พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความในการแบ่งแยกที่ดิน ถือเป็น binding agreement ที่จำเลยต้องปฏิบัติตาม
จำเลยขายที่ดินให้โจทก์โดยไม่ได้กำหนดว่าส่วนที่ขายอยู่ตอนใดของโฉนด แต่จำเลยได้จดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดนั้น แล้วต่อมาโจทก์จำเลยได้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนี้โดยให้เจ้าพนักงานที่ดินนำแผนที่สังเขปแสดงรูปส่วนของที่ดินที่จะแบ่งแยกไว้และโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อในเอกสารบันทึกการแบ่งแยกที่ดินไว้เป็นหลักฐานด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งแยกที่ดินที่โจทก์จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกันอยู่ จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องยึดถือปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมในการบังคับคดี: การแบ่งส่วนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด
จำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงนำยึดที่นาพิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในที่นาพิพาท ขอให้ศาลมีคำสั่งให้แบ่งส่วนหรือให้กันส่วนของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287ออกจำนวน 21 ไร่ 1 งาน 5 วา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 67(4) ก็มิได้กำหนดว่าคำร้องขอส่วนแบ่งเช่นกรณีของผู้ร้องจะต้องระบุว่าขอให้กันส่วนในจำนวนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดด้วยถือได้ว่าตามคำร้องของผู้ร้องได้ขอให้แบ่งส่วนให้ผู้ร้องด้วย มิได้ขอให้กันส่วนเป็นที่ดินแต่อย่างเดียวชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 แล้ว จะต้องรับคำร้องของผู้ร้องไว้วินิจฉัยชี้ขาดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมฟ้องแบ่งทรัพย์สิน: ไม่จำต้องฟ้องทายาททุกคน
เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิฟ้องทายาทคนหนึ่งคนใดของเจ้าของรวมคนอื่นให้แบ่งทรัพย์สินได้ ไม่จำต้องฟ้องทายาททุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมฟ้องทายาทแบ่งทรัพย์สิน ไม่ต้องฟ้องทุกคน
เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิฟ้องทายาทคนหนึ่งคนใดของเจ้าของรวมคนอื่นให้แบ่งทรัพย์สินได้ ไม่จำต้องฟ้องทายาททุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีข้อผูกพันก่อนซื้อฝาก และสิทธิอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดินสืบต่อมาจากเจ้าของรวมคนนั้นแล้ว และจำเลยได้รู้เห็นยินยอมในการที่โจทก์กับเจ้าของรวมคนดังกล่าวขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดไปตามส่วนของที่ดิน ที่โจทก์ครอบครอง ขอบังคับจำเลยให้แบ่งแยกโฉนดตามที่เจ้าพนักงานรังวัดไว้นั้น ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยได้รู้และมีอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดิน ไม่ใช่เรื่องฟ้องขอให้บังคับตามสัญญา หรือตามเรื่องประนีประนอมยอมความ กรณีเช่นนี้ แม้มิได้มีหนังสือระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ตามคำฟ้อง คำให้การ คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ โจทก์ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ตามคำฟ้อง คำให้การ คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ โจทก์ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้จากการอยู่กินฉันสามีภรรยาและการแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันทำมาหากินในการประกอบการค้า ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระหว่างนั้นย่อมเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้มาด้วยกัน ฉะนั้น โจทก์จำเลยจึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในทรัพย์เหล่านั้น การแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องแบ่งให้โจทก์จำเลยเท่า ๆ กัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันประกอบการค้า มีรายได้และเกิดทรัพย์สินขึ้นหลายอย่างดังที่ระบุไว้ในฟ้อง จึงขอแบ่งรายได้และทรัพย์สินตามฟ้องครึ่งหนึ่งให้โจทก์นั้น เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว และจำเลยก็ให้การต่อสู้มาทุกประเด็น แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาอย่างแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สิทธิกรเช่าเป็นทรัพย์สิน และต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายและสัญญาซึ่งผู้เช่าจะโอนโดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอมไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีสิทธิในการเช่าร่วมกัน ก็ย่อมจะแบ่งสิทธินั้นกันได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยอยู่กินเป็นสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และได้ร่วมกันประกอบการค้า มีรายได้และเกิดทรัพย์สินขึ้นหลายอย่างดังที่ระบุไว้ในฟ้อง จึงขอแบ่งรายได้และทรัพย์สินตามฟ้องครึ่งหนึ่งให้โจทก์นั้น เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว และจำเลยก็ให้การต่อสู้มาทุกประเด็น แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาอย่างแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สิทธิกรเช่าเป็นทรัพย์สิน และต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายและสัญญาซึ่งผู้เช่าจะโอนโดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอมไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยมีสิทธิในการเช่าร่วมกัน ก็ย่อมจะแบ่งสิทธินั้นกันได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแบ่งทรัพย์สินรวมหลังการเสียชีวิตของผู้ถือครองร่วม การฟ้องแบ่งไม่ถือเป็นเวลาไม่สมควร
