คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระพล ตั้งสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9727/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม กรณีรับจ้างทำบัตรประชาชนปลอมและส่งมอบให้ผู้อื่น
การที่จำเลยรับจ้างจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมให้แก่สายลับ โดยรับภาพถ่ายไปจากสายลับนัดหมายกับสายลับเพื่อส่งมอบบัตรประจำตัวประชาชนปลอมที่รับจ้าง แล้วจำเลยนำบัตรประจำตัวประชาชนของกลางมาส่งมอบให้แก่สายลับ และถูกจับกุมได้พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของกลาง จึงถือได้ว่าเป็นการนำออกใช้ซึ่งเอกสารปลอมแล้ว เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9488/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภาษีอากร: วินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้เท่านั้น
ข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่า เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายอาหารและมีเงินได้จากการรับเดินโพยพนันบอลในปีภาษีพิพาท แต่โจทก์อุทธรณ์การประเมินเฉพาะเงินได้จากการรับเดินโพยพนันบอลเท่านั้น การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยถือเอาเงินได้จากการขายอาหารเป็นเงินได้จากการรับเดินโพยพนันทั้งหมด แม้จะเป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ก็ตาม แต่หาได้เป็นการวินิจฉัยตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ไว้ไม่ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในส่วนที่ถือว่าเงินได้จากการขายอาหารเป็นเงินได้จากการรับเดินโพยพนันบอลทั้งหมดจึงไม่ชอบ
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในประเด็นค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้จากการรับเดินโพยพนันบอล คงอุทธรณ์เฉพาะจำนวนเงินได้จากการรับเดินโพยพนันบอลเท่านั้น จึงถือว่าโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์การประเมินในประเด็นค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้จากการรับเดินโพยพนันบอลตามจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิยกประเด็นที่ถือว่าโจทก์ได้สละแล้วมาฟ้องต่อศาลได้อีก ปัญหานี้แม้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางโดยชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6650/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเงื่อนไขกักขังแทนค่าปรับเพื่อมิให้ลงโทษเกินกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษายืนชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่าการกักขังแทนค่าปรับถูกต้องหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย โจทก์ผู้อุทธรณ์จึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ในกรณีต้องกักขังจำเลยคดีนี้แทนค่าปรับก็ให้กักขังจำเลยคดีนี้ได้ไม่เกินกำหนด 6 เดือน แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่าแบ่งกักขังซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 30 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นก็ตาม แต่เป็นการกำหนดเงื่อนไขเพื่อบังคับโทษปรับ เพราะ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ให้ลงโทษปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดทุกคนรวมกันเป็นเงินรวมสี่เท่าของราคาของบวกค่าอากรเข้าด้วยแล้ว โดยต้องถือว่าค่าปรับจำเลยทุกคนเป็นจำนวนเดียวกัน ศาลชั้นต้นจึงได้กำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับคดีนี้เพื่อมิให้ลงโทษเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5612/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: ผู้ถูกหลอกลวงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341, 83 โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหาย ให้ผู้เสียหายนำเงินมาร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 และพวกเล่นการพนันเพื่อเอาเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเงินเป็นจำนวนมาก ผู้เสียหายถูกหลอกนำเงิน 3,000,000 บาท มาร่วมลงทุนเล่นการพนันโดยจำเลยทั้งสองกับพวกมิได้มีเจตนาที่จะเล่นการพนันเอาทรัพย์สินกัน แต่การพนันเป็นเพียงแผนการที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกเอาเงินของผู้เสียหายให้แนบเนียน ทั้งผู้เสียหายก็ไม่มีเจตนาที่จะร่วมเล่นการพนันกับพวกจำเลยทั้งสองมาตั้งแต่ต้น การที่ผู้เสียหายมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสองกับพวกเพื่อเล่นการพนันดังกล่าวเป็นการตกหลุมพรางที่วางไว้ ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเข้าร่วมเล่นการพนันกับพวกจำเลยทั้งสอง ทั้งถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายร่วมเล่นการพนันกับจำเลยทั้งสองโดยไม่ได้รับอนุญาต อันจะเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำผิด ผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อมูลให้ความร่วมมือตำรวจหลังศาลตัดสิน ไม่เป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์จากกฎหมายลดโทษยาเสพติด
ข้อเท็จจริงที่เป็นข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษที่จำเลยให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจอันจะเป็นเหตุให้ศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดโดยอาศัย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้เกิดขึ้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษา เมื่อปรากฏว่าข้อมูลที่จำเลยอ้างว่าเป็นผู้ให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจจนสามารถจับคนร้ายซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายยาเสพติดให้โทษได้นั้น เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว จำเลยจึงไม่อาจที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการค้ายาเสพติด: ความรับผิดของผู้ชี้ช่องและบทลงโทษ
จำเลยที่ 6 เป็นเครือข่ายของขบวนการค้ายาเสพติด ต้องการขายเมทแอมเฟตามีน พยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจึงปลอมตัวไปติดต่อล่อซื้อกับจำเลยที่ 6 ในครั้งแรกจำเลยที่ 6 เสนอขายเมทแอมเฟตามีน 300,000 เม็ด ราคาเม็ดละ 65 บาท มีการขอดูเงินที่จะซื้อแล้ว จำเลยที่ 6 ขอรับเงินก่อน พยานโจทก์ไม่ยอม ต่อมาจำเลยที่ 6 พาจำเลยที่ 1 มาพบพยานโจทก์และมีการแนะนำจำเลยที่ 1 ให้รู้จักกับพยานโจทก์ในครั้งนี้จำเลยที่ 6 เสนอขายเมทแอมเฟตามีน 100,000 เม็ด ราคาเม็ดละ 32 บาท มีการขอดูเงินก่อนและพวกจำเลยที่ 1 จะขอรับเงินครึ่งหนึ่งก่อนส่งมอบเมทแอมเฟตามีน พยานโจทก์ไม่ยอม หลังจากนั้น 2 เดือนเศษ ต่อมาจำเลยที่ 1 ติดต่อกับพยานโจทก์โดยตรง เป็นเหตุให้จับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้ โดยจำเลยที่ 6 ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ปรากฏว่าระหว่างที่ติดต่อกับจำเลยที่ 1 มีการใช้โทรศัพท์ติดต่อกับจำเลยที่ 6 ทั้งฟังไม่ได้ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 6 เป็นผู้บอกขาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 6 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในการมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลาง แต่ถือว่าการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นผลสำเร็จได้จากการชี้ช่องของจำเลยที่ 6 ซึ่งอยู่ในเครือข่ายค้ายาเสพติดด้วยกันกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 6 จึงเป็นผู้สนับสนุนในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่พยานโจทก์ ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 6 ได้เพราะไม่เกินคำขอของโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดทางอาญา ถือเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
บริษัท ร. ประกอบธุรกิจส่งวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการแก่สาธารณะหรือชุมชนโดยไม่ได้รับอนุญาต พ. ทราบว่าตนในฐานะผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท จะต้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมาย จึงโอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัท เพื่อหลีกเลี่ยงให้ตนเองพ้นความรับผิดทางอาญาโดยให้จำเลยเป็นผู้รับโทษในทางอาญาแทนตน ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องบริษัท ร. และจำเลยเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น ฐานร่วมกันส่งวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการแก่สาธารณะหรือชุมชนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย คดีถึงที่สุด นิติกรรมการโอนหุ้นระหว่าง พ. กับจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พ. ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอกซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้และพนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถทางร่วมแยกทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้ขับมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์กระบะมาถึงสี่แยกหนองขาหยั่งขณะนั้นสัญญาณจราจรไฟซึ่งติดตั้งไว้บนทางที่จำเลยที่ 2 ขับมาขึ้นเป็นไฟสีแดงซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องชะลอความเร็วของรถลงและหยุดรอจนกว่าสัญญาณจราจรไฟจะเปลี่ยนเป็นไฟสีเขียวจึงจะขับรถแล่นเข้าบริเวณสี่แยกนั้นได้ จำเลยที่ 2 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ จำเลยที่ 2 กลับขับรถแล่นตรงเข้าสี่แยกดังกล่าวทันที เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยที่ 2 ขับเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 แม้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดง แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียด ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ขับรถแล่นเข้าไปในสี่แยกที่เกิดเหตุด้วยความเร็วโดยมิได้ลดความเร็วลงและให้รถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับซึ่งแล่นมาทางด้านขวาผ่านไปก่อน เป็นการขาดความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์อันเป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้เกิดเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามที่กล่าวไว้ในฟ้องแล้ว ศาลชั้นต้นจึงลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 300 ได้
จำเลยที่ 2 ไม่ชะลอรถก่อนเข้าทางร่วมแยกและให้รถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 แล่นผ่านไปก่อนโดยประมาททำให้รถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ชนเข้ากับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส แม้เหตุที่จำเลยที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัสเกิดจากมีพลเมืองดีขึ้นไปสตาร์ตรถทำให้น้ำในหม้อน้ำรถยนต์กระบะแตกลวกตัวจำเลยที่ 1 ซึ่งนอนอยู่ใต้รถ แต่การที่จำเลยที่ 1 ถูกน้ำร้อนลวกบริเวณหน้าอกและหน้าท้องเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: ผลของการชำระหนี้บางส่วนและการสะดุดหยุดของอายุความ
การนำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี ในการนับอายุความนั้น มาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีนี้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 กำหนดให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด งวดที่ 1 ถึงงวดที่ 12 ตกลงผ่อนชำระงวดละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท โดยเริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 30 กรกฎาคม 2542 ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่การชำระหนี้งวดแรกเช่นนี้การเริ่มนับอายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2542 แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์หลายครั้ง โดยครั้งสุดท้ายได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2545 ดังนั้น การที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนย่อมมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงพ้นไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้ามาในอายุความตามมาตรา 193/15 การที่โจทก์นำมูลตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 จึงยังไม่ล่วงพ้นอายุความตามมาตรา 193/32 โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร: ต้องรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรกนั้น ต้องได้ความว่าผู้กระทำได้รับซื้อทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดลักษณะหนึ่งในแปดลักษณะ ซึ่งมีความผิดฐานฉ้อโกงรวมอยู่ด้วย ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานรับของโจรหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่าโจทก์นำสืบให้เห็นว่าซิมการ์ดของกลางที่จำเลยที่ 1 ซื้อมานั้น เป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำผิดฐานฉ้อโกง ส่วนผู้ใดจะเป็นผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงนั้นเป็นเพียงรายละเอียดมิใช่องค์ประกอบความผิดของความผิดฐานรับของโจร แม้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นรายละเอียดดังกล่าว แต่โจทก์ได้นำสืบส่วนที่เป็นองค์ประกอบความผิดครบถ้วนศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยที่ 1 ได้
of 19