คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระพล ตั้งสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับ การขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกบนที่ดินผู้อื่นมิได้เป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาต
กรณีบุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนหรือรับรองว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบ้านที่ผู้ร้องปลูกอยู่บนที่ดินของผู้อื่นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้ หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าวประการใด ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจโดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 สำหรับ ป.ที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดินฯ นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงวิธีการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินที่ได้กรรมสิทธิ์มาด้วยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 มิใช่กฎหมายใกล้เคียงที่อาจนำมาใช้แก่กรณีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: กรณีภาระจำยอมและสัญญาเช่า ไม่ใช่เจ้าหนี้จึงฟ้องไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ..." อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงโดยรู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้จึงเป็นอำนาจของเจ้าหนี้ แต่ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งสองบรรยายมาในคำฟ้องนั้น โจทก์ที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ภาระจำยอมโดยอายุความในทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิในทรัพย์ของผู้อื่นในลักษณะของทรัพยสิทธิ เมื่อเป็นเรื่องทรัพยสิทธิ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามบทบัญญัติมาตรา 237 ดังกล่าวได้ แต่ต้องไปว่ากล่าวเอาตาม ป.พ.พ. บรรพ 4 ในส่วนที่ว่าด้วยภาระจำยอม ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้น ได้ความเพียงว่าเป็นผู้เช่าที่ดินจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่ามีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนการฉ้อฉลได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลจำกัดเฉพาะเจ้าหนี้ ผู้มีสิทธิในทรัพย์สินต้องใช้สิทธิทางภาระจำยอม
อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นอำนาจของเจ้าหนี้ โจทก์ที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ภาระจำยอมโดยอายุความในทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิในทรัพย์ของผู้อื่นในลักษณะของทรัพยสิทธิ เมื่อเป็นเรื่องของทรัพยสิทธิ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237 แต่ต้องไปว่ากล่าวเอาตาม ป.พ.พ. บรรพ 4 ในส่วนที่ว่าด้วยภาระจำยอม ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้นได้ความเพียงว่าเป็นผู้เช่าที่ดินจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่ามีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนการฉ้อฉลได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1344/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์เป็นโมฆะ ทำให้ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้องคดี
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในศาลชั้นต้น และเพิ่งจะยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องและดำเนินคดี หากไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้นาย ก. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ นาย ก. จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี การอายัดเงินจากผู้คัดค้านในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษา เงินค่าจ้างล่วงหน้าและเงินค่าเค
จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากผู้คัดค้านร้อยละ 15 ของค่าจ้างตามสัญญาโดยรับไปก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งการอายัดไปยังผู้คัดค้าน เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญา จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนให้แก่ผู้คัดค้านเฉพาะกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงมีสถานะเป็นลูกหนี้ของผู้คัดค้านและไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ แก่ผู้คัดค้าน เงินค่าจ้างล่วงหน้าที่จำเลยที่ 1 รับไปจึงไม่อยู่ที่ผู้คัดค้านอันอยู่ในวิสัยที่ผู้คัดค้านจะส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์ขออายัดได้ โจทก์ไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้คัดค้านในส่วนเงินค่าจ้างล่วงหน้าเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคารระบุว่า เป็นที่เข้าใจกันดีระหว่างคู่สัญญาว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันตามสัญญานี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังไม่แน่นอนว่าจะสามารถเรียกร้องเอาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผู้คัดค้านได้เป็นจำนวนเงินเท่าใด เนื่องจากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือการปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาผู้คัดค้านจึงไม่ถือว่าการโอนสิทธิเรียกร้องนี้เป็นการชำระหนี้ด้วยอย่างอื่นอันจะทำให้หนี้ที่ผู้โอนมีอยู่กับผู้รับโอนระงับลงบางส่วนหรือทั้งหมด และในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ได้รับเงินจากผู้คัดค้านหรือได้รับไม่พอชำระหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมด ผู้โอนยังคงผูกพันที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้รับโอนจนครบถ้วน ข้อความในสัญญาดังกล่าวแสดงว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันนั้นรวมถึงเงินค่าเคด้วย ทางปฏิบัติที่ผู้คัดค้านจ่ายเงินค่าเคให้แก่จำเลยที่ 1 จึงมีผลเป็นเพียงการสละสิทธิเรียกร้องของธนาคารที่มีต่อจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านเท่านั้น หาทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะอายัดเงินค่าเคที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่ธนาคารไปแล้วไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้คัดค้านสำหรับเงินค่าเคเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าจ้างและค่าทนายความเหมาะสมตามพฤติการณ์คดี ศาลฎีกามีอำนาจปรับแก้ค่าฤชาธรรมเนียมได้
บทบัญญัติตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. อัตราค่าทนายความกำหนดตามทุนทรัพย์แห่งคดีหาใช่กำหนดตามทุนทรัพย์ที่ชนะคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความจำนวน 30,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราร้อยละ 0.43 โดยประมาณ จากทุนทรัพย์ 7,000,000 บาท และอยู่ในเกณฑ์ระหว่างอัตราขั้นต่ำ 600 บาท ถึงอัตราขั้นสูง 350,000 บาท ตามกฎหมาย จึงถือมิได้ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม การที่ศาลจะกำหนดความรับผิดชั้นที่สุดของคู่ความในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งโดยหลักต้องตกแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง นั้น บทบัญญัติวรรคดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง และเมื่อค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประเภทหนึ่งตามที่บัญญัติในวรรคสองของมาตราเดียวกัน แม้ค่าทนายความจำนวน 30,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นกำหนดจะไม่ขัดต่อกฎหมาย แต่ศาลฎีกาพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีตลอดถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้แก่โจทก์สูงมากเกินควร ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่รูปคดี
of 19