พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การโอนสิทธิไม่เป็นหนังสือ แต่มีเจตนาสละการครอบครอง
ป. ได้ออกเงินชำระหนี้เงินกู้ของ ด.ให้ช.ด. จึงยกที่พิพาทให้แก่ ป. ตั้งแต่ปี 2497 ต่อมา ป.ให้ ล. และจำเลยที่ 1 เช่าที่พิพาททำนาหลังจากนั้นป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้ส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองทำนาในที่พิพาทต่อจากการครอบครองของป.ตั้งแต่ปี 2525 ติดต่อมาจนปัจจุบันแม้การยกให้ที่พิพาทระหว่างป. กับ ด. กับการขายที่พิพาทระหว่าง ป.กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การที่ด.ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ป. แสดงว่า ด. ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่ ป. แล้ว การครอบครองของ ด. ย่อมสิ้นสุดลงป. จึงมีสิทธิครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377,1378 ครั้ง ป. ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์แสดงว่า ป. ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองเช่นกัน และในกรณีเช่นนี้โจทก์ย่อมนับระยะเวลาที่ ป.ครอบครองที่พิพาทรวมติดต่อกับระยะเวลาที่โจทก์ครอบครองที่พิพาทเข้าด้วยกันได้ตาม มาตรา 1385 ป. ได้ครอบครองที่พิพาทของ ด. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2497 และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ป. ตั้งแต่ปี 2525ตลอดมาเกินกว่าสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จากการส่งมอบการครอบครองต่อเนื่อง
ป.ได้ออกเงินชำระหนี้เงินกู้ของ ด.ให้ ช. ด.จึงยกที่พิพาทให้แก่ ป.ตั้งแต่ปี 2497 ต่อมา ป.ให้ ล.และจำเลยที่ 1 เช่าที่พิพาททำนาหลังจากนั้น ป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้ส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองทำนาในที่พิพาทต่อจากการครอบครองของ ป.ตั้งแต่ปี 2525 ติดต่อมาจนปัจจุบันแม้การยกให้ที่พิพาทระหว่าง ป.กับ ด. กับการขายที่พิพาทระหว่าง ป.กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การที่ ด.ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ ป. แสดงว่า ด.ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่ ป.แล้ว การครอบครองของ ด.ย่อมสิ้นสุดลง ป.จึงมีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377, 1378 ครั้น ป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์แสดงว่า ป.ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองเช่นกัน และในกรณีเช่นนี้โจทก์ย่อมนับระยะเวลาที่ ป.ครอบครองที่พิพาทรวมติดต่อกับระยะเวลาที่โจทก์ครอบครองที่พิพาทเข้าด้วยกันได้ตาม มาตรา 1385
ป.ได้ครอบครองที่พิพาทของ ด.โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2497 และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ป.ตั้งแต่ปี 2525ตลอดมาเกินกว่าสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
ป.ได้ครอบครองที่พิพาทของ ด.โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2497 และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ป.ตั้งแต่ปี 2525ตลอดมาเกินกว่าสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเข้าข่ายการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้า
การครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ที่มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนั้น ผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิครอบครองและยกขึ้นใช้ยันบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐได้ ดังนั้นผู้ครอบครองจึงโอนไปซึ่งการครอบครองโดยการส่งมอบที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองให้แก่กันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 และสิทธิครอบครองเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 100 เดิม บัญญัติให้หมายรวมเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย ดังนั้นการที่โจทก์โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ให้แก่ผู้รับโอนไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจำนวน 25,500,000 บาทย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 77
โจทก์ยอมรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆจำนวน 1,500 ไร่ จากบริษัท ม.เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2532 แทนการรับชำระด้วยเงินสดจำนวน 25,500,000 บาท แล้วโอนขายให้แก่ผู้รับโอนไปจำนวน 56 รายเมื่อระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ในระยะเวลาอันสั้นย่อมเห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนารับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆดังกล่าวไว้เพื่อจะโอนต่อให้ผู้อื่นโดยมุ่งในค่าตอบแทนมาแต่ต้น อีกทั้งโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบการค้าดำเนินการให้เช่าช่วงที่ดินตามสัญญาเช่าช่วงที่บริษัท ม.ทำกับโจทก์ ค่าเช่าช่วงที่โจทก์ได้รับจากกิจการย่อมเป็นกำไรที่โจทก์มุ่งจะนำไปแบ่งปันแก่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การที่โจทก์รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดจากบริษัท ม.แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดแล้วโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ดังกล่าวนั้นไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน ย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อให้ได้เงินค่าเช่าช่วงแต่กิจการที่ทำมาแบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้นนั่นเอง นอกจากนี้โจทก์ยังได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ บางส่วน ไปในระหว่างที่โจทก์จดทะเบียน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้า ซื้อขายที่ดิน จัดสรรที่ดินแล้วด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ไปในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.5โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับจำนวน 25,500,000 บาท ดังกล่าวตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ กับมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนต่อเจ้าพนักงาน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งสถานการค้าตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 84, 85 และ 85 ทวิแต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ มิได้นำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีโดยแก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการการค้าเพื่อให้ถูกต้องตามความจริง แล้วแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87, 87 ทวิ (2) และ 88 กับมีอำนาจเรียกเบี้ยปรับอีก1 เท่า ของเงินภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3) และเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ตลอดจนภาษีบำรุงเทศบาลตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาลพ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ได้ด้วย
โจทก์ยอมรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆจำนวน 1,500 ไร่ จากบริษัท ม.เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2532 แทนการรับชำระด้วยเงินสดจำนวน 25,500,000 บาท แล้วโอนขายให้แก่ผู้รับโอนไปจำนวน 56 รายเมื่อระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ในระยะเวลาอันสั้นย่อมเห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนารับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆดังกล่าวไว้เพื่อจะโอนต่อให้ผู้อื่นโดยมุ่งในค่าตอบแทนมาแต่ต้น อีกทั้งโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบการค้าดำเนินการให้เช่าช่วงที่ดินตามสัญญาเช่าช่วงที่บริษัท ม.ทำกับโจทก์ ค่าเช่าช่วงที่โจทก์ได้รับจากกิจการย่อมเป็นกำไรที่โจทก์มุ่งจะนำไปแบ่งปันแก่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การที่โจทก์รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดจากบริษัท ม.แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดแล้วโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ดังกล่าวนั้นไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน ย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อให้ได้เงินค่าเช่าช่วงแต่กิจการที่ทำมาแบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้นนั่นเอง นอกจากนี้โจทก์ยังได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ บางส่วน ไปในระหว่างที่โจทก์จดทะเบียน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้า ซื้อขายที่ดิน จัดสรรที่ดินแล้วด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ไปในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.5โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับจำนวน 25,500,000 บาท ดังกล่าวตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ กับมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนต่อเจ้าพนักงาน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งสถานการค้าตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 84, 85 และ 85 ทวิแต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ มิได้นำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีโดยแก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการการค้าเพื่อให้ถูกต้องตามความจริง แล้วแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87, 87 ทวิ (2) และ 88 กับมีอำนาจเรียกเบี้ยปรับอีก1 เท่า ของเงินภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3) และเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ตลอดจนภาษีบำรุงเทศบาลตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาลพ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเข้าข่ายเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
การครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆที่มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนั้นผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิครอบครองและยกขึ้นใช้ยันบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐได้ดังนั้นผู้ครอบครองจึงโอนไปซึ่งการครอบครองโดยการส่งมอบที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองให้แก่กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1378และสิทธิครอบครองเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา100เดิมบัญญัติให้หมายรวมเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วยดังนั้นการที่โจทก์โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆให้แก่ผู้รับโอนไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจำนวน25,500,000บาทย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา77 โจทก์ยอมรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆจำนวน1,500ไร่จากบริษัทม. เมื่อวันที่12พฤษภาคม2532แทนการรับชำระด้วยเงินสดจำนวน25,500,000บาทแล้วโอนขายให้แก่ผู้รับโอนไปจำนวน56รายเมื่อระหว่างวันที่28มิถุนายน2532ถึงวันที่19ตุลาคม2532ในระยะเวลาอันสั้นย่อมเห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนารับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆดังกล่าวไว้เพื่อจะโอนต่อให้ผู้อื่นโดยมุ่งในค่าตอบแทนมาแต่ต้นอีกทั้งโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบการค้าดำเนินการให้เช่าช่วงที่ดินตามสัญญาเช่าช่วงที่บริษัทม.ทำกับโจทก์ค่าเช่าช่วงที่โจทก์ได้รับจากกิจการย่อมเป็นกำไรที่โจทก์มุ่งจะนำไปแบ่งปันแก่ผู้ถือหุ้นฉะนั้นการที่โจทก์รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดจากบริษัทม. แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดแล้วโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆดังกล่าวนั้นไม่โดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อให้ได้เงินค่าเช่าช่วงแต่กิจการที่ทำมาแบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้นนั่นเองนอกจากนี้โจทก์ยังได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดๆบางส่วนไปในระหว่างที่โจทก์จดทะเบียนมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าซื้อขายที่ดินจัดสรรที่ดินแล้วด้วยดังนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ไปในทางการค้าหรือหากำไรเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า11ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ3.5โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับจำนวน25,500,000บาทดังกล่าวตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา78วรรคหนึ่งบัญญัติไว้กับมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนต่อเจ้าพนักงานณที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งสถานการค้าตั้งอยู่ภายในวันที่15ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา84,85และ85ทวิแต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องกล่าวคือมิได้นำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วยเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีโดยแก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการการค้าเพื่อให้ถูกต้องตามความจริงแล้วแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา87,87ทวิ(2)และ88กับมีอำนาจเรียกเบี้ยปรับอีก1เท่าของเงินภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา89(3)และเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา89ทวิตลอดจนภาษีบำรุงเทศบาลตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาลพ.ศ.2497มาตรา12(1)ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5936/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครอง และผลกระทบต่อการจัดการมรดก
ม. ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ขายที่ดินให้ผู้คัดค้านทั้งสองและได้ส่งมอบการครอบครองให้แล้วผู้คัดค้านทั้งสองย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองโดยมิต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อ ม.ตายก็ไม่มีสิทธิครอบครองหรือทรัพย์สินดังกล่าวเป็นมรดกที่ต้องจัดการอีกต่อไป ม. ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสองจึงไม่จำต้องมีการตั้งผู้จัดการมรดกของ ม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4159/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย แม้ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยแล้วได้เข้าครอบครองที่ดินและชำระภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมา โจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง เมื่อโจทก์อนุญาตให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองแม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์เพียงอ้างสิทธิครอบครองใช้ยันกับรัฐไม่ได้เท่านั้น แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4159/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขาย, การครอบครอง, และสิทธิเหนือกว่าระหว่างราษฎร
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยแล้วได้เข้าครอบครองที่ดินและชำระภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมาโจทก์จึงได้สิทธิครอบครองเมื่อโจทก์อนุญาตให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทจำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองแม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโจทก์เพียงอ้างสิทธิครอบครองใช้ยันกับรัฐไม่ได้เท่านั้นแต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันโจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน การทำไม้หวงห้าม และข้อยกเว้นความผิด
แม้ผ. จะได้ครอบครองที่ดินก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติประกาศใช้แต่ผ. มิได้ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน90วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับจึงถือว่าผ. สละสิทธิหรือประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแล้วผ. จึงไม่มีสิทธิโอนที่ดินส่วนนี้ให้จำเลยการที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวจึงมีความผิด โจทก์นำสืบไม่ได้ความชัดว่าไม้พลวงไม้เขว้าและไม้มะค่าแต้ขึ้นอยู่ในหรือนอกเขตที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครองจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยโดยฟังข้อเท็จจริงว่าไม้ดังกล่าวขึ้นอยู่ในที่ดินที่จำเลยแจ้งการครอบครองจึงมิใช่ไม้หวงห้ามแม้จำเลยตัดฟันแปรรูปและมีไว้ในครอบครองในเขตควบคุมการแปรรูปไม้จำเลยก็ไม่มีความผิด ไม้ยางนั้นไม่ว่าจะขึ้นอยู่ณที่ใดในราชอาณาจักรก็เป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้นแต่โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยตัดฟันไม้ยางจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินก่อนพ.ร.บ.ที่ดิน 2497 และการมิใช่ป่าตามพ.ร.บ.ป่าไม้
แม้การแจ้งสิทธิการครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุของ ส. ซึ่งเป็นยายของจำเลยไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายแต่ก็เป็นหลักฐานสนับสนุนว่าส. ได้ครอบครองที่ดินนั้นก่อนประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497ใช้บังคับที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา4(1)เมื่อ ส. ยกที่ดินนั้นให้จำเลยจำเลยจึงมีสิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9128/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองห้องแถวบนที่ดินราชพัสดุโดยไม่ทำตามแบบ แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันได้
จำเลยอยู่ในห้องแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าจาก บ. เจ้าของเดิม ต่อมาบ. ได้ขายห้องพิพาทซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุให้แก่โจทก์โดยทำสัญญาการซื้อขายเป็น หนังสือ แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่บ. ได้โอนสิทธิครอบครองในที่ดินพร้อมห้องแถวพิพาทให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377,1378ซึ่งไม่ต้องมีแบบ โจทก์จึงได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง และการโอน โดยข้อเท็จจริงดังกล่าว ไม่เป็นโมฆะ เมื่อการซื้อขายระหว่างโจทก์กับเจ้าของห้องแถวพิพาทเดิมไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้