พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7201/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีกับนิติบุคคลที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน: ความรับผิดยังคงมีอยู่
โจทก์ฟ้องก่อนที่จำเลยที่ 1 จะถูกนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียน จำเลยที่ 1 จึงมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความต่อสู้คดี แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางมีคำสั่งขีดชื่อจำเลยที่ 1 อันมีผลให้จำเลยที่ 1 สิ้นสภาพนิติบุคคลนับแต่นั้นก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1273/3 บัญญัติไว้ว่า แต่ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการผู้เป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นมีอยู่เท่าไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น และพึงเรียกบังคับได้เสมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ยังมิได้สิ้นสภาพนิติบุคคล ฉะนั้นจำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดชอบในคดีดังกล่าวต่อไป ทนายความของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีตามที่ได้รับแต่งตั้งต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ฉะนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 หลังจากถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางมีคำสั่งขีดชื่อออกจากทะเบียนจึงมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอันจะต้องเพิกถอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7013/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ล้มละลายไม่มีอำนาจคัดค้านการขายทอดตลาด แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ดำเนินการ
บทบัญญัติมาตรา 22 และ มาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ไม่มีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นการต่อสู้คดีใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างหนึ่ง อันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยจึงไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาด แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ขอเข้าดำเนินคดีแทนจำเลย จำเลยก็จะดำเนินคดีเองต่อไปไม่ได้ จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเพิ่งได้ปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2556 จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2556 ในขณะที่จำเลยยังเป็นบุคคลล้มละลาย เป็นการยื่นคำร้องในขณะที่จำเลยไม่มีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนแล้ว ทั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่คัดค้านการขายทอดตลาด คำร้องของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อนเมื่อสิทธิที่อ้างฟ้องมีคดีเดิมแล้ว
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องตั้งสิทธิเข้ามาในฐานะเป็นปฏิปักษ์กับโจทก์ เพื่อขอให้ศาลรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอด จึงเป็นคำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เมื่อสิทธิที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าถูกโจทก์โต้แย้งนี้ ผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลไว้ก่อนแล้ว คดีอยู่ระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องสอดจึงเป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อนเมื่อสิทธิที่อ้างยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในคดีอื่น
โจทก์ฟ้องคดีนี้อ้างว่า โจทก์ได้รับโอนมรดกที่ดินพร้อมตึกแถวมาจากผู้จัดการมรดกของ พ. จำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินโดยไม่มีสิทธิ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและตึกแถวพิพาท ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) แต่เนื้อหาตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดอ้างว่า ก่อน พ. ซึ่งเป็นมารดาของผู้ร้องสอดถึงแก่ความตายโจทก์กับพวกร่วมกันทำพินัยกรรมของ พ. ปลอมขึ้น หลังจาก พ. ถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกของ พ. โอนที่ดินและตึกแถวดังกล่าวของผู้ร้องสอดให้แก่โจทก์โดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำร้องสอดในคดีนี้จึงเป็นการตั้งสิทธิเข้ามาในฐานะเป็นปฏิปักษ์กับโจทก์ เพื่อขอให้ศาลรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอด เป็นคำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เมื่อสิทธิที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าถูกโจทก์โต้แย้งนี้ผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งว่า พินัยกรรมของ พ. เป็นโมฆะแล้ว ซึ่งการวินิจฉัยให้มีผลตามคำร้องสอดก็ต้องวินิจฉัยว่า พินัยกรรมปลอมหรือเป็นโมฆะหรือไม่เช่นกัน เมื่อคำฟ้องในคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องสอดคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4604/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนในคดีเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43
ป.วิ.อ. มาตรา 43 ที่ให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนในคดียักยอกทรัพย์นั้น หมายรวมทั้งคดีเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 147 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4061/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นส่วนควบของสิ่งปลูกสร้างกับที่ดิน และผลกระทบต่อการบังคับคดี
แม้ผู้ร้องเป็นผู้ปลูกสร้างตึกแถวเลขที่ 7/170 บนที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ก็ตาม แต่ปรากฏว่าผู้ร้องได้ทำหนังสือยกที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ร้องทั้งหมดตามโฉนดที่ดินเลขที่ 21664 พร้อมตึกแถวสามชั้นเลขที่ 7/170 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนี้เมื่อตึกแถว 3 ชั้น เลขที่ 7/170 ยังปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ตึกแถวเลขที่ 7/170 ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 การที่ผู้ร้องจะก่อตั้งกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 7/170 แยกออกต่างหากจากที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 จะทำได้ก็โดยการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1410 เมื่อผู้ร้องไม่เคยจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่มีผลทำให้ตึกแถวเลขที่ 7/170 นั้นมิใช่เป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ตึกแถวเลขที่ 7/170 แยกต่างหากจากที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์จึงนำยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 พร้อมตึกแถวเลขที่ 7/170 ออกขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3818/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเปิดทางเข้าออกที่ดิน: การชำระเงิน การมีผลผูกพัน และการคืนเงินเมื่อสัญญาเป็นโมฆะ
