คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 112 จัตวา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระอากรและเงินเพิ่มหลังเพิกสิทธิส่งเสริมการลงทุน จำเลยต้องชำระตามกฎหมายศุลกากร
กรณีของจำเลยไม่อาจบังคับตามมาตรา 54 วรรคสอง และมาตรา 55 วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 เพราะคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมิได้มีคำเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขตามมาตรา 54 วรรคสอง แต่คณะกรรมการใช้อำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์แก่จำเลย ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง และได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีอากรและภาษีอากรเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 55 วรรคสาม แต่จำเลยมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จัตวา ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์คิดเงินเพิ่มจากจำเลยเกินเงินภาษีอากร เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55 วรรคสี่นั้น จำเลยมิได้กล่าวอ้างความข้อนี้มาในคำให้การ ทั้งยังเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย เพราะศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยต้องชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาหาใช่ต้องชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 55 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่ม: หนี้เก่ากว่าปลดเปลื้องก่อน แม้ธนาคารค้ำประกันชำระเกิน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา บัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าภาษีอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระนั้น เห็นว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิใช่ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 โจทก์จึงจะนำเงินที่ธนาคารค้ำประกันมาหักชำระเงินเพิ่มค่าภาษีอากรก่อนไม่ได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ดังนี้หนี้ค่าภาษีอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและการชำระเงินเพิ่ม: ใช้กฎหมายในขณะนำเข้าและชำระภาษี
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงราคาสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินราคาสินค้าของจำเลยเพิ่มขึ้นเช่นนี้ การชำระเงินเพิ่มภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ต้องนำบทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรมาบังคับ มิใช่บทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานประเมินให้ชำระ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้นำของเข้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ค้างชำระและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยให้เสียเงินเพิ่มดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเรียกเงินเพิ่มในลักษณะเช่นนี้จากจำเลยอีกดังนั้น ถึงแม้ว่าเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลนับถึงวันฟ้องจะยังไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์จนครบจำนวนภาษีที่ค้างชำระอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บภาษีอากรและการมีส่วนร่วมของบุคคลภายนอกในคดีภาษี โดยศาลมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดแม้ไม่มีการฎีกา
โจทก์ฟ้องเรียกภาษีอากรจากจำเลยผู้นำของเข้า จำเลยต่อสู้ว่าสินค้ารายพิพาทบริษัท ส. สั่งจากประเทศญี่ปุ่นไม่ตรงตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี อนุมัติ ต่อมาคณะกรรมการ ดังกล่าวได้มีมติกลับมติเดิมให้เรียกเก็บภาษีอากรรายนี้ ก็หาใช่เป็นเหตุโดยตรงให้จำเลยถูกฟ้องเรียกภาษีอากรเป็นคดีนี้ไม่ เพราะจำเลยเป็นผู้นำเข้าสินค้าบริษัท ส. ก็ดี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรีก็ดีไม่ได้มีส่วนในการนำเข้าสินค้ารายพิพาท จำเลยไม่อาจฟ้องบริษัท ส. หรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือถูกฟ้องไล่เบี้ยอันเนื่องมาจากการเสียภาษีอากรของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจขอให้ศาลเรียกบริษัท ส. หรือสำนักนายกรัฐมนตรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มมากไปกว่าที่จำเลยต้องชำระก็ดี หรือให้เสียดอกเบี้ยโดยที่จำเลยไม่มีความรับผิดตามกฎหมายที่ต้องเสียก็ดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีอากรขาเข้าและเงินวางประกันค่าอากรเพิ่ม กรณีส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ และการประเมินราคาภาษี
โจทก์ได้เสียภาษีอากรสำหรับสินค้าปลากระป๋องเที่ยวที่ 8 ตามใบขนสินค้าขาเข้า คืออากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล รวม 227,046.41 บาท ให้กรมศุลกากรจำเลยไว้แล้วสินค้าปลากระป๋องเที่ยวนี้โจทก์ได้ส่งกลับออกไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ทั้งหมดและได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวจากจำเลยแล้วซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องคืนเงินอากรขาเข้าให้แก่โจทก์เก้าในสิบส่วนหรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจำนวนที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 18 และคืนภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราส่วนเช่นเดียวกับการคืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 78 นว แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 มาตรา 11 ฉะนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีการค้าให้โจทก์ 224,670.94 บาท จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ต้องชำระภาษีการที่จำเลยเรียกเก็บเพิ่มจากโจทก์สำหรับสินค้าปลากระป๋องทั้ง 8 เที่ยวให้จำเลยเสียก่อนจึงจะคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์ตามมาตรา 112 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 หาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องให้อำนาจอธิบดีกักของไว้จนกว่าจะได้รับชำระเงินอากรที่ค้างครบถ้วนเป็นคนละเรื่องกัน และจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่โจทก์ขอคืนและจำเลยไม่คืนให้ซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ผิดนัด
โจทก์วางเงินประกันค่าอากรเพิ่มสำหรับสินค้าเที่ยวที่ 8 ไว้คุ้มค่าอากรที่จำเลยประเมินเพิ่ม จำเลยจึงเรียกเก็บเงินประกันค่าอากรเพิ่มเป็นค่าอากรตามที่ประเมินไว้ได้ทันทีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ทวิ ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 แต่เมื่อเงินประกันค่าอากรเพิ่มที่จำเลยเรียกไว้เกินจำนวนที่โจทก์ต้องเสียเพิ่ม จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 0.625 บาทต่อเดือน ตามมาตรา 112จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีอากรขาเข้าและเงินวางประกันกรณีส่งออกสินค้าคืน และการประเมินราคาภาษีอากรเพิ่มเติม
โจทก์ได้เสียภาษีอากรสำหรับสินค้าปลากระป๋องเที่ยวที่ 8 ตามใบขนสินค้าขาเข้า คืออากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล รวม 227,046.41 บาท ให้กรมศุลกากรจำเลยไว้แล้ว สินค้าปลากระป๋องเที่ยวนี้โจทก์ได้ส่งกลับออกไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ทั้งหมดและได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวจากจำเลยแล้วซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องคืนเงินอากรขาเข้าให้แก่โจทก์เก้าในสิบส่วน หรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจำนวนที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 18 และคืนภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาล ตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราส่วนเช่นเดียวกับการคืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 78 น.ว. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 มาตรา 11 ฉะนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีการให้โจทก์ 224,670.94 บาท จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ต้องชำระภาษีการที่จำเลยเรียกเก็บเพิ่มจากโจทก์สำหรับสินค้าปลากระป๋องทั้ง 8 เที่ยวให้จำเลยเสียก่อนจึงจะคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์ตามมาตรา 112 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 หาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องให้อำนาจอธิบดีกักของไว้จนกว่าจะได้รับชำระเงินอากรที่ค้างครบถ้วนและเป็นคนละเรื่องกัน และจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อไปนับแต่วันที่โจทก์ขอคืนและจำเลยไม่คืนให้ซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ผิดนัด
โจทก์วางเงินประกันค่าอากรเพิ่มสำหรับสินค้าเที่ยวที่ 8 ไว้คุ้มค่าอากรที่จำเลยประเมินเพิ่ม จำเลยจึงเรียกเก็บเงินประกันค่าอากรเพิ่มเป็นค่าอากรตามที่ประเมินไว้ได้ทันทีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ทวิ ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 แต่เมื่อเงินประกันค่าอากรเพิ่มที่จำเลยเรียกไว้เกินจำนวนที่โจทก์ต้องเสียเพิ่ม จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 0.625 บาทต่อเดือน ตามมาตรา 112 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
of 4