พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม: เงินจองรถยนต์เป็นส่วนหนึ่งของฐานภาษี และข้อยกเว้นการอนุมัติประเมินเกิน 2 ปี
โจทก์ซื้อรถยนต์จากผู้จำหน่ายรถยนต์มาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ในราคาที่หักเงินจองที่ผู้เช่าซื้อจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายรถยนต์แล้วโจทก์ขายให้แก่ผู้เช่าซื้อ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในส่วนนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตามมูลค่าเงินจอง เงินจองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์จึงเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าของฐานภาษีตามสัญญาให้เช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้เช่าซื้อด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากอธิบดีฯ แม้จะเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่เมื่ออนุมัติภายใน 5 ปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมิน
เจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากอธิบดีฯ แม้จะเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่เมื่ออนุมัติภายใน 5 ปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องแจ้งประเมินภายใน 5 ปี นับจากวันยื่นแบบพิมพ์ หากเกินกำหนด การประเมินเป็นโมฆะ
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนปี 2548 ที่พบเป็นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีใด และมิใช่ปี 2540 ถึง 2544 ที่พิพาทหรือไม่ คำให้การของจำเลยจึงไม่แสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วนเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมายแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉันว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทต่อจำเลยภายในกำหนดหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะอุทธรณ์ตามกฎหมายอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 19 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่จำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมินก็ตาม แม้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรจะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ในกรณีนี้ได้ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน เมื่อจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินและคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 19 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่จำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมินก็ตาม แม้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรจะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ในกรณีนี้ได้ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน เมื่อจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินและคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเกิน 5 ปีนับจากวันยื่นแบบฯ เป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปี 2540 ถึง 2549 ต่อกรุงเทพมหานครจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมาย จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2548 สำหรับห้องชุดพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจสอบสมุดทะเบียนภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้วปรากฏว่าห้องชุดพิพาทยังไม่เคยมีการยื่นเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน คำให้การในตอนแรกนี้จำเลยเพียงแต่ต่อสู้ว่า โจทก์ยังมิได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเท่านั้น มิได้ต่อสู้ว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน นอกจากนี้จำเลยยังให้การต่อไปว่า ในเดือนธันวาคม 2549 สำนักงานเขตคลองเตยได้จัดกิจกรรมทำความสะอาดครั้งใหญ่จึงพบเอกสารแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ก่อนปีภาษี 2548 บางปี โดยจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนปีภาษี 2548 ที่พบเป็นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีใด และมิใช่ปี 2540 ถึง 2544 ที่พิพาทหรือไม่ คำให้การของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดพิพาทประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อจำเลยตามกำหนดเวลาของกฎหมายแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉันว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2540 ถึง 2544 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีภาษีหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะอุทธรณ์ตามกฎหมาย อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 19 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติม หรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมิน
สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรแม้จะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ย้อนหลังเกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้าของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดยืนตามการประเมินของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่จำเลยแม้จะยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาทภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 19 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีแจ้งไปยังโจทก์ภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ ไม่ว่าการประเมินนั้นจะเป็นเพราะโจทก์แจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติม หรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยยังมิได้ดำเนินการประเมิน
สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรแม้จะมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 แต่การที่จำเลยจะใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ก่อน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งรายการประเมินไปยังโจทก์ย้อนหลังเกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้าของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีภาษีพิพาทที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้เป็นการประเมินเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) เป็นผลให้การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดยืนตามการประเมินของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่จำเลยแม้จะยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: การร้องทุกข์ด้วยวาจาโดยกรรมการบริษัท ถือเป็นการร้องทุกข์โดยชอบ
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนังสือมอบอำนาจมิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ร่วมตามข้อบังคับซึ่งมีผลให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายก็ตาม แต่ก็ได้ความว่าในวันที่ ก. ผู้รับมอบอำนาจเข้าให้การต่อพนักงานสอบสวนนั้น ก. มิได้นำหนังสือร้องทุกข์ไปมอบให้แก่พนักงานสอบสวน เป็นการร้องทุกข์ด้วยวาจา และในวันเดียวกันนั้นเอง ด. และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมก็ได้ไปพบพนักงานสอบสวนพร้อมกับ ก. และให้การต่อพนักงานสอบสวนไว้ด้วยตามบันทึกคำให้การของผู้ร้องทุกข์ ผู้กล่าวโทษหรือพยาน ซึ่ง ธ. พนักงานสอบสวนพยานโจทก์เบิกความว่า ในวันที่พยานรับคำร้องทุกข์ ด. และ ว. ให้การต่อพยานว่าจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้และสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวและ ด. กับ ว. ยืนยันให้ดำเนินคดีแก่จำเลย จึงฟังได้ว่าบริษัทโจทก์ร่วมโดย ด. และ ว. ได้ร้องทุกข์ด้วยวาจาหรือด้วยปากต่อพนักงานสอบสวนโดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 123 วรรคสามแล้ว ส่วนการที่พนักงานสอบสวนได้จัดให้มีการลงบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี หรือบันทึกคำให้การของ ด. และ ว. มีรายละเอียดอย่างใดก็เป็นการดำเนินการเพื่อให้มีการบันทึกไว้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9626/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก แม้จะมีข้อพิพาทเรื่องความสมบูรณ์ของนิติกรรมก่อนหน้า
จำเลยให้การว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก จ. โดยไม่สุจริต เพราะโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ฟ้อง จ. ให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทในข้อหานิติกรรมอำพรางใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากระหว่างจำเลยกับ จ. เป็นนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย แต่ข้ออ้างของจำเลยในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ จ. และจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยอ้างว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก จ. ภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาไถ่ที่จำเลยผู้ขายฝากจะมีสิทธิไถ่คืนจาก จ. ผู้ซื้อฝากแล้ว เมื่อ จ. มิได้อยู่ในฐานะคู่ความในคดีนี้ ข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินคดีแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวให้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของจำเลย แม้จำเลยจะได้ฟ้อง จ. ต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาท แต่ปรากฏว่าจำเลยได้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวและศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความแล้ว ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินจึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9494/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้, การบังคับจำนอง, และดอกเบี้ย: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จ. กับจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินโจทก์ ตกลงผ่อนชำระเงินกู้และดอกเบี้ยคืนเป็นรายงวดหากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทุกงวด โจทก์ได้รับชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ 18 มกราคม 2539 จึงต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระงวดที่เหลือทั้งหมด สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่นั้น อายุความฟ้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีกำหนดอายุความห้าปีและเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2539 แต่โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 เกินห้าปีแล้ว ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความและศาลฎีกาเห็นควรให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับ จ. ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247 และแม้หนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) ถึง (6) เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินห้าปีตามมาตรา 745 ได้และเมื่อโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้ว จึงเป็นไปตามข้อตกลงไปในสัญญาจำนองอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ใช่เบี้ยปรับที่ศาลจะปรับลดให้แก่ลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9494/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จำนอง-การบังคับจำนอง-ดอกเบี้ย-การแก้ไขคำพิพากษา
สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่นั้น อายุความฟ้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีกำหนดอายุความห้าปี และเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 จึงเกินห้าปี ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ และศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับ จ. เจ้ามรดกที่มีจำเลยที่ 1 เป็นทายาทโดยธรรมซึ่งให้การยกข้อต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247
หนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 744 ที่บัญญัติเหตุจำนองระงับไว้ใน (1) ถึง (6) โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้ แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีตามที่มาตรา 745 บัญญัติห้ามไว้เท่านั้น
โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 13.75 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา จึงมิใช่เบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างมาในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
หนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 744 ที่บัญญัติเหตุจำนองระงับไว้ใน (1) ถึง (6) โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้ แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีตามที่มาตรา 745 บัญญัติห้ามไว้เท่านั้น
โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 13.75 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา จึงมิใช่เบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างมาในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากเช็คคืนประกันตัว – เช็คระบุชื่อผู้รับเงินไม่ใช่หนี้ที่จำเลยต้องส่งมอบให้แก่ตัวการ
เช็คที่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายให้แก่จำเลยในฐานะนายประกันเป็นเช็คระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงิน จำเลยย่อมอยู่ในฐานะผู้ทรงในฐานเป็นผู้รับเงินที่พึ่งจะยื่นเช็คเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คแก่ตนเท่านั้น เงินที่ธนาคารพึงใช้ให้แก่จำเลยตามเช็คจึงมิใช่เงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 โดยตรง เมื่อหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน หากจำเลยไม่ชำระก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินจากธนาคารตามเช็คเพื่อมอบให้แก่โจทก์ รวมทั้งขอให้บังคับธนาคารตามเช็คซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีใช้เงินตามเช็คที่ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่โจทก์ก็ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจประกันตัวและเช็คคืนเงินประกัน สิทธิในการเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานตัวแทนและลูกหนี้
โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยนำเงิน 70,000 บาท ของโจทก์ไปประกันตัว ก. ต่อศาลชั้นต้นแทนโจทก์ เมื่อคดีถึงที่สุดศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คจำนวนเงิน 70,000 บาท ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่จำเลยในฐานะนายประกัน จำเลยมอบเช็คให้โจทก์แต่ไม่ยอมมาเบิกเงินตามเช็คจากธนาคารคืนโจทก์ แต่จำเลยอยู่ในฐานะผู้ทรงที่พึงจะยื่นเช็คเพื่อให้ธนาคารใช้เงินแก่ตนเท่านั้น เงินที่ธนาคารพึงใช้ให้แก่จำเลยตามเช็คมิใช่เงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 โดยตรง เมื่อหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน หากจำเลยไม่ชำระ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่จำเลยตามมาตรา 214 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินจากธนาคารตามเช็คเพื่อมอบให้แก่โจทก์ รวมทั้งจะขอให้บังคับธนาคารตามเช็คซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีใช้เงินตามเช็คที่ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินให้แก่โจทก์ก็ไม่ได้
ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยมาเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้องอันเป็นเพียงวิธีการบังคับชำระหนี้เป็นตัวเงิน แต่เมื่อมีหนี้เงินดังกล่าวซึ่งจำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยมาเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้องอันเป็นเพียงวิธีการบังคับชำระหนี้เป็นตัวเงิน แต่เมื่อมีหนี้เงินดังกล่าวซึ่งจำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิโจทก์บังคับจำเลยถอนเงินจากเช็คชำระหนี้ แม้เป็นเงินประกันตัวคดีอาญา
โจทก์มอบหมายให้ ส. นำเงินของโจทก์ไปประกันตัว ก. ต่อศาลชั้นต้น จำเลยรับเงินจาก ส. ไปดำเนินการ เมื่อคดีถึงที่สุดศาลชั้นต้นสั่งคืนเงินประกันโดยสั่งจ่ายเช็คธนาคาร อ. ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงิน จำเลยย่อมอยู่ในฐานะผู้ทรงในฐานเป็นผู้รับเงินที่พึงจะยื่นเช็คเพื่อให้ธนาคารใช้เงินตามเช็คแก่ตนเท่านั้น เงินที่ธนาคารพึงใช้ให้แก่จำเลยตามเช็คจึงไม่ใช่เงินหรือทรัพย์สินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 โดยตรง หากจำเลยไม่ชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิจะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลย รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินจากธนาคารตามเช็คเพื่อมอบให้แก่โจทก์ รวมทั้งจะขอให้บังคับธนาคารซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีใช้เงินตามเช็คดังกล่าวแก่โจทก์ไม่ได้
คำฟ้องของโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้อง ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ได้
คำฟ้องของโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยเบิกถอนเงินตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงิน แม้ไม่อาจบังคับให้จำเลยกระทำการตามฟ้อง ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ได้