พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6537/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และจำหน่ายสื่อลามก ศาลฎีกาพิจารณาองค์ประกอบความผิดและขอบเขตการอุทธรณ์
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกันทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งวิดีโอซีดีลามก เป็นความผิดต่อกฎหมายต่างฉบับกัน มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก็สามารถแยกต่างหากจากกันกับความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตได้ จึงเป็นความผิดอีกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดสองฐานดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 เป็นความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อความผิดดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยปรับไม่เกิน 5,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 39 (4) (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งวิดีโอซีดีลามก เป็นความผิดต่อกฎหมายต่างฉบับกัน มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก็สามารถแยกต่างหากจากกันกับความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตได้ จึงเป็นความผิดอีกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดสองฐานดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 เป็นความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อความผิดดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยปรับไม่เกิน 5,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 39 (4) (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: การมีแผ่นภาพยนตร์ละเมิดเพื่อขายถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ แม้ไม่มีการเสนอขาย
บริษัท ซ. เพียงแต่เป็นผู้ได้รับสิทธิในการทำซ้ำ เผยแพร่และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ในประเทศไทยแต่ผู้เดียว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งบริษัท ซ. คงมีลิขสิทธิ์เฉพาะในงานที่ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีและวิดีโอเทปและมีสิทธิทำซ้ำเผยแพร่ต่อสาธารณชน กับจัดจำหน่ายภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6ในประเทศไทยได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6เพราะได้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์จากโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 แล้วเท่านั้น จึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ตามคำฟ้องในฐานะผู้สร้างสรรค์อยู่ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 11โจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
จำเลยมีแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีไว้เพื่อขายอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ด แม้จำเลยไม่ได้เสนอขายและขายแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีให้ผู้อื่นด้วยก็ถือได้ว่าเป็นการมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเป็นการกระทำเพื่อการค้าซึ่งเป็นความผิดฐานหนึ่งตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1) ประกอบด้วยมาตรา 70 วรรคสอง แล้ว และกรณีไม่จำต้องมีเจตนาทุจริตเพราะความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วยไม่
จำเลยมีแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีไว้เพื่อขายอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ด แม้จำเลยไม่ได้เสนอขายและขายแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีให้ผู้อื่นด้วยก็ถือได้ว่าเป็นการมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเป็นการกระทำเพื่อการค้าซึ่งเป็นความผิดฐานหนึ่งตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1) ประกอบด้วยมาตรา 70 วรรคสอง แล้ว และกรณีไม่จำต้องมีเจตนาทุจริตเพราะความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดสองกรรม: ละเมิดลิขสิทธิ์และการประกอบกิจการเทป/วีดีโอ โดยมีเจตนาแยกต่างหาก
แม้จำเลยจะมีแผ่นวีดีโอซีดี แผ่นซีดี และแผ่นซีดีรอมของกลางไว้เพื่อขายและเสนอขายตามฟ้องข้อ (ก) และประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ตามฟ้องข้อ (ข) ในคราวเดียวกัน แต่การกระทำของจำเลยตามฟ้องข้อ (ก) และข้อ (ข) ก็เป็นการกระทำโดยอาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันและเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน จึงเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5823/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้า: สัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุยกฟ้อง
โจทก์ทำสัญญายินยอมให้ ก. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่โจทก์ฟ้องเป็นของ ก. ได้ กับยอมให้ ก. ดำเนินการผลิตและจำหน่ายหนังสือพิมพ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดังที่ระบุไว้ในสัญญาได้ทันที โจทก์ยอมให้ ก. โอนสิทธิตามสัญญาให้จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นได้และยินยอมให้ ก. ให้บุคคลอื่นร่วมใช้สิทธิตามสัญญาได้ ส่วน ก. ยอมรับลูกจ้างของโจทก์ 274 คน เข้าทำงานในบริษัทของจำเลยที่ 1 ต่อไปโดยไม่ต้องปลดออก แสดงว่าโจทก์ให้ความยินยอมแก่ ก. ตลอดจนจำเลยที่ 1 ให้ใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อและหัวหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าเป็นการอาศัยสิทธิตามข้อตกลงในสัญญา จึงไม่อาจถือว่าจำเลยทั้งสิบห้ามีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าตามฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับการถอนคำร้องทุกข์คดีละเมิดลิขสิทธิ์และการพิพากษาคดีความผิด พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทป
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง เป็นความผิดอันยอมความได้ ตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์สำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับข้อความความผิดนั้นย่อมระงับไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ต้องจำหน่ายคดีสำหรับข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังกล่าว เสียจากสารบบความ
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวจนเสร็จสิ้นพร้อมกับได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพื่ออ่านให้คู่ความฟังแล้ว จึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 และ 34 โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ อันเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การบรรยายฟ้องคำว่า "วิดีโอเทปภาพยนตร์" ดังกล่าว เป็นการบรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ได้บรรยายในคำฟ้องนั้นแล้วว่าวิดีโอเทปภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันเป็นข้อกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดครบถ้วนแล้ว มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นอกจากกรณีที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง?" ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษตามมาตรา 34 เห็นได้ชัดว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด แต่ผู้ประกอบกิจการนั้นประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน จำเลยมีอายุเพียง 20 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด จำเลยไม่สามารถลงทุนมีร้านประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปอันเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินมากตามฟ้องได้ จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างและมารับจ้างทำงานในร้านโฮมวีดีโอที่กรุงเทพมหานคร มิได้เป็นเจ้าของร้านโฮมวีดีโอหรือเป็นเจ้าของกิจการร้านดังกล่าวหรือเป็นผู้ประกอบกิจการร้านนั้น จำเลยเป็นเพียงผู้นำภาพยนตร์วิดีโอเทปซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของผู้เสียหายออกให้เช่า เสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ต้องไปขออนุญาตจากนายทะเบียนในการประกอบกิจการดังกล่าวก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวจนเสร็จสิ้นพร้อมกับได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพื่ออ่านให้คู่ความฟังแล้ว จึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 และ 34 โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ อันเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การบรรยายฟ้องคำว่า "วิดีโอเทปภาพยนตร์" ดังกล่าว เป็นการบรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ได้บรรยายในคำฟ้องนั้นแล้วว่าวิดีโอเทปภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันเป็นข้อกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดครบถ้วนแล้ว มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นอกจากกรณีที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง?" ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษตามมาตรา 34 เห็นได้ชัดว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด แต่ผู้ประกอบกิจการนั้นประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน จำเลยมีอายุเพียง 20 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด จำเลยไม่สามารถลงทุนมีร้านประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปอันเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินมากตามฟ้องได้ จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างและมารับจ้างทำงานในร้านโฮมวีดีโอที่กรุงเทพมหานคร มิได้เป็นเจ้าของร้านโฮมวีดีโอหรือเป็นเจ้าของกิจการร้านดังกล่าวหรือเป็นผู้ประกอบกิจการร้านนั้น จำเลยเป็นเพียงผู้นำภาพยนตร์วิดีโอเทปซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของผู้เสียหายออกให้เช่า เสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ต้องไปขออนุญาตจากนายทะเบียนในการประกอบกิจการดังกล่าวก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์และขายสินค้าไม่มีฉลาก: ความผิดของลูกจ้างแม้ไม่ใช่เจ้าของร้าน
จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่า แผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และการที่สินค้าเหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง แต่ไม่ผิดตามมาตรา 28,30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยตรงหากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30 และ 69 ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ52 วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30 และ 69 ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ52 วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์และขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก ผู้ขายมีความผิดแม้เป็นเพียงลูกจ้าง
จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และการที่สินค้าเหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 28,30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยตรง หากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่งอีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 31(1)(2) และ 70 วรรคสอง แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28,30และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่งอีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ขายมีความผิดแม้ไม่ได้เป็นผู้ทำซ้ำ
จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และการที่สินค้าเหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชนทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) (2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 28, 30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดยตรง หากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) (2) และ 70 วรรคสองแม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28, 30 และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 30 (2) และ 52 วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภทวรรณกรรมโดยนำแผ่นซีดี-รอมที่บันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งได้มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงกำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นซีดี-รอมดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีจึงต้องตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) (2) และ 70 วรรคสองแม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 28, 30 และ 69 ก็ตาม ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522มาตรา 30 (2) และ 52 วรรคหนึ่ง อีกกรรมหนึ่งด้วย
ความผิดตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชนเพื่อหากำไร กฎหมายให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรับโทษตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดละเมิดลิขสิทธิ์: ความผิดกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2541 เวลากลางวัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรม กล่าวคือ (ก)จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขาย เสนอขายเพื่อการค้าหากำไรซึ่งตุ๊กตากล้วยหอมบี 1 จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์ อิน พิจามัส" ที่มีผู้ทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์ อิน พิจามัส" โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 (ข) จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขายเสนอขายเพื่อการค้าหากำไรซึ่งตุ๊กตาเครยอง ชินจัง จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "เครยอง ชินจัง" ที่มีผู้อื่นทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ "เครยอง ชินจัง" โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏรายละเอียดให้เห็นได้ชัดเจนว่า จำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องข้อ (ก) และข้อ (ข) ต่างหากจากกันอย่างไร เช่น มีการขาย เสนอขาย แก่ผู้ซื้อต่างคราวกันหรือต่างรายกันอย่างใดหรือไม่ หรือโจทก์เห็นว่าการกระทำตามฟ้องเป็นความผิดต่างกรรมกันเพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้นลำพังการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันไม่แน่ว่าจะต้องเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันเสมอไป หากแต่ต้องพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดว่าต่างกันหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เมื่อคำฟ้องไม่ปรากฏชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ข้อ (ก) และข้อ (ข) โดยเจตนาต่างหากจากกันดังกล่าว จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องดังกล่าวในลักษณะที่มีเจตนาเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: การพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดเพื่อตัดสินว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2541เวลากลางวัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบท หลายกรรม กล่าวคือ (ก) จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขาย เสนอขายเพื่อการค้า หากำไรซึ่งตุ๊กตากล้วยหอมบี 1 จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ ตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด"บานาน่าส์อินพิจามัส"ที่มีผู้ทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์อินพิจามัส"โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1(ข) จำเลยซึ่งประกอบ อาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขายเสนอขายเพื่อการค้าหากำไร ซึ่งตุ๊กตาเครยองชินจัง จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ ตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด"เครยองชินจัง"ที่มีผู้อื่นทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ "เครยองชินจัง"โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ตามคำฟ้อง ของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏรายละเอียดให้เห็นได้ชัดเจนว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องข้อ (ก)และข้อ(ข)ต่างหากจากกันอย่างไร เช่น มีการขาย เสนอขายแก่ผู้ซื้อต่างคราวกันหรือต่างรายกันอย่างใดหรือไม่หรือโจทก์เห็นว่าการกระทำตามฟ้องเป็นความผิดต่างกรรมกันเพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้นลำพังการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันไม่แน่ว่าจะต้องเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันเสมอไปหากแต่ต้องพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดว่าต่างกันหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องแต่เมื่อคำฟ้องไม่ปรากฏชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ข้อ (ก)และข้อ(ข) โดยเจตนาต่างหากจากกันดังกล่าว จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องดังกล่าวในลักษณะที่มีเจตนาเดียวกันจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน