พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: การพิสูจน์ที่มาของเงินในบัญชีธนาคาร และการประเมินเงินได้พึงประเมิน
บทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มิได้ห้ามเจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินยกเลิกการประเมินครั้งแรกเพราะเห็นว่าการประเมินยังไม่ถูกต้อง มิใช่เพราะเห็นว่าโจกท์ไม่มีภาษีต้องชำระเพิ่ม ซึ่งถือไม่ได้ว่าการเรียกตรวจสอบตามหมายเรียกเสร็จสิ้นลงแล้ว เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินใหม่ให้โจทก์ชำระภาษีตามที่เห็นว่าถูกต้องได้โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19 อีกครั้ง แม้การประเมินครั้งหลังจะทำให้โจทก์ต้องชำระภาษีมากกว่าการประเมินครั้งแรก แต่มีผลทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว จึงมิใช่การประเมินซ้ำซ้อน โดยเฉพาะการประเมินครั้งหลังยังเป็นการประเมินในเรื่องเดิมเกี่ยวกับยอดเงินได้พึงประเมินของโจทก์โดยเจ้าพนักงานประเมินอาศัยพยานหลักฐานที่ได้จากการตรวจสอบมาแล้วเท่าที่มีอยู่เดิมในการประเมินครั้งแรกเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณามิใช่การประเมินในเรื่องใหม่ที่ไม่เคยตรวจสอบไต่สวนมาก่อน จึงไม่จำต้องแจ้งโจทก์มาชี้แจงแสดงหลักฐานเพิ่มเติม
ข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์เป็นไปในทำนองเดียวกับที่กล่าวในคำฟ้องโดยไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร วิธีการประเมินมิใช่ขั้นตอนปกติด้วยเหตุผลใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
บัญชีเงินฝากธนาคารที่โจทก์เปิดไว้ หากโจทก์อ้างว่าเงินในบัญชีมีส่วนที่เป็นของบุคคลอื่นรวมอยู่ด้วย โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ได้ความเช่นนั้น เงินดังกล่าวเป็นจำนวนสูงมาก โจทก์อ้างว่าเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ. ซึ่งตามปกตินิติบุคคลย่อมต้องมีการจัดทำบัญชีรับจ่าย บัญชีแสดงรายการเจ้าหนี้และลูกหนี้รวมทั้งงบการเงิน แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าเงินของห้างมีที่มาอย่างไร แต่ละครั้งเป็นจำนวนเท่าใด การโอนเงินเข้าบัญชีเป็นเงินสำหรับหมุนเวียนในการประกอบการค้าของห้างโจทก์ก็เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ทั้งยอดเงินในวันสุดท้ายของปีเป็นหนี้ธนาคารหรือคงเหลือ 5,000 บาท ก็ไม่อาจสรุปว่าเงินฝากในบัญชีไม่ใช่ของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่ายอดเงินที่เข้าบัญชีมีส่วนที่เป็นของห้างจำนวนเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำยอดเงินฝากเข้าบัญชีภายหลังหักจำนวนเงินที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการชำระค่าสินค้าของห้างเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และหักค่าใช้จ่ายเหมาให้ในอัตราร้อยละ75 โดยงดเบี้ยปรับ จึงถูกต้องและเหมาะสมแล้ว
ข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์เป็นไปในทำนองเดียวกับที่กล่าวในคำฟ้องโดยไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร วิธีการประเมินมิใช่ขั้นตอนปกติด้วยเหตุผลใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
บัญชีเงินฝากธนาคารที่โจทก์เปิดไว้ หากโจทก์อ้างว่าเงินในบัญชีมีส่วนที่เป็นของบุคคลอื่นรวมอยู่ด้วย โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ได้ความเช่นนั้น เงินดังกล่าวเป็นจำนวนสูงมาก โจทก์อ้างว่าเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ. ซึ่งตามปกตินิติบุคคลย่อมต้องมีการจัดทำบัญชีรับจ่าย บัญชีแสดงรายการเจ้าหนี้และลูกหนี้รวมทั้งงบการเงิน แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าเงินของห้างมีที่มาอย่างไร แต่ละครั้งเป็นจำนวนเท่าใด การโอนเงินเข้าบัญชีเป็นเงินสำหรับหมุนเวียนในการประกอบการค้าของห้างโจทก์ก็เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ทั้งยอดเงินในวันสุดท้ายของปีเป็นหนี้ธนาคารหรือคงเหลือ 5,000 บาท ก็ไม่อาจสรุปว่าเงินฝากในบัญชีไม่ใช่ของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่ายอดเงินที่เข้าบัญชีมีส่วนที่เป็นของห้างจำนวนเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำยอดเงินฝากเข้าบัญชีภายหลังหักจำนวนเงินที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการชำระค่าสินค้าของห้างเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และหักค่าใช้จ่ายเหมาให้ในอัตราร้อยละ75 โดยงดเบี้ยปรับ จึงถูกต้องและเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องชำระภาษีค้างจ่ายก่อนฟ้องคดี
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้ามีผู้ยื่นฟ้องต่อศาลตามความในมาตรา 31 ท่านห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามกฎหมาย เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระ เพราะเวลาซึ่งท่านให้ไว้ตาม มาตรา 38 นั้น ได้สิ้นไปแล้ว หรือจะถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดต่อศาลได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินทั้งสิ้นก่อนโจทก์ฟ้องคดีหรือจะสิ้นสุดในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล คดีนี้แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้ผ่อนชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินพิพาทเป็น 3 งวด และโจทก์ผ่อนชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกำหนด โดยผ่อนชำระก่อนฟ้อง 2 งวด แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนที่จะผ่อนชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินงวดที่ 3 อันเป็นงวดสุดท้ายก็ยังถือเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องก่อนชำระค่าภาษีทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าภาษีดังกล่าวทั้งสิ้น แต่เพิ่งมาชำระหลังจากได้ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางจะรับฟังไว้พิจารณามิได้ บทบัญญัติ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 39 เป็นบทกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้จะฟ้องคดี ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นชี้ขาดคดีได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และ 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินวางประกันค่าอากร/ค่าปรับ, อายุความ, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, การบังคับใช้มาตรา 112 จัตวา แห่ง พ.ร.ก.ศุลกากร
ตามคำพิพากษาของศาลอาญาในคดีหมายเลขแดงที่ 2522/2527 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ บริษัทสุนิสา จำกัด จำเลยตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งศาลพิพากษาว่า ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าจัดอยู่ในประเภทศุลกากร ประเภทที่ 39.6 ข จึงพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ประกอบกับคดีส่วนแพ่งนั้นจำเลยได้ฟ้องเรียกค่าภาษีอากรโดยอาศัยพิกัดศุลกากรตามที่อ้างให้โจทก์วางประกันค่าอากรและขาดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 10 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 แล้ว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า เป็นกรณีต้องคืนเงินประกันค่าอากรดังกล่าว เพราะเหตุที่ได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ซึ่งตามมาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลากากร พ.ศ.2469 บัญญัติให้คืนพร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้วางเงินประกันค่าอากรจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน
เงินประกันค่าอากรกับเงินประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดตามฟ้องเป็นเงินคนละส่วนกัน และแม้ว่ามาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินวางประกันค่าปรับ แต่การที่โจทก์ต้องวางประกันค่าปรับดังกล่าวถือว่าโจทก์ต้องเสียหายตั้งแต่วางเงินประกันค่าปรับดังกล่าวโดยไม่สมัครใจ ดอกเบี้ยในเงินประกันค่าปรับตามที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องจากจำเลยเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม ปรากฏตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์มิได้ขอวางเงินประกันดังกล่าวเอง แต่ฝ่ายพิกัดกับฝ่ายวิเคราะห์สินค้ามีความเห็นขัดแย้งกัน และต่อมาฝ่ายวิเคราะห์สินค้าส่งเรื่องให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์และให้โจทก์วางเงินประกันค่าปรับดังกล่าว อันเป็นการวางเงินประกันโทษทางอาญาโดยโจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ระงับคดีแต่อย่างใด โจทก์ย่อมต้องเสียหายตั้งแต่วันวางเงินประกันค่าปรับดังกล่าวและตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 7 โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินนี้นับแต่วันวางเงินค่าปรับเช่นเดียวกับการวางเงินประกันค่าอากรดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้น แม้โจทก์ขอดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ซึ่งเท่ากับร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยอ้างมาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ก็เป็นกรณีโจทก์ประสงค์ในดอกผลนิตินัยหาใช่กรณีโจทก์มิได้ขอมาในคำฟ้องดังที่จำเลยอ้างไม่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ ฯลฯ คำว่า ดอกเบี้ยไม่ได้หมายความเฉพาะดอกเบี้ยจากหนี้เงินกู้เท่านั้น อาจเป็นดอกเบี้ยจากหนี้กรณีอื่น ๆ ก็ได้ ซึ่งดอกเบี้ยค้างชำระที่กำหนดอายุความ 5 ปีนี้ หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้องคดี แต่อย่างไรก็ตาม กรณีผู้เสียภาษีต้องจ่ายเงินค่าอากรหรือเงินประกันอากร แต่ต่อมามีสิทธิได้คืนเงินอากรหรือเงินประกันค่าอากรเพราะเหตุที่มีการเรียกไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่มเพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้ต้องเสียภาษี มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 จึงบัญญัติให้คืนพร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางเงินประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน และดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนี้ให้ถือเป็นเงินอากรที่ต้องจ่ายคืน การที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นอากรที่ต้องจ่ายคืนมีผลทำให้ดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยตาม ประมวลกฎหมายและพานิชย์ ซึ่งมีกำหนดอายุความเพียง 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1)
