พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8276/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเกี่ยวกับการเพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นที่สุดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้ไม่อุทธรณ์ได้
คดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. ตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง เป็นที่สุด ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่รับอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 จึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ย่อมเป็นที่สุดตามวรรคสี่ จึงให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 จึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 จึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งฉบับลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 โดยมิได้สั่งเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งฉบับลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 โดยมิได้สั่งเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8201/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อทรัพย์จากการถูกขัดขวางการเข้าใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี มีเจตนารมณ์ที่จะให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีให้ได้รับสิทธิและสามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอันตกอยู่ในการบังคับคดีโดยไม่ถูกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารขัดขวางหรือโต้แย้งการใช้สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์โดยมิชอบ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 22)ฯ โดยมาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวบัญญัติให้ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทเฉพาะกาลกำหนดว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. นี้ มิให้ใช้บังคับแก่คดีที่ฟ้องก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด ดังนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีทันที ดังนั้น เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ซื้อทรัพย์มาจากการขายทอดตลาดและมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์พิพาท แม้จะเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์พิพาทก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับก็ตาม แต่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ยื่นคำขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์พิพาท เมื่อ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี มาใช้บังคับแก่กรณีตามคำขอของผู้ซื้อทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเข้าทำสัญญาซื้อทรัพย์สินหลังการประมูล การโอนสิทธิเรียกร้อง และความผูกพันของสัญญา
ตามข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ อนุญาตให้บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์ได้เข้าทำสัญญากับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้ แสดงว่าผู้ที่เข้าทำสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินมิได้จำกัดเฉพาะผู้ที่ประมูลซื้อสินทรัพย์ได้เท่านั้น โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในการเข้าทำสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินมาจากบริษัทเงินทุน ก. ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลและในวันที่โจทก์ทำสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าทำสัญญากับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน และเมื่อผู้ที่ประมูลซื้อสินทรัพย์ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องในคดีนี้คือบริษัทเงินทุน ก. ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิในการเข้าทำสัญญาขาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบฟอร์มขอเสนอราคาและไม่ต้องปฏิบัติตามข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับขั้นตอนการเสนอราคา
ข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ที่กำหนดว่า หากผู้ชนะการประมูลต้องการเสนอให้ผู้อื่นลงนามในสัญญาขายแทน ผู้ชนะการประมูลจะต้องระบุชื่อพร้อมกับยื่นเอกสารของผู้ที่จะลงนามในสัญญาขายตามที่ระบุในรายละเอียดเอกสารเพิ่มเติมมายังองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินภายใน 2 วันทำการ นับจากวันประมูลนั้นเป็นเพียงระเบียบที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินกำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกและความเป็นระเบียบในการประมูล มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของระชาชนที่หากไม่ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ การที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไม่ได้ยึดถือข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ดังกล่าวที่กำหนดเกี่ยวกับวันเวลาในการเสนอบุคคลอื่นเข้าทำสัญญาแทนผู้ชนะการประมูลจึงไม่ทำให้สัญญาขายเสียไป
การที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อสนเทศการจำหน่ายสินค้าทรัพย์ ฯ โดยกำหนดให้ผู้ที่ชนะการประมูลโอนสิทธิที่ผู้ชนะการประมูลมีอยู่ให้แก่ผู้อื่นโดยให้ผู้อื่นเข้าทำสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เป็นการกำหนดขั้นตอนและวิธีการเกี่ยวกับการจัดการสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการประมูลโดยเปิดเผยตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 วรรคห้า แล้ว จึงไม่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าว
ข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ที่กำหนดว่า หากผู้ชนะการประมูลต้องการเสนอให้ผู้อื่นลงนามในสัญญาขายแทน ผู้ชนะการประมูลจะต้องระบุชื่อพร้อมกับยื่นเอกสารของผู้ที่จะลงนามในสัญญาขายตามที่ระบุในรายละเอียดเอกสารเพิ่มเติมมายังองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินภายใน 2 วันทำการ นับจากวันประมูลนั้นเป็นเพียงระเบียบที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินกำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกและความเป็นระเบียบในการประมูล มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของระชาชนที่หากไม่ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ การที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไม่ได้ยึดถือข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ ฯ ดังกล่าวที่กำหนดเกี่ยวกับวันเวลาในการเสนอบุคคลอื่นเข้าทำสัญญาแทนผู้ชนะการประมูลจึงไม่ทำให้สัญญาขายเสียไป
การที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินออกข้อสนเทศการจำหน่ายสินค้าทรัพย์ ฯ โดยกำหนดให้ผู้ที่ชนะการประมูลโอนสิทธิที่ผู้ชนะการประมูลมีอยู่ให้แก่ผู้อื่นโดยให้ผู้อื่นเข้าทำสัญญาขายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เป็นการกำหนดขั้นตอนและวิธีการเกี่ยวกับการจัดการสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการประมูลโดยเปิดเผยตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 วรรคห้า แล้ว จึงไม่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8167/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบันทึกคำให้การด้วยวาจาในคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ต้องทำตามแบบพิมพ์ที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นเป็นกระบวนการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีนี้จำเลยแสดงความจำนงที่จะให้การด้วยวาจาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 193 วรรคสาม ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ต้องจัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดของคำให้การลงในแบบพิมพ์บันทึกคำให้การด้วยวาจาคดีมโนสาเร่ (แบบ ม.2 ) แล้วอ่านให้จำเลยฟังและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ ทั้งนี้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ข้อ 2 การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดคำให้การด้วยวาจาของจำเลยลงในรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นเอกสารที่บันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นของศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 โดยไม่ได้จัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดคำให้การของจำเลยลงในแบบพิมพ์ ม.2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 เมื่อปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาจำต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7919/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และการประนีประนอมยอมความ ผลต่ออายุความ
หนังสือรับสภาพหนี้ เอกสารหมาย จ.6 มีขึ้นเนื่องจากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามข้อตกลงในหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.5 จนกระทั่งโจทก์ต้องดำเนินคดีในทางอาญาแก่ผู้ที่สั่งจ่ายเช็คให้ไว้แต่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อจำเลยทั้งสามทำหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.6 ให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ได้ถอนฟ้องหรือถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาเหล่านั้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ลดจำนวนหนี้ ตามหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.5 ให้แก่จำเลยทั้งสาม ส. และ ท. และให้ผ่อนชำระดังรายละเอียดในหนังสือรับสภาพหนี้ เอกสารหมาย จ.6 ดังนี้ แม้เอกสารหมาย จ.6 จะใช้คำว่า "หนังสือรับสภาพหนี้" แต่เมื่อข้อกำหนดและเหตุผลในการจัดทำเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามต่างตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งเกิดจากหนังสือรับสภาพหนี้ เอกสารหมาย จ.5 ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เอกสารหมาย จ.6 จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 จำเลยทั้งสามปฏิบัติการชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2540 อายุความที่โจทก์จะต้องบังคับใช้สิทธิเรียกร้องจึงมีกำหนดสิบปีนับแต่วันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2545 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7919/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ฉบับแก้ไข เป็นสัญญาประนีประนอม อายุความเริ่มนับจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย
หนังสือที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ แม้จะใช้คำว่า "หนังสือรับสภาพหนี้" แต่เมื่อข้อกำหนดและเหตุผลในการจัดทำเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยต่างตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งเกิดจากหนังสือรับสภาพหนี้ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งเมื่อจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2540 อายุความที่โจทก์จะต้องบังคับใช้สิทธิเรียกร้องจึงมีกำหนดสิบปีนับแต่วันดังกล่าวตามมาตรา 193/32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7907/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแปลงหนี้หลังคำพิพากษาตามยอม: ศาลไม่รับรู้หากมิได้ทำต่อหน้าศาล
ข้อตกลงในการชำระหนี้ที่คู่ความทำขึ้นใหม่แตกต่างจากข้อตกลงในการชำระหนี้ที่คู่ความกำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมไปแล้วนั้น เมื่อมิได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลไม่รับรู้ข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น หากปรากฏว่าจำเลยทั้งสองยังไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัด ศาลย่อมออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ร้องขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริตและจงใจทำให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้อื่น
การที่จำเลยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยในข้อหาละเมิดต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยอ้างว่าการที่โจทก์ทั้งสองดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9597/2546 เป็นการละเมิดต่อจำเลยนั้น แม้จะถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็ตาม แต่หากการใช้สิทธิทางศาลที่มีความมุ่งหมายหรือเจตนาที่จะให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายก็ย่อมเป็นการละเมิด คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องอ้างว่าจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยเป็นฝ่ายไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9597/2546 การที่จำเลยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยในข้อหาละเมิด เรียกทรัพย์คืนต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยอ้างว่าโจทก์ทั้งสองดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและจงใจให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องก็ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายได้ กรณีถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลเป็นคดีนี้ได้
คดีนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอ ก็เป็นการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ดังนี้จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์ที่ 1
คดีนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอ ก็เป็นการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ดังนี้จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิฟ้องโดยไม่สุจริตและเจตนาทำให้ผู้อื่นเสียหาย ถือเป็นการละเมิดและมีอำนาจฟ้องได้
การเป็นโจทก์ฟ้องคดี แม้จะถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่หากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและมีความมุ่งหมายหรือเจตนาที่จะให้จำเลยได้รับความเสียหาย ก็ย่อมเป็นการละเมิด
การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอก็เป็นเพียงการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอก็เป็นเพียงการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเรื่องความเป็นทายาทจากคำรับของจำเลย และอำนาจฟ้องในคดีผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานทายาทโดยชอบธรรมของ ถ. ผู้ตายซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้เป็นทายาทโดยชอบธรรมของผู้ตาย แต่ในชั้นพิจารณาปรากฏว่า ทนายโจทก์นำพยานเข้าสืบ 1 ปาก แล้วแถลงขอเลื่อนการพิจารณาไปสืบพยานโจทก์เกี่ยวกับการรับโอนสิทธิเรียกร้อง การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี รวมถึงการบอกกล่าวไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตาย ทนายจำเลยแถลงยอมรับว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยโดยชอบแล้ว คำแถลงของทนายจำเลยย่อมหมายความถึงยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์แถลงว่าจะขอเลื่อนไปสืบพยานในประเด็นที่ว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายแล้ว ไม่อาจแปลว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงเพียงบางส่วนว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยเท่านั้น โดยไม่ยอมรับเกี่ยวกับความเป็นทายาทของผู้ตายของจำเลยด้วย จึงฟังได้ว่าจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงในเรื่องความเป็นทายาทของผู้ตายแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามคำรับของจำเลย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวอีกต่อไป ตามป.วิ.พ. มาตรา 84 (1)
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะจำเลยมิใช่ทายาทของผู้ตาย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง โดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องและคดีมีประเด็นอื่นจำต้องให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยความรับผิดระหว่างโจทก์จำเลยต่อไปตามรูปคดี จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาในประเด็นข้ออื่นดังกล่าวต่อไปตามรูปคดี ตามป.วิ.พ. มาตรา 243 (2)
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะจำเลยมิใช่ทายาทของผู้ตาย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในประเด็นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง โดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องและคดีมีประเด็นอื่นจำต้องให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยความรับผิดระหว่างโจทก์จำเลยต่อไปตามรูปคดี จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาในประเด็นข้ออื่นดังกล่าวต่อไปตามรูปคดี ตามป.วิ.พ. มาตรา 243 (2)