พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดรถตามกฎหมายจราจรทางบก: การสิ้นสุดอำนาจเมื่อคดีขาดอายุความและการไม่เป็นละเมิด
โจทก์ฟ้องกล่าวเป็นประเด็นในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองยึดรถของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะพึงกระทำได้ โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกระทำการยึดรถไว้โดยไม่มีความจำเป็นที่ต้องกระทำ ข้อเท็จจริงตามฎีกาโจทก์ที่ว่าเจ้าพนักงานไม่มีความจำเป็นต้องยึดรถโจทก์ไว้ต่อไปแล้ว จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นมาอ้างในชั้นฎีกา ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ โจทก์อ้างว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคแรก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคดีจะขาดอายุความในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(5) พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจยึดรถไว้ถึงวันที่ 1 มกราคม 2527 เท่านั้น พ้นจากนั้นอำนาจในการยึดย่อมสิ้นสุดลง และจะต้องคืนรถทันที จำเลยทั้งสองไม่คืนให้เป็นการละเมิดโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 ธันวาคม 2526ในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังมีอำนาจยึดรถของโจทก์ไว้ได้ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถกรณีอุบัติเหตุและการหมดอายุความของความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยึดยังอยู่ในอำนาจตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องกล่าวเป็นประเด็นในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองยึดรถของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะพึงกระทำได้ โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกระทำการยึดรถไว้โดยไม่มีความจำเป็นที่ต้องกระทำ ข้อเท็จจริงตามฎีกาโจทก์ที่ว่าเจ้าพนักงานไม่มีความจำเป็นต้องยึดรถโจทก์ไว้ต่อไปแล้ว จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นมาอ้างในชั้นฎีกา ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์อ้างว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160วรรคแรก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคดีจะขาดอายุความในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (5) พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจยึดรถไว้ถึงวันที่ 1 มกราคม 2527 เท่านั้น พ้นจากนั้นอำนาจในการยึดย่อมสิ้นสุดลง และจะต้องคืนรถทันที จำเลยทั้งสองไม่คืนให้เป็นการละเมิดโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 ธันวาคม2526 ในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังมีอำนาจยึดรถของโจทก์ไว้ได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 78 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิด
โจทก์อ้างว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160วรรคแรก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคดีจะขาดอายุความในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (5) พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจยึดรถไว้ถึงวันที่ 1 มกราคม 2527 เท่านั้น พ้นจากนั้นอำนาจในการยึดย่อมสิ้นสุดลง และจะต้องคืนรถทันที จำเลยทั้งสองไม่คืนให้เป็นการละเมิดโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 ธันวาคม2526 ในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังมีอำนาจยึดรถของโจทก์ไว้ได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 78 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และประเด็นการหลบหนีไม่ช่วยเหลือ
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับบาดเจ็บ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมายังที่เกิดเหตุทราบว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุ และมีผู้อื่นนำส่งผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แม้ต่อมาจำเลยหลบหนีไปก็จะถือว่าจำเลยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือตามสมควรแก่ผู้ตายและผู้บาดเจ็บกับไม่ได้แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การประมาทของผู้ตาย และเหตุรอการลงโทษ
การที่ ส. ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนโจทก์ร่วมและร. ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส สาเหตุเนื่องจากบาดแผลซึ่งเกิดจากรถชนกันไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยหลบหนีโดยไม่ทำการช่วยเหลือหรือไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหรือผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรก แม้จำเลยจะขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถที่ ส.ขับทำให้ ส. ถึงแก่ความตาย โจทก์ร่วมกับพวกได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กาย แต่ปรากฏตามฟ้องว่าผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถโดยความประมาทด้วย และสาเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นเพราะผู้ตายกลับรถกลางถนนในเขตชุมนุมชน ผู้ตายจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำผิดอยู่มากกรณีมีเหตุอันควรปรานี รอการลงโทษให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์และการแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ การกระทำที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยนำผู้ตายไปส่งโรงพยาบาลในทันทีหลังจากที่ขับรถชนผู้ตาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยหลบหนีไปจนเป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับอันตรายถึงตายตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160วรรคสอง จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรก เท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายและหลบหนี ถือเป็นคนละกรรม
การที่จำเลยขับรถเลี้ยวขวาตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส และรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายได้รับความเสียหายนั้น ถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) ประกอบด้วยมาตรา 157 และเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัสอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 อันเป็นบทหนัก เมื่อเกิดเหตุชนแล้ว จำเลยได้หลบหนีและไม่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังจากผู้เสียหายได้ขับรถจักรยานยนต์ชนรถยนต์คันที่จำเลยเป็นผู้ขับขี่ตัดหน้าซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนาของจำเลยแยกต่างหากจากการกระทำครั้งแรกอันเป็นเรื่องต่างกรรม จำเลยจึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78,160 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดต่อรัฐ: เจ้าของทรัพย์สินเสียหายไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
เจ้าของรถที่เสียหายเพราะถูกรถที่จำเลยขับชนมิใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกที่โจทก์ฟ้องอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดต่อรัฐ: เจ้าของทรัพย์สินเสียหายไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
เจ้าของรถที่เสียหายเพราะถูกรถที่จำเลยขับชนมิใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกที่โจทก์ฟ้องอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดต่อรัฐ: เจ้าของรถที่เสียหายไม่มีสิทธิ
เจ้าของรถที่เสียหายเพราะถูกรถที่จำเลยขับชนมิใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกที่โจทก์ฟ้องอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีขับรถชนแล้วหลบหนี ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้อง
ความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 78,160 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่เชื่อว่าจำเลยเป็นผู้ขับรถชนผู้ตายแล้ว ความผิดในข้อหาดังกล่าวจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับพิจารณาในข้อหานี้โดยลงโทษจำเลยก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าว.