คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1363

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในเรือนและข้าวเปลือกที่ทำมาหากินร่วมกันระหว่างสามีภริยาที่ไม่จดทะเบียนสมรส
โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ได้ร่วมกันปลูกเรือนในที่ดินของบิดาจำเลย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ย่อมเป็นเจ้าของเรือนร่วมกัน
ปัญหาที่ว่า เรือนซึ่งโจทก์จำเลยปลูกทำลงไว้ในที่ดินของบิดาจำเลย จะเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดาจำเลยหรือไม่นั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใด ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น หาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปไม่ เมื่อมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกามิได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งทำนาร่วมกันจากจำเลยกึ่งหนึ่ง จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของมารดาโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมทำด้วยไป เป็นการแบ่งข้าวเปลือกกันแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงแบ่งกันเช่นนั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้รับว่าจำเลยได้ร่วมทำนาของมารดาโจทก์ด้วย จำเลยจะใช้วิธีการต่างคนต่างเก็บเกี่ยวข้าวกันไป เป็นการหักกลบลบกันไปเช่นนั้นหาได้ไม่ เพราะไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนและข้าวเปลือกจากการอยู่กินฉันสามีภริยา, ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสได้ร่วมกันปลูกเรือนในที่ดินของบิดาจำเลย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ย่อมเป็นเจ้าของเรือนร่วมกัน
ปัญหาที่ว่า เรือนซึ่งโจทก์จำเลยปลูกทำลงไว้ในที่ดินของบิดาจำเลย จะเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดาจำเลยหรือไม่นั้นไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใดย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น หาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปไม่เมื่อมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกามิได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งทำนาร่วมกันจากจำเลยกึ่งหนึ่งจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของมารดาโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมทำด้วยไป เป็นการแบ่งข้าวเปลือกกันแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงแบ่งกันเช่นนั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้รับว่าจำเลยได้ร่วมทำนาของมารดาโจทก์ด้วยจำเลยจะใช้วิธีการต่างคนต่างเก็บเกี่ยวข้าวกันไป เป็นการหักกลบลบกันไปเช่นนั้นหาได้ไม่ เพราะไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนและข้าวเปลือกที่ได้จากการอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส. ได้ร่วมกันปลูกเรือนในที่ดินของบิดาจำเลย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ย่อมเป็นเจ้าของเรือนร่วมกัน.
ปัญหาที่ว่า เรือนซึ่งโจทก์จำเลยปลูกทำลงไว้ในที่ดินของบิดาจำเลย จะเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดาจำเลยหรือไม่นั้น. ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน. เพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใด. ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น. หาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปไม่.เมื่อมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกามิได้.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งทำนาร่วมกันจากจำเลยกึ่งหนึ่ง. จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของมารดาโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมทำด้วยไป เป็นการแบ่งข้าวเปลือกกันแล้ว. เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงแบ่งกันเช่นนั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้รับว่าจำเลยได้ร่วมทำนาของมารดาโจทก์ด้วย. จำเลยจะใช้วิธีการต่างคนต่างเก็บเกี่ยวข้าวกันไป เป็นการหักกลบลบกันไปเช่นนั้นหาได้ไม่. เพราะไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและผลของสัญญาประนีประนอมยอมความที่อ้างถึงมัสยิดที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยไม่อาจตกลงแบ่งที่ดินมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้ในศาลได้ ที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงอุทิศให้มัสยิดหัวหมากตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่มีมัสยิดหัวหมากที่จะได้รับประโยชน์ ข้อตกลงข้อนี้เป็นโมฆะต้องนำที่ดินส่วนที่ยกให้มัสยิดหัวหมากมาแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละเท่าๆ กัน โจทก์จำเลยได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินแปลงนี้ร่วมกันต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่ามัสยิดหัวหมากไม่มีตัวตนอยู่ ต้องนำที่ดินส่วนนั้นมาแบ่งระหว่างโจทก์จำเลย แต่ไม่อาจตกลงกันได้ ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งโจทก์จำเลยมีสิทธิร่วมกันในที่ดินมรดกแปลงนี้ ไม่อาจตกลงแบ่งกันได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้เสมอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363, 1364 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงชัดแจ้งแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งขออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55, 172
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่า มัสยิดหัวหมากไม่มีตัวตนดังที่ปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในศาล แต่จำเลยให้การว่ามัสยิดหัวหมากมีตัวตนอยู่ ประเด็นหน้าที่นำสืบจึงตกแก่โจทก์ต้องนำสืบก่อนให้สมตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งมรดกและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องการมีอยู่จริงของนิติบุคคลผู้รับมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยไม่อาจตกลงแบ่งที่ดินมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้ในศาลได้ที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงอุทิศให้มัสยิดหัวหมากตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่มีมัสยิดหัวหมากที่จะได้รับประโยชน์ข้อตกลงข้อนี้เป็นโมฆะ ต้องนำที่ดินส่วนที่ยกให้มัสยิดหัวหมากมาแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละเท่าๆกันโจทก์จำเลยได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินแปลงนี้ร่วมกันต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้วดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่ามัสยิดหัวหมากไม่มีตัวตนอยู่ ต้องนำที่ดินส่วนนั้นมาแบ่งระหว่างโจทก์จำเลย แต่ไม่อาจตกลงกันได้ ประการหนึ่งอีกประการหนึ่งโจทก์จำเลยมีสิทธิร่วมกันในที่ดินมรดกแปลงนี้ไม่อาจตกลงแบ่งกันได้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้เสมอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1363,1364 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงชัดแจ้งแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55,172
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่า มัสยิดหัวหมากไม่มีตัวตนดังที่ปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในศาล แต่จำเลยให้การว่ามัสยิดหัวหมากมีตัวตนอยู่ ประเด็นหน้าที่นำสืบจึงตกแก่โจทก์ต้องนำสืบก่อนให้สมตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและผลของสัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นโมฆะเนื่องจากผู้รับผลประโยชน์ไม่มีอยู่จริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยไม่อาจตกลงแบ่งที่ดินมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้ในศาลได้. ที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงอุทิศให้มัสยิดหัวหมากตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่มีมัสยิดหัวหมากที่จะได้รับประโยชน์. ข้อตกลงข้อนี้เป็นโมฆะ ต้องนำที่ดินส่วนที่ยกให้มัสยิดหัวหมากมาแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละเท่าๆกัน.โจทก์จำเลยได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินแปลงนี้ร่วมกันต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว. ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่ามัสยิดหัวหมากไม่มีตัวตนอยู่. ต้องนำที่ดินส่วนนั้นมาแบ่งระหว่างโจทก์จำเลย แต่ไม่อาจตกลงกันได้ ประการหนึ่ง.อีกประการหนึ่งโจทก์จำเลยมีสิทธิร่วมกันในที่ดินมรดกแปลงนี้ไม่อาจตกลงแบ่งกันได้. โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้เสมอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363,1364. ฟ้องของโจทก์ได้แสดงชัดแจ้งแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55,172.
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่า มัสยิดหัวหมากไม่มีตัวตนดังที่ปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในศาล. แต่จำเลยให้การว่ามัสยิดหัวหมากมีตัวตนอยู่ ประเด็นหน้าที่นำสืบจึงตกแก่โจทก์ต้องนำสืบก่อนให้สมตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกแทนที่และการหมดสิทธิรับมรดกจากไม่เรียกร้องสิทธิภายในกำหนด
ค. ซึ่งเป็นบุตรเจ้ามรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ค. มีบุตรคือ จำเลยเป็นผู้สืบสันดาน จำเลยย่อมเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ค.
