คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีระพล ตั้งสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3870/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์การประเมินภาษีโรงเรือนเกินห้าหมื่นบาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษาโดยนำสถานีบริการน้ำมันพิพาทไปเทียบเคียงกับสถานีบริการน้ำมันของบริษัท ช. และนำดัชนีราคาผู้บริโภคมาปรับอัตราค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนพิพาทเป็นการไม่ชอบนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อกำหนดค่ารายปีของศาลภาษีอากรกลางถือเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทจำนวน 41,619.17 บาท ซึ่งไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินสนามกอล์ฟ: พิจารณาความแตกต่างระหว่างสิ่งปลูกสร้างและที่ดินต่อเนื่อง
แม้คณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของจำเลยที่ 1 จะมีมติยืนตามการประเมิน โดยวินิจฉัยว่า สนามกอล์ฟพิพาทเป็นโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นแตกต่างจากการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่ประเมินว่า สนามกอล์ฟพิพาทเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น คือ อาคารสโมสรและอาคารบริการต่างๆ ก็ตาม แต่ก็เป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันว่าสนามกอล์ฟเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 6 (1) หรือไม่ ประกอบกับคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของจำเลยที่ 1 มีมติยืนตามการประเมิน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในรายการอื่น คณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจกระทำได้
ปัญหาว่าพื้นที่บริเวณที่ดินสนามกอล์ฟจะเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างหรือไม่นั้น แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 5 จะมิได้กำหนดความหมายของสิ่งปลูกสร้างได้โดยเฉพาะ แต่ลักษณะสภาพของสะพาน ซุ้มต่างๆ และสิ่งต่างๆ ที่โจทก์ก่อสร้างในบริเวณสนามกอล์ฟล้วนก่อสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์แก่บุคคลต่างๆ ในพื้นที่สนามกอล์ฟทั้งสิ้นถือได้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง ส่วนพื้นที่สนามกอล์ฟที่เหลือนอกเหนือจากสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นสนามหญ้า บ่อน้ำ สระน้ำ ทะเลสาบ บ่อทราย พื้นที่ปลูกต้นไม้หรือพื้นที่ว่างเปล่าอื่นๆ ได้ความจากพยานหลักฐานโจทก์เพียงว่าเป็นการปรับปรุงพื้นที่ดินจากสภาพธรรมชาติเดิมขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้สนามกอล์ฟเท่านั้น จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงในการปรับปรุงพื้นดินให้เป็นสนามกอล์ฟของโจทก์ว่า มีการจัดทำโครงสร้างอย่างใดที่พอจะถือได้ว่ามีสภาพที่เป็นสิ่งปลูกสร้างตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 5 ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าลักษณะพื้นดินสนามกอล์ฟของโจทก์นอกเหนือจากที่มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นมีสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างด้วย คงฟังได้เพียงว่าเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างตามความหมายใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 6 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สนามกอล์ฟปรับปรุงพื้นที่ถือเป็นทรัพย์สินต้องเสียภาษี
แม้คณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จะมีมติยืน ตามการประเมิน โดยวินิจฉัยว่าสนามกอล์ฟพิพาทเป็นโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นแตกต่างจากการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินว่า สนามกอล์ฟพิพาทเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น แต่ก็เป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันว่าสนามกอล์ฟเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือไม่ประกอบกับคณะกรรมการฯ มีมติตามการประเมิน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในรายการอื่น คณะกรรมการฯ ย่อมมีอำนาจกระทำได้
แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 5 จะมิได้กำหนดความหมายของสิ่งปลูกสร้างไว้โดยเฉพาะ แต่ลักษณะสภาพของสะพาน ซุ้มต่างๆ และสิ่งต่างๆ ที่โจทก์ก่อสร้างขึ้นในบริเวณสนามกอล์ฟล้วนก่อสร้างขึ้นมาในพื้นที่สนามกอล์ฟทั้งสิ้นถือได้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง ส่วนพื้นที่สนามกอล์ฟที่เหลือนอกจากสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นสนามหญ้า บ่อน้ำ สระน้ำ ทะลสาบ บ่อทราย พื้นที่ปลูกต้นไม้ หรือพื้นที่ว่างเปล่าอื่นๆ นั้น ไม่มีสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จึงเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างตามมาตรา 6 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 สนามกอล์ฟพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินส่วนต่างราคาที่ดินจากการรังวัด ไม่ถือเป็นการผิดสัญญาซื้อขาย และสิทธิเรียกร้องค่าปรับ
