พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10081/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนของตัวแทนที่มิได้เป็นทนายความ: คำฟ้องชอบด้วยกฎหมายเมื่อได้รับมอบอำนาจตาม ป.วิ.พ.
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนแก่จำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทนย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง แต่ก็บัญญัติยกเว้นไว้ว่า การแต่งฟ้องนั้นไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น แม้ ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งฟ้องแทนโจทก์มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ ป.วิ.พ.มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9744/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องแทนโจทก์: ชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่ได้เป็นทนายความ
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนแก่จำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไป ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทนย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง แต่ก็บัญญัติยกเว้นไว้ว่า การแต่งฟ้องนั้นไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แม้มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งฟ้องแทนโจทก์ก็มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9075/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้เป็นการบังคับคดีโดยบุคคลเดียวกัน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองโดยขอให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ซึ่งเป็นการร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้จะถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองซึ่งผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ค) (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการฟ้องบังคับจำนองโดยวิธีทั่วไป เพราะทรัพย์จำนองดังกล่าวได้ถูกโจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ไว้แล้ว และแม้โจทก์กับผู้ร้องจะเป็นบุคคลคนเดียวกัน แต่การที่ผู้ร้องร้องขอรับชำระหนี้จำนอง เป็นการร้องขอเข้ามาตามสิทธิที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ในฐานะที่แตกต่างกัน เมื่อผู้ร้องมิได้ขอให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ผู้ร้องจึงไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8853/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อทรัพย์จากการบังคับคดีในการขอให้ผู้ครอบครองทรัพย์สินออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 309 ตรี ป.วิ.พ.
ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี มีเจตนารมณ์ที่จะให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีให้ได้รับสิทธิและสามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอันตกอยู่ในการบังคับคดีโดยไม่ถูกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารขัดขวางหรือโต้แย้งการใช้สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์โดยมิชอบ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2548 โดยมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิให้ใช้บังคับแก่คดีที่ฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแต่อย่างใด ดังนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี ที่แก้ไขเพิ่มเติมจึงผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีทันที แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดและมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์พิพาทจะได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์พิพาทก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับก็ตาม แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยและบริวารออกไปจากห้องชุดพิพาท เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8714/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ผู้รับชำระจะคำนวณดอกเบี้ยเอง ผู้ชำระไม่ถือว่าชำระหนี้โดยไม่มีผลผูกพัน
จำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระหนี้แก่ธนาคาร ธนาคารหรือโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้นำไปหักชำระหนี้ต่างๆ ตามจำนวนหนี้ที่ธนาคารหรือโจทก์คิดคำนวณขึ้นมาเอง ประกอบกับธนาคารเป็นสถาบันการเงินอันเป็นกิจการซึ่งเป็นที่เชื่อถือของประชาชน ย่อมมีเหตุที่ทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจและเชื่อว่าธนาคารหรือโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้องแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่คิดคำนวณไม่ถูกต้องไปนั้นเป็นการกระทำการที่ตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8713/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การออก น.ส.3ก. ตามข้อเท็จจริงที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของสิทธิ การโอนสิทธิที่ดินคืน
การที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทด้วยนั้น เป็นการออกตามข้อเท็จจริงที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ไปแจ้งต่อทางราชการเพื่อดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) กรณีจึงมิใช่เป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ในส่วนที่ดินพิพาทนั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้แก้ไข เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของโจทก์คืน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8584/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อพิพาทนอกประเด็นในคำให้การ ถือเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยต้องเข้าปฏิบัติงานภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2544 แต่จำเลยไม่เข้าปฏิบัติงานภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้จำเลยเข้าปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2544 เป็นต้นไปดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จึงมีเพียงว่าข้อตกลงที่มีต่อกันกำหนดให้จำเลยต้องเริ่มปฏิบัติงานภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2544 หรือไม่ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ดำเนินการเกี่ยวกับงานฐานรากให้แล้วเสร็จเป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจเข้าปฏิบัติงานภายในวันที่ 18 พฤษภาคม 2544 ได้ จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การของจำเลยและมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ: การขาดการจดบันทึกการนั่งพิจารณาและการพิจารณาพยานหลักฐานโดยไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างคดีมโนสาเร่ กำหนดนัดพิจารณาให้โจทก์จำเลยมาศาลเพื่อไกล่เกลี่ย ให้การและสืบพยาน ก่อนถึงกำหนดนัด ศาลสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 เนื่องจากโจทก์ทิ้งฟ้อง เมื่อถึงวันนัดโจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาล 14 ฉบับ แล้ววันเดียวกันนั้น ศาลได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์อ้างส่งดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นมิได้จดบันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาว่ามีคู่ความฝ่ายใดมาศาลบ้าง รวมทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่จำเป็นตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 ทั้งไม่ปรากฏว่าในวันนัดพิจารณาดังกล่าว จำเลยที่ 2 มาศาลหรือไม่ เพราะหากจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลโดยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ตามมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ถ้าจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การก่อนหรือในวันนัดดังกล่าวให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การด้วย อันเป็นเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะทำการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้ตามมาตรา 204 กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นศาลจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้ตามมาตรา 206 วรรคสอง ประกอบมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ที่นำมาบังคับใช้โดยอนุโลม การพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมาจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะสามารถอ้างส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายที่ยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (1) (2), 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8321/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ ผู้ร้องต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาภายในเวลา หากไม่ทำสิทธิอุทธรณ์ระงับ
คำร้องขอขยายระยะเวลาของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานอกเหนือจากคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227, 228 ผู้ร้องจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไป เว้นแต่ผู้ร้องจะไม่มีโอกาสที่จะโต้แย้งได้ การที่ทนายผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบในคำร้องฉบับดังกล่าวเพื่อให้มาฟังคำสั่งในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 กรณีย่อมต้องถือว่า ผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 ให้จำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความ อันเป็นเวลาหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึง 4 วัน ผู้ร้องย่อมมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนี้ได้ แต่ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้ง เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8277/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการดำเนินการตามคำร้องขอเป็นคนอนาถา หากไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ศาลไม่รับอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งว่า ยื่นอุทธรณ์เกิน 7 วัน นับแต่วันอ่านคำสั่ง ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย (เดิม) จึงไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง มีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. 236 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงฎีกาไม่ได้
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย (เดิม)
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย (เดิม)