พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาต้องยกประเด็นในชั้นอุทธรณ์ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงถึงที่สุดตามอำนาจศาลอุทธรณ์ และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะในส่วนดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลชั้นต้นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาในทำนองว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องนั้น จึงเป็นการฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะเหตุจำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่: หน้าที่การพิสูจน์ของเจ้าของทรัพย์สินในการป้องกันการกระทำผิด
ผู้ร้องขอให้ริบรถของกลางตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 154 ซึ่งมาตราดังกล่าววรรคท้าย บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านผู้ขอคืนของกลาง ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าผู้คัดค้านไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดและจะมีการนำทรัพย์สินของกลางดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด อีกทั้งผู้คัดค้านได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ศาลจึงจะไม่ริบของกลาง แต่ทางนำสืบของผู้คัดค้านได้ความเพียงว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางดังกล่าวและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่อันเป็นข้อนำสืบตาม ป.อ. มาตรา 36 ซึ่ง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 154 วรรคท้าย มิให้นำมาใช้บังคับ เมื่อผู้คัดค้านไม่สามารถพิสูจน์ข้ออ้างตามพระราชบัญญัติแร่ฯ ดังกล่าวได้ พยานหลักฐานของผู้คัดค้านจึงไม่เพียงพอที่จะให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินของกลางแก่ผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำภาษีชำระเกินยกมาหักลดหย่อนภาษีที่ต้องชำระ การประเมินภาษีที่ไม่ถูกต้อง
เดือนภาษีมกราคม 2540 โจทก์มีภาษีชำระเกินยกมา 3,009,253.77 บาท ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสาม ให้สิทธิโจทก์นำไปชำระภาษีในเดือนถัด ๆ ไปได้จนกว่าจะหมด การที่เจ้าพนักงานประเมินนำภาษีที่ต้องชำระเดือนนี้ 511,661.12 บาท หักออกจากภาษีชำระเกินยกมา แล้วคงเหลือภาษีชำระเกินยกมา 2,497,492.65 บาท เป็นการนำภาษีที่โจทก์ต้องชำระเพิ่มมาหักออกจากภาษีที่ชำระเกินยกมาแล้วยังมีภาษีชำระเกินยกไปใช้ในเดือนถัดไป ดังนั้น โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชำระภาษีเพิ่มเติมและเงินเพิ่ม คงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามการประเมินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11058/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและพรากเด็กเพื่ออนาจาร: พยานหลักฐานของผู้เสียหายมีน้ำหนักกว่าคำเบิกความของจำเลย
จำเลยฎีกาว่า การสอบสวนไม่ชอบเพราะพนักงานสอบสวนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้แสดงไว้โดยชัดแจ้งว่าพนักงานสอบสวนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8867/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามกระทำความผิดฐานพาเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีเพื่ออนาจาร แม้ไม่บรรลุผลก็มีโทษ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายให้ไปร่วมประเวณีกับ อ. แต่พิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่ครบองค์ประกอบความผิด โจทก์อุทธรณ์ จำเลยกล่าวแก้อุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้พูดชักชวนผู้เสียหายให้ไปร่วมหลับนอนด้วย คดีจึงมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยว่าจำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายหรือไม่
จำเลยเพียงแต่พูดชักชวนผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีให้ไปร่วมหลับนอนกับ อ. แล้วจะให้โทรศัพท์เคลื่อนที่และเงินเป็นการตอบแทน โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ส่อแสดงว่าจำเลยใช้อุบายและพูดไม่จริง หรือจะไม่ให้สิ่งของดังกล่าวตอบแทนเมื่อผู้เสียหายตกลง จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวง เป็นการขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสาม ผู้เสียหายถูกจำเลยพูดชักชวน ผู้เสียหายทำทีพยักหน้าแต่ไม่ตกลงด้วย เท่ากับผู้เสียหายไม่ยินยอม การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคสาม เมื่อผู้เสียหายไม่ไปด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว และถือว่าความผิดที่ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิดได้ในตัวเอง ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยเพียงแต่พูดชักชวนผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีให้ไปร่วมหลับนอนกับ อ. แล้วจะให้โทรศัพท์เคลื่อนที่และเงินเป็นการตอบแทน โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ส่อแสดงว่าจำเลยใช้อุบายและพูดไม่จริง หรือจะไม่ให้สิ่งของดังกล่าวตอบแทนเมื่อผู้เสียหายตกลง จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวง เป็นการขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสาม ผู้เสียหายถูกจำเลยพูดชักชวน ผู้เสียหายทำทีพยักหน้าแต่ไม่ตกลงด้วย เท่ากับผู้เสียหายไม่ยินยอม การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคสาม เมื่อผู้เสียหายไม่ไปด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว และถือว่าความผิดที่ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิดได้ในตัวเอง ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8718/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลตามกฎกระทรวง แม้ไม่มีการใช้น้ำจริง โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์การใช้งาน
พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 เป็นกฎหมายพิเศษที่มีเจตนารมณ์ที่จะควบคุมดูแลการขุดเจาะน้ำบาดาลและการระบายน้ำลงบ่อบาดาล ทั้งนี้ เพื่อป้องกันรักษาแหล่งน้ำบาดาลซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้ขาดแคลนหรือเสียหาย อีกทั้งป้องกันการทรุดตัวของแผ่นดินและการก่อให้เกิดมลพิษแก่น้ำบาดาลอันเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชน อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แม้ขณะที่จำเลยขุดเจาะน้ำบาดาลในที่ดินของจำเลย บริเวณพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรียังไม่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตน้ำบาดาล แต่เมื่อต่อมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) กำหนดเขตน้ำบาดาลเพิ่มเติมโดยให้ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเขตน้ำบาดาล และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2538 ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2538 เป็นต้นไป การประกอบกิจการน้ำบาดาลโดยการขุดเจาะน้ำบาดาลหรือใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลทั้งสิบสองบ่อในที่ดินจำเลยที่อยู่ในเขตน้ำบาดาลตามฟ้องจะต้องอยู่ภายใต้ความควบคุมของโจทก์ และจำเลยจะต้องขอรับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตามมาตรา 17 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 และจำเลยจะต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 จึงไม่ได้มีผลย้อนหลังบังคับแก่การขุดเจาะน้ำบาดาลและการใช้น้ำบาดาลของจำเลยก่อนวันที่ 18 มกราคม 2538
ในการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตนั้นโจทก์เรียกเก็บตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) โดยหากผู้รับใบอนุญาตไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำบาดาลก็เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) ข้อ 2 (2) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) ข้อ 3 (2) ที่ไม่อาจคำนวณปริมาณน้ำบาดาลที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้ได้ ซึ่งตามกฎกระทรวงทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตโดยไม่คำนึงว่าจะมีการใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่ เพียงใด เพราะเป็นกรณีที่ไม่สามารถคำนวณการใช้น้ำบาดาลได้ เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ ซึ่งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการใช้น้ำบาดาลจากบ่อของผู้ได้รับใบอนุญาตในที่ดินของผู้รับใบอนุญาตนั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้จริง กฎกระทรวงจึงกำหนดเป็นภาระของผู้ได้รับใบอนุญาตที่จะต้องชำระค่าน้ำบาดาลในปริมาณสูงสุดตามใบอนุญาต โจทก์ไม่มีหน้าที่ภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยได้ใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่
แม้ขณะที่จำเลยขุดเจาะน้ำบาดาลในที่ดินของจำเลย บริเวณพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรียังไม่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตน้ำบาดาล แต่เมื่อต่อมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) กำหนดเขตน้ำบาดาลเพิ่มเติมโดยให้ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเขตน้ำบาดาล และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2538 ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2538 เป็นต้นไป การประกอบกิจการน้ำบาดาลโดยการขุดเจาะน้ำบาดาลหรือใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลทั้งสิบสองบ่อในที่ดินจำเลยที่อยู่ในเขตน้ำบาดาลตามฟ้องจะต้องอยู่ภายใต้ความควบคุมของโจทก์ และจำเลยจะต้องขอรับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตามมาตรา 17 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 และจำเลยจะต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 จึงไม่ได้มีผลย้อนหลังบังคับแก่การขุดเจาะน้ำบาดาลและการใช้น้ำบาดาลของจำเลยก่อนวันที่ 18 มกราคม 2538
ในการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตนั้นโจทก์เรียกเก็บตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) โดยหากผู้รับใบอนุญาตไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำบาดาลก็เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) ข้อ 2 (2) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) ข้อ 3 (2) ที่ไม่อาจคำนวณปริมาณน้ำบาดาลที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้ได้ ซึ่งตามกฎกระทรวงทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตโดยไม่คำนึงว่าจะมีการใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่ เพียงใด เพราะเป็นกรณีที่ไม่สามารถคำนวณการใช้น้ำบาดาลได้ เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ ซึ่งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการใช้น้ำบาดาลจากบ่อของผู้ได้รับใบอนุญาตในที่ดินของผู้รับใบอนุญาตนั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้จริง กฎกระทรวงจึงกำหนดเป็นภาระของผู้ได้รับใบอนุญาตที่จะต้องชำระค่าน้ำบาดาลในปริมาณสูงสุดตามใบอนุญาต โจทก์ไม่มีหน้าที่ภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยได้ใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาเรื่องทำให้เสียทรัพย์ แม้จำเลยอ้างกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่โจทก์อ้างการครอบครองโดยชอบ ศาลต้องไต่สวน
คดีอาญาเรื่องใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาอัตราโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดเป็นสำคัญ เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ก็ถือว่าทุกบทไม่ต้องห้าม
แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้อง แต่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่แท้จริงและได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องจากบิดาตลอดมา โดยจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการครอบครองที่ดินโดยชอบ กรณีเช่นนี้หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน ก็ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิของตน ไม่มีสิทธิหรืออำนาจเข้าไปรบกวนการครอบครองของโจทก์โดยพลการการที่จำเลยได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแล้วทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย จึงอาจมีมูลเป็นความผิดตามฟ้องได้ เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 ที่จะรับไว้ไต่สวนมูลฟ้อง
แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้อง แต่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่แท้จริงและได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องจากบิดาตลอดมา โดยจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการครอบครองที่ดินโดยชอบ กรณีเช่นนี้หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน ก็ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิของตน ไม่มีสิทธิหรืออำนาจเข้าไปรบกวนการครอบครองของโจทก์โดยพลการการที่จำเลยได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแล้วทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย จึงอาจมีมูลเป็นความผิดตามฟ้องได้ เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 ที่จะรับไว้ไต่สวนมูลฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8472/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข ศาลไม่อาจปรับโทษเดิมเมื่อคดีถึงที่สุดหลังกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 และคดีของจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 และศาลฎีกาพิพากษาหลังจาก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ใช้บังคับแล้ว และได้ปรับบทลงโทษและกำหนดโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่แล้ว กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8117/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: ความรับผิดฐานผู้สนับสนุนและขอบเขตการฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนของกลางติดตัวมานั้นเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 2 ตามที่สั่งซื้อไว้ แม้จำเลยที่ 2 จะถูกจับกุมเสียก่อน แต่ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม ป.อ. มาตรา 84 มิใช่ตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามมาตรา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นตัวการไม่ได้เพราะข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง แต่การสั่งซื้อของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6710/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริการตรวจสอบสินค้าในไทยและส่งผลให้ต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการให้บริการที่ใช้ในต่างประเทศ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์อัตราภาษี 0%
งานบริการที่โจทก์รับทำให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศเป็นเพียงงานด้านการตรวจสอบสินค้า ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ผลิตสินค้าในประเทศไทย และการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าในห้องปฏิบัติการมิใช่งานบริการด้านการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานข้อมูลให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมดแต่อย่างใด การที่โจทก์ทราบผลของการตรวจสอบแล้วจัดส่งรายงานดังกล่าวไปให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศพร้อมกับใบแจ้งหนี้ ลักษณะของการให้บริการเช่นนี้เห็นได้ว่า เป็นการให้บริการด้านการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้า หรือการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ผลิตสินค้าของโจทก์ได้ดำเนินการในประเทศไทยถือได้ว่ามีการให้บริการด้านการตรวจสอบในประเทศไทยแล้ว สำหรับการส่งผลการตรวจสอบที่เกิดจากการตรวจวิเคราะห์ของโจทก์ให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศเป็นเพียงรายงานผลการจากการใช้บริการด้านการตรวจสอบของผู้ว่าจ้างในต่างประเทศเท่านั้น มิใช่เป็นการส่งผลของการให้บริการด้านการตรวจสอบนั้นออกไปใช้นอกราชอาณาจักร ส่วนการที่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศจะนำผลการตรวจสอบไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจหรือไม่เป็นเรื่องของการใช้ผลการตรวจสอบซึ่งเป็นขั้นตอนภายหลังจากที่บริการด้านการตรวจสอบของโจทก์ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยผลการตรวจสอบนั้นอาจถูกนำมาใช้ในการพิจารณาสั่งซื้อต่อรองราคา ว่าจ้างผลิต ส่งออกสินค้า และวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าในประเทศไทยในภายหลังได้ กรณีเช่นนี้ย่อมไม่อยู่ในความหมายของถ้อยคำที่ว่าได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภทหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่ทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีพิพาทตามฟ้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 80/1 (2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการตามฟ้องได้ ฉะนั้น ใบแจ้งหนี้ที่โจทก์ออกให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศในกรณีนี้จึงไม่ถือเป็นใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 (1) แห่ง ป.รัษฎากร