ข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ความว่าหลังจากโจทก์ทราบผลการรังวัดที่ดินพิพาทที่รับโอนมาว่ามีเนื้อที่น้อยกว่าที่ระบุในสัญญาและได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว และฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 26 คืนเงินตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ลดลงตามส่วน จำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปคืนให้โจทก์แล้ว แม้จะส่งคืนล่าช้าหรือไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่โจทก์ทวงถามก็เป็นเรื่องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามซึ่งจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัดเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 26 ผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาได้ เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์แล้วคดีสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการสืบพยาน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยไม่สืบพยานโจทก์และจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หลังศาลแพ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน 2 เดือน
เจ้าหนี้ฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกต่อศาลแพ่ง ระหว่างพิจารณาคดีเจ้าหนี้ยื่นคำร้องว่า เพิ่งทราบว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดแล้ว ขอให้ศาลหมายเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความแทน ครั้นถึงวันนัดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า ในคดีล้มละลายครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547 แม้ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือคดีอยู่ระหว่างพิจารณาก็จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และ 91 การพิจารณาคดีแพ่งต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์ ขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เจ้าหนี้แถลงคัดค้านว่าเพิ่งทราบว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อเดือนธันวาคม 2548 ก่อนหน้านี้จำเลยที่ 2 มาศาลในคดีแพ่ง แต่ไม่ได้แถลงให้เจ้าหนี้และศาลทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้เจ้าหนี้มิได้ดำเนินการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย จนล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าว หากศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะทำให้เจ้าหนี้เสียหาย ศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อันมีผลเท่ากับศาลแพ่งพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีแล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2 ต่อไป และไม่อนุญาตตามคำแถลงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ขอให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำแถลงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่ติดใจเข้าว่าคดีแพ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ประสงค์จะเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวนั้น เป็นเพียงการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจที่จะนำพยานมาสืบหรือถามค้านพยานอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดีในคดีแพ่ง เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่คดีถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งแทนลูกหนี้แล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือนนับจากคดีถึงที่สุด
เจ้าหนี้ทราบว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อภายหลังจากล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ก่อนหน้านี้จำเลยที่ 2 มาศาลในคดีแพ่งแต่ไม่ได้แถลงให้เจ้าหนี้และศาลทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้เจ้าหนี้มิได้ขอรับชำระหนี้ การที่ศาลเห็นว่า เจ้าหนี้เพิ่งทราบว่าจำเลยที่ 2 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพ้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้แล้ว การจำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย จึงให้ยกคำร้องที่ไม่ประสงค์จะเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสีย มีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้ามาว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำแถลงอีกครั้งหนึ่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เสนอที่ประชุมเจ้าหนี้ ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่ติดใจเข้าว่าคดีแพ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ประสงค์จะเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจที่จะนำพยานมาสืบหรือถามค้านพยานอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่า เมื่อทนายโจทก์แถลงว่าคดีไม่อาจตกลงกันได้ ขอให้ศาลสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งหมดไปก่อน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงไม่ค้าน และยังแถลงอีกว่าไม่ประสงค์จะต่อสู้คดี จึงเห็นได้ชัดว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีฐานะเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแล้ว เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดีในคดีแพ่งดังกล่าว เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันคดีถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบุคคลภายนอกในคดีพิพาทที่ดิน: โจทก์ในฐานะเจ้าของเดิมมีสิทธิฟ้องพิสูจน์สิทธิในที่ดิน แม้ไม่ใช่ผู้รับโอนสิทธิจากโจทก์เดิม
แม้จำเลยทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 291/2529 ของศาลชั้นต้น ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และประเด็นพิพาทเป็นประเด็นเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินพิพาทมาจาก ส. โจทก์ในคดีก่อน แต่เป็นการฟ้องในฐานะเจ้าของคนก่อนซึ่งได้ขายที่พิพาทให้แก่ ส. กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้สืบสิทธิในที่พิพาทต่อจาก ส. โจทก์ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความเดียวกันกับคดีก่อน มีสิทธิฟ้องเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าทนายความจากการล้มละลาย: การรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องต้องเป็นผลมาจากการบังคับคดีตามสัญญาจ้าง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำร้องแต่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับเงินค่าทนายความส่วนที่ 2 โดยผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกานั้น แม้มิใช่เป็นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง แต่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์ส่งมาให้ศาลฎีกาแล้ว ทั้งศาลฎีกาพิจารณาแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านดังกล่าวไว้พิจารณาตามมาตรา 26 วรรคสี่
สิทธิในการได้รับชำระหนี้ค่าทนายความเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 อัตราร้อยละ 10 ของยอดหนี้ตามฟ้องแต่ละคดีจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ต่อเมื่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีต่างๆ แล้วไม่ว่าโดยวิธีใดจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามทางนำสืบของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 22 แล้ว ผู้คัดค้านได้มอบหมายให้ผู้ร้องเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ประการใด ทั้งเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวก็เป็นดำเนินการขายโดยผู้คัดค้านตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ มิใช่กรณีที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเพิ่มเติมจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 2 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร มิฉะนั้นการประเมินเป็นโมฆะ
แม้สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่และสถานประกอบการสาขาของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการของนิติบุคคลเดียวกัน แต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการย่อมต้องแยกใบกำกับภาษีและคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาเลขที่ 119 โดยนำใบกำกับภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานใหญ่เลขที่ 49 ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขา จึงไม่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 83 วรรคสี่ การกระทำของโจทก์เป็นกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีของสถานประกอบการสาขาโดยแสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มแก่โจทก์ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 (2)
แม้คำว่า "อธิบดี" จะหมายความรวมถึงผู้ที่อธิบดีมอบหมายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 2 แต่จำเลยไม่นำสืบให้ปรากฏว่าสรรพากรภาค 10 เป็นผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายให้มีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ สำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม พฤษภาคม มิถุนายน สิงหาคม กันยายน และพฤศจิกายน 2540 จึงไม่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88/6 วรรคท้าย สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2540 โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเลขที่ 119 คงยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสำนักงานใหญ่เลขที่ 49 เท่านั้น จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาเลขที่ 119 ภายในกำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยไม่ต้องขออนุมัติการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 (1) ประกอบมาตรา 88/6 (1) (ค)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม: เงินจอง/ดาวน์รถยนต์เช่าซื้อถือเป็นประโยชน์ที่ผู้ขายได้รับและต้องนำมารวมคำนวณ
โจทก์ซื้อรถยนต์จากผู้จำหน่ายรถยนต์มาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองในราคาที่หักเงินจองหรือเงินดาวน์ที่ลูกค้าหรือผู้เช่าซื้อจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายรถยนต์ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่นำไปให้ลูกค้าเช่าซื้อโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในส่วนนี้ ถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตามมูลค่าเงินจองหรือเงินดาวน์ที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายรถยนต์ เงินจองหรือเงินดาวน์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายรถยนต์ จึงเป็นประโยชน์ใดๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคสอง จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าของฐานภาษีตามสัญญาให้เช่าซื้อระหว่างโจทก์กับลูกค้าหรือผู้เช่าซื้อด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากสรรพากรภาค 3 ซึ่งปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ให้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มรายโจทก์สำหรับเดือนภาษีตุลาคมถึงเดือนภาษีธันวาคม 2537 และเดือนภาษีมกราคมถึงเดือนภาษีกรกฎาคม 2538 แม้จะเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่เมื่ออนุมัติภายใน 5 ปี และโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88/6 วรรคท้าย
of 19