พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4583/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีจำนอง เนื่องจากข้อพิพาทเป็นเรื่องภายในระหว่างจำเลยกับผู้จำนอง และโจทก์ไม่ได้รับกระทบโดยตรง
โจทก์ฟ้องยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 ผิดข้อตกลงว่าจะไม่ฟ้อง บ. และ ญ. ซึ่งตกลงนำที่ดินมาประกันหนี้เงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมไปจากจำเลยที่ 1 โดยตกลงให้จำเลยที่ 2 พา บ. และ ญ. ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้เงินกู้และผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้รับโอนสิทธิจำนองดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 กลับฟ้อง บ. และ ญ. เรียกหนี้เงินกู้และบังคับจำนอง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทบสิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงและสัญญาซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหนี้ส่วนตัวของโจทก์ ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าว แม้มีอยู่จริงก็เป็นเรื่องการโต้แย้งระหว่าง บ. และ ญ. กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 โดยตรง ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าสิทธิของโจทก์ที่อ้างว่าถูกกระทบกระเทือนจากการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอย่างไร เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับหนี้ที่โจทก์กู้ยืมไปจากจำเลยที่ 1 โจทก์ก็สามารถยกขึ้นเป็นข้อว่ากล่าวเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่อ้างว่าทำให้โจทก์เสียหายได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกิดขึ้นจากข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับ บ. และ ญ. ในคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4472/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: มูลคดีเกิดที่ไหน แม้จำเลยมีภูมิลำเนาที่อื่น
จำเลยเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร การตกลงรับ ก. ผู้ตายเป็นสมาชิกของจำเลยพิจารณาอนุมัติที่กรุงเทพมหานคร แต่เมื่อการสมัครสมาชิกของจำเลยและการขอเปิดบัญชีเงินฝากของ ก. กระทำโดยผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสุรินท์ และต่อมาจำเลยได้ตกลงรับ ก. เป็นสมาชิก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสุรินทร์จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงในการเป็นสมาชิกของจำเลย ถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาสุรินทร์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4472/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: มูลคดีเกิดขึ้นที่สาขาธนาคาร แม้จำเลยมีภูมิลำเนาที่อื่น
แม้จำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครและการตกลงรับ ก. เป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ผู้ฝากเงินของจำเลยมีการพิจารณาอนุมัติที่กรุงเทพมหานครก็ตาม แต่เมื่อการสมัครสมาชิกของจำเลยและการขอเปิดบัญชีเงินฝากของ ก. ดังกล่าวกระทำโดยผ่านทางธนาคาร พ. สาขาสุรินทร์ และต่อมาจำเลยก็ตกลงรับ ก. เป็นสมาชิก ธนาคาร พ. สาขาสุรินทร์ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงในการเป็นสมาชิกของจำเลย ถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นที่ธนาคาร พ. สาขาสุรินทร์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานกระบวนพิจารณาที่ไม่สมบูรณ์ ไม่กระทบกระบวนการพิจารณา หากคู่ความไม่โต้แย้ง
ป.วิ.พ. มาตรา 50 บัญญัติว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใด หรือบุคคลใดจะต้องลงลายมือชื่อในรายงานใดเพื่อแสดงรับรู้รายงานนั้น หรือจะต้องลงลายมือชื่อในเอกสารใดเพื่อรับรองการอ่านหรือการส่งเอกสารเช่นว่านั้น (2) ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่จะต้องลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าวแล้ว ลงลายมือชื่อไม่ได้ หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้ศาลทำรายงานจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อเช่นนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ ตามบทบัญญัติดังกล่าว การลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาเป็นการแสดงการรับรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีในครั้งนั้น ๆ การที่คู่ความไม่ลงลายมือชื่อ และศาลไม่ได้จดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อเช่นนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อย่อมมีผลทำให้รายงานกระบวนพิจารณาในครั้งนั้น ๆ ใช้ไม่ได้เท่านั้น แต่ไม่ทำให้กระบวนการพิจารณาที่เกิดขึ้นต่อหน้าศาลโดยชอบต้องเสียไปเพราะเหตุดังกล่าว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นละเลยไม่ได้จดแจ้งเหตุที่ทนายจำเลยร่วมไม่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาจึงนับว่าเป็นความบกพร่องของศาลชั้นต้นเอง หาทำให้กระบวนพิจารณาที่เกิดขึ้นโดยชอบต้องเสียหายไปเพราะเหตุดังกล่าว อีกทั้งไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยร่วมได้โต้แย้งคัดค้านการที่โจทก์ทั้งหกและจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน นอกจากนั้น หากทนายจำเลยร่วมเห็นว่า ทนายจำเลยร่วมไม่เคยแถลงขอถอนคำร้องจากการเป็นจำเลยร่วมและการที่ศาลชั้นต้นจดแจ้งรายงานกระบวนพิจารณาไม่ตรงกับความเป็นจริงอันจะถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทนายจำเลยร่วมก็ชอบที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นกล่าวอ้างภายใน 8 วัน หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้แก่โจทก์ทั้งหกและจำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 แต่ทนายจำเลยร่วมก็หาได้กระทำไม่ กรณีจึงต้องถือว่า ทนายจำเลยร่วมแถลงขอถอนคำร้องจากการเป็นจำเลยร่วมแล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตจำเลยร่วมจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีอีกต่อไป เมื่อโจทก์ทั้งหกและจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมกัน ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องสอบถามถึงความยินยอมจากจำเลยร่วม ประกอบกับการทำสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์ทั้งหกและจำเลยก็มิได้กระทบกระทั่งถึงสิทธิในกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยร่วมแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
เจ้าหนี้ได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับบริษัท ร. มีข้อตกลงผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่บริษัทดังกล่าวโดยลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันมิได้ตกลงด้วยหรือให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาค้ำประกันและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคหนึ่ง แม้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระบุว่า ภาระหนี้และสิทธิประโยชน์ในมูลหนี้เดิมระหว่างเจ้าหนี้ทุกรายกับบริษัท ร. ยังไม่ระงับสิ้นไป หากบริษัท ร. ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้ทุกรายมีอำนาจนำมูลหนี้เดิมไปฟ้องร้องได้ แต่ลูกหนี้มิได้ร่วมตกลงหรือเป็นคู่สัญญาด้วยจึงไม่อาจใช้บังคับแก่ลูกหนี้ได้ เมื่อลูกหนี้หลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้วเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินของผู้อื่นเพื่อนำให้เช่า แม้ผู้บุกรุกอ้างว่าได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลก็ยังถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
ที่ดินที่ถูกกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าบุกรุกนำสินค้ามาวางขายเป็นของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมไม่ได้อนุญาตให้จำเลยนำไปให้ผู้ใดเช่า การที่จำเลยนำที่ดินดังกล่าวไปให้บุคคลดังกล่าวเช่าโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องควบคู่กับการวางค่าธรรมเนียมและชำระตามคำพิพากษา หรือประกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินและมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในคราวเดียวกัน จำเลยจะต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ด้วย ทั้งต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยจะเลือกอุทธรณ์เฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลเพียงอย่างเดียวหาได้ไม่ อุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมา และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยให้ จึงเป็นการไม่ชอบและไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการรับรองหนี้: ความรับผิดของผู้โอนและผู้รับโอน
การที่จำเลยที่ 1 นำสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 มาโอนให้แก่โจทก์ และโจทก์ตกลงชำระค่าตอบแทนจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และ 306 โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ในนามของโจทก์เมื่อลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ และแม้โจทก์จะสามารถดำเนินการบังคับให้ลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีข้อตกลงในข้อ 6 ที่จำเลยที่ 1 รับรองลูกค้าที่โอนหนี้เป็นลูกค้าชั้นดี หากลูกค้าปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือลูกค้าไม่ต้องชำระหนี้ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องเป็นเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ลูกค้าไม่ชำระหนี้ตามมูลหนี้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะได้ชำระหนี้คืนครบถ้วนดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงยังต้องรับผิดชำระหนี้ในสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่โจทก์ไปแล้วตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี กรณีหาใช่การฟ้องเรียกลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ในมูลหนี้อันเกิดจากสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับลูกหนี้ไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี กรณีหาใช่การฟ้องเรียกลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ในมูลหนี้อันเกิดจากสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับลูกหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง: ผู้รับโอนมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้โอนหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
จำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ และโจทก์ตกลงชำระค่าตอบแทนจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และ 306 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ในนามของโจทก์ แต่เมื่อตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีข้อตกลงในข้อ 6 ว่า "หากลูกค้าปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือลูกค้าไม่ต้องชำระหนี้ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ ให้แก่ผู้รับโอน ผู้โอนตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนเป็นเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ลูกค้าไม่ชำระหนี้ตามมูลหนี้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไปจนกว่าผู้รับโอนจะได้ชำระหนี้คืนครบถ้วน และผู้รับโอนจะมีสิทธินำเงินที่หักไว้ตามสัญญาข้อ 4 หรือค่าตอบแทนที่ผู้โอนจะได้รับจากการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นมาหักชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้โอนทราบ..." ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงยังต้องรับผิดชำระหนี้ในสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่โจทก์ไปแล้วตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาโอนให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญา จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญาโอนสิทธเรียกร้องซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนจากจำเลยที่ 1 เรียกให้ลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ในมูลหนี้อันเกิดจากสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับลูกหนี้อันมีอายุความ 2 ปี ฟ้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาโอนให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญา จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญาโอนสิทธเรียกร้องซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนจากจำเลยที่ 1 เรียกให้ลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ในมูลหนี้อันเกิดจากสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับลูกหนี้อันมีอายุความ 2 ปี ฟ้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการแสดงกรรมสิทธิ์บ้านบนที่ดินของผู้อื่น ต้องมีกฎหมายรองรับชัดเจน จึงจะยื่นคำร้องต่อศาลได้
บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้นๆ ได้ แต่กรณีตามคำร้องขอของผู้ร้องซึ่งร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบ้านที่ผู้ร้องปลูกอยู่ในที่ดินของผู้อื่นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำเช่นนั้นได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้อย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ส่วน ป.ที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงวิธีการจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1382 มิใช่กฎหมายใกล้เคียงที่นำมาใช้แก่กรณีของผู้ร้อง