โจทก์ จำเลยที่ 2 และ ส.ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และได้ครอบครองร่วมกันตลอดมาจนกระทั่ง ส.ถึงแก่ความตาย ดังนี้ แม้ทายาทของ ส.ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งก็มีสิทธิฟ้องผู้จัดการมรดกของ ส.และจำเลยที่ 2 ให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 วรรค 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในการฟ้องแบ่งทรัพย์สิน แม้ผู้เยาว์เป็นทายาท
โจทก์ จำเลยที่ 2 และ ส. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและได้ครอบครองร่วมกันตลอดมาจนกระทั่งส.ถึงแก่ความตาย ดังนี้ แม้ทายาทของ ส.ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งก็มีสิทธิฟ้องผู้จัดการมรดกของ ส. และจำเลยที่ 2 ให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สิน ในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 วรรค 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1782/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยหลอกลวงและสิทธิในทรัพย์สินมรดก ศาลพิจารณาการแบ่งสิทธิร่วมในที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยโดยบรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องเกี่ยวกับเจตนาในการทำนิติกรรมรายนี้ว่า โจทก์ที่ 1 ถูกจำเลยหลอกลวงว่าให้ทำนิติกรรมเสียทีหนึ่งก่อน แล้วค่อยโอนให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4ในภายหลัง โจทก์ที่ 1 จึงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยไม่รู้เท่าทันถึงเหตุการณ์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นฟ้องที่กล่าวโดยชัดแจ้งพอให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นกลฉ้อฉลและเป็นการแสดงเจตนาลวงอันเป็นการขัดกันก็เป็นการยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ หาเป็นเหตุที่จะถือว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ยกส่วนของตนให้จำเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. บิดาซึ่งยังมีทายาทอื่นอีก เช่น จำเลย อีกด้วย. เฉพาะส่วนของ โจทก์ที่ 1ในฐานะภริยาของ ส. ซึ่งยกให้จำเลยนั้น ข้อเท็จจริงก็ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ดังนี้ ยังไม่สมควรที่ศาลจะพิพากษาให้แบ่งส่วนในที่ดินพิพาทไปเลย ควรให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินรายพิพาทตามคำขอของโจทก์เท่านั้นฝ่ายใดจะมีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นส่วนเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่กันเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ยกส่วนของตนให้จำเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. บิดาซึ่งยังมีทายาทอื่นอีก เช่น จำเลย อีกด้วย. เฉพาะส่วนของ โจทก์ที่ 1ในฐานะภริยาของ ส. ซึ่งยกให้จำเลยนั้น ข้อเท็จจริงก็ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ดังนี้ ยังไม่สมควรที่ศาลจะพิพากษาให้แบ่งส่วนในที่ดินพิพาทไปเลย ควรให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินรายพิพาทตามคำขอของโจทก์เท่านั้นฝ่ายใดจะมีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นส่วนเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่กันเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1782/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยหลอกลวงและสิทธิในทรัพย์สินร่วม กรณีทายาทรับมรดกและเจ้าของร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยโดยบรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องเกี่ยวกับเจตนาในการทำนิติกรรมรายนี้ว่า โจทก์ที่ 1 ถูกจำเลยหลอกลวงว่าให้ทำนิติกรรมเสียทีหนึ่งก่อน แล้วค่อยโอนให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4ในภายหลัง โจทก์ที่ 1 จึงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยไม่รู้เท่าทันถึงเหตุการณ์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นฟ้องที่กล่าวโดยชัดแจ้งพอให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะระบุด้วยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นกลฉ้อฉลและเป็นการแสดงเจตนาลวงอันเป็นการขัดกันก็เป็นการยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ หาเป็นเหตุที่จะถือว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ยกส่วนของตนให้จำเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. บิดา ซึ่งยังมีทายาทอื่นอีก เช่น จำเลย อีกด้วย. เฉพาะส่วนของ โจทก์ที่ 1ในฐานะภริยาของ ส. ซึ่งยกให้จำเลยนั้น ข้อเท็จจริงก็ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ดังนี้ ยังไม่สมควรที่ศาลจะพิพากษาให้แบ่งส่วนในที่ดินพิพาทไปเลย ควรให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินรายพิพาทตามคำขอของโจทก์เท่านั้นฝ่ายใดจะมีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นส่วนเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่กันเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ยกส่วนของตนให้จำเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. บิดา ซึ่งยังมีทายาทอื่นอีก เช่น จำเลย อีกด้วย. เฉพาะส่วนของ โจทก์ที่ 1ในฐานะภริยาของ ส. ซึ่งยกให้จำเลยนั้น ข้อเท็จจริงก็ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ดังนี้ ยังไม่สมควรที่ศาลจะพิพากษาให้แบ่งส่วนในที่ดินพิพาทไปเลย ควรให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินรายพิพาทตามคำขอของโจทก์เท่านั้นฝ่ายใดจะมีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นส่วนเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่กันเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก