พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7100/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยรู้ว่าเป็นยาเสพติด
การที่จำเลยรับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้จาก ส. ด้วยการซุกซ่อนไว้ในเสื้อยกทรงของจำเลยในขณะที่จำเลยกับพวกขับรถผ่านด่านตรวจเพื่อช่วยเหลือ ส. ให้นำเมทแอมเฟตามีนของกลางให้รอดพ้นจากการตรวจค้นของเจ้าพนักงานตำรวจโดยไม่ถูกจับกุม เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้ความสะดวกแก่ ส. ในการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ส. ให้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6792/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ สั่งใช้รถเทศบาลขนทรายส่วนตัว มีความผิด ม.157
การที่จะถือว่าเป็นสาธารณภัยต้องเป็นภัยที่เกิดแก่คนหมู่มากอันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ได้ความว่าบ้านพักของจำเลยซึ่งตั้งอยู่ที่ซอยประชาชื่น 35 มีการยกระดับถนนประชาชื่นสูงกว่าถนนในซอย ทำให้ระดับบ้านของจำเลยมีน้ำท่วมขังในเวลาที่ฝนตกหนัก สาเหตุที่น้ำท่วมบ้านของจำเลยเกิดจากการระบายน้ำในท่อไม่ทัน แต่เมื่อฝนหยุดตก 5 ถึง 6 ชั่วโมง น้ำจึงระบายออกหมด การที่น้ำท่วมบ้านจำเลยดังกล่าวยังไม่ถือว่าเป็นสาธารณภัย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุสาธารณภัยเพื่อให้ตนเองพ้นผิดในการใช้รถยนต์เทศบาลเมืองคูคตขนทรายพิพาทไปใช้โดยขัดต่อระเบียบหาได้ไม่ ทั้งจำเลยนำทรายพิพาทไปคืนหลังเกิดเหตุแล้วถึง 5 เดือน ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่ส่อเจตนาว่า จำเลยนำทรายพิพาทไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลย ไม่ใช่เป็นการยืมทรายพิพาทแล้วนำมาใช้คืนตามที่กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยเป็นการอาศัยอำนาจในตำแหน่งนายกเทศมนตรีสั่งการให้ใช้รถยนต์ของเทศบาลเมืองคูคตขนย้ายทรายพิพาทไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ
สำหรับองค์ประกอบตามความผิด ป.อ. มาตรา 147 และ 151 ผู้กระทำความผิดต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ได้เบียดบังทรัพย์ที่ตนมีหน้าที่ดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตหรือใช้อำนาจในตำแหน่งดังกล่าวโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ พยานโจทก์ที่นำสืบมาไม่ได้เบิกความยืนยันว่า จำเลยมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด อย่างไร เพียงได้ความแต่ว่าจำเลยเป็นนายกเทศมนตรีเมืองคูคต มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย สั่งอนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาลและมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ซื้อหรือจ้างทุกวิธีที่ใช้จ่ายจากเงินรายได้ไม่จำกัดวงเงินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนการจัดซื้อทรายพิพาทได้ความว่าอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของฝ่ายโยธา ในขณะที่การจัดการดูแลรับผิดชอบรถยนต์ของเทศบาลเมืองคูคต เป็นหน้าที่ของงานป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยของเทศบาลเมืองคูคต เห็นได้ว่า จำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องเพียงเป็นผู้อนุมัติเกี่ยวกับงานราชการของเทศบาลเมืองคูคต ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 151 แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาศัยอำนาจในตำแหน่งนายกเทศมนตรีสั่งการให้ใช้รถยนต์ของเทศบาลเมืองคูคตขนทรายพิพาทไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาลเมืองคูคตจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
สำหรับองค์ประกอบตามความผิด ป.อ. มาตรา 147 และ 151 ผู้กระทำความผิดต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ได้เบียดบังทรัพย์ที่ตนมีหน้าที่ดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตหรือใช้อำนาจในตำแหน่งดังกล่าวโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ พยานโจทก์ที่นำสืบมาไม่ได้เบิกความยืนยันว่า จำเลยมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด อย่างไร เพียงได้ความแต่ว่าจำเลยเป็นนายกเทศมนตรีเมืองคูคต มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย สั่งอนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาลและมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ซื้อหรือจ้างทุกวิธีที่ใช้จ่ายจากเงินรายได้ไม่จำกัดวงเงินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนการจัดซื้อทรายพิพาทได้ความว่าอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของฝ่ายโยธา ในขณะที่การจัดการดูแลรับผิดชอบรถยนต์ของเทศบาลเมืองคูคต เป็นหน้าที่ของงานป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยของเทศบาลเมืองคูคต เห็นได้ว่า จำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องเพียงเป็นผู้อนุมัติเกี่ยวกับงานราชการของเทศบาลเมืองคูคต ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และ 151 แต่การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาศัยอำนาจในตำแหน่งนายกเทศมนตรีสั่งการให้ใช้รถยนต์ของเทศบาลเมืองคูคตขนทรายพิพาทไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาลเมืองคูคตจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458-2459/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมขายทอดตลาด และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 98/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "กรณีที่มีการฟ้องคดีผู้ถูกกล่าวหาเป็นคดีอาญาต่อศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดี ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดียึดรายงานและสำนวนคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นหลักในการพิจารณาและอาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ในการดำเนินคดีตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยใช้ระบบไต่สวน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" แสดงว่าจะนำบทบัญญัติมาตราดังกล่าวตามวรรคสองมาใช้บังคับได้ต่อเมื่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ออกระเบียบในเรื่องนี้มาใช้บังคับแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกายังไม่ได้ออกระเบียบการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวน ที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไต่สวนมูลฟ้อง และสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองจนเสร็จและพิพากษาคดีแล้ว โดยที่โจทก์ไม่ได้ยกข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นโต้แย้งคัดค้านศาลชั้นต้นว่าดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ จนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แม้จะกล่าวอ้างว่าศาลดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะส่งเพิกถอนได้ แต่ก็เป็นดุลยพินิจของศาล เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้สั่งเพิกถอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและพิจารณาพิพากษาต่อไป จึงฟังได้ว่าศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกายังไม่ได้ออกระเบียบการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวน ที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไต่สวนมูลฟ้อง และสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองจนเสร็จและพิพากษาคดีแล้ว โดยที่โจทก์ไม่ได้ยกข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นโต้แย้งคัดค้านศาลชั้นต้นว่าดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ จนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แม้จะกล่าวอ้างว่าศาลดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะส่งเพิกถอนได้ แต่ก็เป็นดุลยพินิจของศาล เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมิได้สั่งเพิกถอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและพิจารณาพิพากษาต่อไป จึงฟังได้ว่าศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8001-8002/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมทำร้ายผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่ง แม้ผู้ตายมีส่วนก่อเหตุ
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 บัญญัติว่า "ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้" เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ที่จะช่วยผู้ที่ได้รับความเสียหายในทางแพ่งให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาจะได้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน โดยให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายยื่นคำร้องเข้ามาในคดีอาญา การที่ผู้ตายถูกจำเลยทั้งหกร่วมกันทำร้ายจนถึงแก่ความตาย เป็นความเสียหายเพราะเหตุที่ผู้ตายได้รับอันตรายแก่ชีวิต อันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งหกดังกล่าว พ. มารดาของผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้ แม้จะได้ความว่าผู้ตายมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยโดยสมัครใจวิวาททำร้ายกับฝ่ายจำเลย ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น ไม่ทำให้สิทธิของผู้เสียหายที่จะขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหมดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10517/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดพิมพ์ซองผ้าป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากวัด ถือเป็นเอกสารปลอมและอาจก่อให้เกิดความเสียหาย
จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านขว้าง หรือเป็นกรรมการวัด หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในวัดบ้านขว้างที่จะมีอำนาจจัดทอดผ้าป่าโดยลำพัง การที่จำเลยจัดพิมพ์ซองผ้าป่าซึ่งข้อความบนซองผ้าป่าของกลางเป็นการเชิญชวนให้ร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดบ้านขว้าง ทั้งที่จำเลยไม่มีอำนาจโดยลำพังที่จะจัดทอดผ้าป่าในนามวัดบ้านขว้างโดยพลการเพราะไม่ได้แจ้งหรือขออนุญาตเจ้าอาวาสวัดและไม่ได้ผ่านการประชุมระหว่างไวยาวัจกร กรรมการวัด เจ้าอาวาสวัด ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนรวมทั้งชาวบ้าน ทั้งซองผ้าป่าของกลางที่จัดพิมพ์แจกจ่ายให้ผู้อื่นไม่มีรอยตราของวัดประทับด้านหลังซอง การจัดพิมพ์ซองผ้าป่าดังกล่าวจึงเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ โดยจำเลยไม่มีอำนาจ ลักษณะข้อความตามซองผ้าป่าของกลางระบุชัดเจนว่าเป็นการทอดผ้าป่า ณ วัดบ้านขว้าง ทำให้ประชาชนทั่วไปเชื่อว่าเป็นซองผ้าป่าที่แท้จริงที่จัดทำขึ้นโดยวัดบ้านขว้าง ทั้งที่ความจริงแล้วทางวัดบ้านขว้างมิได้รับรู้ด้วย หากมีการนำซองผ้าป่าดังกล่าวไปใช้โดยไม่สุจริตนำออกเรี่ยไรเงินจากชาวบ้านแล้วไม่นำเงินมาทำบุญที่วัดบ้านขว้างตามที่ระบุในซองผ้าป่า ย่อมเกิดความเสื่อมเสีย หรือเสียชื่อเสียง หรือขาดความเลื่อมใสศรัทธาที่มีต่อวัดบ้านขว้างและพระครู ป. เจ้าอาวาสวัดบ้านขว้าง แม้ผลของการกระทำจะยังไม่ปรากฏความเสียหายแต่พิจารณาพฤติการณ์ประกอบการกระทำของจำเลยที่พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไปในลักษณะเดียวกับจำเลยก็น่าจะเกิดความเสียหายได้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10254/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาละเมิดอำนาจศาล และการกระทำผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษา
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาลจึงอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นมอบหมายให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งรายงานการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทำการไต่สวนพยานและพิพากษาคดีละเมิดอำนาจศาลนั้น ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเป็นผู้กล่าวหาและพิพากษาคดีนี้เองจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเห็นข้อความในเอกสารซึ่งมีข้อความที่แสดงการดูหมิ่น เสียดสี ใส่ร้าย ข่มขู่ผู้พิพากษา น่าจะแจ้งต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบที่มาของเอกสาร แต่ผู้ถูกกล่าวหากลับใช้วิธีนำข้อความดังกล่าวมาเรียงเป็นคำฟ้องและแนบเอกสารดังกล่าวมาท้ายฟ้องของผู้ถูกกล่าวหาโดยไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับคดีที่ฟ้อง อันเป็นการจงใจทำให้เอกสารดังกล่าวปรากฏต่อศาลและบุคคลอื่นและถูกเผยแพร่ออกไปโดยไม่จำเป็น การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเป็นการจงใจดูหมิ่น เสียดสี ใส่ร้าย หรือข่มขู่ผู้พิพากษาด้วยการแนบเอกสารที่มีข้อความดังกล่าวมาท้ายฟ้อง มีเจตนาประพฤติตนไม่เรียบร้อยบริเวณศาลเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเห็นข้อความในเอกสารซึ่งมีข้อความที่แสดงการดูหมิ่น เสียดสี ใส่ร้าย ข่มขู่ผู้พิพากษา น่าจะแจ้งต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบที่มาของเอกสาร แต่ผู้ถูกกล่าวหากลับใช้วิธีนำข้อความดังกล่าวมาเรียงเป็นคำฟ้องและแนบเอกสารดังกล่าวมาท้ายฟ้องของผู้ถูกกล่าวหาโดยไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับคดีที่ฟ้อง อันเป็นการจงใจทำให้เอกสารดังกล่าวปรากฏต่อศาลและบุคคลอื่นและถูกเผยแพร่ออกไปโดยไม่จำเป็น การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเป็นการจงใจดูหมิ่น เสียดสี ใส่ร้าย หรือข่มขู่ผู้พิพากษาด้วยการแนบเอกสารที่มีข้อความดังกล่าวมาท้ายฟ้อง มีเจตนาประพฤติตนไม่เรียบร้อยบริเวณศาลเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, การพิพากษาเกินฟ้อง, และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีทุจริตเงินของทางราชการ
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยและ ว. ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารว่าร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหารต่อศาลยุติธรรม แต่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าคู่ความที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยาน แต่จำเลยไม่ได้ยื่นคำร้อง เป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลยุติธรรมที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ และเมื่อศาลยุติธรรมพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้ว จำเลยย่อมไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้
การนำข้อเท็จจริงที่ไม่ได้กล่าวในฟ้องมาพิพากษาลงโทษจำเลย แม้เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 157 เช่นเดียวกัน ก็ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
การนำข้อเท็จจริงที่ไม่ได้กล่าวในฟ้องมาพิพากษาลงโทษจำเลย แม้เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 157 เช่นเดียวกัน ก็ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15189/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิรูปที่ดินและสภาพป่าสงวน: การเพิกถอนสภาพป่าสงวนต้องเกิดหลังการจัดสรรที่ดิน
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 บัญญัติว่า "เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว (4) ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น..." แม้ปรากฏว่ามี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน และกิ่งอำเภอโพนสวรรค์ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2534 ก็ตาม แต่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติยังคงเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม จนกว่าจะได้มีการส่งมอบพื้นที่ให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อดำเนินการจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดต่อไป หากจะถือว่าการประกาศ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินแปลงใด มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติในทันที ก็จะเป็นการส่งเสริมให้บุคคลใด ๆ บุกรุกเข้ามาทำประโยชน์หรือเข้าครอบครองที่ป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันจะเป็นช่องว่างของกฎหมาย บทบัญญัตินี้จึงมุ่งหมายให้ ส.ป.ก. เข้าไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรกรรมในพื้นที่ป่านั้นและจัดสรรให้ผู้ได้รับอนุญาตก่อน จึงจะถือเป็นการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและที่ดินของรัฐ เมื่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครพนมได้ออกประกาศให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเกิดเหตุหลังจากที่ผู้ร้องถูกดำเนินคดีนี้แล้ว ดังนั้น ในขณะที่ผู้ร้องกระทำความผิดคดีนี้ ผู้ร้องจึงยังไม่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเกิดเหตุ การจัดสรรที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินยังไม่เสร็จสิ้น ที่ดินเกิดเหตุจึงยังมีสภาพเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่ การกระทำของผู้ร้องจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินเกิดเหตุ ก็เป็นเพียงทำให้การครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของผู้ร้องนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีผลเป็นการลบล้างการกระทำความผิดก่อนหน้าที่ผู้ร้องจะได้รับอนุญาต กรณีหาใช่เป็นเรื่องมีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังทำให้การกระทำของผู้ร้องไม่เป็นความผิดต่อไปตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10941/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมูลละเมิด: วันทำละเมิด vs. วันรู้ถึงความเสียหาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง กำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิดไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรก มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สอง มีอายุความสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งหากเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งก็ถือว่าสิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิดเป็นอันขาดอายุความ คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสิบแปดซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์กระทำละเมิด ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของโจทก์ว่าด้วยเงินกู้พิเศษ โดยอนุมัติให้เงินกู้พิเศษแก่ ส. เพื่อซื้อรถยนต์โดยไม่ได้ให้ ส. ส่งมอบทะเบียนรถยนต์ให้โจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อ ส. จะต้องส่งมอบทะเบียนรถยนต์แก่โจทก์ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2540 และมูลละเมิดของจำเลยทั้งสิบแปดเกิดจากไม่ดำเนินการหรือละเลยไม่กวดขันให้พนักงานสหกรณ์โจทก์ติดตามทวงถาม ส. ให้ส่งมอบทะเบียนรถยนต์ตามระเบียบของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2540 ดังนั้น วันทำละเมิดย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหายนั้น ย่อมเกิดอย่างช้าที่สุดในวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 จึงล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิดแล้วฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10514-10515/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นพ้นวิสัยจากเหตุโบราณสถาน สิทธิเรียกร้องค่าเช่าคืน
จำเลยร่วมถูกหมายเรียกเข้ามาในคดีตามคำร้องของจำเลยที่ 1 โดยศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 1 อาจฟ้องจำเลยร่วมเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนอันเป็นกรณีร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ซึ่งตามมาตรา 58 ให้ผู้ร้องสอดที่ได้เข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (3) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่และอาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดง อาจอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และอาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ ก็หาหมดสิทธิที่จะขอศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี ทั้งจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอมาถูกต้องในระหว่างพิจารณาคดี จำเลยร่วมจึงมีสิทธิเข้ามาเป็นคู่ความได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว
สัญญาเช่า ข้อ 4 มีข้อตกลงว่า การเช่าทรัพย์ตามสัญญานี้มีวัตถุประสงค์จะพัฒนาสถานที่เช่าโดยดำเนินการให้ผู้เช่าเดิมขนย้ายออกแล้วรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างเดิมเพื่อนำมาก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างใหม่ให้ยกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าและผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจเฉพาะเพื่อการพาณิชย์ หรือที่อยู่อาศัยโดยการให้เช่าช่วงแก่ลูกค้าผู้เช่า และกำหนดเวลาเริ่มลงมือก่อสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างภายใน 600 วัน และต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี นับแต่วันทำสัญญา และตามสัญญาเช่าข้อ 1 กำหนดคำนิยาม คำว่า "อาคารและสิ่งปลูกสร้าง" หมายถึง