พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6020/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างใหม่ทำให้สัญญาค้ำประกันเดิมสิ้นผลผูกพัน เมื่อจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาในตำแหน่งใหม่ จำเลยที่ 2 และ 3 ไม่ต้องรับผิด
เดิมโจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อ มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างพนักงานและลูกจ้างของสหกรณ์ ต่อมาโจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ใหม่ในตำแหน่งผู้จัดการ โดยมีจำเลยที่ 4 จำนองที่ดินเป็นประกันการเข้าทำงานในตำแหน่งผู้จัดการของโจทก์ ตามสัญญาจ้างพนักงานและลูกจ้างสหกรณ์อันเป็นการตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ในตำแหน่งงานใหม่ที่มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นโดยไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รู้เห็นให้ความยินยอมด้วย อีกทั้งตามสัญญาจ้างฉบับใหม่ก็ไม่ได้มีข้อความระบุว่าที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 4 จำนองเป็นประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้แก่โจทก์นั้นเป็นการประกันเพิ่มเติมจากที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้เดิม อันเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ให้บังคับตามสัญญาจ้างใหม่ และเป็นผลทำให้สัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อเดิมและสัญญาค้ำประกันเดิมที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำผูกพันไว้กับโจทก์สิ้นสุดลงไป ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายในขณะทำหน้าที่ผู้จัดการของโจทก์ตามสัญญาจ้างใหม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถมดินก่อนการโอนกรรมสิทธิ์และการได้รับลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย ก็ย่อมจำเป็นต้องถมดินเพื่อปรับระดับพื้นให้สูงพ้นจากน้ำท่วม อันเป็นการกระทำเพื่อครอบครองใช้สอยที่ดินพิพาทของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้ว่าขณะนั้นโจทก์ทั้งสองทราบอยู่แล้วว่า จำเลยกำลังร้องขอต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทกับได้ฟ้องร้องต่อโจทก์ทั้งสอง แต่ก็ยังมิได้มีผลแพ้ชนะกันออกมา ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งสองถมดินในที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยที่ดินของตน จึงไม่อาจฟังได้ว่า เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทมาในราคาเดียวกับราคาที่โจทก์ทั้งสองซื้อมา จำเลยจึงได้ดินถมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการถมดิน และได้มูลค่าที่ดินพิพาทเพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อเทียบกับราคาที่ดินพิพาทที่ยังไม่ได้ถม ดินถมดังกล่าวและมูลค่าที่ดินพิพาทที่เพิ่มขึ้นนั้น ถือว่าเป็นการเพิ่มพูนกองทรัพย์สินของจำเลย จึงเป็นทรัพย์สิ่งใดที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จำเลยจึงต้องชดใช้ราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองถมที่ดินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4698/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางการกู้ยืม: สัญญาขายฝากที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ และมีลักษณะของการกู้ยืมเงิน
ค. กับจำเลยทั้งสามขอกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท มีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน โดยจำเลยทั้งสามยินยอมทำเป็นสัญญาขายฝากตามความประสงค์ของโจทก์มีการทำรายการคิดการชำระเงินกัน กำหนดค่าไถ่ถอน 3,500,000 บาท และมีการคิดดอกเบี้ยกับหักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าจำนวน 300,000 บาท ด้วย เมื่อตามกฎหมายมิได้บัญญัติให้นิติกรรมขายฝากมีการเรียกดอกเบี้ยกันได้ ประกอบกับโจทก์เองเบิกความรับว่า ค. ติดต่อเพื่อขอกู้ยืมเงินโจทก์ จึงฟังได้ว่าการทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน จึงต้องนำกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมกู้ยืมมาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 เป็นผลให้ที่ดินและบ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การติดตั้งเสาไฟฟ้าบนที่ดินภาระจำยอมไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงภารยทรัพย์ หากไม่กีดขวางทางเข้าออก
บันทึกข้อตกลงทางภาระจำยอมเรื่องทางเดินและทางรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีข้อตกลงให้ปักเสาไฟฟ้าลงบนที่ดินที่เป็นทางภาระจำยอม แต่ปัจจุบันบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงและเจริญมากขึ้น การใช้ไฟฟ้าตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นที่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการย่อมเป็นสิ่งจำเป็นต่อประชาชนทั่วไป การที่จำเลยให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคติดตั้งเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าบนที่ดินภาระจำยอมเพื่อนำไปใช้ในที่ดินของจำเลยโดยปักเสาไฟฟ้าอยู่ตามแนวยาวของทางภาระจำยอมด้านข้างไม่เป็นการกีดขวางทางเข้าออกจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเจ้าของสามยทรัพย์ทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 จำเลยย่อมมีสิทธิกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงชำระหนี้หลังถูกฟ้องร้อง
การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนของโจทก์ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แต่เมื่อร้องทุกข์แล้ว พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินจำนวน 135,008,163.92 บาท มาด้วย ทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวและศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนี้ จึงมีความหมายโดยนิตินัยว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวและมีคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินจำนวน 135,008,163.92 บาท ด้วย เท่ากับว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แล้ว
ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองได้หย่ากันแล้ว ทั้งจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันว่าให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินการโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังนำที่ดินไปจำนองด้วย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาโอนที่ดินไปเพื่อมิให้โจทก์เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้ประกอบกับคำว่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 350 หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์จึงเป็นการโอนทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นแล้ว ส่วนต่อมาโจทก์สามารถสืบหาติดตามทรัพย์สินนำมาบังคับคดีได้หรือไม่ เพียงใด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามมาตรา 350
ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองได้หย่ากันแล้ว ทั้งจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันว่าให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินการโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังนำที่ดินไปจำนองด้วย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาโอนที่ดินไปเพื่อมิให้โจทก์เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้ประกอบกับคำว่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 350 หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์จึงเป็นการโอนทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นแล้ว ส่วนต่อมาโจทก์สามารถสืบหาติดตามทรัพย์สินนำมาบังคับคดีได้หรือไม่ เพียงใด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามมาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองด้านภาษีอากรต้องมีเหตุผลประกอบ หากไม่มีเหตุผลชัดเจน ศาลมีอำนาจเพิกถอนการประเมิน
ใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ เป็นคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งมีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลและมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างหน่วยงานราชการกับโจทก์ จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 ที่ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ คือจะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย ทั้งเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ เมื่อใบแจ้งรายการประเมินระบุแต่เพียงการแจ้งรายการทรัพย์สิน เลขสำมะโนครัว ตำบลหรือถนน ค่ารายปี ค่าภาษี และกำหนดระยะเวลาชำระเงิน ส่วนใบแจ้งคำชี้ขาดระบุแต่เพียงการแจ้งรายการทรัพย์สิน เลขสำมะโนครัว ตำบลหรือถนน อำเภอ และชี้ขาดค่ารายปีและค่าภาษีเท่านั้น ใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดจึงไม่ปรากฏเหตุผลตามที่กฎหมายกำหนด
แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 20 จะกำหนดให้ผู้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องกรอกรายการในแบบพิมพ์ซึ่งแสดงทรัพย์สินต่างๆ ที่ระบุถึงลักษณะ ขนาด ประโยชน์ใช้สอยโรงเรือนและที่ดิน และประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพย์สินนั้นตามความเป็นจริงตามความรู้เห็นของตนให้ครบถ้วนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบแจ้งรายการก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงเหล่านั้นเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินกำหนดประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปีแห่งทรัพย์สินและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์จะต้องเสีย โจทก์ย่อมทราบเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น เมื่อใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดไม่ชอบตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 โจทก์ย่อมไม่สามารถทราบเหตุผลในการประเมินและคำชี้ขาดได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) นั้น ชอบแล้ว
การกระทำที่ไม่ชอบในรูปแบบของใบแจ้งรายการประเมินที่ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องจัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบต่อไป ส่วนกระบวนพิจารณาในชั้นพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ย่อมเสียไปทั้งหมด ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาเพิกถอนการประเมินตามใบแจ้งรายการประเมิน และให้คืนเงินภาษีเกินกว่าที่โจทก์มีคำขอจึงไม่ถูกต้อง
แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 20 จะกำหนดให้ผู้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องกรอกรายการในแบบพิมพ์ซึ่งแสดงทรัพย์สินต่างๆ ที่ระบุถึงลักษณะ ขนาด ประโยชน์ใช้สอยโรงเรือนและที่ดิน และประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพย์สินนั้นตามความเป็นจริงตามความรู้เห็นของตนให้ครบถ้วนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบแจ้งรายการก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงเหล่านั้นเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินกำหนดประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปีแห่งทรัพย์สินและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์จะต้องเสีย โจทก์ย่อมทราบเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น เมื่อใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดไม่ชอบตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 โจทก์ย่อมไม่สามารถทราบเหตุผลในการประเมินและคำชี้ขาดได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) นั้น ชอบแล้ว
การกระทำที่ไม่ชอบในรูปแบบของใบแจ้งรายการประเมินที่ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องจัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบต่อไป ส่วนกระบวนพิจารณาในชั้นพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ย่อมเสียไปทั้งหมด ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาเพิกถอนการประเมินตามใบแจ้งรายการประเมิน และให้คืนเงินภาษีเกินกว่าที่โจทก์มีคำขอจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองต้องมีเหตุผล การประเมินภาษีต้องแจ้งเหตุผลชัดเจน
ใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดเป็นคำสั่งทางปกครองตามความหมายในคำนิยามมาตรา 5 ที่ต้องอยู่ในบังคับตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 จะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย เมื่อใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดไม่มีเหตุผลอันประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจของจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมไม่สามารถทราบเหตุผลในการประเมินและคำชี้ขาดได้ รายละเอียดในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นสำหรับให้จำเลยที่ 1 กำหนดประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปีและค่าภาษีที่โจทก์ต้องเสีย โจทก์ย่อมทราบเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น แต่ไม่อาจทราบเหตุผลในการประเมินและคำชี้ขาด ดังนั้นใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของลูกหนี้ร่วมทางละเมิดและการรับประกันภัยรถยนต์ โดยจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์
แม้จะได้ความว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันและไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวทั้งหมด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวนความเสียหายโดยจะแบ่งความรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอกันส่วนในคดีบังคับคดี: ที่ดินที่ตกเป็นของโจทก์จากการซื้อฝาก ไม่ใช่ทรัพย์สินลูกหนี้
จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์จึงตกไปยังโจทก์ ไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ไถ่ที่ดินและบ้านพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยแล้ว โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จัดการให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดไว้ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนที่ดินพิพาทในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ร้องกับจำเลยร่วมกัน แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ร้องกับจำเลยร่วมกัน แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการกันส่วนทรัพย์สิน: ที่ดินขายฝากไม่ใช่ทรัพย์สินลูกหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกไปยังโจทก์ผู้ซื้อไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแต่อย่างใดและโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารเนื่องจากจำเลยไม่ไถ่ที่ดินและบ้านพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารแล้ว โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดไว้ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 287 และมาตรา 289 ในอันที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนที่ดินพิพาทในคดีนี้ได้
แม้ว่าผู้ร้องกับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของผู้ร้องครึ่งหนึ่งด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย กรณีจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องที่แสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องแต่อย่างใด
แม้ว่าผู้ร้องกับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของผู้ร้องครึ่งหนึ่งด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย กรณีจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องที่แสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องแต่อย่างใด