พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8303/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบกำกับภาษีที่ไม่ตรงตามทะเบียน ไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ไม่ถือเป็นข้อความไม่ถูกต้อง
ป.รัษฎากร มาตรา 86/4 บัญญัติว่า ใบกำกับภาษีต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ... (3) ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ โดยบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้บัญญัติไว้เป็นที่ชัดเจนว่าจะต้องให้ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตรงกับรายการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ทั้งโจทก์ขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยผู้ออกใบกำกับภาษีแก้ไขแล้ว แต่ผู้ออกใบกำกับภาษีพิพาทไม่ยินยอมแก้ไขให้ เพียงแต่รับรองว่าเป็นใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่โจทก์จริง ดังนั้น แม้ใบกำกับภาษีพิพาทระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ไม่ตรงหรือไม่ครบถ้วนตามรายการที่จดทะเบียน แต่ก็ไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการรายอื่น จึงไม่ถือว่าใบกำกับภาษีพิพาทที่โจทก์ได้รับจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดไว้ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีพิพาทมาหักในการคำนวณภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย: การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 65 วรรคสี่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผลิตเมทแอมเฟตามีนด้วยการแบ่งบรรจุเป็นถุงย่อย ๆ ถุงละ 20 เม็ด 8 ถุง 10 เม็ด 5 ถุง 8 เม็ด 1 ถุง 4 เม็ด 1 ถุง 1 เม็ด 1 ถุง และมีอีก 10 เม็ด รวม 223 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 4.905 กรัม จำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังว่า จำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนใส่ในถุงตามฟ้อง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า ไม่ได้แบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนหาได้ไม่ เพราะขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยและเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การปฏิเสธข้อหาดังกล่าวในศาลชั้นต้น เป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยบัญญัติเพิ่มเติมให้มีวรรคสามและวรรคสี่ ซึ่งวุฒิสภาให้เหตุผลในการแก้ไขไว้ชัดเจนอันแสดงให้เห็นว่าเป็นการแก้ไขโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้มีบทความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุไว้เป็นกรณีเฉพาะ แยกต่างหากจากบทความผิดและบทลงโทษ ฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ในกรณีทั่วไปตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง (ผลิตโดยการ เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูปสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์) ซึ่งมีสภาพแห่งความผิดเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมมากกว่าการกระทำความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษ โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ ยิ่งกว่านั้นยังได้บัญญัติแก้ไขใหม่ไว้เป็น 2 กรณี กล่าวคือ มาตรา 65 วรรคสาม มุ่งใช้บังคับสำหรับการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ที่มีปริมาณไม่ถึงบทสันนิษฐานของมาตรา 15 วรรคสาม ส่วนวรรคสี่มุ่งใช้บังคับสำหรับการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุยาเสพติดที่มีปริมาณเกินบทสันนิษฐานตามมาตรา 15 วรรคสาม ส่วนการที่มาตรา 65 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสาม เป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย..." นั้น หมายถึง การกระทำความผิดฐานผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมไปถึงว่า จะต้องมีปริมาณไม่ถึงด้วยบทสันนิษฐานตามมาตรา 15 วรรคสาม ด้วยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด ฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายและต้องได้รับโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยมีความผิดตามมาตรา 65 วรรคใด เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2557)
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยบัญญัติเพิ่มเติมให้มีวรรคสามและวรรคสี่ ซึ่งวุฒิสภาให้เหตุผลในการแก้ไขไว้ชัดเจนอันแสดงให้เห็นว่าเป็นการแก้ไขโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้มีบทความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุไว้เป็นกรณีเฉพาะ แยกต่างหากจากบทความผิดและบทลงโทษ ฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ในกรณีทั่วไปตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง (ผลิตโดยการ เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูปสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์) ซึ่งมีสภาพแห่งความผิดเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมมากกว่าการกระทำความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษ โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ ยิ่งกว่านั้นยังได้บัญญัติแก้ไขใหม่ไว้เป็น 2 กรณี กล่าวคือ มาตรา 65 วรรคสาม มุ่งใช้บังคับสำหรับการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ที่มีปริมาณไม่ถึงบทสันนิษฐานของมาตรา 15 วรรคสาม ส่วนวรรคสี่มุ่งใช้บังคับสำหรับการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุยาเสพติดที่มีปริมาณเกินบทสันนิษฐานตามมาตรา 15 วรรคสาม ส่วนการที่มาตรา 65 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสาม เป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย..." นั้น หมายถึง การกระทำความผิดฐานผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมไปถึงว่า จะต้องมีปริมาณไม่ถึงด้วยบทสันนิษฐานตามมาตรา 15 วรรคสาม ด้วยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด ฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายและต้องได้รับโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยมีความผิดตามมาตรา 65 วรรคใด เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2557)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าชุด การใช้เครื่องหมายแต่ละเครื่องหมายเป็นอิสระ การเพิกถอนเครื่องหมายจากการไม่ใช้
การแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรโรมัน SM ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 ย่อมทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรโรมัน SM แต่อักษรโรมัน SM ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้
การพิจารณาว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ หรือไม่ยังต้องพิจารณาทั้งเครื่องหมาย ไม่ใช่เพียงส่วนหนึ่งส่วนใด ดังนั้น แม้โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า VITARAL S.M. ไวตารอล เอส.เอ็ม. ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว หรือ VITANA - EZ ที่อยู่ระหว่างการขอจดทะเบียน แต่เมื่อไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ก็ถือไม่ได้ว่า การใช้เครื่องหมายการค้า VITARAL S.M. ไวตารอล เอส.เอ็ม. หรือ VITANA - EZ เป็นการใช้เครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ไปด้วยเพราะต่างเครื่องหมายกัน การใช้หรือไม่ใช้เครื่องหมายการค้าใดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 63 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือไม่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนไว้ ไม่อาจอ้างการใช้เครื่องหมายการค้าอื่นกับสินค้าที่จดทะเบียนไว้มาเป็นการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
การที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 50 บัญญัติว่า "เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นเครื่องหมายชุดนั้นจะโอนหรือรับมรดกกันได้ ต่อเมื่อเป็นการโอนหรือรับมรดกกันทั้งชุด" นั้น เป็นเรื่องการโอนหรือสืบสิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่โอนหรือตกทอดกันทางมรดกได้ ไม่ได้มีผลทำให้เครื่องหมายการค้าทั้งหมดของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน และไม่เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่อาจถูกเพิกถอนตามกฎหมายเนื่องจากการไม่ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ เพราะความมุ่งหมายของกฎหมายนั้นเป็นไปเพื่อให้สิทธิและความคุ้มครองแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนที่มีการใช้เครื่องหมายนั้นกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและสังคม ไม่ใช่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้เพียงเพื่อกีดกันผู้อื่น การจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดจึงไม่มีผลทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมายสำหรับเครื่องหมายการค้าแต่ละเครื่องหมาย
แม้ตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดจะใช้ข้อความสรุปว่าขอร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (1) เช่นกันก็ตาม แต่ตามเนื้อหาของคำร้องสอดอ้างเหตุผลว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่สั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ของโจทก์ตามคำร้องขอของผู้ร้องสอดชอบแล้ว อันเป็นกรณีร้องขอเข้ามาในคดีเพราะตนมีส่วนได้เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) มิใช่กรณีตามมาตรา 57 (1) แต่อย่างใด และเป็นเรื่องต้องถือตามเนื้อหาแห่งคำร้องสอดดังกล่าวมาเป็นสำคัญ ซึ่งย่อมมิใช่กรณีที่ร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
การพิจารณาว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ หรือไม่ยังต้องพิจารณาทั้งเครื่องหมาย ไม่ใช่เพียงส่วนหนึ่งส่วนใด ดังนั้น แม้โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า VITARAL S.M. ไวตารอล เอส.เอ็ม. ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว หรือ VITANA - EZ ที่อยู่ระหว่างการขอจดทะเบียน แต่เมื่อไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ก็ถือไม่ได้ว่า การใช้เครื่องหมายการค้า VITARAL S.M. ไวตารอล เอส.เอ็ม. หรือ VITANA - EZ เป็นการใช้เครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ไปด้วยเพราะต่างเครื่องหมายกัน การใช้หรือไม่ใช้เครื่องหมายการค้าใดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 63 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือไม่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนไว้ ไม่อาจอ้างการใช้เครื่องหมายการค้าอื่นกับสินค้าที่จดทะเบียนไว้มาเป็นการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
การที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 50 บัญญัติว่า "เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นเครื่องหมายชุดนั้นจะโอนหรือรับมรดกกันได้ ต่อเมื่อเป็นการโอนหรือรับมรดกกันทั้งชุด" นั้น เป็นเรื่องการโอนหรือสืบสิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่โอนหรือตกทอดกันทางมรดกได้ ไม่ได้มีผลทำให้เครื่องหมายการค้าทั้งหมดของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน และไม่เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่อาจถูกเพิกถอนตามกฎหมายเนื่องจากการไม่ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ เพราะความมุ่งหมายของกฎหมายนั้นเป็นไปเพื่อให้สิทธิและความคุ้มครองแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนที่มีการใช้เครื่องหมายนั้นกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและสังคม ไม่ใช่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้เพียงเพื่อกีดกันผู้อื่น การจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดจึงไม่มีผลทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมายสำหรับเครื่องหมายการค้าแต่ละเครื่องหมาย
แม้ตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดจะใช้ข้อความสรุปว่าขอร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (1) เช่นกันก็ตาม แต่ตามเนื้อหาของคำร้องสอดอ้างเหตุผลว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่สั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ของโจทก์ตามคำร้องขอของผู้ร้องสอดชอบแล้ว อันเป็นกรณีร้องขอเข้ามาในคดีเพราะตนมีส่วนได้เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) มิใช่กรณีตามมาตรา 57 (1) แต่อย่างใด และเป็นเรื่องต้องถือตามเนื้อหาแห่งคำร้องสอดดังกล่าวมาเป็นสำคัญ ซึ่งย่อมมิใช่กรณีที่ร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลาย: การบรรยายฟ้องและการใช้สิทธิโดยสุจริตของเจ้าหนี้มีประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม ซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 230,541,301.17 บาท พร้อมดอกเบี้ย หากไม่ชำระยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี และให้ยึดทรัพย์จำนองพร้อมทรัพย์สินอื่นออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน จำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด อยู่ระหว่างนำยึดเพื่อขายทอดตลาด โจทก์ขอตีราคาหลักประกันเป็นเงิน 170,000,000 บาทหักจากหนี้แล้วคงค้างชำระจำนวน 411,704,357.58 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่าสองล้านบาทสำหรับนิติบุคคล อันเป็นการบรรยายฟ้องอย่างเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องอย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันตามมาตรา 9 และศาลล้มละลายกลางยังไม่มีคำสั่งก็ตาม ในการบรรยายฟ้องคดีล้มละลายโจทก์ต้องบรรยายให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 และหากเป็นเจ้าหนี้มีประกันโจทก์จะต้องบรรยายเพิ่มตามสิทธิของเจ้าหนี้ตามมาตรา 10 (2) ดังนั้นฟ้องโจทก์จึงรวมการบรรยายฟ้องตามมาตรา 9 อยู่ในตัว การบรรยายถึงยอดหนี้ตามกฎหมายโจทก์ย่อมบรรยายเพียงยอดหนี้ว่ามีไม่น้อยกว่าสองล้านบาทสำหรับนิติบุคคลเท่านั้น ส่วนยอดหนี้ที่ค้างชำระจริงเป็นจำนวนเท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดในชั้นพิจารณาและชั้นขอรับชำระหนี้ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21329/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาซ้อนและอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการและผู้เสียหาย
การที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นอีกคดีหนึ่งก่อน แล้วต่อมาพนักงานอัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ในภายหลัง เมื่อไม่มีกฎหมายจำกัดอำนาจของพนักงานอัยการมิให้ฟ้องคดีอาญาที่ผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยไว้แล้ว และบทบัญญัติมาตรา 33 แห่ง ป.วิ.อ. ก็ได้บัญญัติถึงการพิจารณาคดีซึ่งทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกันไว้ แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายและพนักงานอัยการต่างฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกันได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลย แต่การที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีนี้ โดยถือเอาคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องของตนเอง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตจึงมีผลเท่ากับโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ด้วย การที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์จึงมีสถานะเสมือนหนึ่งเป็นการฟ้องจำเลยซ้อนกับคดีที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยไว้ก่อน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์คดีนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19480/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หลักเกณฑ์ลักษณะบ่งเฉพาะ และอำนาจศาลในการพิจารณา
การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ถือเป็นการตรวจสอบบรรดาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยภาครัฐเพื่อการควบคุมและกำกับดูแลว่าเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนดังกล่าวเป็นเครื่องหมายอันพึงรับจดทะเบียนได้หรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 ถึง 8 ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภคมิให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า และรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องชอบด้วยกฎหมายของเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนในชั้นต้นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้หรือไม่ และอาจมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ถึง 17 เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งใด ๆ ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ตามมาตรา 18 อันเป็นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำขอจดทะเบียนในชั้นที่สูงขึ้น ซึ่งในบทบัญญัติตามมาตรา 96 (1) ให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจและหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมาตรา 101 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงวิธีพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ากำหนด และตามระเบียบคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าด้วยวิธีพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน พ.ศ.2545 ข้อ 18 กำหนดให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจพิจารณาทบทวนคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายและจะพิจารณาวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอื่นนอกจากที่ปรากฏในคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ได้ เห็นได้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายประสงค์ให้อำนาจแก่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในการวินิจฉัยเกี่ยวกับความถูกต้องชอบด้วยกฎหมายของเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนนั้นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนตามกฎหมายได้หรือไม่ เช่นเดียวกันกับการวินิจฉัยในชั้นของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า มิได้ถูกจำกัดให้ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มีการยกขึ้นโต้แย้งคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่เพียงอย่างเดียว เพราะมิฉะนั้นแล้วจะทำให้กลไกในการตรวจสอบในชั้นคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่มีประสิทธิภาพและต้องถูกจำกัดโดยคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือผู้ยื่นคำขอซึ่งไม่น่าจะใช่เจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาแล้วเห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ย่อมมีอำนาจให้ระงับการจดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES เป็นการใช้กลุ่มของคำในอักษรโรมันอย่างเดียวกับที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะประดิษฐ์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว ผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ได้มีการจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก มียอดขายปีละหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับในประเทศไทยมีวางจำหน่ายในร้านค้าทั่วไปทั้งร้านขนาดย่อมและขนาดใหญ่รวมถึงซุปเปอร์มาร์เก็ต ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักกว้างขวางและทำให้เข้าถึงผู้บริโภคง่าย โจทก์ได้ทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์ CLAIROL HERBAL ESSENCES อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี ผ่านสื่อต่าง ๆ หลายรูปแบบ ทำให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทยและต่างประเทศ นอกจากนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ในลักษณะประดิษฐ์ ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วยังได้รับการจดแจ้งให้เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ในส่วนแชมพู CLAIROL HERBAL ESSENCES ครองตลาดแชมพูเพื่อความสวยงามในอันดับที่ 7 มียอดขายปีละประมาณ 300,000,000 บาท เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าที่มีการจำหน่าย เผยแพร่ และโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างไปจากสินค้าของบุคคลอื่น อันถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้อันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 โดยโจทก์ไม่ต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า HERBAL ESSENCES
เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES เป็นการใช้กลุ่มของคำในอักษรโรมันอย่างเดียวกับที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะประดิษฐ์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว ผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ได้มีการจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก มียอดขายปีละหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับในประเทศไทยมีวางจำหน่ายในร้านค้าทั่วไปทั้งร้านขนาดย่อมและขนาดใหญ่รวมถึงซุปเปอร์มาร์เก็ต ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักกว้างขวางและทำให้เข้าถึงผู้บริโภคง่าย โจทก์ได้ทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์ CLAIROL HERBAL ESSENCES อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี ผ่านสื่อต่าง ๆ หลายรูปแบบ ทำให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทยและต่างประเทศ นอกจากนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ในลักษณะประดิษฐ์ ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วยังได้รับการจดแจ้งให้เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามมาตรา 8 (10) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ในส่วนแชมพู CLAIROL HERBAL ESSENCES ครองตลาดแชมพูเพื่อความสวยงามในอันดับที่ 7 มียอดขายปีละประมาณ 300,000,000 บาท เครื่องหมายการค้าคำว่า CLAIROL HERBAL ESSENCES ของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าที่มีการจำหน่าย เผยแพร่ และโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างไปจากสินค้าของบุคคลอื่น อันถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้อันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 โดยโจทก์ไม่ต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า HERBAL ESSENCES
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13215/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย และสิทธิในการฟ้องขับไล่หลังบอกเลิกสัญญา
เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างชำระและไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภายในกำหนดโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจึงเป็นอันเลิกกัน การที่กรรมการโจทก์มีหนังสือแจ้ง น. ภายหลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วมีใจความว่า ตามที่ น. แจ้งความประสงค์จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 485/10 โฉนดที่ดินเลขที่ 424 ตำบลคลองถนน อำเภอสายไหม กรุงเทพมหานคร ในโครงการสะพานใหม่วิลล์นั้น โจทก์ตกลงจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ น. ในราคา 1,040,000 บาท หาก น. พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ได้ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 เท่านั้น หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นคำสนองรับคำเสนอของ น. แต่เป็นคำสนองที่มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของ น. ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตาม ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคสอง น. ไม่สนองรับคำเสนอดังกล่าวโดยการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างภายในระยะเวลาที่โจทก์กำหนด คำเสนอของโจทก์ย่อมสิ้นผลไป ไม่ก่อให้เกิดข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างโจทก์กับ น. กรณีมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ หนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ระงับไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12128/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยที่ 2 จากการรับสารภาพ และข้อผิดพลาดในการรวมโทษของศาลชั้นต้น
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง จำคุก 6 เดือน ฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 6 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 2,000,000 บาท ฐานร่วมกันมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 ปี ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี รวมโทษจำเลยที่ 1 ทุกกระทงแล้วให้จำคุกตลอดชีวิตและปรับ 2,000,000 บาท แล้วลดโทษให้จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 1,000,000 บาท และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน เป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11248/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของแผนฟื้นฟูกิจการต่อความรับผิดของผู้จำนอง: ความรับผิดยังคงอยู่หากแผนขัดต่อกฎหมายล้มละลาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง ความรับผิดของผู้ร้องในฐานะผู้จำนองมีต่อโจทก์เดิมเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องทำหนังสือปลดภาระการจำนองและให้ผู้จำนองสิ้นความผูกพันตามสัญญาทุกฉบับ ย่อมเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวอันเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ผู้ร้องในฐานะผู้จำนองจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่ขาด ผู้สวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของผู้ร้องได้ กรณีไม่มีเหตุจะเพิกถอนการยึดที่ดินของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9937/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสินค้าทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ หากมูลค่าสูงเกินเกณฑ์ต้องผ่านพิธีการศุลกากร
ป.พ.พ. มาตรา 609 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การขนส่งไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ การฝากส่งสิ่งของพัสดุไปรษณีย์กับจำเลย จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2549 โดยอนุวัติตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ประกอบ พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย พ.ศ.2546 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการฝากส่งสิ่งของนั้น
เมื่อสิ่งของที่ฝากส่งเป็นสินค้าประเภทอัญมณีเครื่องประดับมีมูลค่าสูง แต่ผู้ฝากส่งสิ่งของใช้วิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ โดยระบุที่หีบห่อพัสดุว่า "STONE" และมิได้ระบุราคาสินค้าหรือแจ้งราคาสินค้าหรือได้ทำไปรษณีย์รับประกันระหว่างประเทศไว้กับจำเลย ซึ่งตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ พ.ศ.2525 หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์และหลักการข้อ 8 และระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 พ.ศ.2530 ข้อ 8 กำหนดชนิดของสิ่งของที่จะส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศไว้ อันแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการออกระเบียบดังกล่าวว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการควบคุมการส่งสิ่งของทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นสากล ไม่เปิดโอกาสให้มีการใช้วิธีการทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศฝากส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดการส่งออกไปยังปลายทางโดยปราศจากการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนที่สิ่งของนั้นได้ถูกส่งถึงผู้รับยังปลายทางในต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อผู้ฝากส่งส่งอัญมณีที่มิได้ระบุไว้ว่าเป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่ง แต่มีมูลค่าสูงเกินกว่าที่จะส่งได้ด้วยวิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศโดยไม่ต้องปฏิบัติตามพิธีการทางศุลกากรก่อน ทั้งไม่ได้แจ้งราคาสิ่งของที่ฝากส่งด้วย จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวโดยชัดแจ้ง ถือเป็นความเสี่ยงภัยของผู้ฝากส่งเอง
เมื่อสิ่งของที่ฝากส่งเป็นสินค้าประเภทอัญมณีเครื่องประดับมีมูลค่าสูง แต่ผู้ฝากส่งสิ่งของใช้วิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ โดยระบุที่หีบห่อพัสดุว่า "STONE" และมิได้ระบุราคาสินค้าหรือแจ้งราคาสินค้าหรือได้ทำไปรษณีย์รับประกันระหว่างประเทศไว้กับจำเลย ซึ่งตามระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 ว่าด้วยบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ พ.ศ.2525 หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์และหลักการข้อ 8 และระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 43 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 พ.ศ.2530 ข้อ 8 กำหนดชนิดของสิ่งของที่จะส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศไว้ อันแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการออกระเบียบดังกล่าวว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการควบคุมการส่งสิ่งของทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นสากล ไม่เปิดโอกาสให้มีการใช้วิธีการทางบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศฝากส่งสิ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดการส่งออกไปยังปลายทางโดยปราศจากการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนที่สิ่งของนั้นได้ถูกส่งถึงผู้รับยังปลายทางในต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อผู้ฝากส่งส่งอัญมณีที่มิได้ระบุไว้ว่าเป็นสิ่งของต้องห้ามฝากส่ง แต่มีมูลค่าสูงเกินกว่าที่จะส่งได้ด้วยวิธีการส่งประเภทไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศโดยไม่ต้องปฏิบัติตามพิธีการทางศุลกากรก่อน ทั้งไม่ได้แจ้งราคาสิ่งของที่ฝากส่งด้วย จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวโดยชัดแจ้ง ถือเป็นความเสี่ยงภัยของผู้ฝากส่งเอง