พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11735/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขาย: เริ่มนับเมื่อส่งมอบสินค้าครบถ้วน ไม่นับแยกแต่ละครั้ง
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า เงินค่าซื้อขายส่วนที่เหลือจะจ่ายให้เมื่อจำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อไว้ครบถ้วนแล้ว แสดงว่ามูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายนี้ถึงกำหนดชำระต่อเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อให้จำเลย 2 ครั้ง อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อครบถ้วนในครั้งที่ 2 จะนับอายุความแยกเป็นแต่ละครั้งที่มีการส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อไม่ได้ จำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อครบถ้วนในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 นับถึงวันฟ้องวันที่ 1 ธันวาคม 2542 ยังไม่เกิน 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ค่าสินค้าที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยในครั้งแรกจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11605/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิด แม้ไม่ใช่เจ้าของรถ แต่มีสิทธิใช้และครอบครองรถคันดังกล่าว
พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มอบบัตรจอดรถซึ่งด้านหน้าระบุว่าต้องเสียค่าจอดรถชั่วโมงละ 10 บาท และหากทำบัตรจอดรถหายจะต้องถูกปรับ 200 บาท โดยต้องนำหลักฐานการเป็นเจ้าของรถมาแสดงให้แก่โจทก์และยินยอมให้โจทก์นำรถเข้าไปจอดในลานจอดรถของห้างฯ จำเลยที่ 2 เมื่อคนร้ายลักรถยนต์โดยขับรถฝ่าพนักงานรักษาความปลอดภัยออกไปด้วยความเร็วและไม่คืนบัตรจอดรถให้แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยไม่ดำเนินการใดๆ เพื่อแจ้งเหตุหรือสกัดจับ กลับรอกระทั่งโจทก์กลับมาจึงแจ้งให้ทราบ การกระทำของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นละเมิด และจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าทรัพย์สินที่อยู่ภายในรถยนต์ดังกล่าวด้วย เนื่องจากเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อ
แม้โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์เก๋งที่ถูกคนร้ายลักไปโดยครอบครองรถยนต์เก๋งในฐานะเป็นเพียงหลักประกันการกู้ยืมเงิน แต่โจทก์ก็มีสิทธิใช้และมีหน้าที่บำรุงรักษารถยนต์เก๋งเพื่อส่งมอบคืนให้แก่เจ้าของ เมื่อจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์เก๋งถูกคนร้ายโจรกรรมไปในระหว่างที่โจทก์ครอบครองใช้สอยอยู่โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์เก๋งคันดังกล่าว ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์เก๋งที่ถูกคนร้ายลักไปโดยครอบครองรถยนต์เก๋งในฐานะเป็นเพียงหลักประกันการกู้ยืมเงิน แต่โจทก์ก็มีสิทธิใช้และมีหน้าที่บำรุงรักษารถยนต์เก๋งเพื่อส่งมอบคืนให้แก่เจ้าของ เมื่อจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดเป็นเหตุให้รถยนต์เก๋งถูกคนร้ายโจรกรรมไปในระหว่างที่โจทก์ครอบครองใช้สอยอยู่โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์เก๋งคันดังกล่าว ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11584/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดใบอนุญาตโรงงาน: เจตนาเลิกใช้ใบอนุญาตเดิมเมื่อเปลี่ยนประเภทกิจการ
แม้จะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดระบุว่า เมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 แล้ว ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ที่ได้รับอยู่ก่อนหน้านั้นเป็นอันสิ้นสุดลงก็ตาม แต่เมื่อโรงงานที่จำเลยทั้งสองใช้ประกอบกิจการนั้นเป็นโรงงานแห่งเดียวกันและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการอย่างเดียวกันแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการโรงงานจากจำพวกที่ 2 เป็นจำพวกที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มกำลังแรงม้าเครื่องจักรในการประกอบกิจการมากขึ้นก็เพื่อให้สามารถผลิดผลงานได้มากขึ้นเป็นการเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่จำเลยทั้งสองย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ที่อนุญาตให้ใช้เครื่องจักรแรงม้าต่ำในการประกอบกิจการอีกต่อไปแล้ว ทั้งยังเป็นการประกอบกิจการในโรงงานแห่งเดียวกันและในกิจการประเภทเดียวกันด้วย จึงเป็นไปไม่ได้ว่าโรงงานแห่งเดียวกันจะมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหลายจำพวกหลายฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11519/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามคำสั่งไม่อนุญาตขยายระยะเวลายื่นฎีกา: ไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกา ไม่ใช่กรณีศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังจนถึงวันครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่โจทก์เป็นเวลานานถึง 2 เดือน คดีของโจทก์ก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน หากโจทก์ให้ความสำคัญต่อคดีของตนระยะเวลาดังกล่าวก็เพียงพอที่โจทก์จะจัดทำฎีกาและยื่นฎีกาได้ทันภายในกำหนดอีกทั้งในชั้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ ศาลชั้นต้นก็ได้กำชับในคำร้องแล้วว่า เป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาเพียงครั้งเดียวดังนั้น จึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่ควรเร่งจัดทำฎีกามายื่นต่อศาลให้ทันภายในกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกาอีกนั้นชอบแล้ว
นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังจนถึงวันครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่โจทก์เป็นเวลานานถึง 2 เดือน คดีของโจทก์ก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน หากโจทก์ให้ความสำคัญต่อคดีของตนระยะเวลาดังกล่าวก็เพียงพอที่โจทก์จะจัดทำฎีกาและยื่นฎีกาได้ทันภายในกำหนดอีกทั้งในชั้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ ศาลชั้นต้นก็ได้กำชับในคำร้องแล้วว่า เป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาเพียงครั้งเดียวดังนั้น จึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่ควรเร่งจัดทำฎีกามายื่นต่อศาลให้ทันภายในกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกาอีกนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11228/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางต้องมี 2 นิติกรรม การฟ้องเพิกถอนสัญญาเพื่อบังคับให้โอนกลับเป็นของเดิมทำไม่ได้
นิติกรรมอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องคู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพรางปกปิดไว้โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ ในเรื่องของนิติกรรมอำพรางจึงต้องมีสองนิติกรรม แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้โจทก์ตกลงทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเพียงนิติกรรมเดียว การให้ดังกล่าวมิได้เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับจำเลยเพื่อปกปิดนิติกรรมอีกนิติกรรมหนึ่งอย่างใด เพียงแต่โจทก์อ้างว่ามีข้อตกลงเพิ่มเติมในสัญญาไว้ว่าจำเลยต้องไปดำเนินการแบ่งแยกที่ดินพิพาทแล้วโอนให้แก่พี่น้องทุกคนในภายหลังเท่านั้น สัญญาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตามฟ้องจึงมิใช่นิติกรรมอำพรางที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ และหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องจริง กรณีก็เป็นเรื่องโจทก์จำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคหนึ่ง กรณีนี้โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทุกคนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับประโยชน์ตามสัญญา มิใช่มาฟ้องเพิกถอนสัญญาให้แล้วบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์กระทำเช่นนั้นได้ดังนี้ แม้จะฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่ามีข้อตกลงให้จำเลยแบ่งโอนที่ดินพิพาทให้แก่พี่น้องทุกคนจริง กรณีก็ไม่อาจบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่พี่น้องทุกคนได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 กรณีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่ามีข้อตกลงให้จำเลยแบ่งโอนที่ดินพิพาทให้แก่พี่น้องทุกคนหรือไม่ เพราะไม่มีผลทำให้คดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11039/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการนำสืบหลักฐานนอกเหนือจากคำฟ้อง การฟ้องผิดสัญญาต้องสอดคล้องกับเหตุที่บรรยาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นสมาชิกประเภทร้านค้าของโจทก์ โดยจำเลยยินยอมรับชำระค่าสินค้าและค่าบริการจากสมาชิกผู้ถือบัตรที่โจทก์ออกให้ แต่จำเลยรับชำระค่าสินค้าโดยผิดเงื่อนไขเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินคืนจากสมาชิกผู้ถือบัตร เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาในขั้นตอนก่อนการชำระเงิน แต่โจทก์กลับนำสืบว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ชี้แจงข้อร้องทุกข์และข้อสอบถามของสมาชิก ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังจากจำเลยได้รับชำระค่าสินค้าแล้ว แม้โจทก์จะแนบสัญญาซึ่งมีเงื่อนไขการรับชำระเงินจากบัตรเครดิตมาท้ายฟ้องอันถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตาม แต่ทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าว กล่าวอ้างถึงการกระทำผิดสัญญาของจำเลยแตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้อง จึงเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานอกเหนือไปจากคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10909/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้ ศาลต้องไต่สวนเพื่อให้ได้ความชัดเจนก่อนปลดเปลื้องความรับผิด
ขณะที่โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของจำเลย ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ที่ดินพิพาทมีชื่อ ก. เป็นเจ้าของ แต่การจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อ ก. เป็นการโอนให้ภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ การโอนดังกล่าวจึงอาจเป็นการโอนโดยมีเจตนาให้ที่ดินพิพาทพ้นจากการบังคับคดีอันจะทำให้โจทก์เสียเปรียบได้ เมื่อยังไม่แจ้งชัดว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอย่างแน่นอน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปลดเปลื้องความรับผิดโดยไม่ได้รับฟังว่าโจทก์จะคัดค้านหรือไม่ หรือเรียกโจทก์มาไต่สวนให้ได้ความชัดเสียก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10720/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: การลดเบี้ยปรับต้องพิจารณาความเสียหายจริง และความล่าช้าในการบอกเลิกสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง วางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาลดเบี้ยปรับของศาลว่าให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน กล่าวคือ จากการที่โจทก์และจำเลยทำการซื้อขายสินค้ากันตามสัญญาซื้อขายนั้นและจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามสัญญา ซึ่งส่งผลให้โจทก์เกิดความเสียหายจากการส่งมอบสินค้าของจำเลย ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือโจทก์และจำเลยทำการซื้อขายสินค้ากัน แต่สินค้าไม่ตรงตามสัญญา จำเลยจึงมารับคืนสินค้าไปจากโจทก์ ความเสียหายที่โจทก์อ้างว่าจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ได้ ทำให้มหาวิทยาลัยขาดอุปกรณ์ในการเรียนการสอนทำให้นักศึกษาที่จบมาด้วยคุณภาพนั้นเป็นความเสียหายที่ไกลเกินความเป็นจริง และการที่โจทก์ทำการบอกเลิกสัญญากับจำเลยเมื่อเวลาได้ล่วงเลยมานานปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเกือบสองปี แล้วเรียกค่าปรับจำนวน 336,801 บาทนั้น เห็นได้ชัดว่าจำนวนเงินดังกล่าวสูงกว่าราคาสินค้าตามสัญญาที่มีราคาเพียง 257,500 บาท จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง สมควรที่ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10552/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงแม้หลอกลวงบุคคลอื่น แต่ผู้เสียหายเป็นเจ้าของเงินกู้ ย่อมเป็นผู้เสียหายในคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและด้วยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่นเพื่อขอกู้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 แต่ตามทางพิจารณาได้ความว่าเป็นเรื่องหลอกลวงมารดาผู้เสียหายที่ 2 มิใช่หลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้และเป็นผู้ทำสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้เงิน ซึ่งจำเลยผู้กู้นำโฉนดที่ดินของบุคคลอื่นมาหลอกลวง เพื่อให้ได้เงินที่กู้ยืมไป ดังนั้น ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว จึงเป็นผู้เสียหายในคดีฉ้อโกงด้วยคนหนึ่ง ข้อแตกต่างดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงฟังลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10552/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นผู้อื่น แม้หลอกลวงมารดาผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายก็ได้รับความเสียหายโดยตรง
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า จำเลยโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและด้วยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น แต่ตามทางพิจารณาที่ได้ความนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยหลอกลวง ส. มารดาผู้เสียหายที่ 2 มิใช่หลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของเงินก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าของเงินที่ให้กู้ และเป็นผู้ทำสัญญากู้ในฐานะผู้ให้กู้เงินที่จำเลยผู้กู้นำโฉนดที่ดินของบุคคลอื่นมาหลอกลวงดังกล่าว เพื่อให้ได้เงินที่กู้ยืมไป ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว
จำเลยหลอกลวงด้วยการทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นบุคคลเดียวกับ ป. ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินที่จำเลยนำมาเป็นหลักประกันในการกู้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 จากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยหลอกลวงด้วยการทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นบุคคลเดียวกับ ป. ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินที่จำเลยนำมาเป็นหลักประกันในการกู้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 จากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง