พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งทรัพย์สินรวม: เจ้าของรวมมีสิทธิขอแบ่งได้ แม้จำเลยไม่ยินยอม
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้นจำเลยที่1มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไรเพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้ การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์แม้จำเลยที่1ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแบ่งทรัพย์สินรวม การที่จำเลยไม่ยกข้อโต้แย้งในชั้นต้น-อุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้น จำเลยที่ 1มิได้ ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้ การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่ เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์แบ่ง ศาลบังคับได้
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้นจำเลยที่1มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไรเพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้ การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์แม้จำเลยที่1ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินรวม แม้จำเลยไม่ประสงค์แบ่ง ศาลบังคับแบ่งได้ เหตุผลค่าขึ้นศาลต้องยกขึ้นในชั้นต้น
ปัญหาที่ว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องนั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้
การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่ เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมขอให้แบ่งทรัพย์สินนั้นได้โดยไม่จำต้องระบุว่าจะทำการแบ่งอย่างไรหรือตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะหากแบ่งแยกไม่ได้ก็มีวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงมิได้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องกำหนดไว้
การเป็นเจ้าของรวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองมิได้มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ว่าเป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวรหรือมีนิติกรรมขัดอยู่ เมื่อโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์ จำเลยทั้งสองต้องแบ่งให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ขอแบ่งและต้องการให้มีกรรมสิทธิ์รวมกันตลอดไปก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้มีผลตามความประสงค์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมฟ้องแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ - ไม่ต้องได้รับความยินยอม
โจทก์เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาท ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ได้โดยลำพัง ไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: การครอบครองทำกินร่วมกัน และการแบ่งมรดกหลังการเสียชีวิต
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของ ท. โจทก์กับ ม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และ ม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมา แต่ให้ ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม..." โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 วรรคท้าย
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของท.โจทก์กับม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมาแต่ให้ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม" โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 วรรคท้าย ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมาโดยท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับท.ด้วยเมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของท.บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของท.เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับท.และม.ด้วย นอกจากนั้นหลังจากท.ตามไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาทและโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพท.การที่ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือม.คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม.การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของท.และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้บังคับไม่ได้ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้อง มีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตามแต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถ.ได้บันทึกรับรองว่าคดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้วเมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่าถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มาศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ต้องมีส่วนร่วมในการทำมาหาได้จึงมีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาได้ช่วยกันประกอบอาชีพทำให้มีทรัพย์สินเพิ่มทวีขึ้นซึ่งโจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อศาลพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน โจทก์จำเลยต่างมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคนละกึ่งหนึ่ง เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมกับจำเลยโจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้ในทรัพย์สินร่วมกับจำเลย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิแบ่งทรัพย์สินนั้นจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกายืนฟ้องไม่ซ้ำคดีก่อน แม้กรรมสิทธิ์เดิมเป็นของเจ้าของรวม
คดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยในคดีนั้นมีสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาท โดยไม่ได้วินิจฉัยหรือพิพากษาให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้เป็นส่วนสัดแยกจากกัน แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทฟ้องขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้เป็นส่วนสัดแยกจากกัน คดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นแห่งคดีและคำขอบังคับแตกต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน จำเลยที่ 3 ที่ 4 ฎีกาว่าพยานหลักฐานของตนฟังได้ว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาทแล้วโดยการครอบครองปรปักษ์โจทก์ทั้งสองจึงขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วม, การแบ่งทรัพย์สิน, ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์, และการเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าพยานจำเลยที่ประสงค์จะส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศอินเดีย เป็นบุตร บุตรเขย และหลาน กับเพื่อนผู้ใกล้ชิดกับ ด. บิดารู้เห็นเกี่ยวกับที่มาของที่ดินพิพาทและต้องให้พยานดังกล่าวรับรองลายมือชื่อหรือลายมือเขียนของด.อีกทั้งพยานเหล่านั้นรู้เห็นใกล้ชิดเหตุการณ์ซึ่ง น.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้เบิกความไว้นั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่จะนำสืบพยานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ น. ได้เบิกความไว้แล้วทั้งจำเลยก็ได้อ้างส่งพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้แล้วทั้งสิ้นและโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธลายมือชื่อของ ด.ที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าวให้เป็นการฟุ่มเฟือยและเสียเวลาเพราะพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากกระจ่างชัดแจ้ง แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะส่งประเด็นไปสืบพยานเพิ่มเติมที่ประเทศอินเดีย ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด.และอ. โดยเท่าเทียมกันเท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าวด.บิดาลงนามแทนอ. โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ. มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ. เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิดไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการแสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทนอ.โดยอ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้อ.เป็นคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาลจึงถือไม่ได้ว่าอ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ. จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ก็ตาม แก่เมื่ออ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะอ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ. จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ. สละสิทธิใส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจำเลย กับด. จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ1 ใน 4 ส่วน ที่จำเลยฎีกาว่า ด. ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช. จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของด.กับอ. ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้นเมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิดจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของอ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาส อันไม่ควรแต่อย่างใดและไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วน ตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญาให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย