พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินก่อนสมรส: สิทธิในการแบ่งแยกทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าโจทก์จำเลยหามาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนจดทะเบียนสมรส จึงเท่ากับโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่ก่อนสมรสอันเป็นทรัพย์สินส่วนตัวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1471 (1)ซึ่งแต่ละฝ่ายในฐานะเจ้าของย่อมมีอำนาจจัดการเองได้โดยลำพังตามมาตรา 1473และมาตรา 1336 แม้ต่อมาโจทก์จำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ทำให้สินส่วนตัวนั้นกลับเป็นสินสมรสได้ หรืออีกนัยหนึ่ง การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดร่วมกันของสามีภริยาที่มีอยู่ก่อนสมรส แม้จะยังไม่แบ่งปันกันเป็นสัดส่วนภายหลังสมรสก็หาทำให้ทรัพย์สินนั้นกลายเป็นสินสมรสหรือเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายไปไม่เหตุนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันกับจำเลยอยู่ก่อนการสมรส เนื่องจากโจทก์จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาอีกต่อไป จึงไม่ใช่การฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา อันต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการห้ามมิให้สามีหรือภริยายึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1487ก็ไม่ใช่บทบัญญัติห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งให้แบ่งทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมที่มีอยู่ก่อนสมรสดังกรณีของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือขอแบ่งที่ดินดังกล่าวไปยังจำเลย จำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่แบ่งให้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1363 ได้
โจทก์จำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาด้วยความรักใคร่ปรองดองและต่างช่วยเหลือเกื้อหนุนกันในการประกอบอาชีพ และได้นำเงินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้ร่วมกันไปซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อจำเลยคนเดียวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์จำเลยคนละกึ่ง เมื่อโจทก์ได้ออกจากบ้านจำเลยไปอยู่ที่อื่นไม่กลับมา และโจทก์ไม่ได้ร่วมจัดการที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีกต่อไป โจทก์มีความประสงค์จะขอแบ่งที่ดินพิพาทและได้มีหนังสือเรียกให้แบ่งส่งไปถึงจำเลยแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยห้ามไม่ให้แบ่งประกอบกับเวลาที่ขอแบ่งนับเป็นโอกาสอันควรตาม ป.พ.พ.มาตรา1363 โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทตามส่วนได้
โจทก์จำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาด้วยความรักใคร่ปรองดองและต่างช่วยเหลือเกื้อหนุนกันในการประกอบอาชีพ และได้นำเงินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้ร่วมกันไปซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อจำเลยคนเดียวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์จำเลยคนละกึ่ง เมื่อโจทก์ได้ออกจากบ้านจำเลยไปอยู่ที่อื่นไม่กลับมา และโจทก์ไม่ได้ร่วมจัดการที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีกต่อไป โจทก์มีความประสงค์จะขอแบ่งที่ดินพิพาทและได้มีหนังสือเรียกให้แบ่งส่งไปถึงจำเลยแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยห้ามไม่ให้แบ่งประกอบกับเวลาที่ขอแบ่งนับเป็นโอกาสอันควรตาม ป.พ.พ.มาตรา1363 โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทตามส่วนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมโดยสุจริต และสิทธิในการขอแบ่งทรัพย์สินร่วม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตดังนั้นการที่โจทก์และร. เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริตเมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์หลอกลวงร. ให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมแต่พยานหลักฐานจำเลยไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้จึงถือว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินและบ้านพิพาทร. มารดาของจำเลยเป็นผู้ซื้อและใช้เงินตนเองเท่านั้นการที่จำเลยนำสืบและอุทธรณ์ว่าเงินที่ใช้ซื้อที่ดินและบ้านเป็นของจำเลยส่วนหนึ่งด้วยจึงเป็นการนำสืบและอุทธรณ์นอกคำให้การ โจทก์และมารดาจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยโจทก์รับโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทมาโดยสุจริตทั้งไม่ได้มีนิติกรรมห้ามไม่ให้แบ่งโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1363วรรคแรก โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมห้ามมิให้แบ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งแยกที่ดินและตึกแถวพิพาทได้และก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์และจำเลยไปพบพนักงานสอบสวนแล้วบันทึกลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานว่าผู้แจ้งทั้งสองมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ร้อยตำรวจเอกส.พยายามไกล่เกลี่ยแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ทั้งสองฝ่ายตกลงไปฟ้องร้องกันต่อศาลแพ่งเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิ์กรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โดยไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวขอแบ่งแยกไปยังจำเลยแล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมและสิทธิในการแบ่งแยกทรัพย์สิน: หลักสุจริตและข้อโต้แย้งสิทธิ
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต" ดังนั้น การที่โจทก์และ ร.เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์หลอกลวง ร.ให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม แต่พยานหลักฐานจำเลยไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้ จึงถือว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินและบ้านพิพาท ร.มารดาของจำเลยเป็นผู้ซื้อและใช้เงินตนเองเท่านั้น การที่จำเลยนำสืบและอุทธรณ์ว่าเงินที่ใช้ซื้อที่ดินและบ้านเป็นของจำเลยส่วนหนึ่งด้วยจึงเป็นการนำสืบและอุทธรณ์นอกคำให้การ
โจทก์และมารดาจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยโจทก์รับโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทมาโดยสุจริต ทั้งไม่ได้มีนิติกรรมห้ามไม่ให้แบ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคแรก
โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมห้ามมิให้แบ่ง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งแยกที่ดินและตึกแถวพิพาทได้และก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์และจำเลยไปพบพนักงานสอบสวนแล้วบันทึกลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานว่าผู้แจ้งทั้งสองมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ ร้อยตำรวจเอก ส.พยายามไกล่เกลี่ยแล้ว แต่ตกลงกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายตกลงไปฟ้องร้องกันต่อศาลแพ่งเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โดยไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวขอแบ่งแยกไปยังจำเลยแล้วหรือไม่
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินและบ้านพิพาท ร.มารดาของจำเลยเป็นผู้ซื้อและใช้เงินตนเองเท่านั้น การที่จำเลยนำสืบและอุทธรณ์ว่าเงินที่ใช้ซื้อที่ดินและบ้านเป็นของจำเลยส่วนหนึ่งด้วยจึงเป็นการนำสืบและอุทธรณ์นอกคำให้การ
โจทก์และมารดาจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยโจทก์รับโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทมาโดยสุจริต ทั้งไม่ได้มีนิติกรรมห้ามไม่ให้แบ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคแรก
โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมห้ามมิให้แบ่ง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งแยกที่ดินและตึกแถวพิพาทได้และก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์และจำเลยไปพบพนักงานสอบสวนแล้วบันทึกลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานว่าผู้แจ้งทั้งสองมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ ร้อยตำรวจเอก ส.พยายามไกล่เกลี่ยแล้ว แต่ตกลงกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายตกลงไปฟ้องร้องกันต่อศาลแพ่งเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โดยไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวขอแบ่งแยกไปยังจำเลยแล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6246/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดก เจ้าของรวม และอายุความ คดีมิใช่การเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเงินจำนวน 216,250 บาทก่อนที่จะแบ่งปันให้ทายาทต้องถือว่า ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกนั้นแทนทายาททุกคน โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกดังกล่าวร่วมกันแล้ว และจำเลยที่ 1ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นในฐานะเจ้าของรวม การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟ้องขอแบ่งทรัพย์ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 โดยไม่มีอายุความมิใช่เป็นการเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก จะนำอายุความตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 รับเงินส่วนแบ่งมรดกไว้ ถือว่าจำเลยที่ 1 รับไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไม่ถือว่ามีการผิดนัดจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์จนกว่ามีการบอกกล่าวทวงถามเงินส่วนแบ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอด: ผลกระทบทางกระบวนพิจารณาและการเป็นฟ้องซ้อน
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา57 (1) นั้น ถือเป็นคำฟ้อง เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องสอดแล้ว ผู้ร้องสอดต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในฐานะเป็นโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้แบ่งแยกที่ดินตามที่โจทก์จำเลยครอบครองอยู่ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองต่างครอบครองที่ดินตามฟ้องบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดทั้งสองกับจำเลยทั้งสอง เพราะผู้ร้องสอดทั้งสองมิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยมีข้อความเช่นเดียวกับคำร้องสอดเดิม ดังนี้ ถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อนสำหรับโจทก์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยทั้งสองอยู่ระหว่างการพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่ไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้แบ่งแยกที่ดินตามที่โจทก์จำเลยครอบครองอยู่ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองต่างครอบครองที่ดินตามฟ้องบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดทั้งสองกับจำเลยทั้งสอง เพราะผู้ร้องสอดทั้งสองมิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยมีข้อความเช่นเดียวกับคำร้องสอดเดิม ดังนี้ ถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อนสำหรับโจทก์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยทั้งสองอยู่ระหว่างการพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่ไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7922/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม การครอบครองปรปักษ์ และการพิพากษาตามแผนที่พิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินซึ่งโจทก์กับจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยต่างแบ่งการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดมาเป็นเวลากว่า10ปีแล้วโจทก์ขอแบ่งแยกที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครองแปลงหมายเลข1ทางด้านทิศตะวันออกมีเนื้อที่ประมาณ1ไร่3งาน10ตารางวาดังนี้คำฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาททั้งสี่ด้านมีความกว้างและยาวเท่าใดและโจทก์เริ่มครอบครองตั้งแต่เมื่อใดนั้นเป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์จำเลยได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินและลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันและต่อมาได้ร่วมลงทุนปลูกบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อทำร้านค้าแต่ในปีเดียวกันนั้นได้เลิกกิจการค้าไปตกลงกันว่าสินค้าและเครื่องมือในร้านเป็นของจำเลยบ้านและร้านค้าเป็นของโจทก์ที่ดินให้แบ่งกันโดยส่วนของโจทก์อยู่ทางด้านทิศตะวันออกตรงที่ปลูกบ้านที่ดินที่เหลือเป็นของจำเลยสำหรับหนี้สินที่มีต่อธนาคารให้จำเลยรับผิด20,000บาทจำนวนเงินที่เหลือโจทก์เป็นผู้รับผิดหลังจากนั้นโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดของตนแล้วโจทก์จึงมีอำนาจแบ่งแยกที่ดินในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเพื่อไปขอออกโฉนดที่ดินส่วนของตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7922/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวมตามการครอบครองเป็นส่วนสัดและการตกลงร่วมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินซึ่งโจทก์กับจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยต่างแบ่งการครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดมาเป็นเวลากว่า10 ปีแล้ว โจทก์ขอแบ่งแยกที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครองแปลงหมายเลข 1 ทางด้านทิศตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา ดังนี้คำฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรคสอง ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า ที่ดินพิพาททั้งสี่ด้านมีความกว้างและยาวเท่าใดและโจทก์เริ่มครอบครองตั้งแต่เมื่อใดนั้น เป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์จำเลยได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินและลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันและต่อมาได้ร่วมลงทุนปลูกบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อทำร้านค้า แต่ในปีเดียวกันนั้นได้เลิกกิจการค้าไป ตกลงกันว่า สินค้าและเครื่องมือในร้านเป็นของจำเลยบ้านและร้านค้าเป็นของโจทก์ ที่ดินให้แบ่งกันโดยส่วนของโจทก์อยู่ทางด้านทิศตะวันออกตรงที่ปลูกบ้าน ที่ดินที่เหลือเป็นของจำเลย สำหรับหนี้สินที่มีต่อธนาคารให้จำเลยรับผิด 20,000 บาท จำนวนเงินที่เหลือโจทก์เป็นผู้รับผิด หลังจากนั้นโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดของตนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจแบ่งแยกที่ดินในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเพื่อไปขอออกโฉนดที่ดินส่วนของตนได้
โจทก์จำเลยได้ร่วมลงทุนซื้อที่ดินและลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันและต่อมาได้ร่วมลงทุนปลูกบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อทำร้านค้า แต่ในปีเดียวกันนั้นได้เลิกกิจการค้าไป ตกลงกันว่า สินค้าและเครื่องมือในร้านเป็นของจำเลยบ้านและร้านค้าเป็นของโจทก์ ที่ดินให้แบ่งกันโดยส่วนของโจทก์อยู่ทางด้านทิศตะวันออกตรงที่ปลูกบ้าน ที่ดินที่เหลือเป็นของจำเลย สำหรับหนี้สินที่มีต่อธนาคารให้จำเลยรับผิด 20,000 บาท จำนวนเงินที่เหลือโจทก์เป็นผู้รับผิด หลังจากนั้นโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดของตนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจแบ่งแยกที่ดินในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเพื่อไปขอออกโฉนดที่ดินส่วนของตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7521/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: การพิสูจน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องและผู้คัดค้าน รวมถึงการตั้งผู้จัดการมรดกที่ถูกต้อง
ผู้ร้องเป็นบุตรของส. กับอ. เมื่ออ. ถึงแก่กรรมส. ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับช. ต่อมาช. ถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของช. ดังนี้เมื่อช.ถึงแก่กรรมกองมรดกของช. ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยชอบธรรมหรือโดยพินัยกรรมผู้ร้องเป็นบุตรของส. กับอ. มิได้เป็นบุตรของช. เจ้ามรดกไม่ปรากฎว่าช. จดทะเบียนร้องผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของช.โดยตรงอีกทั้งช. มีทายาทที่จะรับมรดกโดยตรงอยู่แล้วผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ การที่ส. มารดาของผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของช. คงเพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้ร้องจะฟ้องขอแบ่งโดยอ้างว่ามีส่วนของส. มารดาผู้ร้องร่วมด้วยเท่านั้นซึ่งผู้ร้องชอบไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่ง ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านระบุว่าอ. ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว ช. ผู้เยาว์และข้อความในคำคัดค้านบรรยายว่าผู้คัดค้านในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟังได้ว่าเป็นคำคัดค้านของผู้เยาว์ทั้งสามโดยมารดาคัดค้านแทนดังนั้นแม้ต่อมานางสาวช. ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะและอ. ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไปก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีแทนในขณะยื่นคำคัดค้านแต่เมื่อปรากฎว่าผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้วล. ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไปศาลฎีกาสมควรตั้งนางสาวช.เป็นผู้จัดการมรดกของช.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7521/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้ไม่มีสิทธิโดยตรงและผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้ร้องเป็นบุตรของ ส.กับ อ. เมื่อ อ.ถึงแก่กรรม ส.ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. ต่อมา ช.ถึงแก่กรรม ผู้ร้องจึงร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ดังนี้ เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม กองมรดกของ ช.ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยชอบธรรมหรือโดยพินัยกรรม ผู้ร้องเป็นบุตรของ ส.กับ อ. มิได้เป็นบุตรของ ช.เจ้ามรดกไม่ปรากฏว่า ช.จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ช.โดยตรง อีกทั้ง ช.มีทายาทที่จะรับมรดกโดยตรงอยู่แล้ว ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
การที่ ส.มารดาของผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของ ช.คงเพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้ร้องจะฟ้องขอแบ่งโดยอ้างว่ามีส่วนของ ส. มารดาผู้ร้องร่วมด้วยเท่านั้น ซึ่งผู้ร้องชอบไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่ง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านระบุว่า อ.ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว ช.ผู้เยาว์ และข้อความในคำคัดค้านบรรยายว่า ผู้คัดค้านในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ฟังได้ว่าเป็นคำคัดค้านของผู้เยาว์ทั้งสามโดยมารดาคัดค้านแทน ดังนั้น แม้ต่อมานางสาว ช.ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และ อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีแทนในขณะยื่นคำคัดค้าน แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ศาลฎีกาสมควรตั้งนางสาว ช.เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.
การที่ ส.มารดาของผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของ ช.คงเพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้ร้องจะฟ้องขอแบ่งโดยอ้างว่ามีส่วนของ ส. มารดาผู้ร้องร่วมด้วยเท่านั้น ซึ่งผู้ร้องชอบไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่ง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านระบุว่า อ.ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว ช.ผู้เยาว์ และข้อความในคำคัดค้านบรรยายว่า ผู้คัดค้านในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ฟังได้ว่าเป็นคำคัดค้านของผู้เยาว์ทั้งสามโดยมารดาคัดค้านแทน ดังนั้น แม้ต่อมานางสาว ช.ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และ อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีแทนในขณะยื่นคำคัดค้าน แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ศาลฎีกาสมควรตั้งนางสาว ช.เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้จัดการมรดกในการแบ่งแยกที่ดินมรดก แม้ตำแหน่งที่ดินในแผนที่พิพาทจะคลาดเคลื่อน การต่อสู้แทนบุคคลภายนอกไม่มีผล
เมื่อที่ดินส่วนที่ ม. ครองครองเป็นของ ก. อันเป็น มรดกตกทอดแก่ทายาทโจทก์ในฐานะ ผู้จัดการมรดกของ ก. ย่อมีสิทธิขอให้แบ่งแยกที่ดินส่วนของ ก. ออกจากโฉนดที่ดินได้แม้โจทก์จะฟ้องและนำชี้ตามแผนที่พิพาทว่าที่ดินส่วนของ ก.อยู่ทางทิศใต้แต่ทางพิจารณาปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ทางทิศตะวันออกก็ตามข้อแตกต่างเช่นว่านี้มิใช่ ข้อสาระสำคัญ ส่วนที่จำเลยที่1และที่3ต่อสู้ว่าที่ดินของ ก. นั้น ม. ครอบครองปรปักษ์แล้วเป็นการต่อสู้แทน ม. ซึ่งมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยไม่มีผลต่อโจทก์จะยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้