อาคารเพื่อการพาณิชย์และหรือที่อยู่อาศัยที่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกซึ่งจะก่อสร้างขึ้นตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในแบบแปลน และรายละเอียดประกอบแบบแปลนเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าบนทรัพย์สินที่เช่าทั้งสองบริเวณ ซึ่งประกอบด้วยอาคารที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 65,900 ตารางเมตร เจตนาของคู่สัญญาในการทำสัญญาเช่าดังกล่าว ตกลงกันให้มีการรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างเดิมเพื่อนำมาก่อสร้างอาคารใหม่ ตามแบบแปลนเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าโดยมีการกำหนดเวลาเริ่มลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จ อันเป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แต่ต่อมาภายหลังจากทำสัญญาเช่าแล้ว กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่เช่าบริเวณที่หนึ่งเป็นโบราณสถาน เป็นเหตุให้ไม่สามารถรื้อถอนอาคารเดิมเพื่อทำการก่อสร้างอาคารใหม่ตามสัญญาเช่าได้ การที่โจทก์ไม่สามารถเริ่มลงมือก่อสร้างได้ภายในระยะเวลา 600 วัน ตามสัญญาจึงสืบเนื่องมาจากพื้นที่เช่าบริเวณที่หนึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถาน ทำให้ไม่สามารถรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างเดิมและก่อสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างใหม่ตามแบบแปลนเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าได้ การรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างเดิมและก่อสร้างอาคารใหม่ของโจทก์ เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาเช่าย่อมเป็นไปไม่ได้ ถือได้ว่าการชำระหนี้โดยการปฏิบัติตามสัญญากลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายได้ แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญามีหน้าที่จะต้องชำระหนี้ตอบแทนกัน แม้จำเลยที่ 1 จะหลุดพ้นจากการชำระหนี้ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็หามีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 372 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาค่าตอบแทนการเช่า 120,000,000 บาท ที่ชำระไปแล้วในวันทำสัญญาคืนจากจำเลยที่ 1
สัญญาเช่า ข้อ 4 มีข้อตกลงว่า การเช่าทรัพย์ตามสัญญานี้มีวัตถุประสงค์จะพัฒนาสถานที่เช่าโดยดำเนินการให้ผู้เช่าเดิมขนย้ายออกแล้วรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างเดิมเพื่อนำมาก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างใหม่ให้ยกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าและผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจเฉพาะเพื่อการพาณิชย์ หรือที่อยู่อาศัยโดยการให้เช่าช่วงแก่ลูกค้าผู้เช่า และกำหนดเวลาเริ่มลงมือก่อสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างภายใน 600 วัน และต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี นับแต่วันทำสัญญา และตามสัญญาเช่าข้อ 1 กำหนดคำนิยาม คำว่า "อาคารและสิ่งปลูกสร้าง" หมายถึง อาคารเพื่อการพาณิชย์และหรือที่อยู่อาศัยที่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกซึ่งจะก่อสร้างขึ้นตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในแบบแปลน และรายละเอียดประกอบแบบแปลนเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าบนทรัพย์สินที่เช่าทั้งสองบริเวณ ซึ่งประกอบด้วยอาคารที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 65,900 ตารางเมตร เจตนาของคู่สัญญาในการทำสัญญาเช่าดังกล่าว ตกลงกันให้มีการรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างเดิมเพื่อนำมาก่อสร้างอาคารใหม่ ตามแบบแปลนเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าโดยมีการกำหนดเวลาเริ่มลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จ อันเป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แต่ต่อมาภายหลังจากทำสัญญาเช่าแล้ว กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่เช่าบริเวณที่หนึ่งเป็นโบราณสถาน เป็นเหตุให้ไม่สามารถรื้อถอนอาคารเดิมเพื่อทำการก่อสร้างอาคารใหม่ตามสัญญาเช่าได้ การที่โจทก์ไม่สามารถเริ่มลงมือก่อสร้างได้ภายในระยะเวลา 600 วัน ตามสัญญาจึงสืบเนื่องมาจากพื้นที่เช่าบริเวณที่หนึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถาน ทำให้ไม่สามารถรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างเดิมและก่อสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างใหม่ตามแบบแปลนเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าได้ การรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างเดิมและก่อสร้างอาคารใหม่ของโจทก์ เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาเช่าย่อมเป็นไปไม่ได้ ถือได้ว่าการชำระหนี้โดยการปฏิบัติตามสัญญากลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายได้ แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญามีหน้าที่จะต้องชำระหนี้ตอบแทนกัน แม้จำเลยที่ 1 จะหลุดพ้นจากการชำระหนี้ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็หามีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 372 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาค่าตอบแทนการเช่า 120,000,000 บาท ที่ชำระไปแล้วในวันทำสัญญาคืนจากจำเลยที่ 1