พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7987/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลบหนีหลังเกิดเหตุและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ: ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีไปโดยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตามสมควร ทั้งไม่ได้แจ้งเหตุต่อพนักงาน-เจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีก็ตาม ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยหลบหนีไม่ทำการช่วยเหลือหรือแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7987/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานขับรถประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และหลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าหลังเกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีไปโดยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตามสมควรทั้งไม่ได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีก็ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฎว่าการที่จำเลยหลบหนีไม่ทำการช่วยเหลือหรือแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา160วรรคสองคงเป็นความผิดตามมาตรา160วรรคหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษที่ไม่ถูกต้องตามฟ้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
พระราชบัญญัติญญัติจราจรทางบก(ฉบับที่4)พ.ศ.2535มาตรา30เป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา160ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43(1)(2)(5)หรือ(8)และมาตรา78เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43(1)(2)(5)หรือ(8)และมาตรา78มาด้วยจึงไม่ต้องปรับบทลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก(ฉบับที่4)พ.ศ.2535มาตรา30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเมื่อไม่ได้ขอลงโทษตามกฎหมายเดิม
พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535 มาตรา 30เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (1) (2) (5) หรือ(8) และมาตรา 78 เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 43 (1) (2) (5) หรือ (8) และมาตรา 78 มาด้วยจึงไม่ต้องปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญาโดยศาลอุทธรณ์ และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีนี้แม้โจทก์จะเป็นผู้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นและไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยก็ยังไม่ถึงที่สุด
ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุด ไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิดศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 212 เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลย และศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลง แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 55 มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุด ไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิดศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 212 เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลย และศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลง แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 55 มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขับขี่ที่หลบหนีหลังเกิดอุบัติเหตุ และการไม่ให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
ภายหลังจากเกิดเหตุรถชนกันแล้ว มีผู้นำผู้ตายและโจทก์ร่วมส่งโรงพยาบาล ผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนนั้น ส่วนจำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุประมาณ 2 นาที แล้วหลบหนีไป ต่อมาอีก 6 วัน จำเลยจึงเข้ามอบตัวต่อสู้คดี ดังนี้ การที่จำเลยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควรไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสและผู้ตายถึงแก่ความตายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง การที่รถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันชนกันจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้เกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยจำเลยเพียงแต่หลบหนีไปเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 วรรคแรก160 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการหลบหนีหลังเกิดอุบัติเหตุ และการไม่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ภายหลังจากเกิดเหตุรถชนกันแล้ว มีผู้นำผู้ตายและโจทก์ร่วมส่งโรงพยาบาล ผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนนั้น ส่วนจำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุประมาณ 2 นาทีแล้วหลบหนีไป ต่อมาอีก 6 วัน จำเลยจึงเข้ามอบตัวต่อสู้คดี ดังนี้ การที่จำเลยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสและผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง
การที่รถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันชนกันจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้เกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยเพียงแต่หลบหนีไปเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยให้รอการลงโทษจำคุกไว้
ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78วรรคแรก, 160 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
การที่รถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันชนกันจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้เกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยเพียงแต่หลบหนีไปเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยให้รอการลงโทษจำคุกไว้
ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78วรรคแรก, 160 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5439/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุรถไถ: การติดไฟแสงแดงและปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
จำเลยขับรถไถในทางเวลากลางคืนมีหน้าที่ต้องเปิดไฟแสงแดงที่ท้ายรถตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 เมื่อท้ายรถไถที่จำเลยขับมีผานไถและจานไถบรรทุกอยู่ยื่นออกนอกตัวรถไปด้านท้ายประมาณ 2 เมตรจำเลยมีหน้าที่ต้องใช้โคมไฟแสงแดงติดไว้ที่ปลายสุดของผานไถและเปิดไว้ด้วย แต่เมื่อจำเลยเปิดไฟท้ายและไฟส่องผานไถซึ่งเป็นไฟสปอตไลท์ขนาดใหญ่ สามารถส่องกระจายแสงได้กว้างและเห็นได้ในระยะไกล และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยยกผานไถไว้ในระดับที่บดบังไฟท้าย ไฟส่องผานไถและแผ่นวงกลมสีแดงสะท้อนแสงจนไม่สามารถมองเห็นรถไถได้จากระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร แม้จำเลยจะไม่ติดโคมไฟแสงแดงไว้ที่ปลายสุดของผานไถ ก็ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงให้รถยนต์ที่ผู้ตายขับตามหลังชนถูกผานรถไถที่จำเลยขับ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้ศาลชั้นต้นยกฟ้องบางส่วน เหตุผลสำคัญอยู่ที่การพิสูจน์ความประมาทของผู้ขับขี่
คดีที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสงขลา ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297,300,91 ศาลจังหวัดสงขลาไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายสาหัส คงมีมูลความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจกับฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และ 300 ตามลำดับเท่านั้น ซึ่งเป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่รับไว้พิจารณาได้หากโจทก์ยังติดใจจะดำเนินคดีกับจำเลยก็ให้นำไปฟ้องยังศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป จึงไม่รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษายกฟ้อง ศาลจังหวัดสงขลามิได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมเพราะเหตุต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185กล่าวคือยังมิได้วินิจฉัยถึงการกระทำผิดของจำเลยตามข้อกล่าวหาของโจทก์ร่วม ดังนั้นในคดีดังกล่าวจึงยังไม่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง โจทก์และโจทก์ร่วมในคดีนี้ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยได้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300,390 ยังไม่ระงับ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) จำเลยไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสและผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานขับรถซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลแล้วไม่หยุดรถช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78,160 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทขับรถชนต้นไม้ ตู้สำนักงานหล่นทับรถคันอื่น ทำให้ผู้ขับขี่เสียชีวิต ศาลฎีกายืนความผิดฐานประมาท
จำเลยขับรถเทรลเลอร์ บรรทุกตู้สำนักงานชั่วคราวไปตามถนนวิทยุด้วยความเร็วสูงชนกับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ที่เกาะกลางถนน เป็นเหตุให้ตู้สำนักงานชั่วคราวหลุดตกลงกระแทกกับรถยนต์ที่ผู้ตายขับสวนทางมารถผู้ตายเสียการทรงตัวแล่นไถลไปชนกับรถยนต์โดยสารปรับอากาศขนาดกลางและต้นไม้ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย การที่จำเลยขับรถยนต์ลากจูงรถพ่วงบรรทุกตู้สำนักงานขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสูงจากพื้นถนนถึง 3.60 เมตร ไปตามถนนซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมบนเกาะกลางถนนตลอดเส้นทางด้วยความเร็วสูง ในขณะที่ไฟฟ้าสาธารณะริมถนนดับหมด จนเป็นเหตุให้ตู้สำนักงานชั่วคราวที่บรรทุกมาบนรถจำเลยเฉี่ยวชนกับต้นไม้ใหญ่ข้างทาง ถือได้ว่า เป็นการกระทำโดยประมาทจำเลยจึงมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 กับตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 35,157 และมาตรา78,160 วรรคแรก เป็นความผิดต่างกรรม รวม 3 กระทง