีพยาน 2 คน ลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วย จึงถือว่าการโอนหุ้นดังกล่าวได้กระทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยมิได้กำหนดว่าการโอนหุ้นต้องได้รับความยินยอมของบริษัท ดังนั้น การโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1129 วรรคหนึ่ง
หนังสือที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังกรรมการของบริษัทจำเลยมีข้อความสรุปได้ว่า โจทก์ในฐานะผู้รับโอนขอบอกกล่าวให้บริษัทจำเลยดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย หรือหากไม่ดำเนินการ โจทก์ก็มีความประสงค์ที่จะขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งที่มีความประสงค์จะซื้อ ตามหนังสือดังกล่าวเห็นได้ว่า ความประสงค์ของโจทก์ก็คือต้องการจะได้หุ้นที่ ภ. โอนให้ โดยให้จำเลยใส่ชื่อโจทก์ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นลำดับแรก ถือว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว
เมื่อการโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์เป็นการโอนที่ชอบ และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามที่ทนายโจทก์มีหนังสือแจ้งตามการกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
หนังสือที่ทนายโจทก์แจ้งไปยังกรรมการของบริษัทจำเลยมีข้อความสรุปได้ว่า โจทก์ในฐานะผู้รับโอนขอบอกกล่าวให้บริษัทจำเลยดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย หรือหากไม่ดำเนินการ โจทก์ก็มีความประสงค์ที่จะขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งที่มีความประสงค์จะซื้อ ตามหนังสือดังกล่าวเห็นได้ว่า ความประสงค์ของโจทก์ก็คือต้องการจะได้หุ้นที่ ภ. โอนให้ โดยให้จำเลยใส่ชื่อโจทก์ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นลำดับแรก ถือว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว
เมื่อการโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์เป็นการโอนที่ชอบ และจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นนั้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามที่ทนายโจทก์มีหนังสือแจ้งตามการกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9483/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยชอบตามกฎหมาย การปฏิเสธจดทะเบียนถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ และอำนาจฟ้องของโจทก์
การโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์มีการทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้โอนกับผู้รับโอนโดยมีพยาน 2 คน ลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วย จึงถือว่าการโอนหุ้นดังกล่าวได้กระทำตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยมิได้กำหนดว่าการโอนหุ้นต้องได้รับความยินยอมของบริษัท ดังนั้น การโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1129 วรรคหนึ่ง และไม่ว่าหุ้นตามฟ้องจะเป็นสินสมรสระหว่าง ภ. กับโจทก์ ซึ่งถือเป็นการแบ่งสินสมรส หรือเป็นสินส่วนตัวของ ภ. ก็ตาม ภ. ก็มีสิทธิโอนหุ้นดังกล่าวให้โจทก์ได้ ไม่ได้มีผลกระทบต่อบริษัทจำเลยและไม่ได้ทำให้การโอนหุ้นดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อการโอนหุ้นระหว่าง ภ. กับโจทก์เป็นการโอนที่ชอบ และโจทก์ในฐานะผู้รับโอนได้แจ้งให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขการโอนหุ้นลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมดำเนินการ การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9481/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัย: ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากไม่ทราบความสัมพันธ์ของผู้ขับขี่กับผู้เอาประกันภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 31-0857 กรุงเทพมหานคร และหมายเลขทะเบียน 31-4326 กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยสารไม่ประจำทางหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ในทางการที่จ้างหรือตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เอาประกันภัยรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549 เวลา 16.40 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารคันดังกล่าวออกจากหน้าบริษัท ท. แล้วเลี้ยวซ้ายเพื่อตรงออกปากซอยนิคมอุตสาหกรรมบางพลีซอย 7 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนด้วยความเร็วสูงและไม่สามารถหยุดห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับพุ่งเข้าชนรถโดยสารทั้งสองคันของโจทก์ที่จอดดับเครื่องยนต์อยู่ริมถนนหน้าบริษัท ด. เพื่อรอรับคนงานจนรถโดยสารทั้งสองคันของโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ที่จำเลยที่ 1 ขับ ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ และขอให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัย อันมีลักษณะเป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถโดยสารคันดังกล่าว ซึ่งการรับประกันภัยค้ำจุนนั้น ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง แต่คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขับรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้ขับรถในฐานะใดหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ผู้เอาประกันภัย อันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 4 ย่อมไม่มีโอกาสทราบว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยเหตุใด อันจะทำให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัย ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9479/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเกิน 1 เดือน ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนของบริษัท ซึ่งก็คือขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทครั้งที่ 3/2536 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2536 ครั้งที่ 4/2536 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2536 และครั้งที่ 5/2536 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2536 โดยให้โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองถือหุ้นตามอัตราส่วนก่อนการประชุมใหญ่วิสามัญดังกล่าว โดยอ้างว่าการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไม่ชอบ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องขอให้เพิกถอนมติโดยอ้างว่าการประชุมใหญ่วิสามัญนั้นได้นัดเรียกประชุมฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ดังนี้การขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบ ป.พ.พ. มาตรา 1195 ต้องยื่นต่อศาลภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันลงมติ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8820/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องในคดีประกันภัย การบรรยายฟ้องต้องให้เข้าใจสภาพแห่งข้อหา แม้รายละเอียดบางส่วนจะวินิจฉัยในชั้นพิจารณาได้
คำบรรยายฟ้องใดจะชัดเจนหรือไม่ เพียงใด จำต้องพิจารณาเหตุแห่งข้ออ้างทั้งหลายประกอบเอกสารที่แนบไว้ท้ายคำฟ้องว่าเพียงพอให้เข้าใจสภาพแห่งข้อหาหรือไม่ ทั้งต้องไม่มีผลกระทบต่อการต่อสู้คดีของจำเลย เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์แล้วแม้เป็นกรณีที่ขอให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยไว้และผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนถือเป็นสาระสำคัญในเรื่องการบรรยายฟ้องก็ตาม แต่โจทก์บรรยายคำฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยรับประกันภัยรถแท็กซี่ไว้ในขณะเกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ฝ. ขับรถแท็กซี่โดยประมาทชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุ ฝ. ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นฝ่ายประมาท ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีท้ายคำฟ้อง โดยเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุว่า ฝ. ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รถยนต์ของ ณ. โดยมอบให้จำเลยเป็นผู้ใช้แทนทั้งหมด คำฟ้องประกอบเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว เพียงพอให้เข้าใจว่าสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ประสงค์ให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถแท็กซี่ไว้จาก ฝ. ผู้เอาประกันภัย ส่วนปัญหาว่า ฝ. เป็นผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องร่วมรับผิดหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณา นอกจากนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองกรมธรรม์ประกันภัยจึงสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาตรวจสอบเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากคำฟ้องของโจทก์อีก ข้อที่ว่าจำเลยรับประกันภัยไว้จากผู้ใด จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วและเป็นเพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ส่วนในเรื่องนิติสัมพันธ์นั้น เมื่อฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจได้ว่าขอให้จำเลยรับผิดในการทำละเมิดของ ฝ. ผู้เอาประกันภัย โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้ทำละเมิดอีก ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม