คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรุฬห์ แสงเทียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 895 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8820/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลมประกันภัยรถยนต์: การพิจารณาความรับผิดของผู้ทำละเมิดและผู้รับประกันภัย
คำบรรยายฟ้องใดจะชัดเจนหรือไม่ เพียงใด จำต้องพิจารณาเหตุแห่งข้ออ้างทั้งหลายประกอบเอกสารที่แนบไว้ท้ายคำฟ้องว่าเพียงพอให้เข้าใจสภาพแห่งข้อหาหรือไม่ ทั้งต้องไม่มีผลกระทบต่อการต่อสู้คดีของจำเลย
คำฟ้องของโจทก์แม้เป็นกรณีที่ขอให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยไว้และผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถือเป็นสาระสำคัญในเรื่องการบรรยายฟ้องก็ตาม แต่โจทก์บรรยายคำฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยรับประกันภัยรถยนต์แท็กซี่หมายเลขทะเบียน จ - 9529 กรุงเทพมหานคร ไว้ในขณะเกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ค. ขับรถยนต์แท็กซี่คันดังกล่าวโดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุ ค. ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นฝ่ายประมาท ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีท้ายคำฟ้อง โดยเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุว่า ค. ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รถยนต์ของ ส. โดยมอบให้จำเลยเป็นผู้ใช้แทนทั้งหมด เมื่อพิจารณาคำฟ้องประกอบเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวแล้ว เพียงพอให้เข้าใจว่าสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ประสงค์ให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์แท็กซี่ไว้จาก ค. ผู้เอาประกันภัย ส่วนปัญหาว่า ค. เป็นผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องร่วมรับผิดหรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณา นอกจากนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองกรมธรรม์ประกันภัยจึงสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาตรวจสอบเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากฟ้องโจทก์อีก ข้อที่ว่าจำเลยรับประกันภัยไว้จากผู้ใด จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วและเป็นเพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ส่วนในเรื่องนิติสัมพันธ์นั้น เมื่อฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจได้ว่าขอให้จำเลยรับผิดในการทำละเมิดของ ค. ผู้เอาประกันภัย โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้ทำละเมิดอีก ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าขาดราคาเช่าซื้อ: เริ่มนับจากวันเลิกสัญญา ไม่ใช่วันประมูล
เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมอาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อชดใช้ราคารถที่เช่าซื้อส่วนที่ขาดหรือค่าขาดราคาได้นับแต่วันเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ มิใช่นับแต่วันที่ประมูลขายทอดตลาดรถที่เช่าซื้อ เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2539 และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2550 ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขาดราคาจึงขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8730/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายืนคำสั่งไม่อนุญาตแก้ไขคำให้การและไม่รับฟ้องแย้ง เหตุฟ้องซ้ำ, ดอกเบี้ยเกินอัตรา, และฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 การแก้ไขคำให้การต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานโจทก์ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนหน้านั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย บทบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิจำเลยที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับศาลที่จะต้องอนุญาตตามคำร้องของจำเลยเสมอไปไม่ เมื่อศาลพิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วหากมีเหตุอันสมควร ศาลสามารถใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้องของจำเลยได้
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้เงิน และหนังสือขอรับเงินกู้ซึ่งมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารประกอบทั้งสามประเภทหนี้รวมกันเป็นคดีเดียวกัน โดยเสียเงินค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 29 นั้น หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าโจทก์ฟ้องในมูลหนี้แต่ละประเภทรวมกันมาเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแยกคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 หรือขอให้ศาลมีคำสั่งขอให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมเพื่อให้ศาลชั้นต้นได้พิจารณาได้ โดยไม่จำต้องต่อสู้มาในคำร้องขอแก้ไขคำให้การ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แก้ไขคำให้การ
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ย่อมตกเป็นโมฆะ ยอดหนี้ที่โจทก์ฟ้องมาจึงไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะนั้น แม้การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดจะเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้การไว้แล้วว่ายอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องตามสัญญาทั้งสามประเภทเคลือบคลุมและไม่ถูกต้อง กับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ในกรณีผิดนัดสูงเกินส่วน ทั้งศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไว้ด้วย ซึ่งโจทก์ต้องนำสืบถึงการคิดยอดหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถนำสืบหักล้างว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเพียงใดได้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แก้ไขคำให้การ
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอแก้ไขคำให้การที่ว่า ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงเจ้าหนี้ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกันกับหนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ฟ้องคดีของโจทก์ซ้ำซ้อนกันอันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นโมฆะ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในข้อนี้ได้ก่อนวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 และไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้เคยมีการฟ้องคดีต่อศาลไว้ก่อนแล้วอย่างไรที่จะทำให้คดีนี้กลายเป็นฟ้องซ้อนจึงไม่ใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้เงิน หนังสือขอรับเงินกู้ซึ่งมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารประกอบสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันเนื่องจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยอ้างว่าการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายต้องเสียชื่อเสียงและเสียหายในการค้า มูลหนี้ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กับข้ออ้างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในฟ้องแย้งในเรื่องกล่าวหาว่าโจทก์กระทำละเมิด จึงเป็นคนละส่วนและมาจากคนละมูลหนี้ไม่เกี่ยวข้องกันกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของคำฟ้องประกันภัย: จำเลยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ แม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยโดยตรง
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้วว่า อ. ผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัย เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัย จำเลยให้การรับว่าเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน ทน 8489 กรุงเทพมหานคร ที่ อ. เป็นผู้ขับจึงอาจต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ ข้อที่ว่าจำเลยรับประกันภัยไว้จากผู้ใดเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบดีอยู่แล้ว เพราะ ป.พ.พ. มาตรา 867 บัญญัติว่า "สัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" และวรรคสองของมาตราดังกล่าวกำหนดหน้าที่ของผู้รับประกันภัยว่าผู้รับประกันภัยจะต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความถูกต้องตามสัญญานั้นแก่ผู้เอาประกันภัยฉบับหนึ่ง และกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องลงลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยและมีรายการต่าง ๆ ได้แก่ วัตถุที่เอาประกันภัย ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง ราคาแห่งมูลประกันภัยถ้าได้กำหนดกันไว้ จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย จำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย ถ้าหากสัญญามีกำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดไว้ ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย ชื่อของผู้รับประโยชน์ถ้าจะมี วันทำสัญญาประกันภัย และสถานที่และวันที่ได้ทำกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยอีก คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความรับผิดทางละเมิดเมื่อคู่กรณีประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ศาลไม่อาจบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหาย
การกำหนดค่าเสียหายของศาลเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลใช้ดุลพินิจกำหนดให้ขัดต่อกฎหมายหรือเกินความรับผิดตามกฎหมายของฝ่ายนั้น ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ข้ออุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า พ. และจำเลยต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แต่กลับกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์รับผิดต่อจำเลย เป็นการไม่ชอบนั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งอำนาจการกำหนดค่าเสียหายของศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 442 บัญญัติว่า "ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" และมาตรา 223 บัญญัติว่า "ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร..." บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดและค่าเสียหายต่อกันโดยให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใดซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่ หากต่างฝ่ายต่างกระทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอกันแล้ว ก็ไม่อาจเรียกค่าเสียหายต่อกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาว่า พ. และจำเลยต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันแล้ว ค่าเสียหายที่จำเลยจะเรียกร้องจาก พ. ตามฟ้องแย้งย่อมตกเป็นพับ แม้จำเลยจะเสียหายมากกว่าก็ไม่อาจเรียกให้ พ. ชำระค่าเสียหายได้ พ. จึงไม่มีความรับผิดต่อจำเลย โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องร่วมรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7165/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ต่อคดีอื่น: ศาลไม่ตัดสิทธิคู่ความในการโต้แย้งข้อเท็จจริงในคดีที่เปิดให้มีการอุทธรณ์
แม้คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยและคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 312/2548 ของศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ก็ไม่มีผลทำให้คดีนี้ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคู่ความยังโต้แย้งกันอยู่ว่าเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของฝ่ายใด ต้องรับฟังข้อเท็จจริงยุติไปตามคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้นไม่ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6918/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงแรมไม่ต้องรับผิดชอบทรัพย์สินสูญหายของลูกค้าที่ใช้บริการนวดระยะสั้น เนื่องจากไม่ใช่การเข้าพักอาศัย
แม้โรงแรมของจำเลยทั้งสองจะมีการให้บริการในส่วนของการนวดแผนโบราณโดยสถานที่นวดอยู่ภายในอาคารของโรงแรมก็ตาม แต่ลักษณะของการเข้ามาใช้บริการดังกล่าวก็เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่าเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นเพื่อต้องการพักผ่อนเท่านั้น ซึ่งการใช้บริการไม่จำต้องลงทะเบียนขอเปิดห้องพักเหมือนอย่างกรณีการเข้าพักอาศัย ส. จึงไม่ใช่คนเดินทางหรือแขกอาศัยตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 674 เมื่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไป จำเลยทั้งสองในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมจึงไม่ต้องรับผิดชอบเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6918/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงแรมไม่ต้องรับผิดชอบรถหาย หากผู้ใช้บริการไม่ได้พักค้างคืน
แม้โรงแรมของจำเลยทั้งสองจะมีการให้บริการในส่วนของการนวดแผนโบราณโดยสถานที่นวดอยู่ภายในอาคารของโรงแรมก็ตาม แต่ลักษณะของการเข้ามาใช้บริการดังกล่าวก็เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่าเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นเพื่อต้องการพักผ่อนเท่านั้น ซึ่งการใช้บริการไม่จำต้องลงทะเบียนขอเปิดห้องพักเหมือนอย่างกรณีการเข้าพักอาศัยแบบค้างคืน การที่ ส. ขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเข้าไปจอดบริเวณลานจอดรถในโรงแรมของจำเลยทั้งสอง แล้วเข้าไปใช้บริการนวดแผนโบราณที่ให้บริการภายในโรงแรมของจำเลยทั้งสอง ส. จึงไม่ใช่คนเดินทางหรือแขกอาศัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 เมื่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไป จำเลยทั้งสองในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมจึงไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6917/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกบริษัทจากความขัดแย้งระหว่างกรรมการและหยุดประกอบกิจการเกิน 1 ปี
สาเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประกอบกิจการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนไว้เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายโจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับฝ่ายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งต่างเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จนถึงขั้นมีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสี่ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงและยักยอกและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นกล่าวหาว่าโจทก์ที่ 2 ปลอมเอกสารซึ่งความขัดแย้งกันดังกล่าวทำให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้อันเป็นเหตุที่จะเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ในกรณีบริษัทหยุดทำการถึง 1 ปีเต็ม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1237 (2) จึงเห็นสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6850/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดเช่าซื้อกรณีรถยนต์เสียหายจากภัยธรรมชาติ ศาลพิจารณาความผิดของผู้เช่าซื้อและค่าเสียหายที่แท้จริง
สัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 5 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีรถยนต์เสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ดีดังเดิมได้ให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลง โดยหากไม่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถ ค่าทนายความหรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่เจ้าของได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็น และมีเหตุอันสมควร แต่หากเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนหนี้คงค้างชำระตามสัญญา สัญญาดังกล่าวได้แบ่งความรับผิดของผู้เช่าซื้อเป็นสองกรณีโดยพิจารณาจากความเสียหายของรถยนต์ที่เช่าซื้อว่าเกิดขึ้นจากความผิดของผู้เช่าซื้อหรือไม่ เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อได้รับความเสียหายจากการประสบภัยธรรมชาติ (สึนามิ) ซึ่งมิใช่เกิดขึ้นจากความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนหนี้คงค้างชำระหรือค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการที่โจทก์นำรถยนต์เช่าซื้อออกประมูลขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อตามฟ้องโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาต่อท้ายในกรณีที่รถยนต์เช่าซื้อเสียหายที่ไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 คือค่าเสียหาย หรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถ ค่าทนายความหรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่เจ้าของได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็น และมีเหตุอันสมควร แต่เนื่องจากโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหรือไม่ เพียงใด จึงไม่กำหนดให้ คงมีเพียงค่าเสียหายจากการที่ทรัพย์ที่เช่าซื้อเสียหายไป ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงเงินลงทุนของโจทก์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อพร้อมผลประโยชน์ที่โจทก์จะได้รับหากรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่เสียหายกับจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์และเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว เห็นว่ามีจำนวนเพียงพอต่อความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการที่ทรัพย์ที่เช่าซื้อเสียหายเพราะเหตุประสบภัยธรรมชาติ (สึนามิ) แล้ว จึงไม่กำหนดให้อีก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 ฎีกาเพียงผู้เดียว ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
of 90