มาตรา 10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเฉพาะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันนำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี แต่คำเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักและราคาแห่งของใดๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใดๆ นั้น มิให้รับพิจารณาหลังจากที่ได้เสียอากรและของนั้นๆ ได้ส่งมอบหรือส่งออกไปแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งออกว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าว หรือในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบหรือส่งออกว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบหรือส่งออก หมายถึง ผู้เสียหายที่เสียอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสียต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรที่ต้องเสียไว้เกินภายใน 2 ปี คดีนี้โจทก์ฟ้องขอดอกเบี้ยสำหรับเงินวางประกันค่าอากร แม้มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ บัญญัติให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนี้ถือเป็นเงินอากรที่ต้องจ่ายคืน แต่กรณีของโจทก์มิใช่กรณีสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนพึงต้องเสียจริงซึ่งจะอยู่ในบังคับของมาตรา 10 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่สำหรับกรณีดอกเบี้ยเงินวางประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดเป็นดอกเบี้ยในหนี้เงินซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับตาม ประมวลกฎหมายและพานิชย์ โดยมีอายุความ 5 ปี นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2548 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยค้างชำระจากจำเลยย้อนหลังไปเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี คือนับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2543 จนกระทั่งถึงวันที่จำเลยคืนเงินประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดให้แก่โจทก์คือวันที่ 23 มกราคม 2546 เท่านั้น โดยใช้ให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือร้อยละ 7.5 ต่อปี
เงินประกันค่าอากรกับเงินประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดตามฟ้องเป็นเงินคนละส่วนกัน และแม้ว่ามาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินวางประกันค่าปรับ แต่การที่โจทก์ต้องวางประกันค่าปรับดังกล่าวถือว่าโจทก์ต้องเสียหายตั้งแต่วางเงินประกันค่าปรับดังกล่าวโดยไม่สมัครใจ ดอกเบี้ยในเงินประกันค่าปรับตามที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องจากจำเลยเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม ปรากฏตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์มิได้ขอวางเงินประกันดังกล่าวเอง แต่ฝ่ายพิกัดกับฝ่ายวิเคราะห์สินค้ามีความเห็นขัดแย้งกัน และต่อมาฝ่ายวิเคราะห์สินค้าส่งเรื่องให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์และให้โจทก์วางเงินประกันค่าปรับดังกล่าว อันเป็นการวางเงินประกันโทษทางอาญาโดยโจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ระงับคดีแต่อย่างใด โจทก์ย่อมต้องเสียหายตั้งแต่วันวางเงินประกันค่าปรับดังกล่าวและตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 7 โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินนี้นับแต่วันวางเงินค่าปรับเช่นเดียวกับการวางเงินประกันค่าอากรดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้น แม้โจทก์ขอดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ซึ่งเท่ากับร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยอ้างมาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ก็เป็นกรณีโจทก์ประสงค์ในดอกผลนิตินัยหาใช่กรณีโจทก์มิได้ขอมาในคำฟ้องดังที่จำเลยอ้างไม่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี (1) ดอกเบี้ยค้างชำระ ฯลฯ คำว่า ดอกเบี้ยไม่ได้หมายความเฉพาะดอกเบี้ยจากหนี้เงินกู้เท่านั้น อาจเป็นดอกเบี้ยจากหนี้กรณีอื่น ๆ ก็ได้ ซึ่งดอกเบี้ยค้างชำระที่กำหนดอายุความ 5 ปีนี้ หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้องคดี