คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ม. 70

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาฐานทำไม้และรับซื้อไม้ผิดกฎหมาย การรับคำสารภาพ และการแก้ไขโทษ
แม้จะระบุวันนัดกระทำความผิด และไม้พะยูงจำนวนเดียวกันแต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 2 (ก) และข้อ 2 (ข) มิได้มีข้อความใดระบุยืนยันหรือทำให้เข้าใจได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐานเป็นตัวการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต และกระทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ หรือรับไว้ซึ่งไม้ของกลางโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ที่คนร้ายได้มาจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ทั้งสองฐานในคราวเดียวกัน และมิได้มีความขัดแย้งกัน แต่เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เพื่อให้ศาลวินิจฉัยและเลือกลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความ คำฟ้องของโจทก์ข้อ 2 (ก) และข้อ 2 (ข) ถือได้ว่าเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ดังนั้น ฟ้องโจทก์ข้อ 2 (ก) และ ข้อ 2 (ข) จึงไม่ขัดแย้งกันและไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 70 เป็นบทบัญญัติพิเศษที่บัญญัติให้ผู้ใดรับไว้ด้วยประการใด ซ่อนเร้น จำหน่ายหรือช่วยพาเอาไปเสียให้พ้น ซึ่งไม้หรือของป่าที่ตนรู้แล้วว่าเป็นไม้หรือของป่าที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้มีความผิดฐานเป็นตัวการในการกระทำผิดนั้น แม้ผู้นั้นจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในภายหลังจากการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว หรือมิได้เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดโดยตรงมาตั้งแต่ต้นก็ตาม ก็ต้องรับผิดฐานเป็นตัวการในการกระทำความผิดนั้นด้วย คำรับสารภาพของจำเลยในข้อหารับไว้ด้วยประการใดซึ่งไม้ของกลางที่ตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิด กับข้อหามีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายชัดแจ้งและไม่เคลือบคลุมแต่อย่างใด ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการเก็บหาของป่าหวงห้าม แม้ไม่ได้เก็บเองแต่รับซื้อและเคลื่อนย้ายก็มีความผิดตามกฎหมายป่าไม้
จำเลยรับซื้อถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามแล้วพาถ่านไม้นั้นไปเสียให้พ้นพาเคลื่อนที่จากป่า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าถ่านไม้ ดังกล่าวเป็นของป่าหวงห้ามที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิดฐาน เก็บหาของป่าหวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และ มิได้เสียค่าภาคหลวงอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นตัวการเก็บหาของป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 มาตรา 29, 70

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการเก็บหาของป่าหวงห้าม แม้ไม่ได้เก็บเอง แต่รับซื้อและเคลื่อนย้าย ถือมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
จำเลยรับซื้อถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามแล้วพาถ่านไม้ นั้น ไปเสียให้พ้นพาเคลื่อนที่จากป่าโดยจำเลยรู้อยู่ แล้วว่าถ่านไม้ ดังกล่าวเป็นของป่าหวงห้ามที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิดฐาน เก็บหาของป่าหวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และ มิได้เสียค่าภาคหลวงอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นตัวการเก็บหาของป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 มาตรา 29,70

