คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระพล ตั้งสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9188/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง: อำนาจอนุญาตฎีกาของอธิบดีผู้พิพากษาภาคขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินจำนวน 39,130 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 34,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 34,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ดอกเบี้ยถึงวันฟ้องให้ไม่เกิน 5,130 บาท จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 39,130 บาท คดีของโจทก์จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เมื่อผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ คงมีเพียงอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 อนุญาตให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ซึ่งในชั้นฎีกา ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และบุคคลผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาได้ตามมาตราดังกล่าวก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วว่าคือ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ จึงไม่อาจนำบทบัญญติว่าด้วยผู้มีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9188/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุญาตฎีกาในข้อเท็จจริง: อธิบดีผู้พิพากษาภาคไม่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริง และบุคคลผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาได้ตามมาตราดังกล่าวก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วว่า คือ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยผู้มีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ ดังนั้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 จึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9106/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงลดหนี้และการผ่อนชำระ ไม่ถือเป็นการประนีประนอมยอมความ หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข โจทก์มีสิทธิเรียกร้องหนี้เดิมได้
ข้อตกลงในรายงานกระบวนพิจารณาที่โจทก์และจำเลยทั้งห้าเคยตกลงกันว่าโจทก์ตกลงลดหย่อนต้นเงินและลดต้นเงินเหลือ 10,000,000 บาท หากจำเลยทั้งห้าชำระครบถ้วน โจทก์จะถอนฟ้องให้ เป็นเพียงข้อตกลงที่โจทก์ยอมลดยอดหนี้และยอมให้จำเลยทั้งห้าผ่อนชำระหนี้เท่านั้น โดยจำเลยทั้งห้าจะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยทั้งห้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนเสียก่อน โจทก์จึงถอนฟ้องให้หากจำเลยทั้งห้าไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง โจทก์ไม่มีความผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องกรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์และจำเลยทั้งห้าตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปในทันทีด้วยต่างผ่อนผันให้แก่กัน อันจะถือเป็นการประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7666/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาเป็นโมฆะ แต่แยกเงินต้นได้ การชำระหนี้โดยสมัครใจไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน
ยอดเงินกู้จำนวน 1,025,000 บาท ตามสัญญากู้เงินมีส่วนที่เป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยจำนวน 559,000 บาท ซึ่งไม่สมบูรณ์และตกเป็นโมฆะ แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าจำนวนเงินส่วนที่มีที่มาจากดอกเบี้ยดังกล่าวจะไม่สมบูรณ์ แต่ก็สามารถแยกส่วนเงินต้นที่สมบูรณ์ออกมาได้ จำเลยรับในคำให้การและนำสืบว่าก่อนทำสัญญากู้เงินจำเลยค้างชำระเงินต้นแก่โจทก์ 466,000 บาท ส่วนที่นำสืบว่าได้ผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์บ้างแล้วคงค้างชำระเงินต้นเพียง 200,000 บาทนั้น ในส่วนของการชำระเงินต้นจำเลยมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง จึงต้องห้ามมิให้นำสืบและรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังได้ตามคำฟ้องโจทก์ว่า จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ 33,000 บาท เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิจะได้รับคืนดอกเบี้ยที่ได้ชำระไปแล้ว จึงนำไปหักออกจากเงินต้นที่ค้างชำระไม่ได้ อย่างไรก็ดีการที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดในการชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาจะซื้อจะขาย & ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ให้สัญญาว่า เมื่อ อ. หรือพี่น้องในตระกูลนำเงิน 127,000 บาท ไปคืนแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็จะโอนที่ดินพิพาทและบ้านคืนให้ทันที จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทคืน แต่ตกลงกันในราคาเท่าที่จำเลยที่ 1 มีภาระผูกพันอยู่กับจำเลยที่ 2 และโจทก์วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้ 127,000 บาท ส่วนที่เหลือโจทก์จะไปตกลงกับจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ไม่ไปดำเนินการกับจำเลยที่ 2 เอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 รับว่าจะขายที่ดินคืนให้แก่โจทก์แต่ตกลงไว้ในราคาอื่น และจำเลยที่ 1 รับมัดจำไว้แล้ว การตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเข้าลักษณะสัญญาจะซื้อจะขาย และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทพร้อมบ้านให้แก่โจทก์จึงเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นประเด็นหลัก ส่วนเรื่องที่โจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 เป็นประเด็นรองและการที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทและบ้านให้แก่โจทก์จึงใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) บัญญัติว่า ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้ ซึ่งมาตรา 142 เป็นบทบัญญัติในภาค 1 บททั่วไปสำหรับทุกชั้นศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมีอำนาจยกปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยตามบทบัญญัติดังกล่าวได้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้พิจารณาใหม่ตามลำดับชั้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ให้สัญญาว่าเมื่อ อ. หรือพวกนำเงิน 127,000 บาท ไปคืนแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็จะโอนที่ดินพิพาทและบ้านคืนให้ จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทคืนในราคาเท่าที่จำเลยที่ 1 มีภาระผูกพันอยู่กับจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์วางมัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้ 127,000 บาท ส่วนที่เหลือโจทก์จะไปตกลงกับจำเลยที่ 2 เท่ากับจำเลยที่ 1 รับว่าจะขายที่ดินพิพาทคืนโจทก์ แต่ตกลงไว้ในราคาอื่น การตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เข้าลักษณะสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทพร้อมบ้านคืนโจทก์ เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นประเด็นหลัก ส่วนที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 เป็นประเด็นรอง และการที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทและบ้านให้โจทก์จึงใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ป.วิ.พ. มาตรา 142 เป็นบทบัญญัติในภาค 1 บททั่วไปสำหรับทุกชั้นศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยตามมาตรา 142 (5) ได้โดยตรง แต่เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และตามปัญหาของจำเลยที่ 1 ว่าสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทหรือไม่ แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองก็ได้ก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ จึงเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในประเด็นที่ยังมิได้วินิจฉัยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาประเด็นสัญญาและอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ให้สัญญาว่า เมื่อ อ. หรือพี่น้องในตระกูลนำเงิน 127,000 บาท ไปคืนแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จะโอนที่ดินพิพาทและบ้านคืนให้ทันที ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทคืน แต่ตกลงกันในราคาเท่าที่จำเลยที่ 1 มีภาระผูกพันอยู่กับจำเลยที่ 2 และโจทก์วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้ 127,000 บาท ส่วนที่เหลือโจทก์จะไปตกลงกับจำเลยที่ 2 แต่โจทก์ไม่ไปดำเนินการกับจำเลยที่ 2 เอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 รับว่าจะขายที่ดินคืนให้แก่โจทก์แต่ตกลงไว้ในราคาอื่นและจำเลยที่ 1 รับมัดจำไว้แล้ว การตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงย่อมเข้าลักษณะสัญญาจะซื้อจะขาย และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทพร้อมบ้านให้แก่โจทก์จึงเป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นประเด็นหลัก ส่วนเรื่องที่โจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายระหว่าง อ. จำเลยที่ 1 เป็นประเด็นรอง และการที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 142 เป็นบทบัญญัติในภาค 1 บททั่วไปใช้สำหรับทุกชั้นศาล ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยตามบทบัญญัติดังกล่าวได้โดยตรง แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องด้วยเหตุว่าโจทก์มิได้เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิ ซึ่งไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา โดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และตามปัญหาของจำเลยที่ 1 ว่าสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5765/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: ประเด็นนายจ้าง/ผู้ครอบครองรถ และการสอดเข้าจัดการกิจการห้างหุ้นส่วน เป็นประเด็นนอกฟ้องและไม่เคยยกขึ้นว่ากันในชั้นศาล
ฎีกาของโจทก์ทั้งสองที่โต้แย้งเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มาไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ จึงเป็นฎีกาในข้อที่เป็นสาระแก่คดีอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์บรรทุกน้ำมันคันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 1 ขับในกิจการของจำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องขอให้รับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ประเภทหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปจัดการงานของห้างดังกล่าว ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ จึงเป็นฎีกานอกฟ้องนอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม-สินสมรส: เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเฉพาะส่วนเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่มาในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
การพิสูจน์สิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม จำต้องพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานต่างๆ ที่คู่ความนำสืบต่อศาล เพื่อแสดงถึงสิทธิและการได้มาของโจทก์ว่ามีลำดับความเป็นมาอย่างไร ลำพังบันทึกการแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งระบุว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 ร่วมกันซื้อมาเพียงฉบับเดียวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงเพื่อที่จะยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น และมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมานำสืบพิสูจน์ได้ว่าที่ดินพิพาทโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอย่างไร ทั้งโจทก์ก็มิได้ตั้งรูปคดีอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยที่ 2 โดยอาศัยข้อความจากบันทึกดังกล่าวแต่ประการใด
จำเลยที่ 2 ตั้งบริษัท ล. และจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ในบริเวณที่ตั้งของบริษัทดังกล่าวมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทจนมีบุตรด้วยกันถึงเก้าคนและโจทก์ได้ร่วมช่วยเหลือกิจการของบริษัท ล. แม้โจทก์เป็นภริยานอกสมรสก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน การที่จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่เพียงผู้เดียวก็เป็นการกระทำแทนโจทก์เท่านั้น ดังนี้ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลง
เมื่อที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงที่จำเลยที่ 2 ได้มาเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคนหนึ่งมิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินร่วมจากการแต่งงานและการแบ่งทรัพย์สินหลังการหย่า: การพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สิน
ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงที่จำเลยที่ 2 ได้มาเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์อีกคนหนึ่งมิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
จำเลยทั้งสองเพิ่งอ้างหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทมาท้ายฎีกา เป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 จึงรับฟังไม่ได้
of 19