ข้อตกลงของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ข้อ 8 ระบุว่า นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีคณะกรรมการจัดสรรหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้แทนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และข้อ 19 ระบุว่า "การลงลายมือชื่อเพื่อให้มีผลผูกพันนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้ปฏิบัติดังนี้ (2) การทำนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ ให้ลงลายมือชื่อของประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีกสองนาย และประทับตรานิติบุคคล" และข้อ 20 ระบุว่า "คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลตามกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่ (2) เป็นผู้แทนของนิติบุคคลในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก" และตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น ให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้" และมาตรา 44 บัญญัติว่า "ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 43 เมื่อได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 23 (5) แล้วตามลำดับ ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัตินี้หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา ภายในเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดิน" จำเลยที่ 1 ถูกจัดตั้งเพื่อจัดการและดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคต่อจากผู้จัดสรรที่ดิน จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับตามบทบัญญัติมาตรา 43 ดังกล่าว คือ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ การที่จำเลยที่ 2 ประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงกับโจทก์ โดยยินยอมเปิดรั้วคอนกรีตที่ซอย 9 หน้าที่ดินโฉนดเลขที่ 108391 และ 5200 เพื่อประโยชน์ของบุคคลที่อาศัยอยู่ในที่ดินสองแปลงดังกล่าวใช้ถนนตามภาระจำยอมของที่ดินจัดสรรเป็นทางเข้าออก แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะมิใช่เป็นการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะทั้งหมดหรือบางส่วนให้เป็นสาธารณประโยชน์ หรือให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือบุคคลอื่นซึ่งจะต้องมีมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ดำเนินการได้โดยมติดังกล่าวต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเจ้าของสิทธิในที่ดิน และต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครตามกฎกระทรวงว่าด้วยการขอจดทะเบียนจัดตั้ง การบริหาร การควบ และการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พ.ศ.2545 ข้อ 16 และข้อบังคับของนิติบุคคลของหมู่บ้านจัดสรร ข้อ 48 (2) ก็ตาม แต่เป็นที่เห็นได้ว่าข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลง เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งถนนภาระจำยอมของที่ดินจัดสรรลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่การใช้สอยของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรของหมู่บ้านดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงกระทำมิได้ ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ประธานกรรมการนิติบุคคลลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวกับโจทก์และประทับตรานิติบุคคล โดยมีกรรมการอื่นอีก 3 คน ลงลายมือชื่อเป็นพยานนั้น ก็ถือไม่ได้ว่ากรรมการอื่นดังกล่าวลงลายมือชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 ประธานกรรมการนิติบุคคลตามความหมายในข้อบังคับของนิติบุคคลของหมู่บ้านจัดสรร ข้อ 19 (2) อันทำให้มีผลผูกพันนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด นอกจากนี้คณะกรรมการยังต้องดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกอีกด้วย ตามข้อ 8 และข้อ 20 (1) แต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันว่าจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการตามมติของสมาชิกนิติบุคคลเกี่ยวกับการเปิดรั้วคอนกรีตที่ซอย 9 ด้วยเสียงข้างมากของสมาชิกผู้มีสิทธิในที่ดิน จึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ทำบันทึกข้อตกลง กับโจทก์ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่หรือตามมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลตามข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร บันทึกข้อตกลง จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวหรือเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1
ตามบันทึกข้อตกลง ข้อ 4 ระบุว่า "...ผู้ให้ข้อตกลงยินดีมอบเงินอีกจำนวน 200,000 บาท... แก่นิติบุคคลฯ ภายในกำหนด 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงนี้" และ ฝ่ายโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 รวม 2 งวด เป็นเงิน 1,200,000 บาท แต่การที่จำเลยที่ 1 นำเงิน 1,000,000 บาท มาวางศาลเพื่อคืนให้แก่โจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 วางเงินต่อศาลโดยยอมรับผิด การวางเงินเช่นว่านี้ไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ยแต่อย่างใด เมื่อบันทึกข้อตกลงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
ตามบันทึกข้อตกลง ข้อ 4 ระบุว่า "...ผู้ให้ข้อตกลงยินดีมอบเงินอีกจำนวน 200,000 บาท... แก่นิติบุคคลฯ ภายในกำหนด 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงนี้" และ ฝ่ายโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 รวม 2 งวด เป็นเงิน 1,200,000 บาท แต่การที่จำเลยที่ 1 นำเงิน 1,000,000 บาท มาวางศาลเพื่อคืนให้แก่โจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 วางเงินต่อศาลโดยยอมรับผิด การวางเงินเช่นว่านี้ไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ยแต่อย่างใด เมื่อบันทึกข้อตกลงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนและการชำระค่าเสียหายเป็นหน้าที่แยกต่างหาก การชำระค่าเสียหายไม่เป็นอุปสรรคต่อการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาในคดีนี้นอกจากจะบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองจนกว่าจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำแล้ว ยังมีหนี้ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 80003 ของโจทก์ พร้อมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองด้วย อันเป็นคำพิพากษาที่ให้จำเลยกระทำการแยกต่างหากจากหนี้ในส่วนหลังที่ให้จำเลยชำระค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิที่จะชำระค่าเสียหายรายเดือนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้จนกว่าจำเลยจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองดังที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกา ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองชอบแล้ว ไม่มีการพิจารณาใดที่ผิดระเบียบอันเป็นเหตุจะให้เพิกถอนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนและการชำระค่าเสียหายเป็นสิทธิแยกต่างหาก การบังคับคดีชอบแล้ว
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกานอกจากจะบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองจนกว่าจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำแล้ว ยังมีหนี้ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ พร้อมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองด้วย อันเป็นคำพิพากษาที่ให้จำเลยกระทำการแยกต่างหากจากหนี้ในส่วนหลังที่ให้จำเลยชำระค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิที่จะชำระค่าเสียหายรายเดือนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้จนกว่าจำเลยจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองชอบแล้ว ไม่มีการพิจารณาใดที่ผิดระเบียบอันเป็นเหตุจะให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงย่นอายุความในสัญญาค้ำประกันเป็นโมฆะตามมาตรา 150 และจำเลยที่ 4 ยังคงต้องรับผิดในหนี้
การใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ข้อกำหนดในสัญญาค้ำประกันระบุว่า การเรียกร้องตามหนังสือสัญญาค้ำประกันต้องกระทำภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันสิ้นสุดสัญญา ข้อความดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตกลงกันย่นอายุความตามมาตรา 193/11 จึงขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150