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานครอบครองไม้หวงห้าม: การใช้กฎหมายเก่าหรือใหม่ และการรับรู้ถึงความผิด
กฎหมายเก่าที่ใช้อยู่ขณะกระทำผิดมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทส่วนกฎหมายใหม่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท กฎหมายทั้งสองฉบับนี้ต่างเป็นคุณต่อผู้กระทำผิด แล้วแต่จะดูในแง่ขั้นสูงหรือขั้นต่ำของโทษ ถ้าศาลจะลงโทษจำคุกในอัตราขั้นสูงต้องใช้กฎหมายฉบับแรกเพราะเป็นคุณแก่จำเลย แต่ถ้าจะจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำต้องใช้กฎหมายฉบับหลังเพราะเป็นคุณแก่จำเลยคดีนี้ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี การวางโทษจึงอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายเก่าก็ได้หรือใช้กฎหมายฉบับใหม่ก็ได้ควรใช้กฎหมายเก่าอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิดบังคับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1292/2500) จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน ป. เป็นน้องเขยของภริยาจำเลยอาศัยอยู่ในบริเวณรั้วเดียวกันกับบ้านจำเลย และไม่มีรั้วกั้นระหว่างบ้านทั้งสอง ป. มีอาชีพทำโต๊ะและประตูไม้ขายซึ่งต้องใช้ไม้ปริมาณมาก เจ้าพนักงานตำรวจค้นพบไม้หวงห้ามของกลางที่ยุ้งข้าวและห้องเก็บของใต้ถุนบ้านจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งไม้ของกลางโดยจำเลยรู้ว่าเป็นไม้ที่ได้มาโดยผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ซึ่งเป็นความผิดฐานเป็นตัวการตาม มาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติ ป่าไม้แล้ว เพราะเพียงแต่รับไว้ด้วยประการใดๆก็เป็นความผิดไม่ต้องถึงกับร่วมกันกระทำผิด จำเลยมีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ปราบปรามการกระทำผิดแต่กลับกระทำผิดเสียเอง และความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติอันควรรักษาไว้ จึงไม่มีเหตุที่จะลงโทษให้เบาลง และรอการลงอาญาให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดป่าไม้ ต้องระบุรายละเอียดการได้มาซึ่งของป่าที่เป็นความผิดด้วย
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้มาอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ของผู้ได้มาซึ่งไม้หรือของป่าที่เป็นวัตถุแห่งการกระทำผิดตามมาตรา 70 ย่อมเป็นองค์ประกอบความผิดที่โจทก์ต้องบรรยายมาในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจรับถ่านไม้ 6 กระสอบปริมาตร 0.75 ลูกบาศก์เมตร อันเป็นของป่าหวงห้ามโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของป่าที่มีผู้ได้มาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ได้เสียค่าภาคหลวง และจำเลยช่วยพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งถ่านไม้จำนวนดังกล่าว โจทก์มิได้บรรยายว่าผู้ที่ได้ถ่านไม้มาได้เก็บหาของป่าหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่ของป่าหวงห้ามในป่า อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 29 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว เมื่อตามฟ้องไม่ปรากฏว่าผู้ได้ถ่านไม้มา.ได้ถ่านไม้นั้นมาโดยการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 29 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้รับและช่วยพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งถ่านไม้ดังกล่าวก็ไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการฟ้องโจทก์บรรยายไม่ครบถ้วน แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดป่าไม้ ต้องระบุการได้มาซึ่งของป่าที่เป็นความผิดด้วย
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้มาอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ของผู้ได้มาซึ่งไม้หรือของป่าที่เป็นวัตถุแห่งการกระทำผิดตามมาตรา 70 ย่อมเป็นองค์ประกอบความผิดที่โจทก์ต้องบรรยายมาในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจรับถ่านไม้ 6 กระสอบปริมาตร 0.75 ลูกบาศก์เมตร อันเป็นของป่าหวงห้ามโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของป่าที่มีผู้ได้มาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ได้เสียค่าภาคหลวง และจำเลยช่วยพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งถ่านไม้จำนวนดังกล่าว โจทก์มิได้บรรยายว่าผู้ที่ได้ถ่านไม้มาได้เก็บหาของป่าหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่ของป่าหวงห้ามในป่า อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 29 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว เมื่อตามฟ้องไม่ปรากฏว่าผู้ได้ถ่านไม้มาได้ถ่านไม้นั้นมาโดยการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 29 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้รับและช่วยพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งถ่านไม้ดังกล่าวก็ไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการ ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ครบถ้วน แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมมีไม้ผิดกฎหมาย แม้ไม่มีกรรมสิทธิ์: การรับหรือช่วยพาไม้ที่รู้ว่าเป็นของผิดกฎหมายถือเป็นความผิด
พระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 70 บัญญัติว่า ผู้ใดรับไว้ด้วยประการใด ซ่อนเร้นจำหน่ายหรือช่วยพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งไม้ที่ตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ มีความผิดเป็นตัวการในการกระทำผิดนั้น ดังนั้น แม้จำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์ในไม้ของกลางก็ตาม แต่เมื่อจำเลยรับไว้หรือช่วยพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งไม้ของกลางที่ตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ผิดกฎหมาย จำเลยก็ต้องมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันมีไม้ของกลางหวงห้ามไว้ในความครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับหรือช่วยพาไม้ผิดกฎหมายเข้าครอบครอง ถือเป็นตัวการร่วมกันมีไม้หวงห้าม
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 70 บัญญัติว่า ผู้ใดรับไว้ด้วยประการใด ซ่อนเร้นจำหน่ายหรือช่วยพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งไม้ที่ตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ มีความผิดเป็นตัวการในการกระทำผิดนั้น ดังนั้น แม้จำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์ในไม้ของกลางก็ตาม แต่เมื่อจำเลยรับไว้หรือช่วยพาเอาไปเสียให้พ้นซึ่งไม้ของกลางที่ตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้ผิดกฎหมาย จำเลยก็ต้งมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันมีไม้ของกลางหวงห้ามไว้ในความครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิดป่าไม้: ศาลพิจารณาจากบทบัญญัติอาญาควบคู่กับดุลพินิจ
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ให้ลูกจ้างของตนนำไปบรรทุกถ่านจากผู้ที่ลักลอบเผา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นถ่านที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์เป็นพิเศษซึ่งไม่อาจใช้บังคับแก่รถยนต์ของกลางคันนี้ได้ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีข้อความใดบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นอันจะแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ ต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาใช้บังคับในการที่จะริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 531/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: ศาลพิจารณาจากบทบัญญัติทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาได้ แม้มีกฎหมายเฉพาะ
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ++
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - รอย่อ
++ แจ้งการอ่านแล้ว / โปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ให้ลูกจ้างของตนนำไปบรรทุกถ่านจากผู้ที่ลักลอบเผา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นถ่านที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์เป็นพิเศษซึ่งไม่อาจใช้บังคับแก่รถยนต์ของกลางคันนี้ได้ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีข้อความใดบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นอันจะแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ ต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาใช้บังคับในการที่จะริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 531/2510)