คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1378

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4784/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินจากการมอบให้ การสละเจตนาครอบครอง และการครอบครองปรปักษ์
เจ้ามรดกยกที่ดิน ส.ค.1 ให้แก่ จ. บุตรสาว โดยโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นทายาทไม่ได้ติดตามทวงถามให้ จ. แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนแต่กลับปล่อยให้ จ. ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเวลากว่า 30 ปีถือได้ว่า จ. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวเพียงผู้เดียวเมื่อ จ. ได้มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองโดยจำเลยทั้งสองตกลงจ่ายเงินให้แสดงว่า จ. ได้เจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองตั้งแต่วันทำสัญญาแล้ว การครอบครองของ จ.ย่อมสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยทั้งสองยึดถือที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตลอดมาจนถึงปัจจุบัน จึงมีสิทธิครอบครองทันทีที่ จ.สละสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองปรปักษ์และหลักฐานการซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์
บิดาโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ใช้เชือกวัดและปักหลักเขตที่ดินพิพาทให้ทั้งสี่มุมตั้งแต่ในวันตกลงซื้อขายบิดาโจทก์ได้ล้อมรั้วและปรับที่ดินพิพาทพร้อมที่จะปลูกบ้านอยู่อาศัยได้เป็นเวลานานหลายปีมาแล้วจำเลยไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ต่อมาบิดาโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์จึงได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในห้องแถวบนป่าสงวน: สัญญาเช่าผูกพันแม้ราษฎรยึดครองโดยมิชอบ สิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่า
แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างห้องแถวพิพาทบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยก็มีสิทธิยึดถือและใช้สอยห้องแถวพิพาท กับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับห้องแถวพิพาทโดยมิชอบ รวมทั้งมีสิทธิที่จะจำหน่ายห้องแถวพิพาทในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของ เมื่อโจทก์ได้ซื้อห้องแถวพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ยอมรับสิทธิของโจทก์โดยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์ สัญญาเช่าจึงใช้บังคับได้มีผลผูกพันจำเลยเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในห้องแถวบนที่ดินป่าสงวน: สิทธิระหว่างเอกชนย่อมมีผลผูกพัน แม้ที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ
แม้ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองหรืออยู่อาศัยไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้แต่ในระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันเมื่อจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างห้องแถวพิพาทบนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยก็มีสิทธิยึดถือและใช้สอยห้องแถวพิพาท กับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับห้องแถวพิพาทโดยมิชอบ รวมทั้งมีสิทธิที่จะจำหน่ายห้องแถวพิพาทในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของเมื่อโจทก์ได้ซื้อห้องแถวพิพาทจากจำเลย และจำเลยได้ยอม รับสิทธิของโจทก์โดยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าห้องแถวพิพาท จากโจทก์ สัญญาเช่าจึงใช้บังคับได้มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกเลิก สัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ทั้งสองออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดิน ส.ค.1 โดยการส่งมอบการครอบครองสมบูรณ์ ทำให้ข้อกำหนดพินัยกรรมเดิมเพิกถอนได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน ส.ค.1 เมื่อยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จึงไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้แก่กันได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้นการโอนไปซึ่งการครอบครองนั้นย่อมทำได้โดยส่งมอบ เมื่อ อ.ส่งมอบการครอบครองให้แก่ห.ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนโจทก์ การยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ถือได้ว่า ก. ผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทที่ ก.ทำไว้แต่เดิมเพื่อยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยนั้น เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน การครอบครองแทนผู้ชนะคดี และอำนาจฟ้องจากการมอบอำนาจ
บุตรและภรรยาของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างที่โจทก์ดำเนินคดีอาญากล่าวหาว่า จำเลยบุกรุกครอบครองที่พิพาทของโจทก์ก็ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 เพราะเป็นเพียงการครอบครองแทนผู้ชนะคดี เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ยังไม่เกิน 1 ปีจำเลยที่ 1 จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อหนังสือมอบอำนาจของ ก. ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ก.มอบอำนาจให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจจัดการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือได้ว่า ก. ได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ 1378.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนขายฝากและการได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง แม้ไม่มีการจดทะเบียน
ผู้ร้องได้ไถ่ถอนการขายฝากและรับมอบสิทธิการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยภายในกำหนดแล้ว แม้จะไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝาก ผู้ร้องก็ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378,1379 จำเลยไม่ใช่เจ้าของที่พิพาทอีกต่อไป ต้องปล่อยที่พิพาทที่ยึดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนการขายฝากและการครอบครองปรปักษ์ แม้ไม่มีการจดทะเบียนก็มีผลทางกฎหมาย
ผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ไถ่ถอนการขายฝากที่พิพาทซึ่งมี น.ส.3และรับมอบสิทธิการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยแล้ว แม้จะไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝาก ผู้ร้องก็ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378,1379 จำเลยไม่ใช่เจ้าของที่พิพาทที่โจทก์จะนำยึดเพื่อขายทอดตลาดได้อีกต่อไปต้องปล่อยที่พิพาทที่ยึดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการครอบครองที่ดินก่อนการจดทะเบียนขาย สิทธิของผู้ซื้อที่ดินรายแรกย่อมเหนือกว่า
ป. ขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ให้แก่จำเลยก่อนแล้ว โดยให้จำเลยเข้าครอบครองและมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทให้จำเลย จึงเป็นการโอนการครอบครองให้แก่จำเลยไปแล้ว ป. ไม่มีสิทธินำที่ดินไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่โจทก์อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่พิพาท จำเลยมีสิทธิดีกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การครอบครองแทน การซื้อขาย และผลกระทบต่อสิทธิของผู้ครอบครองเดิม
ที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 114 เป็นของ ป. สามีโจทก์และโจทก์ร่วมกันโดย ป. ซื้อมาจาก น. และเมื่อซื้อมาแล้วป. มอบให้ ส. สามี จำเลยครอบครองแทน แม้ต่อมา น. จะยื่นคำขอออก น.ส.3 ก็เป็นการกระทำภายหลังจากที่ น. ได้ขายที่ดินพิพาทให้ ป. และโจทก์ไปแล้ว จึงหาทำให้ น. กลับเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอีกไม่ เมื่อ น. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทต่อมาแม้ น. จะได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้ ส. ก็หาทำให้ส.มีสิทธิดีไปกว่าน.ผู้โอนไม่กรณีที่ส. กระทำการดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครองโดยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยัง ป. และโจทก์ ที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ ป. และโจทก์ โดย ส. เป็นผู้ครอบครองแทน ส่วนที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 229 ที่จำเลยไปขอออก น.ส.3 ก. ในนามจำเลยนั้นก็มิได้หมายความว่า ส. หรือจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยัง ป. หรือโจทก์การที่จำเลยครอบครองที่ดินตามน.ส.3 เลขที่ 114 ก็ดี ตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 229 ก็ดี เป็นการสืบสิทธิของ ส. จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนการขายที่ดินพิพาท น.ส.3 เลขที่ 114 ระหว่าง น. กับ ส. ซึ่งแม้จะเป็นนิติกรรมที่ใช้ยันโจทก์ไม่ได้ก็ตาม แต่ก็เป็นการพิพากษาเกินคำขอและเป็นการกระทบสิทธิของ น. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปดำเนินการเองศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยไม่พิพากษาเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนดังกล่าว
of 36