แต่อย่างไรก็ตาม กรณีผู้เสียภาษีต้องจ่ายเงินค่าอากรหรือเงินประกันอากร แต่ต่อมามีสิทธิได้คืนเงินอากรหรือเงินประกันค่าอากรเพราะเหตุที่มีการเรียกไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่มเพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้ต้องเสียภาษี มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 จึงบัญญัติให้คืนพร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางเงินประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน และดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนี้ให้ถือเป็นเงินอากรที่ต้องจ่ายคืน การที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นอากรที่ต้องจ่ายคืนมีผลทำให้ดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยตาม ประมวลกฎหมายและพานิชย์ ซึ่งมีกำหนดอายุความเพียง 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1)
มาตรา 10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเฉพาะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันนำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี แต่คำเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักและราคาแห่งของใดๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใดๆ นั้น มิให้รับพิจารณาหลังจากที่ได้เสียอากรและของนั้นๆ ได้ส่งมอบหรือส่งออกไปแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งออกว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าว หรือในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบหรือส่งออกว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบหรือส่งออก หมายถึง ผู้เสียหายที่เสียอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสียต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรที่ต้องเสียไว้เกินภายใน 2 ปี คดีนี้โจทก์ฟ้องขอดอกเบี้ยสำหรับเงินวางประกันค่าอากร แม้มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ บัญญัติให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนี้ถือเป็นเงินอากรที่ต้องจ่ายคืน แต่กรณีของโจทก์มิใช่กรณีสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนพึงต้องเสียจริงซึ่งจะอยู่ในบังคับของมาตรา 10 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่สำหรับกรณีดอกเบี้ยเงินวางประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดเป็นดอกเบี้ยในหนี้เงินซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับตาม ประมวลกฎหมายและพานิชย์ โดยมีอายุความ 5 ปี นั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2548 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยค้างชำระจากจำเลยย้อนหลังไปเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี คือนับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2543 จนกระทั่งถึงวันที่จำเลยคืนเงินประกันค่าปรับกรณีสำแดงพิกัดเป็นเท็จทำให้อากรขาดให้แก่โจทก์คือวันที่ 23 มกราคม 2546 เท่านั้น โดยใช้ให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือร้อยละ 7.5 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11166/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณสารบริสุทธิ์ยาเสพติดและการลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ
จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10,000 เม็ด ให้แก่สายลับ แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เท่าใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 50,000 เม็ด ที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีน้ำหนัก 4,573.015 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 574.911 กรัม ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินหนึ่งร้อยกรัม อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม), 66 วรรคสอง (เดิม) และเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจำหน่ายจำนวน 10,000 เม็ด เป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50,000 เม็ด ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม), 66 วรรคสอง (เดิม) และตามรายงานการตรวจพิสูจน์เมทแอมเฟตามีนของกลาง ซึ่งจำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบโต้แย้งคัดค้าน เมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 50,000 เม็ด ตรวจพบปริมาณเมทแอมเฟตามีนไฮไดรคลอไรด์คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 574.911 กรัม และมีเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ 4.530 กรัม ปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนตามรายงานการตรวจพิสูจน์ดังกล่าว เป็นการนำเมทแอมเฟตามีนบางส่วนตรวจพิสูจน์หาปริมาณสารบริสุทธิ์แล้วจึงนำผลที่ได้มาคำนวณหาปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวน 5,000 เม็ด ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่กำหนดปริมาณสารบริสุทธิ์ของยาเสพติดให้โทษโดยการคำนวณ เมื่อเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10,000 เม็ด เป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50,000 เม็ดของกลางจึงคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10,000 เม็ดดังกล่าวได้เช่นเดียวกันว่าคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 114.982 กรัม ซึ่งเกินกว่าร้อยกรัม โดยไม่มีข้อสงสัยว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวอาจมีส่วนผสมที่แตกต่างกับเมทแอมเฟตามีนส่วนอื่นที่จะทำให้ปริมาณสารบริสุทธิ์คำนวณได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยกรัม กรณีจึงลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม), 66 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งความผิดตามมาตรานี้มีโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสี่ฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนคนละ 15 ปี จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษจำคุกเกินกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสี่ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10787/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างละเว้นหน้าที่รายงานการขายรถยนต์ ทำให้เกิดการทุจริต และร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม มีหน้าที่ดูแลการขายรถยนต์และรับเงินค่าขายรถยนต์จากลูกค้าของโจทก์ร่วม การที่จำเลยปกปิดข้อเท็จจริง ละเว้นไม่รายงานจำนวนรถยนต์ของโจทก์ร่วมที่ขายให้แก่ลูกค้าและไม่รายงานการนำรถยนต์ออกไปจากโกดังตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจนทำให้การกระทำความผิดสำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการ แม้ต่อมาภายหลังจะรายงานจำนวนรถยนต์ต่อโจทก์ร่วมตามความเป็นจริง ก็เป็นการรายงานหลังจากที่ตรวจพบถึงการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายแล้ว ไม่อาจทำให้การกระทำของจำเลยกลับกลายไม่เป็นความผิด
ส. และจำเลยรับมอบเงินค่าขายรถยนต์ของโจทก์ร่วมจากลูกค้า เป็นเพียงการรับเงินไว้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินของโจทก์ร่วมและยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยร่วมกับพวกเอาเงินดังกล่าวของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) วรรคแรก มิใช่เป็นความผิดฐานยักยอก
แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจะแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงรายละเอียด มิใช่ข้อที่เป็นสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ส. และจำเลยรับมอบเงินค่าขายรถยนต์ของโจทก์ร่วมจากลูกค้า เป็นเพียงการรับเงินไว้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในฐานเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินของโจทก์ร่วมและยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยร่วมกับพวกเอาเงินดังกล่าวของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) วรรคแรก มิใช่เป็นความผิดฐานยักยอก
แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจะแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงรายละเอียด มิใช่ข้อที่เป็นสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9043/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้สินเชื่อไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด อายุความ 10 ปี
ลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 เป็นสัญญาที่คู่ความแต่ละฝ่ายต่างต้องเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน ฝ่ายที่เป็นหนี้ค้างชำระมากกว่าจะต้องชำระหนี้ในส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลยภาคเมื่อตัดทอนบัญชี หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้แต่เพียงฝ่ายเดียวแม้จะมีบัญชีคิดหนี้สินกัน สัญญานั้นก็หาเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่ สัญญาให้สินเชื่อที่จำเลยทำกับโจทก์มีข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้โดยให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับโจทก์เพื่อการหักทอนคิดจำนวนเงินที่จำเลยยังคงเป็นหนี้ค้างชำระแก่โจทก์เท่านั้น ไม่มีลักษณะของการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยหักกลบลบกันแต่อย่างใด สัญญาให้สินเชื่อจึงไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การเบิกถอนเงินจำเลยอาจกระทำได้หลายวิธีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา นอกจากใช้บัตรซิตี้การ์ดกับเลขรหัสประจำตัวเบิกถอนเงินจากพนักงานของโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์หรือจากเครื่องฝากและถอนเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) แล้ว จำเลยอาจใช้วิธีออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวัน หรือมีคำสั่งผ่านทางบริการซิตี้โฟนแบงก์กิ้งให้โจทก์จ่ายเงินแก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก หรือโดยวิธีการอื่นๆ ที่โจทก์ให้บริการ ทั้งนี้เงินที่จำเลยเบิกถอนไปไม่ว่าด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งตามสัญญาข้อ 6 ระบุให้ถือว่าเป็นต้นเงินกู้ที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ การที่โจทก์ออกบัตรซิตี้การ์ดให้แก่จำเลยไว้เพื่อใช้เบิกถอนเงินสดจึงเป็นเพียงการอำนวยความสะดวกแก่จำเลยในการเบิกถอนเงินวิธีหนึ่งในจำนวนหลายวิธีที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันไว้เท่านั้น จำเลยอาจเลือกใช้วิธีอื่นในการเบิกถอนเงินโดยไม่ใช้บัตรซิตี้การ์ดที่โจทก์ออกให้เลยก็ย่อมกระทำได้ เงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกถอนไปแต่ละครั้ง จึงไม่มีลักษณะเป็นเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนไปก่อน แต่เป็นเงินที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ตามวงเงินสินเชื่อที่จำเลยได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์ แม้โจทก์เก็บค่าสมาชิกจากจำเลยเป็นรายปี ก็เป็นเพียงค่าตอบแทนอย่างหนึ่งที่โจทก์เรียกเก็บเท่านั้น กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปดังที่จำเลยฎีกา สิทธิเรียกร้องของโจทก์เช่นนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การเบิกถอนเงินจำเลยอาจกระทำได้หลายวิธีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา นอกจากใช้บัตรซิตี้การ์ดกับเลขรหัสประจำตัวเบิกถอนเงินจากพนักงานของโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์หรือจากเครื่องฝากและถอนเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) แล้ว จำเลยอาจใช้วิธีออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวัน หรือมีคำสั่งผ่านทางบริการซิตี้โฟนแบงก์กิ้งให้โจทก์จ่ายเงินแก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก หรือโดยวิธีการอื่นๆ ที่โจทก์ให้บริการ ทั้งนี้เงินที่จำเลยเบิกถอนไปไม่ว่าด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งตามสัญญาข้อ 6 ระบุให้ถือว่าเป็นต้นเงินกู้ที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ การที่โจทก์ออกบัตรซิตี้การ์ดให้แก่จำเลยไว้เพื่อใช้เบิกถอนเงินสดจึงเป็นเพียงการอำนวยความสะดวกแก่จำเลยในการเบิกถอนเงินวิธีหนึ่งในจำนวนหลายวิธีที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันไว้เท่านั้น จำเลยอาจเลือกใช้วิธีอื่นในการเบิกถอนเงินโดยไม่ใช้บัตรซิตี้การ์ดที่โจทก์ออกให้เลยก็ย่อมกระทำได้ เงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกถอนไปแต่ละครั้ง จึงไม่มีลักษณะเป็นเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองแทนไปก่อน แต่เป็นเงินที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ตามวงเงินสินเชื่อที่จำเลยได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์ แม้โจทก์เก็บค่าสมาชิกจากจำเลยเป็นรายปี ก็เป็นเพียงค่าตอบแทนอย่างหนึ่งที่โจทก์เรียกเก็บเท่านั้น กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปดังที่จำเลยฎีกา สิทธิเรียกร้องของโจทก์เช่นนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8390/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนเถื่อนในครอบครอง และการแก้ไขโทษจากศาลอุทธรณ์
ข้อหาพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 และ ป.อ. มาตรา 371 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ปรับ 50 บาท จึงเป็นกรณีแก้ไขมาก แต่ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนเครื่องหมายทะเบียนถูกขูดลบไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ต้องฟังว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนเครื่องหมายทะเบียนถูกขูดลบไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ต้องฟังว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8104/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจากการคืนค่าขึ้นศาลหลังการล้มละลาย: เงินที่ศาลคืนถือเป็นทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่าลูกหนี้ที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้ร้องเพื่อนำไปชำระค่าขึ้นศาลตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 711/2548 ของศาลจังหวัดสีคิ้ว ก็ตาม แต่เมื่อศาลจังหวัดสีคิ้วรับเงินไว้ เงินดังกล่าวย่อมมิใช่เงินของลูกหนี้ที่ 2 แล้ว ต่อมาลูกหนี้ที่ 2 ขอถอนฟ้องและศาลมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลแก่ลูกหนี้ที่ 2 จำนวน 190,000 บาท จึงถือได้ว่าเงินที่ศาลสั่งคืนนี้เป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้ที่ 2 ได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (2) จึงเป็นทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านจึงสามารถนำเงินจำนวนดังกล่าวเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6710/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริการตรวจสอบสินค้าในไทยและส่งผลให้ต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการให้บริการที่ใช้ในต่างประเทศ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์อัตราภาษี 0%
งานบริการที่โจทก์รับทำให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศเป็นเพียงงานด้านการตรวจสอบสินค้า ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ผลิตสินค้าในประเทศไทย และการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าในห้องปฏิบัติการมิใช่งานบริการด้านการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานข้อมูลให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมดแต่อย่างใด การที่โจทก์ทราบผลของการตรวจสอบแล้วจัดส่งรายงานดังกล่าวไปให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศพร้อมกับใบแจ้งหนี้ ลักษณะของการให้บริการเช่นนี้เห็นได้ว่า เป็นการให้บริการด้านการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้า หรือการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ผลิตสินค้าของโจทก์ได้ดำเนินการในประเทศไทยถือได้ว่ามีการให้บริการด้านการตรวจสอบในประเทศไทยแล้ว สำหรับการส่งผลการตรวจสอบที่เกิดจากการตรวจวิเคราะห์ของโจทก์ให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศเป็นเพียงรายงานผลการจากการใช้บริการด้านการตรวจสอบของผู้ว่าจ้างในต่างประเทศเท่านั้น มิใช่เป็นการส่งผลของการให้บริการด้านการตรวจสอบนั้นออกไปใช้นอกราชอาณาจักร ส่วนการที่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศจะนำผลการตรวจสอบไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจหรือไม่เป็นเรื่องของการใช้ผลการตรวจสอบซึ่งเป็นขั้นตอนภายหลังจากที่บริการด้านการตรวจสอบของโจทก์ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยผลการตรวจสอบนั้นอาจถูกนำมาใช้ในการพิจารณาสั่งซื้อต่อรองราคา ว่าจ้างผลิต ส่งออกสินค้า และวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าในประเทศไทยในภายหลังได้ กรณีเช่นนี้ย่อมไม่อยู่ในความหมายของถ้อยคำที่ว่าได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมด ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภทหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่ทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1 (2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีพิพาทตามฟ้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 80/1 (2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการตามฟ้องได้ ฉะนั้น ใบแจ้งหนี้ที่โจทก์ออกให้แก่ผู้ว่าจ้างในต่างประเทศในกรณีนี้จึงไม่ถือเป็นใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 (1) แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้กู้ยืมและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผลของการฟ้องคดีและการถอนฟ้อง
ในการที่ จ. กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้โดยลูกหนี้ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้เป็นประกันหนี้ โดยมีข้อตกลงว่าหากบังคับทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบถ้วนนั้น เมื่อลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดไม่ชำระหนี้ โดยชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2539 เจ้าหนี้ชอบที่จะฟ้องร้องหรือขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันผิดนัดดังกล่าว หากเจ้าหนี้ไม่ดำเนินการก็ถือว่ามูลหนี้ประธานขาดอายุความ ส่วนที่เจ้าหนี้นำมูลหนี้กู้ยืมและจำนองไปฟ้อง จ. และลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง ต่อมาเจ้าหนี้ได้ถอนฟ้องในส่วนของลูกหนี้ และศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีส่วนลูกหนี้ออกจากสารบบความ การฟ้องคดีดังกล่าวจึงไม่ได้ทำให้อายุความในมูลหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2550 จึงเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันผิดนัด หนี้รายนี้จึงขาดอายุความไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) ส่วนการที่เจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้จำนองไปยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิในคดีแพ่ง และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามขอ ก็เป็นผลให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิผู้รับจำนอง และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้ย่อมนำมูลหนี้บุริมสิทธิดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ได้ แต่หาได้เกี่ยวพันกับหนี้ส่วนที่ขาดอันเป็นหนี้สามัญด้วยแต่อย่างใดไม่