คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1363

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วม, การแบ่งทรัพย์สิน, ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์, และการเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าพยานจำเลยที่ประสงค์จะส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศอินเดีย เป็นบุตร บุตรเขย และหลาน กับเพื่อนผู้ใกล้ชิดกับ ด. บิดารู้เห็นเกี่ยวกับที่มาของที่ดินพิพาทและต้องให้พยานดังกล่าวรับรองลายมือชื่อหรือลายมือเขียนของด.อีกทั้งพยานเหล่านั้นรู้เห็นใกล้ชิดเหตุการณ์ซึ่ง น.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้เบิกความไว้นั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่จะนำสืบพยานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ น. ได้เบิกความไว้แล้วทั้งจำเลยก็ได้อ้างส่งพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้แล้วทั้งสิ้นและโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธลายมือชื่อของ ด.ที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าวให้เป็นการฟุ่มเฟือยและเสียเวลาเพราะพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากกระจ่างชัดแจ้ง แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะส่งประเด็นไปสืบพยานเพิ่มเติมที่ประเทศอินเดีย ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด.และอ. โดยเท่าเทียมกันเท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าวด.บิดาลงนามแทนอ. โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ. มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ. เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิดไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการแสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทนอ.โดยอ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้อ.เป็นคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาลจึงถือไม่ได้ว่าอ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ. จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ก็ตาม แก่เมื่ออ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะอ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ. จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ. สละสิทธิใส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจำเลย กับด. จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ1 ใน 4 ส่วน ที่จำเลยฎีกาว่า ด. ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช. จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของด.กับอ. ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้นเมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิดจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของอ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาส อันไม่ควรแต่อย่างใดและไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วน ตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญาให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และความรับผิดในหนี้สินร่วม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อไป ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยกู้ยืมเงินจากนาง ย.และนางสาวอ. มาเพื่อใช้ปลูกบ้านซึ่งเป็นทรัพย์รายการหนึ่งที่ต้องแบ่ง หากโจทก์ประสงค์จะแบ่งทรัพย์ก็จะต้องนำหนี้รายนี้มาแบ่งรับผิดชอบด้วย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะต้องร่วมแบ่งความรับผิดหนี้กู้ยืมนี้หรือไม่ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิดตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริงโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นโจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้วจำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมจากการกู้ยืมระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียน การแบ่งทรัพย์สินและผลกระทบต่อหนี้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยากันต่อไป ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยกู้ยืมเงินจากนาง ย. และนางสาว อ. มาเพื่อใช้ปลูกบ้านซึ่งเป็นทรัพย์รายการหนึ่งที่ต้องแบ่ง หากโจทก์ประสงค์จะแบ่งทรัพย์ก็จะต้องนำหนี้รายนี้มาแบ่งรับผิดชอบด้วย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะต้องร่วมแบ่งความรับผิดหนี้กู้ยืมนี้หรือไม่ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง
หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิด ตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริง โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามป.พ.พ. มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้ว จำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมมีสิทธิแบ่งทรัพย์สินร่วม แม้มีวัตถุประสงค์ให้ครอบครองร่วมกัน และการครอบครองปรปักษ์ต้องมีการบอกกล่าว
เจ้าของที่ดินยกที่ดินให้แก่บุตรทั้งหกถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยไม่มีวัตถุประสงค์จะให้เป็นเจ้าของรวมกันมีลักษณะเป็นการถาวรอันจะแบ่งแยกกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1363 วรรคแรก โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้าของรวมคนหนึ่งจึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงพิพาทได้ ที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมทุกคนไว้โดยไม่ได้มีการตกลงแบ่งแยกกันเป็นสัดส่วนในระหว่างเจ้าของรวม การถือครองที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมเป็นการครอบครองแทนเจ้าของรวมคนอื่นที่มิได้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 จะอ้างการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้จนกว่าจะได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 เสียก่อน เมื่อไม่ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแก่เจ้าของรวมคนอื่นว่าจะยึดถือครอบครองเป็นของตนจำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครอง โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่แบ่งส่วนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทให้โจทก์ ปัญหามีเพียงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้แบ่งส่วนของตนได้หรือไม่ ข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองบ้านและโรงรถอยู่จะได้ภารจำยอมในที่ดินพิพาทส่วนที่ปลูกสร้างนั้นหรือไม่ ไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี เพราะว่าภารจำยอมไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1393,1394

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าของรวม (แม้เป็นพระภิกษุ) ในการเรียกร้องแบ่งทรัพย์สินร่วม
โจทก์ฟ้องว่าหลังจาก ห. ตาย โจทก์และ ล. ได้รับมรดกที่พิพาทและร่วมกันครอบครองโดยมิได้แบ่งแยก ต่อมาโจทก์ไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และ ล. ตาย จำเลยซึ่งเป็นบุตรของ ล. ไปขอออกน.ส. 3 ก. เป็นของตนฝ่ายเดียว ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยแบ่งที่ พิพาทให้ เป็นกรณีโจทก์ฟ้องในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของรวมมิใช่ ในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1622เพราะเมื่อ ห. ตาย โจทก์ และ ล. ได้รับมรดก มาแล้ว ที่พิพาทจึงมิใช่มรดกของ ห.อีกต่อไป แต่เป็นทรัพย์สินร่วมกันของโจทก์และ ล.เมื่อจำเลยไม่ยอมแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ไม่มีกฎหมายห้ามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม: สิทธิครอบครองเป็นสัดส่วนและการไม่จำเป็นต้องแสดงเจตนาใหม่
ในคดีฟ้องขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์รวมมาโดย ล.เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเดิมได้โอนขายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้เข้าครอบครองเป็นสัดส่วนตลอดมา เช่นนี้ หาใช่เป็นการกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์มาด้วยการครอบครองปรปักษ์ไม่ ดังนั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครอง และคำขอท้ายฟ้องก็ไม่จำต้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ หรือขอให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งปันกันแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินมีโฉนดตามฟ้อง และได้ครอบครองเป็นสัดส่วนตลอดมาตามรูปที่ดินท้ายฟ้อง โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยไปทำการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแล้ว จำเลยไม่ยินยอม ขอให้ศาลพิพากษาแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมจำเลยให้การว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยจริงแต่ปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ครอบครองเป็นสัดส่วน รูปที่ดินท้ายฟ้องไม่ถูกต้อง และจำเลยไม่เคยได้รับคำบอกกล่าวให้ไปแบ่งแยก ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า "โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตามเส้นสีดำ หมายสีเขียว หมายเลข 4 ในแผนที่พิพาทหรือไม่" จึงเป็นการถูกต้อง มิได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด ส่วนประเด็นว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยไปแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแล้วหรือไม่ นั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม แต่ก็ได้ความว่าก่อนที่ ล. จะโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ ล. ได้เคยมีการยื่นคำร้องขอแบ่งแยกที่ดินทางทิศเหนือเป็นของ ล. แล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ล.ก็ขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนที่ขอแบ่งแยกให้แก่โจทก์เสียก่อน และโจทก์ได้เข้าครอบครองโดยปลูกบ้านและทำรั้วเป็นสัดส่วนตามรูปที่ดินในแผนที่พิพาทตลอดมาโดยจำเลยมิได้คัดค้าน เมื่อโจทก์ยืนยันว่าได้บอกกล่าวให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินไปแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแล้ว และไม่ปรากฏว่าการขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมนี้ได้กระทำในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามรูปคดีได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษานอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ไม่ต้องแสดงเจตนาครอบครองเกิน 10 ปี หากมีการครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว
คำฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องอีกว่าได้ครอบครองที่ดินโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเกิน 10 ปี เพื่อให้เห็นว่าได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครอง และในคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ต้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ หรือขอให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันหากจำเลยไม่ยินยอมแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแต่อย่างใด ที่ดินส่วนของโจทก์ เจ้าของเดิม ได้เคยยื่นคำร้องขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ให้เป็นของ ห.ไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ดำเนินการห.ก็นำมาขายให้โจทก์เสียก่อนเมื่อโจทก์เข้าครอบครองก็ได้ปลูกบ้านทำรั้วเป็นส่วนสัดตลอดมา จำเลยทุกคนซึ่งเป็นเจ้าของรวมไม่คัดค้านดังนี้ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินพิพาทไปแบ่งแยก และไม่ปรากฏว่าการแบ่งแยกดังกล่าวได้กระทำในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ถึงแม้โจทก์จะมิได้บอกกล่าวแก่จำเลยอื่นก่อนฟ้องโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยทุกคนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์โดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การครอบครองร่วม และการยกทรัพย์สินโดยเสน่หา
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกครอบครองทรัพย์มรดก คือที่ดินพิพาทร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ปรากฏว่าได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่นก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินมรดก การยกที่ดินโดยเสน่หาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแบ่งที่ดิน
โจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามป.พ.พ. มาตรา 1748 แม้ต่อมา ส. ขอออกโฉนดที่ดินพิพาททั้ง 2แปลง โดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว โดยโจทก์ไม่ยินยอมดังนี้ โจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น 1 ใน 3 ส่วน อยู่เช่นเดิม ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลยโดยเสน่หา โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลงจากจำเลยแปลงละ 1 ใน 3 ส่วนได้ เพราะเป็นกรณีที่เจ้าของรวมเรียกให้แบ่งทรัพย์จากเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง.
of 12