คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 887 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อยกเว้นเรื่องใบอนุญาตขาดอายุ แต่ข้อสัญญาพิเศษทำให้บริษัทประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมีข้อยกเว้นทั่วไป ระบุว่าการประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่เคยได้รับอนุญาตขับรถยนต์แต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน ก็ตาม แต่มีข้อสัญญาพิเศษระบุว่า "บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย หรือเงื่อนไขทั่วไปเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1หรือข้อ 2.2 เมื่อบริษัทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์นี้ต่อผู้เอาประกันภัยเพราะกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้น ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องใช้จำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัท ทันที"ดังนั้นจำเลยร่วมจะยกเอาเหตุที่ผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า 180 วันมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ได้แต่ยกขึ้นว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัยเท่านั้นจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยและการรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกแม้มีข้อยกเว้น
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมีข้อยกเว้นทั่วไป ระบุว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์แต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน ก็ตาม แต่มีข้อสัญญาพิเศษระบุว่า "...บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอา-ประกันภัย หรือเงื่อนไขทั่วไปเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฎิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 หรือข้อ 2.2 เมื่อบริษัทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์นี้ต่อผู้เอาประกันภัยเพราะกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้น ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องใช้จำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัททันที" ดังนั้นจำเลยร่วมจะยกเอาเหตุที่ผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอา-ประกันภัยขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า 180 วัน มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ ได้แต่ยกขึ้นว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: ผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมของผู้เอาประกันภัยมีฐานะเสมือนผู้เอาประกันภัย ทำให้บริษัทประกันภัยต้องรับผิดชอบ
จ. เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลยที่3แม้จะมีข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ2.3ว่าบริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายก็ตามแต่กรมธรรม์ดังกล่าวข้อ2.8ก็มีข้อความว่าบริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเองจำเลยที่2นำรถยนต์คันดังกล่าวไปใช้โดยให้จำเลยที่1ลูกจ้างของตนเป็นคนขับแล้วเกิดเหตุคดีนี้จึงต้องถือว่าจำเลยที่1ขับรถโดยความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยและมีฐานะเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเองเมื่อจำเลยที่1ทำละเมิดและต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420จำเลยที่3ก็ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยตามสัญญาข้อ2.8ซึ่งเป็นข้อตกลงพิเศษหาได้ขัดกับมาตรา887วรรคหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยรถยนต์: ความยินยอมผู้ขับขี่เสมือนผู้เอาประกันภัย
จ.เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลยที่ 3 แม้จะมีข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.3 ว่า บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายก็ตาม แต่กรมธราม์ดังกล่าวข้อ 2.8 ก็มีข้อความว่า บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2นำรถยนต์คันดังกล่าวไปใช้โดยให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของตนเป็นคนขับ แล้วเกิดเหตุคดีนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย และมีฐานะเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเอง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดและต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยตามสัญญาข้อ 2.8 ซึ่งเป็นข้อตกลงพิเศษ หาได้ขัดกับมาตรา 887 วรรคหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการพิพากษาเกินคำฟ้อง
ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้แม้จะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษากลับในส่วนนี้ คดีจึงไม่ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก เดิมศาลฎีกาจึงไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2มีหน้าที่ขับรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1ขับรถยนต์ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ตามคำฟ้องดังกล่าวต้องฟังว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่พึงกระทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่อาศัยคำฟ้องไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกและวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความเสียหาย
ผู้รับประกันภัยค้ำจุน จะต้องรับผิดในวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบสำหรับวินาศภัยที่เกิดขึ้นนั้น
ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 เจ้าของรถยนต์ได้ประกันภัยค้ำจุนไว้กับบริษัทจำเลยที่ 2 ในระหว่าง อายุสัญญาประกันภัยจำเลยที่ 1 ได้ให้ ส. เช่าซื้อรถยนต์นั้นไปแล้ว พ.ลูกจ้างของ ส.ได้ขับรถยนต์คันนั้นไปชนกับรถยนต์ของผู้อื่น ดังนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายในผลแห่งละเมิดที่ พ.ก่อให้เกิดขึ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีดังกล่าว จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเช่นกัน
of 2