จำเลยมิได้ครอบครองมรดกและมิได้เรียกร้องเอาภายใน 1 ปี ย่อมหมดสิทธิรับมรดก การที่บุตรของ ค. คนอื่นปลูกเรือนอยู่ในที่ดินมรดก หากเป็นความจริงก็เป็นสิทธิของผู้นั้น ส่วนจำเลยหมดสิทธิไปแล้ว จะคัดค้านขอรับมรดกด้วยหาได้ไม่
คดีพิพาทกันในระหว่างทายาทว่า จำเลยมีสิทธิขอแบ่งมรดกหรือไม่ โจทก์ก็ฟ้องเอาทรัพย์มรดกส่วนของ ค.1 ใน 3 ตามที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนด ประเด็นในคดีจึงมีเฉพาะเรื่องทรัพย์มรดกของนางคลี่ มิได้พิพาทกับเจ้าของร่วมว่านางคลี่เจ้ามรดกหรือโจทก์มีกรรมสิทธิ์เกินหนึ่งในสามหรือตามอาณาเขตที่ครอบครอง ศาลจะพิพากษานอกฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกแทนที่และการหมดสิทธิรับมรดกเนื่องจากไม่เรียกร้องภายใน 1 ปี
ค. ซึ่งเป็นบุตรเจ้ามรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกค. มีบุตรคือจำเลยเป็นผู้สืบสันดาน จำเลยย่อมเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ค.
จำเลยมิได้ครอบครองมรดกและมิได้เรียกร้องเอาภายใน 1 ปี ย่อมหมดสิทธิรับมรดก การที่บุตรของ ค. คนอื่นปลูกเรือนอยู่ในที่ดินมรดกหากเป็นความจริงก็เป็นสิทธิของผู้นั้นส่วนจำเลยหมดสิทธิไปแล้วจะคัดค้านขอรับมรดกด้วยหาได้ไม่
คดีพิพาทกันในระหว่างทายาทว่า จำเลยมีสิทธิขอแบ่งมรดกหรือไม่ โจทก์ก็ฟ้องเอาทรัพย์มรดกส่วนของ ค. 1 ใน 3 ตามที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนด ประเด็นในคดีจึงมีเฉพาะเรื่องทรัพย์มรดกของนางคลี่ มิได้พิพาทกับเจ้าของร่วมว่านางคลี่เจ้ามรดกหรือโจทก์ มีกรรมสิทธิ์เกินหนึ่งในสามหรือตามอาณาเขตที่ครอบครอง ศาลจะพิพากษานอกฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสิทธิรับมรดกและการพิจารณาความประมาทในการขับรถ ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น
ค. ซึ่งเป็นบุตรเจ้ามรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ค. มีบุตรคือ จำเลยเป็นผู้สืบสันดาน จำเลยย่อมเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ค.
จำเลยมิได้ครอบครองมรดกและมิได้เรียกร้องเอาภายใน 1 ปี ย่อมหมดสิทธิรับมรดก การที่บุตรของ ค. คนอื่นปลูกเรือนอยู่ในที่ดินมรดก หากเป็นความจริงก็เป็นสิทธิของผู้นั้น ส่วนจำเลยหมดสิทธิไปแล้ว จะคัดค้านขอรับมรดก หากเป็นความจริงก็เป็นสิทธิของผู้นั้น ส่วนจำเลยหมกสิทธิไปแล้ว จะคัดค้านขอรับมรดกด้วยหาได้ไม่
คดีพิพาทกันในระหว่างทายาทว่า จำเลยมีสิทธิขอแบ่งมรดกหรือไม่ โจทก์ก็ฟ้องเอาทรัพย์มรดกส่วนของ ค.1 ใน 3 ตามที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนด ประเด็นในคดีจึงมีเฉพาะเรื่องทรัพย์มรดกของนางคลี่ มิได้พิพาทกับเจ้าของร่วมว่านางคลี่เจ้ามรดกหรือโจทก์มีกรรมสิทธิ์เกินหนึ่งในสามหรือตามอาณาเขตที่ครอบครอง ศาลจะพิพากษานอกฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งทรัพย์สินที่ทำมาหากินร่วมกันระหว่างเจ้าของรวมกับทายาท
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์ที่โจทก์อ้างว่าเป็นทรัพย์ที่โจทก์และ ส. ทำมาหาได้ด้วยกัน จึงเป็นฟ้องให้แบ่งทรัพย์ที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. คดีโจทก์ไม่มีอายุความ
กรณีที่เจ้าของรวมฟ้องให้แบ่งทรัพย์จากเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง จะนำอายุความเรื่องละเมิดหรือฝากทรัพย์มาบังคับไม่ได้
of 12