พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อ: การจอดรถกีดขวางทางรถไฟ และความประมาทของผู้ขับรถไฟ
การที่จำเลยที่2นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่าเมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนก้นพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา57(8)จึงบัญญัติว่าห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า15เมตรแต่จำเลยที่2มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่นเมื่อจำเลยที่2นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ2เมตรหรือ1เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นผู้ผิดกรณีฟังได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์แล้วและเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223วรรคหนึ่ง,438วรรคหนึ่งและ442ปรากฎว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ15กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าค้นอื่นพนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไปส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ20เมตรเมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ10เมตรเห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้นซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้วปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว15กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ50เมตรในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ3ปีก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำและพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา18นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นการที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้าแสดงว่าการที่จำเลยที่2นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อยจำเลยที่2มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าเพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับเป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่าในส่วนของความประมาทเลินเล่อของศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: การประมาทเลินเล่อของทั้งคนขับรถบรรทุกและพนักงานขับรถไฟ
การที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกไปจอดใกล้กับทางรถไฟแม้จะอยู่ในบริเวณลานจอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทย วิญญูชนย่อมจะต้องคาดหมายว่า เมื่อรถไฟแล่นมาตามรางจะต้องมีระยะที่ปลอดจากสิ่งกีดขวางพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 57 (8) จึงบัญญัติว่า ห้ามมิให้จอดรถห่างจากทางรถไฟน้อยกว่า 15 เมตรแต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อปกป้องบุคคลอื่น เมื่อจำเลยที่ 2 นำรถไปจอดในที่เกิดเหตุไม่ว่าจะเป็นระยะ 2 เมตร หรือ 1 เมตรก็เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ผิด กรณีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว และเป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา 425ส่วนจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา223 วรรคหนึ่ง, 438 วรรคหนึ่ง และ 442 ปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุพนักงานขับรถไฟขับรถไฟมาด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เมื่อแล่นพ้นทางโค้งเห็นบริเวณที่จอดรถของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีรถยนต์บรรทุกจอดอยู่หลายคันแต่มีรถยนต์คันที่เกิดเหตุจอดอยู่ใกล้ทางรถไฟมากกว่าคันอื่น พนักงานขับรถไฟคงขับรถไฟด้วยความเร็วเท่าเดิมต่อไป ส่วนช่างเครื่องที่ไปด้วยก็เห็นรถยนต์จอดในระยะประมาณ 20 เมตร เมื่อเข้าไปใกล้ในระยะประมาณ 10 เมตร เห็นว่าไม่อาจขับรถผ่านไปได้โดยไม่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน ช่างเครื่องได้ร้องบอกแก่พนักงานขับรถไฟพนักงานขับรถไฟจึงเปิดหวีดอันตรายพร้อมกับปิดคันบังคับการและลงห้ามล้อฉุกเฉินแต่ไม่อาจหยุดรถไฟได้ทันทีจึงเกิดเหตุขึ้น ซึ่งในภาวะเช่นนั้นพนักงานขับรถไฟย่อมจะต้องคาดหมายได้ว่าอาจจะเกิดการเฉี่ยวชนกับรถยนต์บรรทุกที่จอดอยู่อย่างผิดปกติตั้งแต่เมื่อขับรถไฟผ่านโค้งมาแล้ว ปกติรถไฟที่ใช้ความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมีระยะเบรกที่สามารถหยุดรถได้ประมาณ 50 เมตร ในวิสัยของผู้มีหน้าที่ขับรถไฟอยู่ในเส้นทางดังกล่าวมาประมาณ 3 ปี ก่อนเกิดเหตุเช่นพนักงานขับรถไฟที่เกิดเหตุย่อมจะต้องทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกแล่นเข้าออกอยู่เป็นประจำ และพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุก็เป็นเวลา 18 นาฬิกาเศษน่าจะต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น การที่พนักงานขับรถไฟขับรถไฟในอัตราความเร็วเท่าเดิมจนถึงระยะที่ไม่อาจหยุดรถก่อนจะถึงที่เกิดเหตุได้ ถือว่าพนักงานขับรถไฟมีความประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามความเสียหายที่ด้านซ้ายของรถไฟมีเพียงเล็กน้อยที่ตะแกรงหน้า แสดงว่าการที่จำเลยที่ 2 นำรถไปจอดนั้นมิใช่อยู่ในลักษณะที่กีดขวางทางรถไฟอย่างชัดแจ้งจะคาดหวังให้พนักงานขับรถไฟต้องดำเนินการตามขั้นตอนการหยุดรถตั้งแต่แรกเห็นย่อมจะไม่ได้ พนักงานขับรถไฟจึงมีเพียงเล็กน้อย จำเลยที่ 2 มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่า เพราะรถไฟแล่นมาตามรางซึ่งเป็นทางบังคับ เป็นหน้าที่ของผู้นำรถบรรทุกไปจอดจะต้องระมัดระวังกว่า ในส่วนของความประมาทเลินเล่อศาลฎีกาให้จำเลยทั้งสองรับผิดสองในสามส่วนของความเสียหายทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์พจนานุกรม: ศาลกำหนดค่าเสียหายจากการลอกเลียนแบบและจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 30 และข้อ 29 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้บัญญัติให้โจทก์เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงใด มีฐานะเป็นกรมและให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลจำพวกทบวงการเมืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 72(เดิม) และ 73(เดิม) ส.นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20(2) ประกอบมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติราชบัณฑิตสถานพ.ศ. 2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้นตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75(เดิม) โจทก์โดยบ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นข้อที่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ได้ให้บทนิยามคำว่า "ผู้สร้างสรรค์" ไว้ว่า ผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยความคิดริเริ่มของตนเองซึ่งมีความหมายว่า การจะเป็นผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์นั้น ความสำคัญมิได้อยู่ที่ว่างานที่อ้างว่าได้สร้างสรรค์ขึ้นเป็นงานใหม่หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าบุคคลผู้นั้นได้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์และงานดังกล่าวมีที่มาหรือต้นกำเนิดจากบุคคลผู้นั้นโดยบุคคลผู้นั้นมิได้คัดลอกหรือทำซ้ำ หรือดัดแปลงมาจากงานอันมีลิขสิทธิ์อื่น ดังนั้น แม้การจัดทำพจนานุกรมจะมีวิธีจัดทำแบบเดียวกับวิธีที่ใช้มาแต่โบราณ โจทก์ก็อาจเป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมนั้นได้ หากการจัดทำพจนานุกรมของโจทก์เป็นงานที่ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์ด้วยการให้บทนิยามหรือความหมายของคำต่าง ๆ พร้อมภาพประกอบความหมายของคำบางคำโดยการแสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มตามลีลาของโจทก์เองและโดยมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต งานจัดทำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เป็นงานที่โจทก์ได้ทำขึ้นโดยใช้ความอุตสาหะวิริยะในการสร้างสรรค์และมีที่มาจากโจทก์เอง ถือว่าโจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานโดยความคิดริเริ่มของตนเอง และเป็น "ผู้สร้างสรรค์" ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 4 แม้โจทก์จะได้จัดทำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีและคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่โจทก์เป็นส่วนราชการมีฐานะเทียบเท่ากรม โจทก์ย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นในความควบคุมของตนตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 12 เมื่อข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเรื่องที่มิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำและบทนิยามในพจนานุกรมของจำเลยซ้ำกับคำและบทนิยามในพจนานุกรมของโจทก์ในลักษณะลอกมาทุกตัวอักษรประมาณ 14,000 คำ และดัดแปลงโดยสลับที่บทนิยามบ้าง เปลี่ยนตัวอย่างใหม่หรือตัดออกบ้างเพิ่มเติมหรือตัดข้อความในบทนิยามของโจทก์ออกบ้าง ประมาณ19,000 คำ ส่วนการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพประกอบบทนิยามในพจนานุกรมของโจทก์มีประมาณ 130 ภาพ การจัดทำรูปเล่มและการพิมพ์ข้อความที่ปกนอกและปกในของพจนานุกรมทั้งสองล้วนมีลักษณะลอกเลียนแบบกันแตกต่างกันแต่เพียงสี และก่อนฟ้องคดีจำเลยที่ 5 ในฐานะกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือถึงโจทก์ยอมรับผิดในการละเมิดทั้งปวง ดังนี้ พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ที่จำเลยที่ 1 เป็นประธานคณะผู้จัดทำและจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 5พิมพ์ออกจำหน่าย จึงได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ของโจทก์อันเป็นงานวรรณกรรมและงานศิลปกรรมรวมอยู่ด้วย ด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดงานขึ้นใหม่และโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ การละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ถือเป็นการละเมิดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดค่าเสียหายดังกล่าวศาลอาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 438 วรรคแรก ค่าเสียหายที่โจทก์อ้างว่าจำเลยลวงขายพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 โดยทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นพจนานุกรมของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายทางการค้าคิดเป็นเงิน1,000,000 บาท นั้น แม้จะฟังว่าจำเลยได้ลวงขายดังกล่าว แต่โจทก์เป็นส่วนราชการ ซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า ย่อมมิใช่ผู้ต้องเสียหายเพราะการลวงขายนั้น ประชาชนที่ถูกหลอกลวงเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหายมิใช่โจทก์ ทั้งความเสียหายเพราะการลวงขายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็มิได้ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดได้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ โจทก์มิได้ลงทุนพิมพ์และจำหน่ายหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เอง แต่โจทก์อนุญาตให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.เป็นผู้จัดพิมพ์และจำหน่าย โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตกลงให้ค่าแห่งลิขสิทธิ์แก่โจทก์เป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาจำหน่ายต่อเล่มตามที่กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ เงินที่ได้จากการจำหน่ายหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ทั้งหมดมิได้ตกเป็นของโจทก์ แม้จะฟังว่าเหตุที่หนังสือพจนานุกรมดังกล่าวยังเหลือค้างจำหน่ายอยู่อีกประมาณ 10,000 เล่ม เป็นเพราะหนังสือพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ของจำเลยได้แย่งส่วนแบ่งการตลาดของหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 ไป โจทก์ก็มิใช่ผู้ต้องเสียหายเพราะเหตุนั้น จึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อลิขสิทธิ์ของโจทก์แต่ไม่ปรากฏว่าภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยยังคงพิมพ์หนังสือพจนานุกรมของจำเลยโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ต่อไปจึงไม่มีค่าเสียหายในอนาคตที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์อันพึงได้จากการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมของโจทก์ที่ศาลจะกำหนดให้ได้อีก ในพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนคำนำในฐานะประธานคณะผู้จัดทำและคำนำฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ระบุชัดแจ้งว่า คณะผู้จัดทำเป็นผู้ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องจากการพิมพ์ครั้งที่ 1ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำพจนานุกรมดังกล่าว และต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมของโจทก์จากรายงานของเจ้าหน้าที่โจทก์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม2531 โจทก์จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาปัญหาลิขสิทธิ์และอื่น ๆ เกี่ยวกับพจนานุกรมของจำเลย เมื่อวันที่ 27กรกฎาคม 2531 และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2532ยังไม่พ้นกำหนดสามปีตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ให้การในข้อนี้ไว้แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ การที่ศาลจะมีคำสั่งให้บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นคดีแพ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้บรรดาสิ่งของดังกล่าวตกเป็นของโจทก์และให้จำเลยส่งมอบแก่โจทก์ได้ ที่มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521บัญญัติว่า "ในกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการ ทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย"นั้น เป็นบทบัญญัติที่อยู่ในหมวด 7 บทกำหนดโทษของพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งใช้บังคับได้เฉพาะแก่คดีอาญาไม่อาจนำมาปรับใช้แก่คดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งได้ เมื่อพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในพจนานุกรมของโจทก์ และจำเลยที่ 5มิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้มีส่วนในการจัดทำพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 5ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ประธานคณะผู้จัดทำ และจำเลยที่ 2จัดทำพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถบรรทุก: ศาลแก้ให้ชดใช้ค่าซ่อมจริงตามความเสียหายที่เกิดขึ้น
ทรัพย์สินของโจทก์ที่ถูกละเมิดเป็นรถยนต์บรรทุกช่วยรบขนาด 1.1 ตัน รุ่นยูนีมอกยี่ห้อเมอร์ซีเดส เบนซ์ สำหรับใช้ปฏิบัติการในการช่วยรบที่โจทก์เพิ่งซื้อมาใหม่เป็นพิเศษจากประเทศเยอรมันตะวันตกในราคา1,600,000บาทบริษัทธ.ได้ตรวจสอบความเสียหาย ปรากฏว่ารถได้รับความเสียหายรวม 52 รายการต้องใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ต้องสั่งจากประเทศเยอรมันตะวันตกโดยตรงเท่านั้น เมื่อรวมค่าขนส่งทางทะเลและค่าภาษีนำเข้าแล้วเป็นเงิน1,773,800 บาท และค่าแรงอีก 120,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น1,893,800 บาท จึงถือได้ว่าโจทก์เสียหายเป็นเงิน 1,893,800 บาทการที่โจทก์ขอค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมจำนวนดังกล่าว จึงเป็นค่าเสียหายที่ตรงต่อความจริงและโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4192/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดในความเสียหายต่อเรือ และการกำหนดค่าเสียหายจากละเมิด
โจทก์ที่ 1 ขายเรือต่อให้โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2 ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ที่ 2จำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือบรรทุกน้ำมันของจำเลยที่ 1 โดยประมาทชนเรือของโจทก์ที่ 1 เสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ และถูกคนร้ายลากจูงไป การที่โจทก์ที่ 1 จะต้องไปหาซื้อเรือต่อลำอื่นที่มีสภาพใกล้เคียงกับเรือต่อลำเกิดเหตุมาจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ที่ 2 ในราคาที่สูงกว่าราคาค่าเสียหายที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้แก่โจทก์ที่ 1 นั้น เป็นเรื่องที่ไกลกว่าเหตุ นอกเหนือความรับผิดของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนั้น
ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ที่ 2 ไม่ได้ใช้เรือต่อลำเกิดเหตุเป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 วรรคแรก อย่างหนึ่งดังนั้น ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ที่ 2 ไม่ได้ใช้เรือต่อลำเกิดเหตุเป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 วรรคแรก อย่างหนึ่งดังนั้น ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4192/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางเรือ: ศาลยืนตามราคาเรือและค่าขาดประโยชน์ที่เหมาะสมตามพฤติการณ์
โจทก์ที่ 1 ขายเรือต่อให้โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือบรรทุกน้ำมันของจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือบรรทุกน้ำมันของจำเลยที่ 1 โดยประมาทชนเรือของโจทก์ที่ 1 เสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ และถูกคนร้ายลากจูงไป การที่โจทก์ที่ 1 จะต้องไปหาซื้อเรือต่อลำอื่นที่มีสภาพใกล้เคียงกับเรือต่อลำเกิดเหตุมาจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ที่ 2 ในราคาที่สูงกว่าราคาค่าเสียหายที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้แก่โจทก์ที่ 1 นั้น เป็นเรื่องที่ไกลกว่าเหตุนอกเหนือความรับผิดของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายส่วนนั้น ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ที่ 2 ไม่ได้ใช้เรือต่อลำเกิดเหตุเป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรคแรก อย่างหนึ่งดังนั้น ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด